พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฯโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่ สงฆ์จีนนิกาย รูปที่6 ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปที่1 เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์ แมนคุณาราม เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิทัตตา ราม ศรีราชา ชลบุรี ก่อนมรณภาพ เมื่อ วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2529 ท่านดำรงสมณะ ศักดิ์พระราชาคณะชั้นสัญญาบัตร(เทียบชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา ในราชทินนามพระมหา คณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้ง สถานะเดิมชื่อธง สกุลอึ้ง ท่านกำเนิดเมื่อ วันที่ 16 เดือน 6 จีน ปืนขาล พ.ศ.2444 จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑล กวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่มารดาจางไทฮูหยินเกิดในตระกูลเตียท่านสืบเชื้อสายขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและ มารดาซึ่งเป็นอุบาสก อุบาสิกา เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ กำพร้าบิดามาแต่เยาว์วัย จางไทฮูหยินมารดา ได้ อบรมบุตรให้ประพฤติในธัมมานุธรรมปฏิบัติท่านได้รับการศึกษาตามแบบจีนเก่าจบชั้นมัธยม บริบูรณ์ในประเทศจีนสมัย นั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม ได้เข้ารับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่งในขณะ รับราชการทหารอยู่ ท่านได้สติเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสวิสัย จึงตั้งปณิธาน น้อมจิตเข้าสู่ พุทธธรรม การตัดสินใจในครั้งนั้นเป็นผลดีต่อพุทธศาสนาและ คณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศ ไทย อย่างมหาศาล สาธุชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายได้รับการชักนำจากท่านเข้า สู่พุทธธรรม พระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานได้ตั้งมั่น สืบต่อ ยั่งยืนในภูมิภาคนี้
- ในปี 2470 ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ อายุย่างเข้า 26 ปีได้เดินทาง เข้ามาในประเทศไทย เพื่อศึกษาหลักธรรมและสักการะปูชนียะสถานต่างๆ ตามที่ท่านได้รับฟัง มาก่อน พร้อมกับได้สืบเสาะหาพระอาจารย์ที่มีบารมี ความรู้ เมื่อพบจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ขอบรรพชาในสำนักพระอาจารย์ หล่งง้วน เป็นอุปัชฌาย์และบรรพชา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2471 ณ.สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน(เช็งจุ้ยยี่) พระพุทธบาท สระบุรี ท่านอาจารย์หล่งง้วนได้ บรรพชาให้ และให้ฉายา ท่านว่า “โพธิ์แจ้ง”หลังจากบรรพชาแล้วท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งหน้าศึกษาบำเพ็ญเพียรปฏิบัติกรรมฐานอย่าง มุ่งมั่น บริเวณวัดถ้ำประทุนในขณะนั้นยังห่างไกลความเจริญ การสัญจรไม่สะดวก คนไปมาหา สู่น้อยเต็ม ไปด้วยสัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งมั่นปฏิบัติพร้อม กับการสังคมสงเคราะห์ ด้วยท่านได้เคยเรียนรู้เรื่อง ตำรับยามาบ้าง เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ได้ ท่านก็เป็นธุระรักษาพยาบาลให้บาง รายอาการหนักถึงแก่กรรม ท่านก็ช่วย ประกอบกิจการศพ ให้ ท่านยังได้ทำการพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆ ตามโอกาส เช่น ท่านได้สกัดหินภูเขาเพื่อ สร้างทางเดิน ให้ชาวบ้าน เป็นต้น ด้วยความยากลำบาก ความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสังคม ความมุ่งมั่นใน การ บำเพ็ญเพียร จนครั้งหนึ่งท่านได้เกิดโรคไข้จับสั่น ทุกข์เวทนามาก แต่ ท่านก็ไม่ย่อท้อ เมื่อหนาวสั่นก็ออกไปทุบหิน จนร่างกายที่หนาว กลับกลายเป็นร้อน เมื่อร้อน เหงื่อโชกก็พักหายเหนื่อยก็ไปสรงน้ำ ทำเช่นนี้ตลอด ชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน ท่านก็สามารถเอา ชนะโรคร้ายนั้นได้
- ในสมัยนั้นพระสงฆ์จีนไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวจีนมากนัก ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้พิจารณาเหตุแห่งสภาพนั้น พร้อมทั้งตั้งสัจจะ ปณิธานที่จะปรับปรุงคณะสงฆ์จีนใหม่ เพื่อนำความเลื่อมใสศรัทธา รุ่งโรจน์ ให้บังเกิดขึ้นใน ภายภาคหน้า ซึ่งเป็นการง่ายในการตั้งปณิธานแต่ยากในการปฏิบัติ ด้วยว่าตนเองจะต้อง ประกอบด้วย ขันติ วิริยะ ปัญญา บารมี และคุณธรรม ด้วยปณิธานในครั้งนั้น ทำให้ท่านต้องรับ ความยากลำบากอย่างมาก ถึงขั้นมีผู้หมายปองชีวิต ดังเหตุการณ์ร้ายแรงเหตุการณ์หนึ่ง หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 5025 วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 ได้ลงข่าว พาดหัวว่า วางระเบิดสังหารสงฆ์ใหญ่จีน มือมืด ซุกใต้เบาะรถยนต์-นั่งทับ ระเบิด รอด มรณภาพได้ปาฏิหาริย์ ถึงแม้จะมีความยากลำบากในการสร้างความมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีน เพียงใดท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ยังคงมุ่งมั่นในการปฏิบัติ
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บำเพ็ญเพียร ศึกษาปฏิบัติ ที่ วัดถ้ำประทุน จนแตกฉานในพระไตรปิฏกรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อุบาสก อุบาสิกา ผู้เคารพเลื่อมใสในกรุงเทพฯได้นิมนต์ ท่านแสดงธรรมโปรดชาวเมืองอยู่เนืองๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงได้ย้ายมา จำพรรษาอยู่ใน กรุงเทพ ณ.สำนักสงฆ์หมี่กัง สะพานอ่อน ขณะนั้นพุทธศาสนาฝ่ายจีนยังไม่แพร่หลาย วัดและ สำนักสงฆ์ ยังน้อย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ดำริว่า ต้องสร้างคนก่อนแล้วค่อยสร้างวัตถุ เมื่อคนมี ีคุณภาพทางจิตและผูกพัน การพัฒนา สังฆมณฑลจีนนิกายก็ราบรื่นและแพร่ไพศาล ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้เริ่มแผ่เมตตา รับสานุศิษย์(กุยอี)เข้าปฏิญาณตน เป็นพุทธมามะกะรับ คำสอนจากท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นรุ่นๆ รุ่นละร้อยกว่าคนบ้าง สองร้อยกว่าคนบ้างท่านเป็นที่ พึ่งแก่พุทธศาสนิกชน ่ทั้งชาวจีนและชาวไทยในกรุงเทพขณะนั้นและต่อๆมาวางรากฐานมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีนนิกาย ในประเทศไทย -ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน ได้ ดั้นด้นธุดงค์ บำเพ็ญบารมีไป ได้เข้าศึกษามนตรยาน ณยิงมาคากิว ณ.สำนักสังฆราชา ริโวเช่ แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา “วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้”(นอร่ารินโปเช่) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต ท่านสังฆราชานะนา เลื่องลือมาก ในแถบจีน ตอนใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคาชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณยิงมาคากิว แล้ว พระสังฆราชาฯได้ประกอบมนตรภิเษก ตั้งให้ ท่านเจ้าคุณ อาจารย์เป็น “พระวัชรธราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชา นะนา ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่าง ครบถ้วน ทั้งได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายเพื่อให้ท่านเจ้าคุณ อาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วย ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด เป็นที่ยืนยันแล้วว่า พระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ณ.วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑล กังโซว โดยมีพระคณาจารย์ฮ่งยิ้ม เป็นอุปัชฌาย์ ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัย สำนักปฏิบัติ ธรรมวินัยแห่งนี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดที่สุดของจีน เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระคณาจารย์เพิ่มเติมอีก 2 ปี ด้วยสติ ปัญญา อันหลักแหลมฉลาดเฉลียว ท่านได้เรียนรู้อรรถธรรมลึกซึ้งต่างๆได้แตกฉานเป็นที่รัก ใคร่ของพระอาจารย์ และ พระสงฆ์ต่างๆ ในสำนัก ปี พ.ศ.2479 จึงได้จาริกกลับประเทศไทย เพื่อเผยแพร่พระธรรมและประสบการณ์ความรู้ ที่ได้รับมาแก่พุทธบริษัทในประเทศไทยต่อไป
|