บทสวดบูชาพระเสาร์
อิติปิโส ภะคะวา พระเสาร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์
ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ
ประวัติย่อพระพุทธรูปปางนาคปรก
ในสัปดาห์ที่ 6 หลังการตรัสรู้พระพุทธองค์ได้เสด็จไปนั่งขัดสมาธิเสวยวิมุตติสุขภายใต้ร่ม ไม้จิกชื่อมุจจลินท์ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์และ ณ ที่แห่งนี้ได้มีฝนตกพรำๆ และสายลมพัดผ่านตลอด 7 วัน พญานาคราชมุจจลินท์จึงได้ออกมาจากนาคพิภพทำขนดล้อมพระวรกายพระพุทธองค์ ถึง 7 ชั้นแล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเหนือพระเศรียรด้วยพระประสงค์จะป้องกันมิให้สาย ฝนและสายลมพัดเข้ามาถูกต้องพระศาสดาได้เมื่อฝนหายขาด พญานาคราชมุจจลินท์ จึงได้จำแลงเพศเป็นมาณพหนุ่มเข้ามายืนถวาย บังคมพระบรมศาสดา ณ เฉพาะพระพักตร์ พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า"ความสงัดเป็นความสุขสำหรับบุคคลผู้ได้สดับธรรม ยินดีในเสนาสนะ
อันสงัด เห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน
คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
คือ ความก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นความสุขในโลกความนำออก
เสียได้ซึ่งอัสมิมานะ (คือความถือตัว) เป็นความสุขอย่างยิ่ง" ด้วยเหตุนี้ ในสมัยต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก และใช้เป็นพระพุทธรูปบูชา สำหรับผู้เกิดวันเสาร์
ขอบคุณบทความจากสยามคเณศ
|