ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7071
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระครูวิจิตรสารคุณ ( สุรินทร์ สนฺตจิตฺโต ) วัดลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง ราชบุรี.

[คัดลอกลิงก์]


เรื่องเล่า ภาพเก่า  ในอดีตราชบุรี.






เล่าเรื่อง .. ประวัติและวัตถุมงคล พระครูวิจิตรสารคุณ (สุรินทร์ สนฺตจิตฺโต) วัดลาดบัวขาว  เกจิดัง เมืองคนงาม บ้านโป่ง ราชบุรี.เจ้าตำหรับ เหรียญ
และ ยันต์ หมูตาม -หมูขวาง.ที่โด่งดัง .(ตามที่ท่านสมาชิกขอมาให้โพสต์ครับ )
..
..วัดลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง ตำบลลาดบัวขาว อันมี"พระครูวิจิตรสารคุณ" หรือ"หลวงพ่อสุรินทร์" อดีตเจ้าอาวาส เจ้าของเหรียญหมูขวาง หมูตาม อันลือลั่นสนั่นท้องน้ำแม่กลอง และรอยสักยันต์ที่ตำรวจต้องขอร้องให้หลวงพ่อเลิกสักคือ หมูโทนที่กระเบนเหน็บ และดำดื้อแดงเกเร เพราะคนที่สักแล้ว หากไปเป็นโจร ตำรวจจับตัวยาก ฆ่าก็ไม่ตาย
..
ประวัติย่อ พระครูวิจิตรสารคุณ ( สุรินทร์ สนฺตจิตฺโต ) วัดลาดบัวขาว  อำเภอบ้านโป่ง ราชบุรี.
..
สมัยเมื่อเยาว์วัยสมัยเป็นคฤหัสถ์
..
ท่านเป็นบุตรคนเดียวของ นาย (ไม่ทราบนาม) นางทรัพย์ นาคฤทธิ์ เกิด วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เดิมมีชื่อเล่นว่า " จุก " แต่ญาติๆผู้ใหญ่ของท่านชอบเรียกว่า อ้ายจุก ที่เรียกจุกนั้น เพราะสมัยเยาว์วัย ชอบเอาไว้จุกคำว่าจุกจึงเป็นชื่อเรียกตามรูปพรรณสัณฐานตามไทยนิยม
..
เมื่อเจริญวัยพอสมควร ควรแก่การศึกษาอักษรสมัย มารดาของท่านจึงส่งไปเรียนอยู่ที่สำนักวัดบวรนิเวศน์ฯ ที่กรุงเทพฯโดยอาศัยกับพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมีศักดิ์เป็นหลวงลุง ในปลายสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ด้วยความฉลาดปราดเปรื่องของท่านในวัยเยา ทำให้ต้องพระทัยของสมเด็จฯ ต่อมาไม่นานสมเด็จก็มีรับสั่งให้เป็นมหาดเล็ก( ลูกศิษย์สมเด็จฯ ) โดยมีเบี้ยรางวัลเดือนละสามบาท ในสมัยนั้นฯ
.
สมัยเป็นมหาดเล็กอยู่นั้น ท่านเล่าให้ผู้ฟังว่า เวลานอนกลางคืนของท่าน สมเด็จฯ ท่านรับสั่งให้นอนใต้แท่นบรรทมของสมเด็จฯ นั้น นอนได้ไม่ตลอดคืน คือนอนได้ตั้งแต่หัวค่ำถึง 05.00 น. ของวันใหม่ก็ต้องออกไปนอนข้างนอกวิสูต ของสมเด็จฯ เพราะพอถึง 05.00น.ก็เป็นเวลาบรรทมของสมเด็จฯ ถึงเวลานี้ก็ต้องถูกปลุกให้ไปนอนข้างนอกทุกๆวัน
.
ท่านเล่าเรียนอักษรสมัยอยู่ได้ไม่นาน ด้วยความรักและคิดถึงของมารดาในฐานที่เป็นบุตรคนเดียวของท่าน จึงถูกรับกลับมาอยู่บ้านท่าเสา แขวงท่ามะกา กาญจนบุรีอีก
.
สมัยนั้น พระราชบัญญัติประถมศึกษา ได้ประกาศใช้ถึงหัวเมืองต่างๆ วัดปากบางจึงได้ถูกตั้งขึ้นแป็นสำนักเรียนชั้นประถมต้นขึ้น มารดาจึงส่งไปเรียนเพิ่มเติมที่วัดนี้ การไปเรียนนั้นบางครั้งก็พักค้างคืนอยู่กับพระ บางครั้งก็กลับมาพักบ้านมารดา การค้างคืนที่วัดทำให้ท่านรู้จักกับพระเถรานุเถระหลายรูปในสมัยนั้น ที่เป็นคนคุ้นเคยกันมากก็มี พระอาจารย์หมั่น ซึ่งตัวท่านเรียกว่าหลวงน้า พระอาจารย์รูปนี้ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดดงสัก ซึ่งได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรในกาลต่อมา เมื่อเรียนหนังสืออยู่นั้น
.
ถ้าวันไหนกลับมาค้างบ้านมารดา ก็ถูกหัดให้ตีพิณพาทย์อีก โดยมีมารดาและญาติเป็นครูสอน ท่านจึงมีความรู้เรื่อง ดนตรีชนิดนี้เรียกว่าเก่งพอสมควร เครื่องดนตรีนี้ปัจจุบันเมื่อท่านมีชีวิตอยู่ก็อยู่ที่วัดลาดบัวขาว
.
ชีวิตเมื่อเยาว์วัยสมัยเป็นสามเณร..
เมื่อท่านเจริญวัยพอสมควร ก็บวชป็นสามแณรอยู่ที่วัดรางวาลย์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อบวชแล้วก็ได้เรียนวิปัสนากรรมฐานกับพระอาจารย์พูล อาจารย์วิปัสสนาสำนักแม่ชีเนกขัมโพธาราม มีความรู้เรื่องนี้พอสมควร
..
ชีวิตสมัยเป็นพระ
พออายุเจริญวัยครบยี่สิบ ก็อุปสมบทโดยมี เจ้าอธิการชื่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระหนุนเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ วัดรางวาลย์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
.
เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ศึกษาธรรมวินัยจนได้นักธรรมโท นอกจากนั้นท่านยังศึกษาพระอภิธรรมอีกด้วย ด้านธรรมวินัยนี้ท่านเป็นนักสอนนักอบรมที่มีความสามารถพอสมควร เรียกว่าพอเทศน์สอนประชาชนได้พอสมควร
นอกจากนี้ท่านยังศึกษาทางไสยศาสตร์และทางโหราศาสตร์ และแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ จนมีคนเคารพ นับถือมาก
..
ชีวิตด้านการปกครอง
ท่านอุปสมบทพอมีพรรษาและความรู้พอสมควร ก็ได้รับอาราธนามาเป็นพระครูปริยัติที่วัดโกสินารายณ์และจำพรรษาอยู่ที่วัดโกสินารายณ์ระยะหนึ่งที่เป็นครูปริยัติ ต่อมาได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดบัวขาวซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า วัดท่าวัว ซึ่งเป็นวัดที่ยังไม่เจริญ ตั้งแต่สร้างมาก็ยังไม่มีเจ้าอาวาสเลย มีแต่ผู้รักษาการเจ้าอาวาสสมัยหนึ่งๆเท่านั้น นับว่าท่านนี้แหละที่เป็นเจ้าอาวาสที่ได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพอสมควร ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลลาดบัวขาว และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาอีกจนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรีที่ พระครูวิจิตรสารคุณ
..
ด้านการศึกษา
เมื่อท่านได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดลาดบัวขาว ได้ทำการเปิดสอนปริยัติธรรมแผนกนักธรรม และได้ให้การร่วมมือกับทางราชการ โดยการให้ใช้ศาลาการเปรียญและที่ดินของวัดให้ที่เรียนของเด็กๆ และเป็นที่ตั้งโรงเรียนประชาบาลจน ทุกวันนี้
..
ด้านการเผยแผ่ธรรมมะ
ท่านได้เทศน์สั่งสอนชาวบ้านและชาววัดไกล้เคียงจนเป็นที่เลื่องลือ และเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนไกล้เคียงทั่วไป
เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ ขณะที่ท่านกำลังป่วยอยู่ยังไปเทศน์อบรมสั่งสอนจนไกล้มรณะ คือก่อนหน้าที่ท่านจะมรณะสองสามวันยังไปเทศน์อบรมประชาชน โดยที่อาการเจ็บป่วยไม่ได้ทำให้ท่านท้อถอยแม้แต่น้อย
..
ด้านสาธารณูปการ
ท่านรับหน้าที่เจ้าอาวาสแล้ว ได้ทำการสร้างอุโบสถ สร้างกุฎิ ซึ่งเป็นอาคารตึกชั้นเดียวสี่หลัง ปัจจุบันเหลือสามหลัง  สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ 1หลัง สร้างศาลาการเปรียญซึ่งไม่เสร็จท่านก็มรณภาพ และแล้วศาลาการเปรียญหลังนั้น ก็คือศาลาการเปรียญที่ท่านเห็นอยู่นี้ แต่ที่เป็นว่าเสร็จแล้วใช้งานได้นั้น ก็เพราะพระ ร.อ. ปรีชา ญาณคุโต ได้ร่วมกับศิษยานุศิษย์ท่านพระครูวิจิตรฯ และคณะกรรมการวัดช่วยกันสร้างต่อจนเสร็จเรียบร้อย


..
ท่านพระครูวิจิตรสารคุณ ได้มาพัฒนาให้วัดนี้เจริญเป็นวัดที่สมบูรณ์แบบ มีอุโบสถ กุฎิ ศาลา ซึ่งใช้ในการบำเพ็ญศาสนกิจ ในพุทธศาสนาในถิ่นนี้ครบแทบทุกอย่าง จนกระทั่งตัวท่านเองป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ขากรรไกร ขณะที่ท่านป่วยอยู่นั้น ท่านที่เคารพและศิษย์ยานุศิษย์จะพาท่านไปให้แพทย์รักษา ท่านก็บอกว่าจะขอสร้างศาลาให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงจะไป ?คำพูดของท่านประโยคนี้ ? เป็นการชี้ให้เห็นว่า ท่านมุ่งทำประโยชน์ ให้กับส่วนรวมจริงๆ แม้แต่ชีวิตท่านเองก็ไม่ห่วงเท่าประโยชน์ส่วนรวม เป็นที่ซาบซึ้งแก่บรรดาผู้ที่เคารพและบรรดาศิษย์ยานุศิษย์เป็นอันมาก แต่แล้วท่านก็ถูกพญามัจจุราชมาพรากจากบรรดาท่านที่เคารพนับถือและศิษย์ยานุศิษย์ไปอย่างไม่มีวันกลับ
..
เหรียญหมูตาม -หมูขวาง ปี 2512 สุดยอดขลัง.

..
เป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่าน ประสบการณ์มากมายครับ
ที่มาของเหรียญหมูตาม-หมูขวาง เกิดจากที่หลวงพ่อสุรินท์ได้รับการขอร้องให้สร้างเหรียญเพื่อแจกญาติโยม เพราะว่ามีคนที่อยากได้วัตถุมงคลมากมาย แต่ทางวัดไม่มีให้บูชา หลวงพ่อจึงอณุญาติให้ทำ มัคนายกจึงเดินเรื่องและไปจัดสร้างเหรียญ จึงเป็นเหรียญ "หมูตาม" ออกมา ที่เรียก"หมูตาม"






เพราะตอนหลังมีการเสร้างเหรียญ"หมูข วาง" ออกมา พอสร้างเหรียญออกมา เอามาถวายหลวงพ่อ
ท่านดูแล้วก็กล่าวกับ มัคนายกว่า
"เหรียญด้านหลังยันต์แบบนี้ แล้วคนใส่จะไปรบกับใครได้ล่ะ ไปทำมาใหม่ เอายันต์นี้ไป หมูมันต้องมีเขี้ยว มันต้องเป็นหมูไฟ......ที่ทำมาเดี๋ยวจะเสกให้เป็นเมต ตาแล้วก็แคล้วคลาดไปก็แล้วกัน"
..
จากนั้นทางมัคนายก ก็ไปสร้างเหรียญอีกครั้ง แต่ด้านหลังเป็นยันต์แบบที่หลวงพ่อกำหนด คือหมูตั้งขึ้น แบบที่หลวงพ่อสักยันต์ ต้งแต่นั้นมาจึงเรียกกันว่า "หมูตาม" "หมูขวาง" เหรียญหมูตามจะเล็กกว่า ผิวรมดำ ที่ตัดหูและกะไหล่ ทอง, เงิน,นาค สำหรับแจกแม่ครัวและผู้หญิงที่มาช่วยงานเสียมาก
..


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-1 08:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จรุ่นแรก ประมาณปี 2492






..

พระสมเด็จของท่าน จัดได้ว่ามีน้อย หายาก และคนแถววัดเองยังแทบจะไม่มีกันเลย เพราะสมัยก่อนลูกศิษย์ที่มาจากกรุงเทพ จะเก็บกลับไปจนหมด ชาวบ้านเอง ถือว่าอาจารย์สุรินทร์ยังอยู่ก็เลยไม่ได้สนใจจะเก็บเอาไว้เท่าไหร่ สมเด็จของท่านจะเป็นพิมพ์ก้างปลา และอีกพิมพ์เป็นพิมพ์พิเศษ ที่หายากสุดๆ แต่เนื้อหาเดียวกัน สมเด็จของท่านนั้น เวลาทำ ท่านจะลบผมเองทั้งหมด และท่านจะพูดเสมอว่าคนอยากได้พระ"สมเด็จวัดระฆัง"กัน มาก ของข้าก็มี"พระสมเด็จของสมเด็จโต" ท่านผสมอยู่ด้วย โดยท่านบอกกล่าวกับลูกศิษย์ท่านว่า
"ข้าเป็นมหาดเล็กในสมเด็จฯ(เจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส )ท่านมอบพระสมเด็จของขรัวโตให้กับข้าหลายองค์ทีเดียว ข้าก็เอามาสร้างพระแจกให้กับลูกศิษย์...เอาไว้เป็นมง คลชีวิต"
(นายติ่ง กี่เงิน เป็นผู้เล่าเรื่องราวนี้ เพราะนายติ่ง เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อสุรินทร์ แขกไปใครมาจะรู้หมด และมักจะแอบดูและแอบฟังเวลาหลวงพ่อสนทนากับใคร หรือแสดงอภินิหารยังไงบ้าง ปัจจุบันนายติ่ง กี่เงินเป็นช่างใหญ่เกี่ยวกับระบบท่อส่ง อยู๋ที่บริษัทนึงในจังหวัดชลบุรี)
..
พระทุ่งเหยียบดอก




พุทธลักษณ์เป็นพระลีลา อ่อนช้อย และมีการสันนิฐานกันว่าเป็นพระกรุจาก จ.สุโขทัย แต่ก็มีการพบที่กรุวัดดงตาลสุพรรณด้วย หลวงพ่อท่านได้รับการนิมนต์ไปเปิดกรุและปลุกเสกอีกครั้ง และนำกลับมายังวัดประมาณ200 องค์ และให้คนทำบุญเมื่อปี2504-06 ในราคาที่ไม่ได้กำหนด แต่เนื่องด้วยคนคนส่วนใหญ่จะทำบุญกับหลวงพ่อ ในการสร้างหอฉัน จึงร่วมกันทำบุญ กันองค์ละ700-1,000บาท ปี2505 ทองบาทละไม่น่าจะถึง1,000 ด้วยซ้ำ
..
เครื่องรางต่างๆของหลวงพ่อ
ผ้ายันต์ชายธง (มีประสบการณ์กันไฟไหม้ครับ สุดยอดขลังจริงและหายากมาก)
แหวนแขน
ตะกรุดโทนยันต์หมูทองแดง
..
การสักยันต์ กับหลวงพ่อ สุรินทร์ แห่งวัดลาดบัวขาว แต่ทุกคนก็ต้องผิดหวัง เพราะหลวงพ่อท่าน ไม่ยอมสักให้กับใครยกเว้นคนที่จะไปเป็นทหารเท่านั้นถึงจะยอมสักให้ แต่มีข้อแม้ว่า อย่าเกเร อย่าเป็นโจร ในที่สุดหลวงพ่อก็ หยุดการสักโดยสิ้นเชิงเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจขอร้องท่านด้วยศิษย์ที่สักยันต์ไป หากไปเป็นโจร ตำรวจจับตัวยาก ฆ่าก็ไม่ตาย
(ข้อมูล จากคุณเอก วัดมารฯครับ)
...
ภาพ ผ้ายันต์ชายธง พระครูวิจิตรสารคุณ ( สุรินทร์ สนฺตจิตฺโต ) วัดลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง ราชบุรี.


‪#‎เรื่องเล่าภาพเก่าในอดีตราชบุรี‬.
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้