ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6066
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระเจ้ากนิษกะมหาราช

[คัดลอกลิงก์]
พระเจ้ากนิษกะมหาราช

ตามประวัติศาสตร์อันยาวนาน พระมหากษัตริย์ที่ปกครองดินแดนชมพูทวีป

พระเจ้าอโศกมหาราชนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีประวัติที่เด่นและดีงามที่สุดในสายตาของชาวพุทธทั่วโลก

ต่อจากพระเจ้าอโศกก็คือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช อยู่ในราวปลายศตวรรษที่ ๕ พระองค์สืบเชื้อสายมาจากเผ่าอินโดไซเธียน

ได้อพยพลงมาสู่ลุ่มแม่น้ำอมูดาเรียในเตอรกีสถานตะวันตก ทำลายอาณาจักรบากเตรีย ซึ่งเป็นอาณาจักรของพวกกรีกลงได้

แล้วแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่อัฟกานิสถาน ในตอนนี้พวกอินโดไซเธียนได้รับอารยธรรมของอินเดียทางภาษาไว้เป็นจำนวนมาก

เช่น พระนามของพระเจ้า "กนิษกะ" เป็นต้น

พระเจ้ากนิษกะทรงยึดแบบการทำงานของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นหลัก พระองค์ทรงขยายอาณาเขตออกกว้างขวางมาก จั

กรวรรดิของพระองค์เริ่มจากเตอรกีสถานลงมาถึงลุ่มแม่น้ำคงคา พระเจ้ากนิษกะทรงเป็นพุทธมามกะนับถือพระพุทธศาสนา

ทรงให้การทำนุบำรุง รักษา ก่อสร้างศาสนสถานขึ้นเป็นอันมาก ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ด้วยดี พระราชกิจประจำเดือนก็คือ

การอาราธนาพระเถระในนิกายต่าง ๆ เข้าไปถวายพระธรรมเทศนาในพระราชวัง

แต่เนื่องด้วยรัชสมัยที่พระเจ้ากนิษกะครองราชย์นั้น พระสงฆ์มีความแตกแยกกันทางนิกายมาก พระธรรมเทศนาที่ท่านแสดงบางเรื่องก็ขัดกันเอง ทำให้พระเจ้ากนิษกะมหาราชเกิดความสงสัย

จึงได้เรียนปรึกษากับพระปารศวะซึ่งเป็นพระเถระในนิกายสรวาสติวาท คณะสงฆ์ในนิกายสรวาสติวาท

จึงขอร้องให้พระองค์ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนา สังคายนาครั้งนี้ทำขึ้นที่กุณฑลวันวิหาร แคว้นกาศมีระ

มีภิกษุและบัณฑิตคฤหัสถ์เข้าประชุมร่วมกัน โดยมีพระปารศวะเป็นประธาน และยังมีพระเถระที่สำคัญอีกเช่น พระวสุมิตร พระอัศวโฆส เป็นต้น ที่ประชุมได้ร้อยกรองอรรถกถา พระไตรปิฎก เรียกว่า วิภาษาปิฎก ปิฎกละแสนโศลก รวมสามแสนโศลก

พระเจ้ากนิษกะโปรดให้จารึกพระไตรปิฎกและอรรถกถาเหล่านี้ไว้ในแผ่นทองแดง แล้วบรรจุไว้ในพระสถูปแล้วรักษาไว้มั่นคงเป็นต้นฉบับหลวง และการทำสังคายนาครั้งนี้เป็นการทำสังคายนาของฝ่ายนิกายสรวาสติวาท จึงไม่มีปรากฏในฝ่ายปกรณ์บาลีเลย อันนี้เราก็จะเห็นได้ชัดว่า

เป็นความขัดแย้งกันทางด้านความคิดไม่ต้องการที่จะเชิดชูฝ่ายตรงกันข้ามกับนิกายที่ตนเองนับถือนั่นเอง

ด้วยราชานุภาพของพระเจ้ากนิษกะพระพุทธศาสนาจึงแพร่หลายไปสู่ประเทศต่าง ๆ

ทางฝ่ายเหนือของอินเดีย รวมทั้งประเทศจีนก็พลอยได้รับเอาพระพุทธศาสนาไปในตอนนี้ด้วย


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-18 09:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเจ้ากนิษกะ หรือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช (อังกฤษ: Kanishka, กุษาณะ: Κανηϸκι)



ภาพพระเจ้ากนิษกะบนเหรียญทอง และอีกด้านเป็นรูปพระพุทธเจ้า


เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ทรงมีชื่อเสียงจากความสำเร็จด้านการทหาร การปกครอง และฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้กำหนดมหาศักราชขึ้นด้วย ที่สำคัญคือ ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายหินยาน ราชธานีของพระองค์คือเมืองเปศวรในประเทศปากีสถานปัจจุบัน

พระเจ้ากนิษกะเป็นนัดดาของพระเจ้ากัทพิเสส ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกุษาณะ ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 621 พระองค์มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามากจนได้รับขนานนามว่า "พระเจ้าอโศกองค์ที่ 2" และทรงแผ่อาณาจักรกว้างไกลครอบคลุม คันธาระ แคชเมียร์ สินธุ และมัธยประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอิหร่านอัฟกานิสถาน ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน และบางส่วนของอินเดีย) ในสมัยนี้พุทธศาสนามหายานแผ่ไปสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็ว วรรณคดีภาษาสันสกฤตได้เจริญรุ่งเรืองแทนภาษาบาลี พระภิกษุที่มีความรู้ในยุคนี้คือ ท่านปารศวะ ท่านอัศวโฆษ ท่านวสุมิตร เป็นต้น

ในด้านการแกะสลักพุทธศิลป์คันธาระ ซึ่งเริ่มต้นในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ก็มีความเจริญอย่างขีดสุดในสมัยพระองค์ พระองค์ทรงสร้างวัดวาอาราม เจดีย์วิหารอย่างมากมาย พระเฮี่ยนจังพระสงฆ์ชาวจีนผู้จาริกสู่อินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1100เมื่อจาริกถึงเมืองปุรุษปุระ เมืองหลวงของพระองค์จึงกล่าวว่าพระเจ้ากนิษกะ ทรงสร้างวิหารหลังหนึ่ง ทรงให้นามว่า "กนิษกะมหาวิหาร" แม้ว่าพระวิหารจะทรุดโทรมลงแล้ว แต่พระวิหารมีศิลปะที่งดงามยากที่จะหาที่ใดเหมือน และยังมีพระภิกษุอาศัยอยู่บ้าง ทั้งหมดเป็นพระนิกายหินยานหรือเถรวาท
พระเจ้ากนิษกะครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 621 - พ.ศ. 644 รวมระยะเวลา 23 ปี

https://th.wikipedia.org/wiki
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-18 09:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในยุคพระเจ้ากนิษกะ

าสนาพุทธเฟื่องฟูมากมีการสร้างเหรียญกษาปณ์

และพระพุทธรูปมากมาก

ในปัจจุบันคือที่อาฟกานิสถาน

ที่เดียวกับพระพุทธรูปบามิยัน (ถูกทำลายไปแล้ว)
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้