ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2804
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร ~

[คัดลอกลิงก์]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร
แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ


ประวัติและปฏิปทา

๏ ชาติภูมิ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) มีนามเดิมว่า “อ้วน” นามสกุล “แสนทวีสุข” เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2400 ณ บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาเป็นกรมการเมืองชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน แสนทวีสุข) โยมมารดาชื่อ บุตสี แสนทวีสุข


๏ ชีวิตเยาว์วัยและการศึกษาเบื้องต้น

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเคยเล่าชีวิตเมื่อเยาว์วัยให้มหาไชย จันสุตะ ฟังว่า เมื่อยังเด็กท่านชอบมีเพื่อนฝูงมาก เพื่อนฝูงทั้งหลายมักตั้งท่านให้เป็นหัวหน้า และเมื่อท่านทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแล้ว เพื่อนฝูงจะเชื่อฟัง ท่านจัด ท่านแบ่งอะไรทุกคนพอใจ ไม่เคยโต้แย้ง ท่านมีแววของความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เยาว์ทีเดียว

นอกจากลักษณะของความเป็นผู้นำแล้ว สมเด็จฯ ยังสนใจในทางศาสนา ตั้งแต่เด็กท่านจะช่วยโยมมารดาทำบุญตักบาตรทุกๆ เช้าที่หน้าบ้านเสมอ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 15:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ การบรรพชาและอุปสมบท

สมเด็จฯ ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดสว่าง อำเภอวารินชำราบ ใกล้กับบ้านเกิดของท่าน ภายหลังได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีทอง โดยมีท่านเทวธัมมี เป็นอุปัชฌาย์ และท่านโชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จฯ ได้ศึกษาปริยัติธรรมและเคร่งครัดต่ออุปัชฌายวัตรเป็นอย่างมาก

๏ การศึกษา

หลังจากพระอุปัชฌาย์ท่านได้มรณภาพแล้ว สมเด็จฯ ได้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับ เจ้าคุณอาจารย์พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี ณ วัดพิชยญาติการาม สำนักพระศาสนาโศภณ เป็นเจ้าอาวาส

๏ การเรียนพระปริยัติธรรม

สมเด็จฯ เป็นนักเรียนมหามกุฎราชวิทยาลัย สาขาวัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ อันเป็นโรงเรียนซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) ทรงเริ่มตั้งและขยายสาขาออกไปตามวัดธรรมยุตอื่นๆ เป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จฯ ได้ค่าภัตตาหารเดือนละ 2 บาท

พ.ศ. 2439 สมเด็จฯ ย้ายจากวัดพิชยญาติการามมาเรียนต่อที่วัดเทพศิรินทราวาส กับท่านอาจารย์อื่นอีก และสอบได้เปรียญธรรมชั้นตรี

พ.ศ. 2442 ท่านสอบได้เปรียญธรรมชั้นโท
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 15:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ตำแหน่งและสมณศักดิ์

1. ภัณฑารักษ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้รับแต่งตั้งจากท่านเจ้าอาวาส

2. ครูฝ่ายภาษาบาลี ที่วัดสุปัฏนาราม เป็นครั้งแรกที่มีโรงเรียนเปิดสอนตามแบบมหามกุฎราชวิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีพระภิกษุสามเณรทั้งใกล้-ไกล ตลอดมณฑลอุดรก็อุตส่าห์มาเล่าเรียน

3. พ.ศ. 2442 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน

4. พ.ศ. 2447 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อมาต้นรัชกาลที่ 6 ได้แยกมณฑลอีสานเป็น 2 มณฑล คือมณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะว่าการทั้งสองมณฑล

5. พ.ศ. 2466 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง

6. ต้นรัชกาลที่ 7 ทางราชการได้รวมมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา เป็นมณฑลนครราชสีมา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา

7. พ.ศ. 2485 ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรกแห่งประเทศไทย ตามประกาศตั้งสังฆนายก ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2485

สมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

พ.ศ. 2447 พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศาสนดิลก

พ.ศ. 2454 พระราชาคณะเสมอชั้นราช ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2455 พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมุนี

พ.ศ. 2464 พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธี

พ.ศ. 2468 พระราชาคณะชั้นเทพพิเศษที่ พระโพธิวงศาจารย์

พ.ศ. 2472 พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์

พ.ศ. 2475 ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี

พ.ศ. 2482 สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

๏ การปกครองวัด

พ.ศ. 2447 เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี

พ.ศ. 2470 เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา มณฑลนครราชสีมา

พ.ศ. 2475 เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2484 เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 15:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ตำแหน่งพิเศษ

1. แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล

2. รองแม่กองธรรมสนามหลวง

3. กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง

4. กรรมการมหาเถระสมาคม

5. กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย

6. กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน

7. รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต

8. เจ้าคณะตรวจการภาค 3, 4, 5

9. องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

10. สังฆนายกรูปแรกแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

๏ การทำคุณประโยชน์

1. ตั้งโรงเรียนภาษาไทย-บาลี

ได้ตั้งโรงเรียนสอนบาลี-นักธรรม ที่วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา ได้รวบรวมหนังสือเก่าแก่ และโบราณวัตถุของชาวอีสานขึ้นไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จนได้เปิดเป็นสาขาหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่วัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2478

2. ถาวรวัตถุและการก่อสร้าง

สร้างอาคารเรียน “โรงเรียนอุบลวิทยาคม” ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จด้วยแรงงานของพระภิกษุสงฆ์ ได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงธรรมการ 800 บาท นอกนั้น สมเด็จฯ จัดหาเองทั้งสิ้น

สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น สำหรับนักธรรมคณะจังหวัดอุบลราชธานี

หล่อพระพุทธรูป “พระสัพพัญญูเจ้า” อันเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม

สร้างพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นกลางทรงยุโรป (เยอรมัน) และชั้นล่างเป็นทรงขอมโบราณแบบนครวัด เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 สำเร็จในปี พ.ศ. 2473 สิ้นค่าก่อสร้าง 70,000 บาท
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 15:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. ด้านการพิมพ์และคำสอน

สมเด็จฯ ได้นิพนธ์ความเรียงเป็นคำสอนประเภท ธรรมเทศนา โอวาท บทความ สารคดี เรื่องต่างๆ ไว้มากว่า 46 เรื่อง นิพนธ์เรื่องที่เป็นที่นิยมและสนใจของสาธุชนและประชาชนทุกระดับชั้น ยกตัวอย่างบทนิพนธ์ของสมเด็จฯ บางเรื่องที่ดีเด่นจริงๆ คือ

เรื่อง เงินเดือน เงินดาว เงินดิน ว่าด้วยการการแนะนำคนให้รู้จักการครองตนครองชีพ

เรื่อง “หลักชูชาติ” ว่าด้วยการเพราะปลูก การช่าง การชื้อขาย

เรื่อง “แว่นใจ” ว่าด้วยการทรัพย์ในดิน สินในน้ำ

เรื่อง “สอนหนุ่มน้อย” เป็นเรื่องตักเตือนให้เด็กเร่งศึกษาแต่เยาว์วัย

เรื่อง “สอนนายนาง” ว่าด้วยลูกอุปถัมภ์บำรุง พ่อ แม่ และหน้าที่ของสามี ภรรยา

เรื่อง “หลักครู” แนะวิธีการเป็นครูและการสอน

เรื่อง “โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก” อันเป็นคติพจน์ของสมเด็จ

การสั่งสอนอบรมพุทธศาสนิกชน สมเด็จฯ ท่านได้เที่ยวเทศนา อบรมโปรดพุทธศาสนิกชนทุกภาค และให้คำขวัญซึ่งคือว่าเป็นการสร้างสรรค์ให้ชาวไทยสามัคคี ไม่แบ่งแยกกันพุทธศาสนิกชนถือเป็นอมตะคำขวัญ คือ

“ถิ่นไทยงาม” ได้แก่ ภาคพายัพของประเทศไทย

“ถิ่นไทยอุดม” ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศไทย

“ถิ่นไทยดี” ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

“ถิ่นจอมไทย” ได้แก่ ภาคกลางของประเทศไทย

บทนิพนธ์ทุกเรื่องสมเด็จฯ มอบให้เป็นลิขสิทธิ์ วัดบรมนิเวศ วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สาธุชนผู้ประสงค์จะพิมพ์เผยแพร่ให้ติดต่อขออนุญาตจากเจ้าอาวาส
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-29 15:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ การมรณภาพ

สมเด็จฯ ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2499 ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ โดยอาการสงบด้วยโรคชรา รวมสิริอายุได้ 89 ปี นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบริหาร การปกครอง คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี


รูปหล่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22704

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้