ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 12617
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สระโกสินารายณ์ (อ.บ้านโป่ง) ราชบุรี

[คัดลอกลิงก์]
สระโกสินารายณ์ (อ.บ้านโป่ง)

สระโกสินารายณ์

อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี






สระโกสินารายณ์  สระน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตามถนนสายบ้านโป่ง – กาญจนบุรี ในเขตตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี    ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  ร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบสระน้ำขนาดกว้าง 200 เมตร  ยาว 400 เมตร    ลมโชยทั้งวันอากาศเย็นสบาย  เหมาะกับการนั่งโอ้เอ้ใต้ต้นไม้  ให้อาหารปลา  กราบไหว้สิ่งศักสิทธิ์  และจินตนาการถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของสระน้ำแห่งนี้   และเมื่อได้ทราบถึงความเป็นมายิ่งทำให้สระโกสินารายณ์แห่งนี้ดูขลังมีพลัง มากกว่าสระน้ำธรรมดาทั่วไป

รวมถึงเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์  บางคนเล่าว่าเคยพบเห็นพญานาคอยู่ในสระ  

บางคนเล่าว่าเคยพบวัตถุที่เชื่อกันว่าเป็นพระธาตุพุทธสาวก
(พระสาวกที่สามารถยกจิตก้าวบรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆ นับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป)

มาปรากฎให้เห็นใต้ต้นไม้รอบสระโกสินารายณ์   

ทำให้บางคนที่มาพักผ่อนที่นี่ก็หวังพบเจอสิ่งเหล่านี้ด้วยเช่นกัน  

สถานที่นี้เป็นโบราณสถาน ห้ามดื่มสุราเสพของมึนเมา.

การเดินทาง

– ทางรถโดยสาร > รถโดยสาร สายกรุงเทพ – กาจนบุรี และ สายราชบุรี – กาญจนบุรี
– ทางรถส่วนตัว >  เริ่มจากอำเภอบ้านโป่งไปตามถนนแสงชูโต (323)  สู่จังหวัดกาญจนบุรี  สระโกสินารายณ์จะอยู่หลังโรงงานกระดาษ สยามคราฟท์ ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี



เกี่ยวกับ เมืองโบราณโกสินารายณ์

1. สระโกสินารายณ์เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18  สมัยลพบุรี  ตามประวัติเดิมสระโกสินารายณ์  อยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือ  ภายในตัวเมืองมีซากโบราณสถาน เรียกว่า…จอมปราสาท  ตั้งอยู่กลางเมือง มีสระ 3 สระ ได้แก่  สระนาค  สระเข้ และสระมังกร  สระทั้ง  3 ดังกล่าวได้ถูกทำลายไปแล้ว  เหลือแต่จอมปราสาทอยู่ในโรงงานกระดาษสยามคราฟท์

2. ณ บริเวณใกล้สระแห่งนี้   สมัยโบราณเป็นเมืองโกสินารายณ์ หรือเมืองสระโกสินารายณ์  ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ชาวบ้านเรียกโดยทั่วไปในจารึกที่ปราสาทพระขรรค์  ประเทศกัมพูชา  เรียกเมืองนี้ว่า…สัมพูกปัฏฏนะ  เมืองโกสินารายณ์เป็นเมืองศูนย์การค้าริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่สำคัญเมือง หนึ่งในสมัยลพบุรี  เช่นเดียวกับเมืองราชบุรี  และเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี  คงจะเสื่อมลงในสมัยอยุธยา

3. กรมศิลปากร  ได้ขึ้นทะเบียนสระโกสินารายณ์  เมื่อวันที่  25 กันยายน  2522  ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร มีพื้นที่ประมาณ  62 ไร่  75.4 ตารางวา


ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม  ประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ

๑.จอมปราสาท  
ตั้ง อยู่บริเวณกึ่งกลางเมือง น่าจะเป็นปราสาทหรือ “สุคตาลัย” (สถานบูชาพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา หรือ พระอวโลกิเตศวร ประจำโรงพยาบาล “อโรคยศาลา” ) หลังเดี่ยวขนาดไม่ใหญ่นัก   ปัจจุบันตั้งอยู่กลางโรงงานกระดาษ บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด มีการทำกำแพงล้อมรอบตัวโบราณสถาน  หากอยาก)

สภาพ เป็นเนินดินขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งในปีพ.ศ.๒๕๐๙ พบชิ้นส่วนประกอบอาคาร ซึ่งทำจากหินทรายแดงจึงทำให้สันนิษฐานได้ว่ารูปทรงของอาคารคงจะเป็นปรางค์ ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงมีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ ภายในใช้หินทรายบดเป็นฐานรากองค์ปรางค์เดิมคงจะฉาบปูน และตกแต่งส่วนสำคัญ เช่นซุ้มหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น กรอบประตู ทับหลังและกลีบขนุนสลักจากหินทรายสีแดงเป็นรูปพระพุทธรูปประดิษฐานในซุ้ม เรือนแก้ว ปัจจุบันสูญหายไปนอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนดินเผาประดับตกแต่งส่วนหลังคา

ชิ้นส่วนลายปูนปั้น พบ จากการขุดแต่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ใช้ประดับตกแต่งพระปรางค์เป็นปติมากรรมปูนปั้นขนาดเล็กรู)เทวดา หรือกษัตริย์ มนุษย์ อมนุษย์ และรูปสัตว์ต่างๆ ปูนปั้นที่เป็นหน้ายักษ์บางชิ้นมีรูปหน้ากลม แบน ตาเรียวเล็กหางตาตวัดชี้ขึ้นทั้งสองข้าง ทรงผมและเครื่องประดับศีรษะคล้ายกับขุนนางจีน จากจากโบราณวัตถุที่พบ มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบโบราณคดีในระยะสมัยเดียวกัน เช่น ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเขมร กับวัฒนธรรมทวารวดี

๒.สระมังกร สระนาค สระเข้  ปัจจุบันหมดสภาพเนื่องจากตื้นเขิน  ทางเทศบาลตำบลท่าผาได้ปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสาธารณะ


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-15 08:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓.สระโกสินารายณ์   เชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ  ยังคงสภาพสระที่ดี เป็นสระน้ำโบราณขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้าง ๒๐๐ เมตร ยาว ๔๐๐ เมตร ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ ขอบสระมีลักษณะเป็นคันดินสูง เดิมมีประตูน้ำซึ่งมีคลองขนาดเล็กเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันสำนักงานโยธาธิการจังหวัดราชบุรี ดำเนินการจัดทำเป็นสวนหย่อมปลูก ต้นไม้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนบริเวณใกล้เคียง

๔.แนวกำแพงเมือง เป็นคันดิน ขนาดความสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๑๐ เมตร ล้อมรอบสามด้าน คือ ด้านตะวันออก ด้านเหนือและด้านใต้ ปัจจุบันมีการสร้างถนนแอสฟัสท์ อยู่บนแนวคูเมืองกำแพงเมืองบางส่วน ทางเทศบาลตำบลท่าผาปรับปรุงเป็นถนนรอบสระโกสินารายณ์

ภาพ : แนวกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ (ภาพถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)

ภาพ : แนวกำแพงเมืองเดิมด้านทิศใต้ ถูกคลองชลประทานและทางรถไฟตัดผ่าน  (ภาพถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)

ข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี



เมืองโบราณโกสินารายณ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตามถนนสายบ้านโป่ง – กาญจนบุรี ในเขตตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี  ผังเมืองโกสินารายณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใน “คติจักรวาล 4 ทิศ” แนวกำแพงคันดินของเมืองแทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว เพราะถูกรื้อทำถนนและปรับเปลี่ยนโดยบ้านเรือนและโรงงานใหญ่

นอก กำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 400 เมตร เรียกกันว่า สระโกสินารายณ์ เชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ  ภายในตัวเมืองมีซากโบราณสถานขนาดใหญ่เรียกว่า “จอมปราสาท” ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางเมือง น่าจะเป็นปราสาทหรือ “สุคตาลัย” (สถานบูชาพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา หรือ พระอวโลกิเตศวร ประจำโรงพยาบาล “อโรคยศาลา” ) หลังเดี่ยวขนาดไม่ใหญ่นัก

เดิม เมืองโกสินารายณ์มีสระน้ำอยู่ภายในตัวเมืองรวม 4 ทิศ เรียกกันว่า สระนาค สระจรเข้ สระมังกร และสระแก้ว ซึ่งก็แทนความหมายของมหาสมุทรทั้ง 4 ที่รายล้อม “เขาพระสุเมรุ” ที่สถิตแห่งพระพุทธเจ้าสูงสุดบนสรวงสวรรค์

.

       จากจารึกปราสาทพระขรรค์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


เมืองโกสินารายณ์  อาจจะเป็นเมืองตามชื่อ “ศัมพูกปัฏฏนะ” ที่

ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีพระนามว่า “พระชัยพุทธมหานาถ” จำนวน 23 พระองค์

ทั่วพระราชอาณาจักร รวมทั้ง เมืองลโวทยปุระ (ลพบุรี) เมืองสุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี)

เมืองชัยราชปุระ (ราชบุรี) เมืองศรีวัชระปุระ (เพชรบุรี) เมืองศรีชัยสิงหปุระ (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี

ซึ่งก็อาจจะเป็นการประกาศทั้งอำนาจทางการเมืองและการศาสนาของพระองค์ไป พร้อมกันทีเดียว

.
จอม ปราสาท สันนิษฐานว่า เป็น “ปราสาท”ที่นิยมสร้างในวัฒนธรรมแบบเขมรวัชรยาน โดยส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลง มีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน

.

       ที่จอมปราสาทมีการขุดพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีสลักจากหินทราย ไม่มีเศียร (คงไปอยู่ในบ้านผู้ลาภมากดีแล้ว) ตั้งแต่ปี 2509 พระวรกายของพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี ตอนบนมีจะสลักรูปพระอมิตาภะปางสมาธิโดยรอบพระวรกราย และมีรูปนางปรัชญาปารมิตาประทับนั่งถือดอกบัวอยู่ที่บั้นเอวสามองค์และที่ พระอุระ(อก)อีกหนึ่งองค์  เบื้องล่างทรงผ้าโจงกระเบนสั้น ทิ้งชายผ้ามาด้านหน้า เป็นความนิยมในศิลปะเขมรแบบบายน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เป็นรูปเคารพสำคัญของลัทธิ “โลเกศวร” ซึ่งแตกออกมาจากศาสนาพุทธนิกายวัชรยานตันตระ เป็นคติที่นิยมเฉพาะในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เท่านั้นครับ เขาถือพระโลกเกศวรเปล่งรัศมีว่า “พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วย เหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง   และ ความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมาก มายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย”

.

       ตอน ขุดค้นในปี 2509  นั้นก็ได้พบลวดลายปูนปั้นที่ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถานจอมปราสาท ทำเป็นรูปเทพเจ้า มนุษย์ อมนุษย์ และรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นาค สิงห์ สิงห์ ช้าง ฯลฯ จำนวนมาก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก แต่ลวดลายปูนปั้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากศิลปะแบบบายนที่ประเทศกัมพูชา ด้วยมีร่องรอยการผสมผสานศิลปะแบบจีนและทวารวดีในท้องถิ่นเข้าไปด้วย

.

        ปัจจุบัน ปูนปั้นและกระเบื้องเชิงชายของจอมปราสาท จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทองและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรีครับ ส่วนที่ถูกผู้คนในยุคก่อน ๆ เก็บไปสะสมก็มีมาก หายไปตามสายลมและแสงแดดก็เยอะ

เมือง โกสินารายณ์เป็นเมืองที่มีระบบชลประทานแบบใช้ “บาราย” ขนาด ใหญ่แบบเขมรโบราณ เป็นที่กักเก็บน้ำเพื่อใช้ในหน้าแล้ง จากหลักฐานสระน้ำหลายแห่งภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังพบร่องรอยการขุดคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลองเพื่อนำน้ำมาใช้หมุน เวียนในตัวเมือง เป็นระบบการกำจัดมลภาวะทางน้ำจากการอุปโภคบริโภคอีกด้วย

เมื่อ เวลาเปลี่ยนแปลงไปกว่า 800 ปี ถนนทันสมัยตัดขนานไปตามลำแม่น้ำกลอง ชุมชนก็ขยายตัว จากทุ่งป่ารกร้าง ก็กลายมาเป็นเมืองตามเส้นทางแห่งความเจริญ ปราสาทจอมปราสาทถูกรื้อไปเมื่อใดไม่ชัดเจนนัก สระน้ำทั้งสี่ก็หายไป ตื้นเขินและถูกไถถม คงเหลือแต่ สระโกสินารายณ์ ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือติดกับกำแพงเมืองเดิม


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-15 08:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2016-5-15 08:22

สระน้ำโกสินารายณ์


สระโกสินารายณ์ เป็นเมืองโบราณมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งที่ชาวจ.ราชบุรี โดยเฉพาะอำเภอบ้านโป่งภาคภูมิใจ
โกสินารายณ์ เป็นชื่อเมืองในสมัย ประมาณศตวรรษที่ 18 ตรงกับสมัยลพบุรี มีการค้นพบโบราณสถานอยู่ใจกลางเมืองเรียกว่าจอมปราสาท ภายในเมืองมีสระน้ำ 4 สระ
ได้แก่ สระนาค สระเข้ (สระจระเข้) สระมังกร และสระแก้ว แต่ได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว



สระโกสินารายณ์
เป็นสระโบราณมีเนื้อที่กว้างขวางถึง 50ไร่
ครั้งหนึ่งเป็นที่เลื่องลือกันว่า น้ำในศักดิ์สิทธิ์มากสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้นานัปการ
ผู้คนจากทั่วสารทิศ จึงพากันมาตักน้ำอาบและดื่มกิน
ในทางโบราณคดี สระโกสินารายณ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณ กรมศิลปากรเคยสำรวจพบคันดินแนวกำแพง
เหลือ 3 ด้าน แต่ละด้าน ยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ภายในเมืองมีการขุดสระไว้หลายสระ

ชาวบ้านเรียกชื่อ ต่างๆกัน บางสระมีลำรางเล็กๆ ขุดไขน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเข้ามา ส่วนสระโกสินารายณ์นี้ แม้ตั้งอยู่นอกเมือง แต่ก็ชิดกับกำแพงเมือง นอกจากนี้ที่เนินจอมปราสาทในอาณาบริเวณเมืองเก่า ยังขุดพบกรอบประตูและกลีบขนุนหินทรายแดง จึงสันนิษฐานว่า ตรงนั้นเคยเป็นพระปรางค์ใหญ่ ทั้งยังพบสิ่งต่างๆ อีกมาก ทั้งหมดเป็นศิลปะของสมัยลพบุรี แต่ที่สำคัญที่สุด
คือ รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปร่งรัศมีขนาดใหญ่ ทำด้วยหินปูนสีทรายแดงอีกอันหนึ่ง
เข้าใจว่าเป็นที่รองรับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นั้น
ของที่ขุดพบจากเมืองโบราณแห่งนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

สระโกสินารายณ์ ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวอำเภอ บ้านโป่ง เพราะมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นเรียงรายอยู่สองฟากถนนรอบสระ ยามเย็นหรือวันหยุดชาวอำเภอบ้านโป่งจำนวนมากนิยมมาออกกำลังกายรอบๆสระโกสิ นารายณ์ นอกจากนั้นยังมีเครื่องเล่นสำหรับเด็กไว้ให้คุณน้องๆหนูๆได้เพลิดเพลินกัน อีกด้วย และมีการจัดพื้นที่สำหรับขายอาหาร
หากนักท่องเที่ยวท่านใดสนใจเดินทางมาพักผ่อน หรือผ่านมา ชาวอำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี ขอแนะนำให้ท่านแวะชื่นชมความงดงาม และชื่นชมกับเมืองโบราณที่สำคัญ
ของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ทำบุญด้วยการให้อาหารปลาได้อีกด้วย

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว

ตลอดทั้งปี

ลักษณะของสถานที่

เป็น สระน้ำโบราณ อยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง จากหลักฐานการค้นคว้าทางโบราณคดีแสดงว่า ..
เคยเป็นเมืองโบราณมาแต่สมัยเก่าซึ่งได้ขุดพบพระกรของพระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวร
ทำด้วยหินทรายแดง 5 พระกรถือพระคัมภีร์ ลูกประคำ และดอกบัวกับพระบาทของพระโพธิสัตว์คู่หนึ่ง
ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี



4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-15 08:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศรีศัมพูกปัฏฏนะ เมืองเก่าราชบุรีที่หายสาบสูญ




หลายท่านอาจเคยได้ยินที่หน่วยราชการได้พยายามหยิบเอาคำว่า "เมืองชยราชบุรี" ออกมาประชาสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าราชบุรีเป็นเมืองเก่าโบราณ ทำให้หลายคนลืม "เมืองศัมพูกปัฏฏนะ"  ไปเลยทีเดียว เมืองนี้ก็เป็นเมืองเก่าเช่นเดียวกันและปัจจุบันก็ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ จ.ราชบุรีด้วย ผมได้อ่านพบในหนังสือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรีและจังหวัดราชบุรี ซึ่งพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2544 เลยพยายามไปค้นหามาจาก Google  ค้นไปค้นมานานพอสมควร จึงได้ไปพบ Blog ชื่อวรนัย http://www.oknation.net/blog/voranai  ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ  โพสต์โดยคุณศุภศรุต เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2552 พร้อมมีภาพประกอบที่หาชมได้ยาก เลยคัดลอกมาเขียนไว้ในนี้ เพื่อเป็นความรู้ให้แก่คนราชบุรีต่อไป ลองอ่านดูนะครับ

“ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ


"จารึก" หลักหนึ่งพบในปราสาทร้าง ที่ตั้งอยู่สุดขอบบารายตะวันออก (East Baray) ในเขตเมืองพระนครหลวง เป็นจารึกสำคัญที่หลงรอดจากการ “ทำลาย”มาในแต่ละยุคสมัย

ปราสาทร้างหลังนั้นมีชื่อภาษาเขมรว่า “ปราสาทตอว์ (Parsat Tor)” หรือ “ปราสาทราชสีห์” เนื่องจากคำว่า “ตอว์” หรือ “ตาว” ในภาษาเขมรแปลว่า “สิงโต” ครับ

ปราสาทตอว์ เป็นปราสาทร้าง ในรูปแบบของอโรคยศาล (Arogaya-sala ,Hospital Chapel) หรือ โรงพยาบาลแห่งพระพุทธเจ้า กายสีน้ำเงิน พระนามว่า “ไภษัชยไวฑูรยประภาสุคต” แห่งนิกายพุทธศาสนา “วัชรยานบายน”

ชื่อปราสาทมากมายในประเทศกัมพูชาหรือในประเทศไทยก็ตาม ต่างก็ไม่พ้นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ จากประสบการณ์ ความจำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ หรือความประทับใจของผู้คนที่ “ย้าย” ชุมชนเข้ามาครอบครองเหล่าพื้นที่ใกล้ปราสาทที่สาบสูญและสิ้นมนตราแห่ง “อำนาจ” ของเหล่าอาณาจักรโบราณเหล่านั้น

เช่นเดียวกับปราสาทตอว์ คงเพราะปราสาทตั้งอยู่ในที่รกร้าง ป่ารกชัฏเข้าปกคลุม รูปสลักสิงโตคู่ตรงทางเข้าคงเป็นที่มาของชื่อปราสาทแน่ ๆ
ถึงจะไม่ใช่เหตุผลนี้ ก็ใกล้เคียงล่ะครับ !!!

“จารึก” หลักสี่เหลี่ยมแบบหลักศิลาจารึก(เจ้า)ปัญหาของกรุงสุโขทัย หรือหลักกิโลเมตรเมืองไทย กล่าวถึงเรื่องราวแห่ง “ชัยชนะ” ของ “พระบรมโพธิสัตว์ชัยวรมัน - พระราชาผู้ปรารถนาความดีและประโยชน์อย่างยิ่งแก่มวลสัตว์โลก” ที่มีเหนือดินแดนตะวันตก

มันเป็นหลักฐาน “สงคราม” และชัยชนะของพระองค์เหนือเหล่า “พระราชาตะวันตก” บนแผ่นดินสุวรรณภูมิ !!!

อาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากพระนครหลวงได้ขยายออกไปทางทิศตะวันตก และได้ปราบปราม ครอบครองหัวเมืองดั่งเดิมตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ มาจนถึงลุ่มน้ำแม่กลอง หัวเมืองที่ยังเป็นวัฒนธรรมแบบ "ทวารวดี"

สอดรับกับหลักฐานจาก “จารึกปราสาทพระขรรค์” ในเมืองพระนครหลวง ที่กล่าวถึงการสร้าง “วิษัยนคร”(จังหวัด)  ขึ้นใหม่ 5 – 6 แห่ง ภายหลังชัยชนะของพระองค์ “อาณานิคม” ใหม่ของมหาอาณาจักรกัมพุเทศเกิดขึ้นแล้วที่ปลายทิศอัสดง !!!

“วิษัยนคร” ที่ถูกสถาปนานครขึ้นใหม่ 6 แห่ง มีนามเมืองตามจารึกว่า
  • เมืองศรีชัยวัชรปุระ (เพชรบุรี)
  • เมืองศรีชัยราชปุระ(ราชบุรี)
  • เมืองศรีชัยสิงหปุระ(ปราสาทเมืองสิงห์)
  • เมืองสุวรรณปุระ (เนินทางพระ- สุพรรณ ?)
  • เมืองสุพรรณภูมิปุระ (อโยธยา ?)
  • และเมืองศรีศัมพูกปัฏฏนะ (สระโกสินารายณ์)
แต่ทว่า ชัยชนะของพระองค์ก็ไม่ได้ยั่งยืนนัก ปราสาทและบ้านเมืองทั้งหลายได้เสื่อมสลายลงในเวลาไม่ถึงศตวรรษ !!!






5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-15 08:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศรีศัมพูกปัฏฏนะ คือ  เมืองโบราณโกสินารายณ์
“ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” หรือชื่อใหม่ว่า ”เมืองโบราณโกสินารายณ์” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง  ตามถนนสายบ้านโป่ง – กาญจนบุรี ในเขตตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี  ครับ





จากภาพทางอากาศก่อนปี 2502 ทำให้เราได้เห็น “ผังเมือง” ของวิษัยนคร“ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” อย่างชัดเจน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีความกว้างเกือบเท่ากับความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร

ใจกลางเมืองเป็นที่ตั้งของ "จอมปราสาท" ปราสาทหินขนาดย่อม  ซึ่งดูจากร่องรอยของหินทรายที่กระจัดกระจายอยู่โดยรอบ  ที่ใช้เป็นวัสดสำหรับกรอบประตู หน้าต่าง ตามแบบแผนการก่อสร้างปราสาท "สุคตาลัย"  (สถานบูชาพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา หรือ พระอวโลกิเตศวร ประจำโรงพยาบาล "อโรคยศาล" ในยุคนั้น

วิษัยนคร “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” มีสระน้ำอยู่ภายในตัวเมืองรวม 4 ทิศ  เรียกกันตามความนิยมในยุคหลังว่า สระนาค สระจรเข้ สระมังกร และสระแก้ว  ซึ่งก็แทนความหมายของมหาสมุทรทั้ง 4 ที่รายล้อม "เขาพระสุเมรุ" ที่สถิตแห่งพระพุทธเจ้าสูงสุดบนสรวงสวรรค์

หลังจากครอบครองดินแดนตะวันตก  และสถาปนาวิษัยขึ้น 6 แห่ง เมืองขนาดย่อม “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ”จึงได้ถูกสร้างขึ้นตามเส้นทางน้ำแม่กลอง เพื่อการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่าง “เมืองศรีชัยสิงหปุระ(ปราสาทเมืองสิงห์)” เมืองหลักของอาณานิคมนี้ กับ เมืองลวปุระ (ลพบุรี) และสุพรรณภูมิปุระ (อยุธยา) หัวเมืองใหญ่ของอาณาจักร

“สงคราม” ที่ไม่มีรายละเอียด... การเข้ายึดครองแผ่นดินลุ่มน้ำแม่กลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คงไม่ได้ทำได้อย่างง่ายนัก จากหลักฐานที่เราพบ ทั้งที่“ศรีศัมพูกปัฏฏนะ”(โกสินารายณ์) และเมืองศรีชัยสิงหปุระ(ปราสาทเมืองสิงห์) คือ  การค้นพบ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี"ทั้งสองแห่งครับ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
“พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี”เป็นรูปเคารพสำคัญของลัทธิ "โลเกศวร" ซึ่งแตกออกมาจากศาสนาพุทธนิกาย “วัชรยานตันตระ” ซึ่งเป็นคติที่นิยมเฉพาะในช่วงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เท่านั้นครับ เขาถือพระโลกเกศวรเปล่งรัศมีว่า "พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วยเหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง  และความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมากมายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย"


รูปสลัก “เปล่งรัศมี” อันแสดงถึงอานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ จะพบเฉพาะในบ้านเมืองหรือ “เขต (Areas)” ที่มีความขัดแย้งหรือสงครามที่รุนแรง

ช่นเดียวกับที่ดินแดน “ตะวันตก” แห่งนี้ !!!

เมื่อสิ้นอำนาจแห่งองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 วิษัยนครแห่งนี้ก็ยากแก่การป้องกันตัว “สงครามครั้งใหญ่” คงกลับมาเยือนอีกหลายครั้ง  ทั้งเหตุการกระด้างกระเดื่องแยกตัวไม่ขึ้นกับกษัตริย์เมืองพระนครพระองค์ใหม่โดยเหล่ากมรเตงชคต (ผู้ปกครอง)เดิม

หรือจากเหตุการ "แย่งชิงอำนาจ" ในอาณานิคม รวมทั้งประเด็นการตามทำลายล้าง “สัญลักษณ์” และ“อำนาจ” อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้าโดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ผู้ “ชิงชัง” ระบบ “ศาสนจักร”เดิม

และที่คงลืมไม่ได้ก็คือ “เหล่าพระราชาตะวันตก” อาจหวนคืนกลับมา ทวงแผ่นดินแม่กลองกลับคืนไป !!!

คร “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” จึงปรากฏร่องรอยของความขัดแย้ง  รูปเคารพ “เปล่งรัศมี” ที่สลักไว้ปรามเหล่าผู้คนในอาณาจักรให้เกรงกลัวและภักดี  ก็ถูกทุบทำลายอย่างย่อยยับ

“ปราสาทแห่งพระพุทธเจ้า” ก็มีร่องรอยถูกทำลายให้พังทลายลง ดั่งเพื่อถมทับอำนาจเก่าให้สาบสูญจมธรณีไป ......ตลอดกาล !!!

ซากเมืองศรีศัมพูกปัฏฏนะ-จอมปราสาทกลายเป็นศาลพระภูมิประจำโรงงาน
ซากเมืองโบราณ “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” ได้กลายมาเป็น เมืองโกสินารายณ์  มีการพัฒนามาโดยตลอด  จากเมืองที่ถูกคลุมด้วยป่ารกกลายมาเป็นเมืองตามเส้นทางแห่งความเจริญ  คลองชลประทานตัดผ่านเมือง กองหินที่เคยเป็นปราสาทถูกรื้อเอาหิน “ศิลาแลง” ไปใช้ประโยชน์ สระน้ำทั้งสี่ตื้นเขินและถูกไถถม คงเหลือแต่ สระโกสินารายณ์  ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือติดกับกำแพงเมืองเดิม แนวกำแพงเมืองทางทิศเหนือ  กลายมาเป็นคันคลองที่มีถนนอยู่ด้านบน  เมื่อมีการพัฒนาและขุดลอก”สระโกสินารยณ์”

หลัง ปี 2519 เครือซิเมนต์ไทยได้เข้าดำเนินกิจการธุรกิจกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของ "จอมปราสาท" จัดสร้างเป็นโรงงานขนาดใหญ่ชื่อว่า “โรงงานสยามคราฟท์” ในเครือบริษัทเยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) จอมปราสาทจึงกลายไปเป็นเนินดินทำหน้าที่เป็นศาลพระภูมิประจำโรงงาน  สระโกสินารายณ์ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลท่าผา  ก็ได้ดำเนินการพัฒนาปรับเปลี่ยน "โบราณสถาน" ที่เหลืออยู่  ให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน

หากท่านต้องการเข้าไปเยี่ยมเยือน  นครตะวันตกที่สาบสูญ อย่าง “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ”ที่สระโกสินารายณ์ ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของโรงงาน  เข้าไปเยี่ยมชมเนิน "จอมปราสาท" ได้เลยนะครับ วันนี้  กรมศิลปากรกับภาคธุรกิจเข้าได้เจรจาตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  หุหุ




เมื่ออำนาจและเวลาผันผ่านไป

คงทิ้งไว้แต่เศษซากแห่งศักดิ์ศรี

เศษละออง  กองทับ ใต้ปัฐพี

ฝังความดี  ความร้าย ให้จดจำ"





6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-15 08:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



เหรียญคุณปู่โกฑัณ คุณตาอู่ทอง


สระโกสินารายณ์ จ.ราชบุรี



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้