ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด เพราะสิ่งที่คุณพูดเราจะใช้ปรักปรำคุณในศาลได้
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1697
ตอบกลับ: 1
คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด เพราะสิ่งที่คุณพูดเราจะใช้ปรักปรำคุณในศาลได้
[คัดลอกลิงก์]
โพไซดอน
โพไซดอน
ออฟไลน์
เครดิต
392
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-5-27 21:07
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
คุณมีสิทธิ
ที่จะ
ไม่พูด
เพราะ
สิ่งที่
คุณ
พูดเราจะใช้ปรักปรำ
คุณ
ในศาลได้
[size=-3]
[size=-3]
คนร้ายถูกตำรวจจับกุมตัวพร้อม หลักฐานกระทำความผิด เขาเขียนคำรับสารภาพโดยละเอียดพร้อมกับลงลายมือชื่อ แต่เมื่อคดีถึงชั้นศาล ผู้พิพากษากลับสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาเพราะตำรวจไม่ได้อ่านสิทธิให้ผู้ต้องหาได้ทราบก่อนจะมีการสอบปากคำ
คนที่เคยชมภาพยนตร์ฝรั่งคงเคยได้เห็นว่าเวลาที่จับกุมตัวผู้ต้องสงสัย ตำรวจจะอ่านสิทธิให้เขารับทราบ "คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด หากคุณสละสิทธินี้ สิ่งใดที่คุณพูดอาจถูกนำไปใช้ปรักปรำเพื่อเอาผิดคุณในศาล คุณมีสิทธิที่จะปรึกษาทนายและให้ทนายอยู่กับคุณระหว่างการสอบปากคำ ถ้าคุณไม่สามารถจัดหาทนายได้ รัฐบาลจะจัดหาทนายให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย"
ที่ลืมเสียไม่ได้คือหลังจากอ่านสิทธิให้ฟังแล้วจะต้องถาม ผู้ต้องหาว่า "คุณเข้าใจไหม" และจะต้องรอให้ผู้ต้องหาตอบ ว่า "เข้าใจ" เสียก่อนจึงจะนำตัวไปสอบปากคำได้ หาไม่เช่นนั้นแล้วคำให้การต่างๆจะไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในศาลได้
สิทธิดังกล่าวเรียกว่า "สิทธิมิแรนด้า" (Miranda Rights) หรือ "คำเตือนมิแรนด้า" (Miran da Warning) บ้านเราก็รู้สึกจะมีกฎหมายลักษณะคล้ายๆกันนี้อยู่เหมือนกันแต่ขอไม่กล่าวถึงเพราะไม่ใช่คอลัมน์กฎหมายและจุดประสงค์หลักเพียงต้องการเล่าถึงประวัติที่มาของกฎหมายข้อนี้ คดีแรกในประวัติศาสตร์
หญิงสาวนิรนามซึ่งคนส่วน ใหญ่เชื่อว่าเธอชื่อ ลูอิส แอน เจมสัน (Lois Ann Jameson) แต่จะใช่ชื่อจริงของเธอหรือไม่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน เพราะแม้แต่ในบันทึกอาชญากรรมของรัฐบาลอเมริกาเองก็ยังใช้ชื่อว่า เจน โด (Jane Doe) หรือ "สาวนิรนาม" เอาเป็นว่าเราเรียกเธอว่าลูอิส ตามความเชื่อของคนส่วนใหญ่ก็แล้วกัน
ที่ต้องปกปิดชื่อเสียงเรียงนามก็เพราะเธอเป็นสาวบริสุทธิ์วัย 18 ปี ที่ถูกชายกักขฬะใช้กำลังบังคับขืนใจ สร้างตราบาปติดตัวเธอไปจนตลอดชีวิต เหตุเกิดเมื่อคืนวันที่ 2 มีนาคม 1963 ลูอิสเป็นพนักงานโรงภาพยนตร์พาราเม้าท์ ในเมืองฟินิกซ์ รัฐแอริโซนา หลังจากที่ภาพยนตร์รอบสุด ท้ายจบลงในเวลา 23.00 น. เธอก็ขึ้นรถโดยสารประจำทางกลับบ้าน
ลูอิสลงจากรถราวเวลา 24.10 น. เธอยังต้องเดินจากป้ายรถประจำทางไปยังบ้านพักที่อยู่ห่างไปไม่ไกลนัก ทันใดนั้นเองรถเก๋งคันหนึ่งขับมาจอดเทียบ แล้วคนขับรถก็เปิดประตูลงมาจับตัวลูอิส ใช้เชือกมัดมือไขว้หลังแล้วดันให้เธอนอนลงกับพื้นด้านหลังรถ
คนร้ายพาลูอิสไปยังสถานที่เปลี่ยวแล้วทำการข่มขืนเธอ จากนั้นก็ข่มขู่ให้ส่งทรัพย์สิน มีค่ามาให้ ซึ่งลูอิสมีเงินติดตัวอยู่เพียง 4 ดอลลาร์ เธอยื่น เงินทั้งหมดให้กับคนร้าย 20 นาทีต่อมา คนร้ายนำตัวลูอิส มาปล่อยไว้บนถนนสายเดิม ปล่อยให้เดินซมซานกลับบ้านตามลำพัง จับได้โดยละม่อม
เช้าวันรุ่งขึ้น พี่สาวลูอิสพาเธอไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ ลูอิสยังอยู่ในภาวะตื่นตระหนกประกอบกับเธอเป็นคนเก็บตัว ทำให้คำให้การของเธอค่อนข้างสับสน อย่างไรก็ตาม เธอจำได้ว่าที่หลังเบาะหน้ามีเชือกเส้นหนึ่งพันอยู่ เพราะเธอใช้มือโหนมันตอนลงจากรถ
หลังจากเกิดเหตุการณ์ พี่เขยลูอิสขับรถมารับหลังเลิกงานทุกวัน เขาสังเกตเห็นรถยี่ห้อ Packard เก่าๆสีเขียวชอบมาจอดซุ่มโป่งอยู่ริมถนนอย่างผิดสังเกต เขาจึงจดหมายเลขทะเบียน DFL-312 แล้วส่งให้ตำรวจตรวจสอบ
ทะเบียนรถ DFL-312 เป็นของรถ Oldsmobile และมันก็ไม่ได้อยู่ในเมืองฟินิกซ์ในคืนเกิดเหตุ แต่เมื่อตำรวจลองสุ่มตรวจดูอีกครั้งก็พบว่ามีรถ ยนต์ Packard สีเขียวหมาย เลขทะเบียน DFL-317 จดทะเบียนในนามของทวิล่า ฮอฟแมน (Twila Hoffman) อย่างไรก็ตาม เจ้าของรถคันดังกล่าวได้ย้ายบ้านไปแล้วเมื่อ 2 วันก่อน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
โพไซดอน
โพไซดอน
ออฟไลน์
เครดิต
392
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-5-27 21:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เจ้าหน้าที่ตำรวจคาร์โรล คูเลย์ (Carroll Cooley) และ วิลเฟรด ยัง (Wilfred Young) ทำการสืบสวนจนพบแหล่งที่อยู่ใหม่ พบรถยนต์ Packard สีเขียวหมายเลขทะเบียน DFL-317 จอดอยู่ข้างบ้าน จึงขอสอบปากคำทวิล่าและแฟนหนุ่ม บัญชีหางว่าว
เออร์เนส มิแรนด้า (Ernest Miranda) เกิดในปี 1941 เขาเป็นเด็กเกเร ก่อคดีอาชญา กรรมลักเล็กขโมยน้อยตั้งแต่สมัยเรียนอยู่เกรด 8 เขาถูกส่งตัวไปยังโรงเรียนดัดสันดานเป็นเวลา 1 ปี หลังจากกลับมาสู่โลก ภายนอกเพียงเดือนเดียวเขาก็ถูกจับอีกครั้งในข้อหาถ้ำมองและบุกรุก โดยเขาเห็นหญิงสาวนอนหลับอยู่ในบ้านจึงแอบย่องเข้าไปพยายามข่มขืนแต่ไม่สำเร็จ เพราะสามีของหญิงคนนั้นกลับมาบ้านเสียก่อน
เออร์เนสถูกส่งตัวกลับไปยังโรงเรียนดัดสันดานอีกครั้ง หลังจากได้รับการปล่อยตัวเขาเดินทางไปเสี่ยงโชคที่ลอสแอนเจลิส แต่สันดานโจรยังไม่จางหาย เขาถูกจับในคดีปล้นและทำอนาจารอีกหลายครั้ง เออร์เนสถูกเนรเทศให้กลับมาแอริโซนา
เรียนไม่จบ ความรู้น้อย มีแต่งานใช้แรงงานค่าจ้างต่ำๆให้ทำ เออร์เนสตัดสินใจสมัครเป็นทหาร แต่สันดานเดิมก็ยังไม่เปลี่ยน เขาไม่เข้ารายงานตัวเป็นประจำโดยไม่ได้ลาและถูกกล่าวหาว่าถ้ำมองสาวๆ เออร์เนสถูกจำคุกในค่ายทหารและถูกปลดหลังจากพ้นโทษ
เออร์เนสถูกจับข้อหาคนจรจัดในรัฐเทกซัส จากนั้นก็ถูกจับข้อหาขโมยรถยนต์ในรัฐเทนเนสซี แต่ในที่สุดเขาก็ได้งานสุจริตเป็นคนขนถ่ายสินค้าในท่าเรือ เมืองฟินิกซ์ และพบรักกับแม่ม่ายลูกสองวัย 29 ปี ทวิล่า ฮอฟแมน อยู่กินจนมีลูกด้วยกันอีก 1 คน สารภาพหมดเปลือก
เมื่อคืนเออร์เนสทำงานกะดึก เขาเพิ่งจะกลับถึงบ้านก่อนหน้าที่ตำรวจมาเพียงชั่วโมงเดียว เออร์เนสมีรูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกับที่ลูอิสระบุลักษณะคนร้าย รถยนต์สีเขียวที่จอดข้างบ้านตรงกับที่เจ้าทุกข์แจ้ง อีกทั้งหลังเบาะหน้าก็มีเชือกพันเอาไว้
ตำรวจเชิญเออร์เนสไปสอบปากคำที่สถานีตำรวจ จากประสบการณ์เข้าออกคุกเป็นว่าเล่นทำให้เขาไม่รู้สึกสะทกสะ ท้าน เขาไม่ยอมตอบคำถามใดๆ เพราะรู้ว่าไม่ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธก็ไม่มีประโยชน์อะไร ทุกอย่างขึ้นอยู่กับหลักฐานที่ตำรวจมี
ลูอิสถูกเชิญมาชี้ตัวคนร้าย เออร์เนสยืนปะปนกับคนอื่นอีก 3 คน เขาเป็นเพียงคนเดียวที่สวมเสื้อแขนสั้น มองเห็นรอยสักบนแขน ลูอิสชี้ตัวเออร์เนส แต่เธอไม่มั่นใจ ลูลิสขอฟังสำเนียงเสียงพูดของเออร์เนสเพื่อความแน่ใจ
ตำรวจเริ่มมีปัญหา เออร์เนสไม่ยอมให้ปากคำ ลูอิสก็ดันไม่แน่ใจ แต่ตำรวจมั่นใจว่าเป็นเออร์เนสแน่ๆ ประวัติอาชญา กรรมยาวเหยียดขนาดนั้น แถมรถยนต์ที่ก่อเหตุก็ถูกต้องตรงเผงกับที่ลูอิสอธิบาย เขาต้อง หาวิธีให้คนร้ายรับสารภาพให้ได้
คาร์โรลนำเออร์เนสมา ยังห้องสอบสวนพร้อมกับบอกเป็นนัยๆว่าแกซวยแล้ว เจ้าทุกข์ชี้ตัวได้ถูกต้อง ถ้าแกรับสารภาพในข้อหาข่มขืน ฉันจะไม่ส่งฟ้องแกในข้อหาปล้นทรัพย์
เออร์เนสเชื่อสนิทใจ อย่างน้อยโดนข้อหาเดียวก็ยังดีกว่าโดน 2 ข้อหา ถึงแม้จะเป็นเงินแค่ 4 ดอลลาร์แต่มันก็คือการปล้นทรัพย์อยู่ดี ตำรวจอีกคนนำลูอิสเดินเข้ามาในห้องสอบสวน คาร์โรลถามเออร์เนสว่าผู้หญิงคนนี้ใช่ไหมที่แกข่มขืน เออร์เนส ตอบว่า "ใช่ เธอคนนี้แหละ"
"ถ้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว เขีย คำสารภาพและลงชื่อในกระ ดาษแผ่นนี้" มันคือกระดาษสำหรับให้ผู้ต้องหาเขียนคำให้ การเป็นลายลักษณ์อักษร หัวกระดาษมีข้อความพิมพ์ว่า "ผู้ถูกกล่าวหาให้การด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกขู่เข็ญหรือมีสัญญาต่อรองและเข้าใจถึงสิทธิตามกฎหมายทุกประการ โดยเข้าใจดีว่าคำให้การนี้อาจถูกนำไปใช้ปรักปรำเอาผิดผู้ถูกกล่าวหาในชั้นศาลได้" ช่องว่างกฎหมาย
อัลวิน มัวร์ (Alvin Moore) เสือเฒ่าเขี้ยวลากดินวัย 73 ปี ถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่ทนายจำเลย หลังจากศึกษาความเป็นมาของคดี เขาถึงกับออกปากว่าไม่อยากทำคดีนี้ ปัญหาก็คือเขารู้ว่าเออร์เนสกระทำความผิดจริง แต่วิญญาณทนายหัวเห็ดจำเป็นต้องหาทางว่าความให้ชนะคดี และคดีนี้ก็มีช่องโหว่มากมาย
เออร์เนสถูกสอบปากคำในสภาพที่ไม่พร้อม เขาไม่ได้นอนมาทั้งคืน ไม่อยู่ในสภาพที่จะให้การตำรวจได้ แต่ที่เด็ดกว่า นั้นคือเออร์เนสไม่รู้ว่าสิทธิตามกฎหมายคืออะไร อัลวินจึงถามว่าตำรวจได้อธิบายสิทธิให้ฟังก่อนสอบปากคำหรือเปล่า เออร์ เนสตอบว่าตำรวจไม่ได้บอก
จุดนี้เองที่อัลวินนำมาใช้โต้แย้ง ตำรวจไม่ได้อ่านสิทธิให้ผู้ต้องหาฟังก่อนสอบปากคำ สิทธิที่พูดถึงคือสิทธิที่จะไม่ตอบคำถามและสิทธิที่จะปรึกษาทนายระหว่างการสอบสวน ดังนั้น คำให้การทั้งหมดไม่สามารถ นำมาใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
เอายังไงดีล่ะนี่ ผู้ต้องหาก็รับสารภาพแล้ว แต่วิธีการได้คำสารภาพมันไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นไม่สนใจตัดสินคดีให้จำเลยมีความผิด ทนายจำเลยอุทธรณ์และยืดเยื้อมาถึงฎีกา จนในปี 1965 ทนายจำเลยแก่เกินจะทำงานต้องเปลี่ยนทนายคนใหม่ ผลสุดท้ายศาลฎีกามีมติ 5-4 ตัด สินให้ยกฟ้อง เพราะหลักฐานคำให้การของจำเลยได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรรมติดจรวด เออร์เนสได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระในปี 1966 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากรมตำรวจออกคำสั่งให้ตำรวจทุกคนอ่านสิทธิให้ผู้ต้องหาได้ทราบทุกครั้งเมื่อมีการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัย และเพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาดอีก ตำรวจทุกคนได้รับแจกแผ่นพิมพ์ข้อความสิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่เรียกกันว่า "สิทธิมิแรนด้า" ตามนามสกุลของเออร์เนส มิแรนด้า
ความยุติธรรมอยู่ที่ไหน? เออร์เนสกระทำความผิดจริงแต่ไม่ต้องรับโทษเพราะเรื่องงี่เง่าแค่นี้เองหรือ? สวรรค์ยังมีตา ต่อมาไม่นานเออร์เนสมีปากเสียงกับทวิล่า ทั้งคู่แยกทางกันแต่ตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะได้สิทธิเลี้ยงลูก ทวิล่าใช้ไม้ตายให้ปากคำปรักปรำเออร์เนสในคดีข่มขืนลูอิส ส่งผลให้เออร์เนสถูกนำตัวขึ้นศาลอีกครั้งและถูกตัดสินว่ามีความผิดโดยไม่ต้องการคำสารภาพของเขา
เออร์เนสกลับไปรับโทษที่เหลือ หลังจากได้รับการอภัยโทษเขาถูกปล่อยตัวเป็นอิสระในปี 1972 เออร์เนสหาเลี้ยงชีพด้วยการขาย "บัตรสิทธิมิแรนด้า" พร้อมลายเซ็นในราคาใบละ 1.50 ดอลลาร์ และตระเวนเล่นการพนันในบ่อนเล็กๆในร้านเหล้าตามที่ต่างๆ
เดือนมกราคม 1976 เออร์เนสมีปากเสียงกับขาไพ่รายหนึ่ง จนเกิดการตะลุมบอน เออร์เนสถูกเอสอีซเควล โมริโน (Eseziquiel Moreno) กระหน่ำแทงจนเสียชีวิต ตำรวจ รวบตัวคนร้ายได้แต่เขาไม่ยอมให้การใดๆตามสิทธิมิแรนด้า
หลังจากควบคุมตัวตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เอสอีซเควลได้รับการปล่อยตัว เขาฉวยโอกาสนี้หลบหนีออกนอกประเทศ คดีฆาตกรรมเออร์เนส มิแรนด้า จึงไม่ถูกสะสาง เขาตายฟรีๆเพราะช่องโหว่กฎหมายตามสิทธิมิแรนด้าที่เขาเป็นคนทำให้เกิดขึ้นมา
--นสพ. โลกวันนี้วันสุข --
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...