ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 15655
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ขุนสรรค์ บางระจัน

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-25 08:29






ย้อนไปใน สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี




ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่รวบรวมไพร่พล หาญกล้าลุกขึ้นต่อต้านกองทัพพม่า ด้วยความรักชาติและแผ่นดินเกิดที่เราท่านรู้จักกันดีในชื่อ “ชาวบ้านบางระจัน” โดยมี “ขุนสรรค์”เป็นหัวหน้ากลุ่ม “บ้านบางระจัน”

“ขุนสรรค์” เป็นชาวเมืองสรรคบุรี เดิมมีตำแหน่งเป็นกำนันอยู่ในตำบลหนึ่ง ในเมืองสรรคบุรี เป็นผู้มีฝีมือสูงในการใช้ดาบ และมีความสามารถในการยิงปืนที่แม่นยำราวจับวาง เป็นคนกล้าหาญยอมสละชีวิตเพื่อต่อสู้กับข้าศึกจนได้รับการยกให้เป็นหัวหน้าคนไทยของค่ายบางระจัน ในการต่อสู้กับพม่าในสงครามก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2



ยืมความจากหนังสือ “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ชาวบ้านรวบรวมชายฉกรรจ์ไว้ได้ 400 คน มีหัวหน้าชื่อ ขุนสรรค์ นายพันเรืองเป็นกำนัน นายทองเหม็น นายจัน นายเขี้ยว นายทอง แสงใหญ่ ช่วยกันตั้งค่ายขึ้น ได้นิมนต์พระอาจารย์ ธรรมโชติ วัดเขาบางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้รู้วิชาอาคม มาเป็นขวัญและกำลังใจ ซึ่งหลักฐานยังปรากฏอยู่ให้เห็นคือ ซากโบสถ์วิหาร และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์




ยามชาวบ้านบางระจันจะออกรบพระอาจารย์ธรรมโชติ

จะให้ทุกคนลงอาบน้ำในสระนี้ซึ่งถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์

ปรากฏว่าชาวบ้านบางระจันสามารถต่อสู้พม่าเอาชนะได้ถึง 7 ครั้ง 7 หน

จนพม่าหวั่นไหวเกรงกลัวฝีมือคนไทยในการรบพุ่งของชาวบ้านบางระจัน”




ชาวบ้านบางระจันสามารถต่อสู้ชนะพม่าได้ถึง 7 ครั้ง





เนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่ามีความหนักใจมากที่คนไทยเพียง 400 คน ชนะพม่าผู้ที่มีอาวุธและกำลังพลที่เหนือกว่าหลายเท่าจึงได้เปลี่ยนกลศึกใช้การตั้งรับแล้วใช้ปืนใหญ่ระดมยิงชาวบ้านค่ายบางระจันจนล้มตาย เป็นจำนวนมาก



ชาวบ้านบางระจันขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยา

แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเมืองหลวง

จึงหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เองแต่ก็ไม่เป็นผล



ผู้นำชาวบ้านระดับหัวหน้าออกรบก็ถูกพม่าฆ่าตายไปทีละคนสองคนเหลือเพียง“ขุนสรรค์”ที่ยังยืนหยัดต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างพม่าโดยไม่เคยหวั่นไหวถึงแม้รู้ว่าไม่มีทางเอาชนะพม่าได้ ประกาศขอสู้ตายจนวาระสุดท้ายเพื่อชาติไทยและแผ่นดินเกิด ได้นำชาวบ้านบางระจันที่เหลืออยู่ปีนค่ายพม่าบุกเข้าไปถึงภายในค่ายจนตกอยู่ในวงล้อมที่แน่นหนาและถูกพม่ารุมฆ่าตายในที่สุดเมื่อสิ้น “ขุนสรรค์” ต่อมาไม่นานค่ายบางระจันก็เสียแก่พม่า เมื่อเดือน 7 ปีจอ พุทธศักราช 2309



จากความกล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตต่อสู้กับข้าศึกเพื่อชาติบ้านเมืองของ “ขุนสรรค์” ชาวไทยและชาวชัยนาทจึงยกย่องเทิดทูนว่า “ขุนสรรค์” เป็น “วีรบุรุษแห่งลุ่มน้ำน้อย”และต่อมาชาวชัยนาทได้ร่วมกันสละทรัพย์เพื่อสร้างอนุสาวรีย์ “ขุนสรรค์”ขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2525 และอัญเชิญมาประดิษฐาน ไว้ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี และมีพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณ “ขุนสรรค์ วีรบุรุษแห่งลุ่มน้ำน้อย” ใน วันที่ 19 มกราคม ซึ่งได้กระทำสืบทอดกันมาทุกปี ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี ที่ตั้งปัจจุบัน



ในปี 2556 จังหวัดชัยนาท นายจำลอง โพธิ์สุข ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้กำหนดการจัดงานขึ้น ในวันที่ 18-20 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยในวันที่ 19 มกราคมพ่อเมืองชัยนาทจะเป็นประธานในการบวงสรวง ทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ ภายในงานพบกับการออกร้านจำหน่ายสินค้าโอท็อป เทศกาลอาหารอร่อย และกิจกรรมขบวนแห่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อ.สรรคบุรี มาตุภูมิถิ่นกำเนิดของ “ขุนสรรค์” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้เป็นวีรบุรุษของชาวชัยนาทและชาวไทย “ด้วยความสำนึกในพระคุณ ของบรรพชนอย่างมิเคยสร่างซา”



ชูเดช สีหะวงษ์

ที่มา..http://www.naewna.com

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-25 08:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



อนุสาวรีย์วีระชนค่ายบางระจัน อยู่ที่อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ ประดิษฐ์รูปหล่อ วีระชนซึ่งเป็นชาวบ้านบางระจันที่ได้

แสดงวีรกรรมอันกล้าหาญ ความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของคนไทย ซึ่งเป็นชาวบ้าน

ของคน กลุ่มหนึ่ง เสียสละชีวิตเป็นชาติพลีแสดงความรักชาติบ้านเมืองได้

รวมพลังขึ้นเองอย่างจริงใจ และฉับพลันในยามบ้านเมืองมีศึก ตั้งค่ายต่อต้าน

กองทัพพม่าข้าศึกต่อสู้ได้ชัยชนะ ถึง ๗ ครั้งเพื่อถ่วง เวลาคอยกองทัพหลวง

จากกรุงศรีอยุธยาได้ นานถึง ๕ เดือน จึงได้แพ้แก่ข้าศึก

เมื่อวัน จันทร์เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ วีรกรรมของ ท่านไว้ด้วยความภาคภูมิใจ

เป็นเยี่ยงอย่างที่ดีแก่คนไทย ผู้รักผืนแผ่นดินไทย จังหวัดสิงห์บุรีพร้อมด้วย

ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกัน สร้างอนุสาวรีย์และ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชได้เสด็จประกอบพิธี

เปิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๙


รายชื่อผู้เป็นหัวหน้าถึง ๑๑ คน มีดังนี้
๑. นายแท่น ชาวบ้านศรีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์บุรี
๒. นายอิน ชาวบ้านศรีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์บุรี
๓. นายเมือง ชาวบ้านศรีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์บุรี
๔. นางโชติ ชาวบ้านศรีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์บุรี
๕. นายดอกไม้ ชาวบ้านสี่ร้อย แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ
๖. นายทองแก้ว ชาวบ้านสี่ร้อย แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ
๗. ขุนสรรค์สรรพกิจ(ทนง) กรมการเมืองสรรคบุรี
๘. นายพันเรือง กำนันตำบลบางระจัน
๙. นายทองแสงใหญ่ ผู้ช่วยกำนัน ตำบลบางระจัน
๑๐. นายจันเขียว หรือจันหนวดเขี้ยว นายบ้านโพธิ์ทะเล
๑๑. นายทองเหม็น ผู้ใหญ่บ้านกลับ
กราบน้อมระลึกถึงพระคุณ
วีระชนผู้กล้าที่เสียสละเพื่อ
ชาติ บ้านเมืองอย่างหาที่เปรียบ
มิได้
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-25 20:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ชมภาพยนต์บางระจัน

http://www.youtube.com/watch?v=uC66n9YTBDI

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-8-30 06:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-9-10 08:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้