ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 10327
ตอบกลับ: 29
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

“พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า สงขลา

[คัดลอกลิงก์]
“พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา


●●●ประวัติหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา●●●
■ ชาติภูมิ ■
พระครูพิศิษฐ์บุญสาร (หลวงพ่อปลอด ปุญฺญสฺสโร) นามเดิมว่าปลอด นามสกุล อ่อนเเก้ว ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปี จอ ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่ หมู่ 4 ต.ตะเครียะ อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายสุก นางฝ้าย อ่อนเเก้ว สำหรับพี่น้อง ได้เเก่
นายดำ อ่อนเเก้ว
นางกิมเนี่ยว อ่ำปลอด
พระครูพิศิษฐ์บุญสาร
นายเถื่อน อ่อนเเก้ว
นายถัน อ่อนเเก้ว
นางซุ่นเนี่ยว อ่อนเเก้ว
■ ชีวิตยามปฐมวัย ■
เด็ก ชายปลอด อ่อนเเก้ว เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นบุตรที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา เป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาโอบอ้อมอารีเป็นที่รักของญาติพี่น้อง ครั้นพออายุควรเเก่การศึกษา บิดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เจ้าอาวาสวัดหัวป่าในสมัยนั้น เพื่อศึกษาภาษาไทย อักษรขอม และอักษรสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งพระอธิการคงได้รับไว้เป็นศิษย์และสอนให้ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถ อ่านออกเขียนได้
■ บรรพชาและอุปสมบท ■
หลวงพ่อปลอด ได้รับการศึกษาอบรมด้านพระธรรมวินัย ครั้นพออายุได้ 19 ปี เกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ขอบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม 2459 ณ วัดหัวป่า โดยมีพระอธิการคง ฆงคสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว สามเณรปลอดก็ได้ศึกษาวิชาวิทยาเวทย์ และคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อคง ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรสูง จึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อคงอย่างรวดเร็ว พออายุครบอุปสมบท สามเณรปลอดก็ได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 กรกฎาคม 2460 ตรงกับ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ณ วัดหัวป่า โดยพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุก ธมฺมสโร และ พระชู ติสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า“ปุญฺญสฺสโร”
■ ด้วยเหตุที่เป็นผู้ที่รักในการศึกษาหาความรู้ จึงเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา พระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบผ่านและได้เลื่อนวิทยฐานะตามลำดับ ดังนี้
อายุ 35 ปี พรรษาที่ 14 สอบได้นักธรรมตรี นวกภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2475
อายุ 38 ปี พรรษาที่ 17 สอบไล่ได้นักธรรมโท มัชฌิมภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2478
วันที่ 5 ธันวาคม 2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิศิษฐ์บุญสาร” เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี
วันที่ 5 ธันวาคม 2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูพิศิฐ์บุญสาร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท
นอก จากความรู้ทางธรรมแล้ว ท่านยังได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาเวทย์ จากอาจารย์ที่มีความรู้เรื่องไสยเวทย์ ไม่ว่าจะเป็นสมณะชีพราหมณ์ หรือเพศฆราวาส ได้ศึกษาภาษาขอมจากพระอาจารย์ไข่ ศึกษาวิธีทำตะกรุดพิศมร จากอาจารย์ทวดทองขาว ซึ่งเป็นฆราวาสและผู้เรืองวิทยาเวทย์แก่กล้ามาก โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี หนังเหนียว ศาสตราอาวุธทั้งหลายไม่สามารถทำอันตรายได้เลย
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์เพิ่ม ซึ่งเป็นฆราวาสอยู่ที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และจากพระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ต่างๆอีกมากมาย จนรู้แตกฉานทางวิทยาคมในแขนงต่างๆ จนในที่สุดได้เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกในงานต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน
■นับได้ว่าหลวงพ่อปลอด เป็นพระอริยะสงฆ์ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม และเมตตาจิตรเป็นพระเถราจารย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของภาคใต้ ท่านเป็นภิกษุที่มีความเมตตา ยินดีรับทุกข์ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือ ช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ของผู้เดือดร้อน เป็นศูนย์กลางความสามัคคี ใครทะเลาะวิวาทกันก็เรียกมาพูดคุย จนกระทั่งคู่กรณียอมรับในคำตัดสิน แม้ในยามวิกาล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ถูกงูพิษกัด ได้รับการรักษาจนรอดปลอดภัยทุกราย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในละแวกบ้าน จนชาวบ้านเรียกท่านติดปากว่า“พระอาจารย์ปลอด” หรือ “พ่อท่านปลอด”
■ในทางวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อปลอดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคนานาชนิด เช่น การรักษาผู้วิกลจริต หรือเสียสติ การรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ติดยาเสพติด ผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะวิชาสยบแมลงป่อง วิชาผสานพลังจิต เป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก ท่านจึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นผู้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ช่วยเหลือทางราชการในการรักษาพยาบาล เนื่องจากสมัยนั้นโรงพยาบาลของรัฐมีไม่เพียงพอ และอยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก นอกจากนั้นท่านยังมีพลังจิต มีพลานุภาพในการทำน้ำพระพุทธมนต์เพื่อขจัดปัดเป่า ผู้ที่ถูกคุณไสยหรือผีเข้า ล้างสิ่งอัปมงคล และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ คือท่านมี “วาจาสิทธิ์” พูด อะไรจะเป็นไปตามที่พูดเสมอ ในแต่ละปีทางวัดจะจัดพิธีสรงน้ำหลวงพ่อปลอด ในเดือน 5 (เมษายน) ของทุกๆปี บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเฉพาะผู้ชายจะหมอบลงกับพื้น เริ่มที่ประตูห้องตลอดไปตามแนวระเบียงนอกชานกุฏิ จนถึงสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ของวัดจัดไว้ เป็นที่ให้ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปมาสรงน้ำ โดยทุกคนต้องการให้หลวงพ่อเหยียบบนร่างกายของตนเพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมกับอธิษฐานขอพรตามปรารถนา
■ งานด้านการปกครอง ■
พ.ศ. 2474 เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวป่า
พ.ศ. 2478 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดหัวป่า
พ.ศ. 2507 เป็นพระอุปัชฌาย์
เนื่อง จากหลวงพ่อปลอดเป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย ท่านจึงยึดมั่นในระเบียบการครองวัดตามระเบียบของมหาเถรสมาคม มีการทำอุโบสถ สังฆกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดปี มีกฎระเบียบของวัดเกี่ยวกับ การบวชนาค นวกภิกษุ การเรียนการสอนปริยัติธรรม และการ อบรมศิษย์วัด เป็นต้น



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-4 18:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
■ งานด้านการศึกษา ■
เนื่องจากหลวงพ่อปลอด เป็นผู้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการศึกษา ท่านจึงพยายามสั่งสอนศิษย์ทุกคนให้ได้รับการศึกษา และหาความก้าวหน้าในชีวิตด้านการศึกษา วิธีการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ศิษย์รักการศึกษา คือ การตั้งรางวัลให้ทุนกับผู้ที่มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร และเรียนดี นอกจากนั้น ท่านยังสนับสนุนโดยการส่งภิกษุสามเณร ที่ท่านเห็นว่ามีภูมิปัญญาควรแก่การส่งเสริมให้ไปศึกษาเล่าเรียน ณ สำนักเรียนอื่นๆ ซึ่งมีการจัดการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น จะเห็นได้จากศิษย์ของหลวงพ่อปลอดหลายรูปจบปริญญาตรี โท และปริญญาเอก
■ การเผยแพร่พระศาสนา ■
ตั้งแต่ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ท่านเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยเป็นผู้ให้การอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและประชาชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 – 2535 และในปี พ.ศ. 2519 ท่านได้ร่วมมือกับธรรมฑูตในการเผยแพร่ศีลธรรมให้กัวนักเรียนและชาวบ้านหัวป่า ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมทำความดี ทำบุญกุศล และร่วมพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และที่สำคัญคือ ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ในช่วงเข้าพรรษาของทุกๆจะมีผู้เลื่อมใสศรัทธาบวชเรียนประจำพรรษาอยู่วัดหัว ป่า เป็นจำนวนมากจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
■ งานด้านสาธารณูปการและการพัฒนาวัด ■
หลวงพ่อปลอดนอกจากเป็นพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาเวทย์แล้ว ยังเป็นพระผู้นำ พระนักพัฒนา ท่านชอบสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ท่านไม่เคยอยู่นิ่งเลย ได้สร้างสิ่งต่างๆ อาทิ
□พ.ศ. 2483 สร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดหัวป่า มีลักษณะทรงปั้นหยา กว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร ราคาก่อสร้าง 2,000 บาท
□พ.ศ. 2492 สร้างพระอุโบสถถาวร หลังที่ 3 ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุด
□พ.ศ. 2497 สร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร ราคาก่อสร้าง 70,000 บาท
□พ. ศ. 2505 เริ่มดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เนื่องจากหลังเก่าชำรุดมาก จึงให้รื้อและสร้างใหม่ให้ถาวร กว้าง 9 เมตร ยาว 16 เมตร
□พ.ศ. 2513 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ค่าบูรณะ 20,000 บาท และในปีเดียวกันท่านได้ชักชวนให้ชาวบ้านขุดสระน้ำในในบริเวณที่ดินวัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี
□พ.ศ. 2515 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิลักษณะทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 9 เมตร ยาว 9 เมตร ค่าบูรณะ 65,000 บาท ท่านได้ชักชวนให้ราษฎรบ้านหัวป่าพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยตัดถนนหน้าวัดยาว 2 กิโลเมตร
□พ.ศ. 2523 สร้างศาลาการเปรียญ (โรงธรรม)
□พ.ศ. 2524 สร้างเมรุเผาศพ (รื้อแล้ว)
□พ.ศ.2526 – 2527 สร้างหอระฆัง
■ช่วงสุดท้ายของชีวิต■
หลวงพ่อปลอดได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 สิริอายุรวม 97 ปี พรรษาที่ 76 ปัจจุบันร่างของท่านนอนสงบนิ่งอยู่ในโลงแก้ว ณ กุฏิหลังหลังเดิมของท่าน วัดหัวป่า อ.ระโนด จ.สงขลา


ที่มา..
1. น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์ เรื่อง หลวงพ่อปลอดวัดหัวป่า นิตยสารมหาโพธิ์ เล่มที่ 76-81
2. ทรงพล มากชูชิต นิตยสารเทียนชัย ฉบับพิเศษ
3. สุศิษย์ เรื่องชีวประวัติหลวงพ่อปลอด หนังสือระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ 31

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-4 18:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
'กฤษณกร กิติคุณ'กับ...ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า : พระเครื่องคนดัง เรื่อง/ภาพ สุพิชฌาย์ รัตนะ ศูนย์ข่าวภาคใต้



"พระมีประสบการณ์” หมายถึงประสบการณ์ที่เกิดจากพุทธคุณด้านต่างๆ อาทิ แคล้วคลาด เมตตามหานิยม รวมทั้งมหาอุดหยุดลูกปืน ซึ่งเป็นเหตุผลแรกในการเลือกนิมนต์ขึ้นคอ เช่นเดียวกับ “กฤษณกร กิติคุณ” หรือ "เล็ก ระโนด” นักธุรกิจค้าผ้ารายใหญ่เจ้าของแบรนด์ "สุคนธ์พาณิช” ในฐานะผู้รับมรดกจำหน่ายอาภรณ์จากอาก๋งที่มาปักหลักเริ่มต้นที่ อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นเวลายาวนานหลายสิบปี นอกจากนี้ "เล็ก ระโนด" ยังชื่นชอบพระเครื่องเป็นพิเศษ

              ด้วยความที่เติบโตมากับธุรกิจค้าขายบนแผ่นดินเมืองระโนดทำให้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะ "วัดหัวป่า” ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งในยุคนั้นต้นตระกูลได้มีโอกาสเป็นโยมอุปัฏฐากวัดแห่งนี้ โดยมีเจ้าอาวาส “พระครูพิศิษฐ์บุญสาร” หรือ "หลวงพ่อปลอด โดยชาวบ้านละแวกวัดเรียกขานตามภาษาถิ่นว่า “พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” จึงไม่น่าแปลกใจที่เจ้าตัวจะศรัทธาและเลื่อมใสใน "หลวงพ่อปลอด” เป็นอย่างมาก

              “กฤษณกร” บอกว่า ปัจจุบันจึงมีพระที่ติดตัวประจำคือ “รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกหลวงพ่อปลอด กะไหล่ทอง ปี ๒๕๑๒” และ “นางกวักหลวงพ่อปลอด” ติดตัวไม่เคยห่างกาย ด้วยเพราะเกิดประสบการณ์กับชีวิตมาชนิดนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งรอดตายปาฏิหาริย์จากอุบัติเหตุ และช่วยให้ผ่านวิกฤติทางเศรษฐกิจจนประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างไม่น่าเชื่อ

              โดยครั้งหนึ่งช่วงเป็นเด็ก “กฤษณกร” มักจะเก็บเงินค่าขนมนำไปเช่าพระมาเก็บตามความชอบและกำลังที่พอหาเช่าได้ โดยอาศัยหาความรู้จากหนังสือพระและผู้ใหญ่ละแวกที่บ้านคอเดียวกันแต่เพราะยุคนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ตและบุคคลที่เชี่ยวชาญคอยสอนวิธีการดูพระเก๊หรือพระแท้ที่ถูกต้องและถูกหลัก

              "วันหนึ่งผมได้เดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ จึงมีโอกาสเดินเข้าสนามพระชื่อดังหวังจะนำพระที่มีไปเปลี่ยนเป็นเม็ดเงินเพื่อทำธุรกิจเล็กๆ กับพรรคพวก แต่ปรากฏว่าพระที่ครอบครองอยู่นั้นล้วนเป็นพระเก๊ทั้งสิ้น ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าในปัจจุบันยอมรับว่ามีมูลค่ามหาศาลและนั่นจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ต้องกลับมาเรียนรู้และศึกษาพระอย่างจริงจังมากขึ้น" เล็ก ระโนด กล่าว

              ด้วยประสบการณ์ที่เจอกับตัวจึงได้เดินทางกลับบ้านเพื่อตั้งหลักใหม่จึงมีโอกาสได้เห็น "นางกวัก” ของหลวงพ่อปลอด ซึ่งเป็นวัตถุมงคลที่ไม่มีราคาค่างวดมากนัก จึงลองหยิบขึ้นมาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่าให้ช่วยลูกช้างผ่านวิกฤติทางการเงินให้ได้แล้วจะนิมนต์ติดตัวพร้อมกับห่มคลุมจีวรทอง

              “แทบไม่น่าเชื่อว่ารุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๑๖ ซึ่งเป็นวันที่มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลปรากฏว่าผมถูกรางวัลใหญ่สามารถนำเงินมาจุนเจือธุรกิจได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายครั้งหลายคราที่ผมอธิษฐานนางกวักหลวงพ่อปลอดขอให้ช่วยเหลือยามวิกฤติมาเยือนซึ่งก็สมปรารถนาทุกคราไป” กฤษณกร กล่าว

              นอกจากนี้ยังมีพระเนื้อผงเล็บมือหลวงพ่อปลอดที่มักจะพกติดตัวตลอดเวลา เพราะมีพุทธคุณดีเด่นในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย และที่สำคัญในอดีตชาวบ้านที่ได้รับมอบพระรุ่นนี้จากหลวงพ่อปลอดจะนำไปฝนกับน้ำซาวข้าวเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากพิษจากแมลง สัตว์ กัด ต่อย ไม่เว้นแม้กระทั่งงูเงี้ยวเขี้ยวขอ

              “จากประวัติหลวงพ่อปลอดได้ศึกษาด้านแพทย์แผนไทยจนแตกฉานจนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคนานาชนิด เช่น รักษาไข้ รักษาผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะวิชาสยบแมลง จึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้ตกทุกข์ได้ยาก อีกส่วนหนึ่งที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ คือท่านมีวาจาสิทธิ์ พูดอะไรจะเป็นไปตามที่พูดเสมอ ในแต่ละปีทางวัดจะจัดพิธีสรงน้ำหลวงพ่อปลอด ในเดือน ๕ (เมษายน) ของทุกๆปี” กฤษณกร กล่าว


ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140301/179962.html


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-4 18:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-4 18:19

“อำเภอระโนด”  เมื่อ 40 ปีก่อน




ปัจจุบันเป็นแบบภาพด้านล่างครับ





: สำหรับ “อำเภอระโนด” นั้น เป็น อำเภอหนึ่ง ในจำนวน ๑๖ อำเภอของจังหวัดสงขลา ที่เป็นศูนย์กลางของการค้าธุรกิจในสมัยอดีต ที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุดในสมัยก่อน กลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศย์ในอนาคตอันใกล้

: มองย้อนกลับไปประมาณเมื่อ ๔๐ ปีทีผ่านมาของอำเภอระโนด จากความทรงจำของกระผม สมัยยังเป็นเด็กนักเรียนที่ ร.ร. วัดคลองแดน พร้อมอุปถัม ระโนดมีแต่สะพานไม้เคี่ยมทอดยาวตั้งแต่ตลาดทิศตะวันออกจนถึงตะวันตกยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เด็กสมัยนั้นไม่ค่อยมีรองเท้าใส่กันนอกเสียจากผู้ที่อาศัยในตลาดจึงจะมีใส่กัน เด็กที่อยู่ไกลตลาดส่วนมากเดินเท้าเปล่า สะพานไม้เคี่ยมจะมีเสี้ยนสีดำๆ ถ้าเดินไม่ระวังจะถูกเสี้ยนไม้แทง การเดินเท้าเปล่าบนสะพานตอนเช้ายังเดินแบบสบาย เพราะสะพานยังไม่ร้อน แต่พอช่วงกลางวันแดดจัดๆบนพื้นไม้สะพานร้อนมากจนอาจทำให้พองได้ จึงต้องเดินให้เร็วหรือวิ่งหรือไม่ก็ต้องหลบไป เดินตรงบริเวณที่มีเงาบ้าน บ้านจะสร้างติดสะพาน ทอดยาวเชื่อมติดกันตลอด และมีแนวชายคาบ้านยื่นออกมาเกือบครึ่งสะพาน

: เมื่อถึงหน้าฝน ระโนดจะเกิดน้ำท่วมหรือน้ำพะทุกปีทำให้กระดานไม้เคี่ยมหลุดลอยไปกับน้ำทำให้เกิดเป็นร่อง ถ้าเดินไม่ระวังก็ตกร่องหรือลอดร่องสะพาน ต้องเดินงมกันไปตลอดทาง กว่าจะถึงที่หมายก็ใช้เวลานานพอควร จำได้ว่านักเรียนคนไหนที่พลาดตกร่องเสื้อผ้าเปียกก็กลับบ้านไม่ต้องเรียนหนังสือในวันนั้น ก็ได้เล่นน้ำทั้งวันไป สมัยนั้นแต่ละบ้านส่วนมากมีเรือพายใช้กัน
ระโนดมีเรือหางยาวที่เป็นเอกลักษณ์ของคนระโนดเป็นเรือมาดที่ขุดจากต้นไม้ทั้งต้นตัวเรือจะเรียวสวยงามมาก เป็นเรือรับจ้างวิ่งรับผู้โดยสารจากตำบลต่างๆ ของอำเภอ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง ประมาณได้ว่าเกีอบ ๑๐๐ ลำ คลองระโนดไม่เงียบเหงาเหมือนสมัยนี้ ระโนดเป็นเมืองน้ำ ชาวระโนดจะต้องยอมรับความจริงในข้อนี้และเมื่อเป็นเมืองน้ำก็ต้องพยายามหาประโยชน์จากทางน้ำ

: ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
www.zoonphra.com
: ภาพประกอบ คุณมณฑลี ธาระวานิช
: ขออนุญาติเจ้าของเรื่อง-เจ้าของภาพ


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-4 18:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


เส้นทางการคมนาคมของชาวระโนดคือทางเรือ แต่เมื่อถนนสายหัวเขาแดงสร้างเสร็จความสำคัญทางเรือก็เริ่มลดน้อยลงไป ในสมัยก่อนมีเรือยนต์วิ่งจากระโนดไปสงขลา จากระโนดไปพัทลุง จากระโนดไปคลองแดนเส้นทางนี้จะผ่านวัดของหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง และจากระโนดไปตะเครียะซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดหัวป่า ชึ่งมีเกจิดังของเมืองนี้ก็คือหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า การไปตะเครียะสมัยก่อนคนนอกพื้นที่ไม่มีใครอยากจะไปเพราะเส้นทางต้องผ่านดินแดนอาถรรพ์บริเวณอ่าวศาลาทัน ที่เรือต่างพื้นที่ต้องมาล่มลงผู้คนเสียชีวิตเป็นสิบๆ คน หลายครั้งหลายคลาฆ่า ชีวิตคนมาแล้วหลายร้อยกว่าคน มีคนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะเรือลำที่จมในตอนที่วิ่งตัดผ่านอ่าวศาลาทันมิได้ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลอ่าวเสียก่อนและบางรายบอกว่าเรือลำนั้นวิ่งข้ามเศียรพระพุทธรูปซึ่งจมอยู่ใต้ท้องทะเลในละแวกนั้น เนื่องจากในสมันก่อนในอ่าวศาลาทันหรือพื้นที่ใกล้เคียงเคยมีวัดตั้งอยู่ บางคนบอกว่าบริเวณอ่าวศาลาทันมีน้ำวน เมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนครับ
: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า และวัตถุมงคลของท่านถูกเก็บเงียบอยู่ในพื้นที่เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี เมื่อ ถนนหนทางที่จะไป วัดหัวป่าสะดวกขึ้น วัตถุมงคลของท่านเริ่มแผ่รัศมีไปทั่ว จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงโดยปากต่อปาก
: มาวันนี้ถนนสายระโนด–พัทลุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นถนนยกระดับทอดยาวประมาณ ๒๐ กม.บรรยาการสองข้างทาง จากวัดเขาอ้อกับวัดหัวป่าหรีอบ้านหัวป่ากับบ้านทะเลน้อย อ.ควนขนุน ด้านหลังเป็นทะเลสาบสงขลา อีกด้านหนึ่งของถนนเป็นทะเลน้อย มองใกล้ๆข้างถนนเห็นวัว ควาย เป็นฝูงๆ ในทุ่งหญ้า เห็นนกบินเป็นฝูงๆ ในท้องฟ้าและบนดินนกก็เดินหากินกันเป็นฝูงๆ ชาวประมงหาปลาทอดแห ลงอวน สุ่มปลา ข้างถนนบางช่วงก็มีพืชพันธ์สาหร่ายบึงบัวนานาชนิด ป่าไม้ ทุ่งหญ้า มองไกลๆ ออกไปเห็นทิวเขาทิวป่าไม้ เห็นเรือหาปลาในทะเลทิวทัศน์สวยงามมาก อากาศก็แสนบริสุทธิ์ น่าพาครอบครัวหรือคู่หมั้นไปทัศนาจร ข้ามคลองนางเรียม ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลสาบกับทะเลน้อยอดีตมีจระเข้อยู่ชุกชุม ตามกลอนมโนราห์โบราณที่ว่า "หากพ่อไปทางทะเลจะเป็น เหยื่อเข้หรือเหรา" นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ก็ว่าได้
: จึงไม่แปลกที่ทำให้ผู้คนหลั่งไหลมายังวัดหัวป่ามากมายทั่วสารทิศบวกด้วยประสบการณ์ของวัตถุมงคลที่ชัดเจนของแต่ละรุ่น จึงส่งและทำให้วัตถุของท่านทุกรุ่น แพงขึ้นเรื่อยๆและทำถ้าว่าจะแพงขึ้นไปอีก ส่วนเรือที่วิ่งระหว่างระโนดกับสงขลาที่ขึ้นชื่อก็มีอยู่หลายลำ ซึ่งจะออกจากตลาดประมาณ ๒ ทุ่มถึง ๓ ทุ่ม ไปถึงสงขลาก็ใกล้สว่างประมาณตี ๕
: ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
www.zoonphra.com
: ภาพประกอบ คุณมณฑลี ธาระวานิช
: ขออนุญาติเจ้าของภาพ-เจ้าของเรื่อง



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-4 18:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


มีเรื่องเล่าที่ตื่นเต้นเรื่องหนึ่งให้ผู้อ่านได้ฟัง คือในคืนวันหนึ่งขณะที่เรือยนต์กำลังวิ่งจากระโนดไปสงฃลา ในตอนนั้นเป็นเวลาดึกมากแล้วผู้โดยสารส่วนใหญ่จะนอนหลับกันหมด เพื่อนของผู้เขียนซึ่งเป็นคน บ้านตะเครียะ ต้องการจะไปห้องน้ำซึ่งอยู่ท้ายเรือ จึงได้เดินลัดเลาะไปตามกราบเรือ จะด้วยสาเหตุเพราะความง่วงนอนหรือเหตุผลอื่นใดไม่ทราบ จึงได้พลัดตกไปในทะเลสาบ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำเรือหรือผู้โดยสารคนใดทราบเลย เขาเล่าว่า ตัวเขาเองว่ายน้ำไม่เก่ง และกระแสน้ำเชี่ยวมาก เขาคิดอยู่ในใจว่าคงตายแน่นอน จะตะโกนให้ใครช่วยเหลือก็ไม่มีใครได้ยิน เรื่องความกลัวเขาบอกว่าไม่ต้องพูดถึง และในขณะนั้นได้เกิดภาพความน่ากลัวเกิดขึ้นต่างๆ นานา และสิ่งที่ทำให้เขาตกใจกลัวมากที่สุด คือ แสงระเรื่อสีเขียวอ่อนเกิดขึ้นรอบตัวเขา และแน่นอนที่เขาคิดว่ามันไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากผีพลายตามผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังเขาแถบหมดสติ ความหวังสุดท้ายก็ต้องพึ่งพระที่ห้อยคอ ก็ได้เอามือไปกำพระที่อยู่ในคอ และได้เกิดภาพพระสงฆ์ขึ้นมารูปหนึ่ง เขาหลับตาชั่วหนึ่ง ทันใดนั้นน้ำได้พัดพาร่างของเขาไปชนกับเสาโพงพาง เขาบอกว่าโชคดีที่ไม่ติดเข้าไปในโพงพางจึงได้อาศัยเกาะเสาหลักอั้นนั้นเอาไว้แน่น ความหนาวเย็นและความกลัวไม่ลดลงไปได้เลย เขาเกาะเสาหลักอยู่นานเท่าใดไม่สามารถทราบได้แน่นอน แต่เป็นเวลานาน ต่อมาเขาเห็นเรือพายลำหนึ่งพายเข้ามาหา จึงได้ร้องตะโกนขอความช่วยเหลือ แทนที่เรือลำนั้นจะพายเข้ามา แต่กลับรีบพายหนีออกไปโดยไม่มองกลับหลังอีกเลย และมาทราบเอาตอนรุ่งเช้าจากเจ้าของโพงพางนั้นว่าที่เขาพายเรือหนีไปเพราะพวกเขาคิดว่าเป็นผีพลาย เนื่องจากไม่คิดว่าในเวลานั้นและสถานที่นั้นจะมีมนุษย์มาจับเสาโพงพางอยู่เป็นแน่แท้ ในตัวของเขานั้นเล่ามีเพียงเนื้อว่านรุ่น "อินโดจีน" เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่แม่ได้รับมาจากตาหลวงปลอด แห่งวัดหัวป่า นานมาแล้วเป็นเนื้อว่านรุ่นแรกของท่านที่ท่านทำเอง และแม่ก็มอบให้เขาไว้เพื่อคุ้มครอง
: ท่ามกลางทะเลสาบอันแสนจะเงียบเหงาและห่างไกลจากความเจริญ น้อยคนนักที่จะคิดไปว่า การห่างไกลออกจากตัวเมืองระโนดไปอีกประมาณ 10 กม. ที่สมัยก่อนต้องเดินทางเรือหรือเดินเท้าใช้เวลาเป็นวัน จะมี พระอริยสงฆ์ ที่เป็นผู้ทรงวิทยาคมเรืองวิทยาเวทย์บำเพ็ญตนในเพศสมณะที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจริยาวัตรอันงดงามประกอบด้วยวัตรปฏิบัติอันสมถะสันโดษ ปราศจากมลทินใดๆ พลังจิตแก่กล้าเปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง และมีปัญญา แห่งธรรมอันล้ำเลิศ ดุจหนึ่งเป็นเพชรน้ำเอก ของผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาจากองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีปฏิปทาอันน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส่อย่างที่สุดเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรครองจิตใจผู้คนทั่วไป พุทธศาสนิกชนต่างทราบเกียรติประวัติของพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งเป็นอย่างดี ...พระเดชพระคุณเจ้าที่กล่าวถึงนี้คือ... ท่านพระครูพิศิษฐ์บุญสารหรือหลวงพ่อปลอด แห่งวัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

: ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
www.zoonphra.com
: ภาพประกอบ คุณมณฑลี ธาระวานิช
ขอนุญาติเจ้าของภาพ-เจ้าของเรื่อง


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-4 18:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-4 18:32

ยังไม่จบครับ เด๊่ยว ค่อยมาต่อแล้วกัน


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
AUD ตอบกลับเมื่อ 2016-6-4 18:30
ยังไม่จบครับ เด๊่ยว ค่อยมาต่อแล้วกัน

รออยุ่นะ เตง  
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-8 22:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ก็เก๊า นึกว่าไม่มีใครสนใจอ่าน เลยไม่ได้มาลงต่อ
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-8 22:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นายเสาร์ เกิดขัดใจกันด้วยเหตุผลส่วนตัวกับ นายเจริญ (ยามเยี้ยน) ศรีนอง และไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดเกิดท้าดวลปืนกันขึ้นข้างโรงสูบน้ำชลประทานที่ข้างวัดหลวงพ่อนั่นเอง ทั้งสองฝ่ายสาดกระสุนเข้าหากันจนกระสุนหมดรังเพลิง ปรากฏว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกกระสุนเลย ในที่สุดจึงหันหลังแยกจากกันไป
สองคนน้าเสากับหลวงเยื้อนเป็นศิษย์รักตาหลวงแกบอกว่าไม่ต้องไปห้ามมันเพราะมันทำไหรกันไมได้ เพราะก่อนเกิดเรื่องมีคนไปบอกตาหลวงแล้วว่าให้ไปห้ามแล้วตาหลวงบอกว่าไม่เป็นไรมันทำไหรกันไม่ได้เดียวมันเลิกเอง ปากศักดิ์สิทธิ์ครับ..







ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้