ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1527
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

บุญกว้าง

[คัดลอกลิงก์]


กบฎบุญกว้างเป็นกบฎที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระเพทราชาอีกเช่นกัน แต่กบฎครั้งนี้เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากส่วนกลาง เพราะเป็นกบฎที่เกิดขึ้นที่เมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญที่ส่วนกลางใช้เป็นฐานอำนาจในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ฟากตะวันออกเฉียงเหนือ

กบฎครั้งนี้เกิดภายใต้ภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่แปลกออกไปโดยเฉพาะเงื่อนไขทางสังคม ซึ่งรวมถึงลักษณะของประชากร ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติลาว และลักษณะวัฒนธรรมและความเชื่อของคนเชื้อชาตินั้น กบฎครั้งนี้ เป็นกบฎลาว ผู้นำกบฎชื่อบุญกว้าง มีถิ่นฐานอยู่แขวงหัวเมืองลาวตะวันออก บุญกว้างเป็นคนที่มี “ความรู้ วิชาการดี” มีสมัครพรรคพวกรวม 28 คน บุญกว้างได้นำสมัครพรรคพวกเข้ายึดครองนครราชสีมาโดยอาศัยวิทยาคุณทางไสยศาสตร์กำหราบเจ้าเมืองและขุนนางคนอื่น ๆ ต่อมาเจ้าเมืองนครราชสีมากระทำกลอุบายแหย่ให้บุญกว้างนำกองทัพยกลงไปตีกรุงศรีอยุธยา จนเป็นเหตุให้บุญกว้างเสียทีและถูกจับกุมตัวประหารชีวิตในภายหลัง

#พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศได้ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปกล่าวคือ

หลังจากที่บุญกว้างและพวกทั้ง ๒๘ คนยึดเมืองนครราชสีมาได้แล้วทางอยุธยาได้ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเป็นเวลานานถึง ๓ ปีก็ตีเมืองไม่สำเร็จชาวเมืองต่างอดอยากเป็นอันมากพวกกบฎทั้ง ๒๘ คนจึงได้หลบหนีออกจากเมืองตามจับตัวไม่ได้ ส่วนแม่ทัพนายกองฝ่ายอยุธยาได้กิตติศัพท์ ว่าพระเพทราชาสวรรคตจึงถอยทัพกลับลงมาด้วยเข้าใจว่าข่าวนั้นเป็นจริง เป็นอันว่าการตีนครราชสีมาครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

ส่วนกลาง (พ.ศ. ๒๒๓๑) ยังความไม่พอใจมาให้กับขุนนางท้องถิ่นที่เป็นฐานอำนาจเดิมของพระนารายณ์ คือพระยายมราชสังข์ เจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พระเพทราชาต้องใช้เวลาปราบกบฎทั้งสองครั้งนี้ราว ๑๐ ปีจึงปราบสำเร็จ อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดกองทัพอยุธยาก็สามารถตีเมืองนครราชสีมาได้แต่พระยาราชสังข์ก็สามารถพาครอบครัวหลบหนีออกจากเมืองได้เช่นกัน หลังจากสงครามครั้งนี้ประมาณ ๖ ปี จึงได้เกิดกบฎบุญกว้างขึ้น

ศึกนครราชสีมาภายใต้การนำของพระยายมราชสังข์ดูจะเป็นกุญแจสำคัญที่พอจะใช้คลี่คลายเงื่อนงำของกบฎบุญกว้างที่เกิดตามมาในภายหลังได้ แต่ก่อนจะไปถึงประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นเขตที่ชนเชื้อชาติลาวอาศัยรวมกันอยู่หนาแน่น การที่อยุธยาจะรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างฐานอำนาจที่มั่นคงในเขตนั้นให้ได้ เมืองที่สำคัญจะเป็นศูนย์อำนาจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะนั้นคือเมืองนครราชสีมา กษัตริย์ที่ส่วนกลางจึงจำเป็นต้องส่งขุนนางที่เข้มแข็ง ทั้งในการปกครองและการรบไปครองเมืองนี้ และที่สำคัญคือขุนนางผู้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์และไว้ใจได้ ด้วยเหตุนี้พระนารายณ์จึงทรงเลือกให้พระยายมราชสังข์ไปครองเมืองนครราชสีมา ครั้นเมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชย์พระยายมราชสังข์ก็พยายามแยกหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกเป็นอิสระจากส่วนกลาง ซึ่งก็สามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

อย่างไรก็ดีภายหลังจากที่พระยายมราชสังข์สิ้นอำนาจลง ปัญหาที่เกิดตามมา คือขุนนางที่ขึ้นมาครองเมืองนครราชสีมาสืบต่อขาดซึ่งอำนาจบารมีพร้อมทั้งฐานกำลังสนับสนุนเช่นพระยายมราชสังข์เป็นไปได้ว่าสถานการณ์ขณะนั้นไม่เปิดโอกาสให้พระเพทราชาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นแทนอำนาจพระยายมราชสังข์เช่นกันทั้งนี้เพราะการปราบกบฎก็ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้นก็ยังคงแข็งเมืองอยู่

ความอ่อนแอของเจ้าเมืองใหม่และการสลายตัวของกลุ่มอำนาจเดิมย่อมผลักดันให้เกิดภาวะความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในชุมชนของชาวลาวซึ่งกระจายตัวอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเปิดโอกาสให้บุญกว้างและสมัครพรรคพวกอ้างตัวเป็นผู้มีบุญและก่อการกบฎขึ้น

เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากบฎบุญกว้างเป็นกบฎเดียวในสมัยอยุธยาที่มีส่วนใกล้เคียงกับกบฎผู้มีบุญภาคอีสานในสมัยรัตนโกสินทร์ การตั้งตัวเป็น “ผู้มีบุญ” ของบุญกว้างย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากชาวลาว ซึ่งมีเชื้อชาติเดียวกันและใช้วัฒนธรรมร่วมกัน หากความในพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศเชื่อถือได้ก็ไม่ใช่ของแปลกที่ชาวนครราชสีมาต่างให้ความร่วมมือกับพวกกบฎเป็นอันดีในการพิทักษ์รักษานครได้ถึง 3 ปี ซึ่งหากพวกกบฎไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวลาวด้วยกันแล้ว ก็ยากที่จะอาศัยกำลังเพียง ๒๘ คนในการเข้ายึดครองเมืองนครราชสีมาและต้านศึกอยุธยาได้เป็นเวลาช้านาน

ที่มา: http://www.baanjomyut.com/library_2/proletarian_revolt/03.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้