ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1924
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

คู่บารมีจักรพรรดิ (โดย กิเลน ประลองเชิง)

[คัดลอกลิงก์]



ใครที่เคยไปถึง วัดมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ ก็จะถูกพาไปชม รูปหล่อโลหะสำริดศิลปะเขมร สมัยบายน ขนาดใหญ่ ๖ รูป

ช้างสามเศียร ๑ ราชสีห์หรือสิงห์ ๓ และเทวรูปอีก๒

รูปหล่อสำริดเหล่านี้ เดิมทีมีอยู่ ๓๐ รูป แต่เหตุจากการถูกอพยพเคลื่อนย้าย ไปอยู่หลายเมือง ในช่วงเวลายาวนาน...จึงสูญหายพลัดพรายไป ๖ รูปที่เหลืออยู่ ก็ชำรุดหักหายไม่สมบูรณ์

ชาวพม่าเชื่อกันว่า ศักดิ์สิทธิ์นัก มักมากราบไหว้บนบาน ด้วยการกอดจูบลูบคลำ

บางส่วนรูปสำริดสึกหรอ มองเห็นเนื้อโลหะผสมสุกปลั่ง...ค่านิยม การอนุรักษ์วัตถุโบราณ...ให้เหลือไว้ในสภาพเดิม ตามความนิยมยุคใหม่ ในกรณีนี้...ยังไปไม่ถึงพม่า

รูปสำริดเหล่านี้ เดิมทีอยู่ในนครธมแห่งอาณาจักรขอม เมื่อเจ้าสามพระยา (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒) แห่งกรุงศรีอยุธยาตีนครธมได้เมื่อ พ.ศ.๑๙๖๖ ก็ขนย้ายมาไว้กรุงศรีอยุธยา

ต่อมา เมื่อ พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองของพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ก็ขนย้ายเอาไปไว้กรุงหงสาวดี

หนังเรื่องสมเด็จพระนเรศวรที่ท่านมุ้ยสร้าง ในขบวนเชลยอยุธยา มีล้อเลื่อนบรรทุกเทวรูปสำริดชุดนี้ให้เห็นด้วย...

เมื่อหงสาวดีถูกยะไข่และตองอูร่วมกันโจมตี...กลายเป็นผู้แพ้ รูปสำริดชุดนี้ก็ถูกย้ายไปอยู่ที่วัดมหามัยมุนี เมืองยะไข่

ไม่นาน ในสมัยพระเจ้าปดุงยกทัพไปตียะไข่ได้ พระมหามัย–มุนีแลรูปสำริดเขมรเหล่านั้นก็ถูกย้ายไปอยู่กรุงอมรปุระ

ตามการแบ่งเขตปกครองปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองมัณฑะเลย์

ศาสตราจารย์ฌอง บวชซิเลเย่ร์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ อธิบายว่า รูปสำริดเหล่านี้ นอกจากถือเป็นวัตถุมีค่าแล้ว ยังถือเป็น “สัญลักษณ์ของพระราชอำนาจขององค์จักรพรรดิ”

การเคลื่อนย้าย...ไปอยู่ในครอบครองของผู้ชนะ ทำก่อนการทำลายศาสนสถานผู้แพ้ อันเป็นหัวใจของเมืองให้ย่อยยับ

ปราสาทนาคพัน ศาสนสถานสำคัญของเขมร ก็ถูกทำลายไปในครั้งนี้

นี่คือ การทำลายล้างสิทธิอันชอบธรรม ของกษัตริย์ผู้พ่ายแพ้ ให้ราบคาบอย่างสิ้นเชิง

ย้อนไปถึง เวลาที่รูปหล่อสำริด สัญลักษณ์แห่งอำนาจกษัตริย์...ยังอยู่ในอยุธยา โดยชัยภูมิของนคร โดยกำลังของคนไทย...กองทัพพระเจ้าบุเรงนองหักเอาไปไม่ได้ง่ายๆ

แต่สงครามครั้งนั้น...พม่าไม่แค่เอา ขุนนางนักรบฝีมือดีระดับแม่ทัพอยุธยา ที่เอาตัวไปเป็นเชลยในสงครามครั้งก่อน อย่างพระยาจักรี ยังได้ พระมหาธรรมราชา อุปราชจากเมืองพิษณุโลก มาเป็นทัพเสริม

แม้ประวัติศาสตร์ภาพใหญ่ จะถูกบันทึกไว้ว่า เป็นสงครามระหว่างไทยกับพม่า แต่ก็มีบางคนบันทึกใหม่...เป็นสงครามระหว่างไทยกับไทยด้วยกันเอง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก...พระเจ้าบุเรงนองก็ขนทุกอย่าง...ผู้คน ทรัพย์สินมีค่า เทวรูปสำริดเขมร สัญลักษณ์แห่งอำนาจ...ฯลฯ ไปไว้พม่า ทิ้งซากอยุธยา และคนนิดน้อย เอาไว้ให้พระธรรมราชา

ประคับประคองพระองค์ในฐานะผู้นำประเทศราช

เพราะเหตุนี้แผนที่ที่ฝรั่งเขียนบางฉบับจึงไม่ระบุแนวเขตประเทศสยาม...เพราะช่วงเวลานั้น สยามเป็นเพียงเมืองเมืองหนึ่ง ในอาณาจักรพะโคของพม่า

สงครามระหว่างไทยกับไทย ยังเกิดขึ้นต่อมาอีกหลายครั้ง ครั้งล่า... พูดกันถึงสิ่งที่เสียหาย...ในสงครามสมัยใหม่เขาวัดกันด้วยตัวเลขเศรษฐกิจ ตัวเลขจีดีพี การท่องเที่ยว การส่งออก ค่าเงิน ค่าทองคำ ดัชนีตลาดหุ้น ฯลฯ ลดเหลือแค่ไหน

เงินทองที่ทำท่าจะไหลเข้า ถ้ายังรบกันไม่เลิก มันก็จะไหลออก

แต่ไม่เป็นไร...เราโชคยังดี ที่แผนที่โลก ยังมีแนวเขตประเทศไทย...ตั้งใจดูๆกันไว้ให้ดีๆ...พลาดพลั้งเผลอไผล มันอาจจะหายไป

เหมือนชุดเทวรูป ครั้งหนึ่งเคยเป็นของเรา แต่ครั้งเป็นของพม่า จะเอาคืน ก็คงไม่ได้ มันสายเกินไปแล้ว.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/418304

http://www.seasuntour.com/_m/article/content/content.php?aid=538677833

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namon&month=05-03-2008&group=4&gblog=36
















2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-1 16:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างสามเศียร 1 ราชสีห์หรือสิงห์ 3 และเทวรูปอีก 2





3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-1 16:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชาวพม่าเชื่อว่าใครที่เจ็บปวดตรงส่วนไหนของร่างกาย ให้มาลูบคลำตรงส่วนนั้นของเทวรูปก็จะทำให้อาการดีขึ้นหรือช่วยรักษาอาการได้




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2016-9-19 06:49


สงครามระหว่างไทยกับไทย ยังเกิดขึ้นต่อมาอีกหลายครั้ง

ครั้งล่า... พูดกันถึงสิ่งที่เสียหาย...

ในสงครามสมัยใหม่เขาวัดกันด้วยตัวเลขเศรษฐกิจ ตัวเลขจีดีพี
การท่องเที่ยว การส่งออก ค่าเงิน ค่าทองคำ
ดัชนีตลาดหุ้น ฯลฯ ลดเหลือแค่ไหน

เงินทองที่ทำท่าจะไหลเข้า ถ้ายังรบกันไม่เลิก มันก็จะไหลออก





ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้