ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2224
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

รู้แล้วปฏิบัติ! 5 ข้อน่ารู้ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ให้ถูกกาลเทศะ!

[คัดลอกลิงก์]
พิธีสำคัญที่มาคู่กับวันสงกรานต์เสมอก็คือ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หลายคนรู้จักกันดีว่าพิธีนี้คือการนำน้ำหอมๆ มารดใส่ในมือของผู้ใหญ่ที่เราเคารพ แต่เดี๋ยวก่อน…เคยรู้กันมั้ยว่าจริงๆ แล้วพิธีน่ารักๆ แบบนี้มีความเป็นมาอย่างไร และวิธีการรดน้ำผู้ใหญ่ที่ถูกต้องตามหลัก ต้องทำอย่างไรบ้าง?
หลายคนไม่รู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีรดน้ำดำหัวให้มากขึ้น สงกรานต์ปีนี้ก็อย่าลืมเอาไปใช้กันด้วยล่ะ ส่วนจะมีอะไรบ้าง ล้อมวงเข้ามาชมกันเลย
1. ทำไมต้อง 'รดน้ำ' และ 'ดำหัว'
สำหรับความเป็นมาของ พิธีรดน้ำดำหัว นั้น ว่ากันว่า เป็นพิธีโบราณมาจากทางเหนือ โดยคำว่า 'รดน้ำดำหัว' เป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมาและขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งในอดีตนั้นการรดน้ำคือ การอาบน้ำจริงๆ ส่วนการดำหัวก็คือการสระผมให้ผู้ใหญ่นั่นเอง โดยจะใช้น้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูดในการสระผม (คำว่า ดำหัว เป็นภาษาล้านนาดั้งเดิม หมายถึงการสระผม)

รดน้ำดำหัวเพื่อขอพรมงคลจากผู้ใหญ่ ต่อมาพิธีดังกล่าวก็แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค นอกจากจะทำเพื่อขอขมาผู้ใหญ่แล้ว ยังถือเป็นการชำระสะสางสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตเพื่อต้อนรับสิ่งดีๆ เข้ามาในวันปีใหม่ จวบจนถึงวันนี้การรดน้ำดำหัวกลายเป็นประเพณีที่ดีงามอย่างหนึ่ง ที่ประชาชนชาวไทยปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาในวันสงกรานต์ทุกปี
2. ความหมายที่แฝงอยู่ในพิธี
การรดน้ำดำหัวไม่ได้เป็นเพียงการชำระสิ่งไม่ดีออกไปเท่านั้น แต่ยังมีความหมายดีๆ แฝงอยู่ นั่นคือ เป็นการแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย และเพื่อขอโทษขออภัยในปีที่ผ่านมา ที่ผู้น้อยอาจจะเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ไม่ว่าจะ
ต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม รวมถึงเป็นการขอพรจากผู้อาวุโสเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองตลอดปีอีกด้วย

ชาวต่างชาติก็รู้จักพิธีนี้กันมากขึ้น 3. คุณค่าระหว่างวัย
ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งของพิธีนี้ก็คือ ช่วยสานความสัมพันธ์ให้กับคนในครอบครัวได้ด้วย เพราะวันสงกรานต์เป็นช่วงเวลาเดียวของปี ที่คนไทยนิยมเดินทางกลับบ้านเกิดไปรวมตัวกัน หรือที่เรียกว่า วันรวมญาติ เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ไทยร่วมกัน ปู่ย่าตายายก็จะได้เห็นหน้าหลานๆ ให้ชื่นใจ ส่วนเด็กๆ เองก็จะได้มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องดีต่อเด็ก เพราะมีข้อมูลทางวิชาการระบุว่า การให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับคนแก่จะช่วยฝึกให้เด็กมีความนอบน้อม และอ่อนโยนขึ้นได้

สานสัมพันธ์คนในครอบครัวและคนในชุมชน ซึ่งการรดน้ำดำหัว เด็กๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เต็มที่ ตั้งแต่การเตรียมดอกไม้ น้ำหอม น้ำปรุง นอกจากนี้ ผู้ปกครองก็สามารถชี้ชวนและอธิบายถึงความหมายดีๆ ของกิจกรรมนี้ให้ลูกเข้าใจมากขึ้นได้ เช่น บอกว่าคุณแม่กำลังรดน้ำคุณตานะ เดี๋ยวคุณตาจะอวยพรให้แม่แข็งแรง อยู่กับลูกไปนานๆ พอคุณแม่รดน้ำเสร็จ ก็ให้ลูกลองรดน้ำดำหัวบ้าง พร้อมกับคอยแนะนำอยู่ใกล้ๆ เมื่อเด็กได้ทำซ้ำๆ ทุกปี ช่วงเวลาแบบนี้จะเป็นสิ่งที่พวกเขารอคอย และรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ
4. วิธีดำหัวฉบับโบราณ vs สมัยใหม่
สำหรับวิธีการรดน้ำดำหัว ขอพาไปทำความรู้จักกับวิธีแบบโบราณกันก่อน ซึ่งเป็นพิธีกรรมในแบบของสงกรานต์ล้านนา โดยสามารถทำได้ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง ดำหัวตนเอง : เป็นพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ เพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีออกไป
แบบที่สอง ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน : เป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากแบบแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (แบบที่สาม) มาลูบศีรษะตนเองเสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะ หรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง
แบบที่สาม ดำหัวผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น : กรณีนี้อาจไปดำหัวด้วยตนเอง บางครั้งอาจพาญาติพี่น้องไปเป็นกลุ่ม หรือไปเป็นคณะ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือของชุมชน

รดน้ำดำหัวพระภิกษุสงฆ์ ส่วนการรดน้ำดำหัวในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย โดยเน้นไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ และรดน้ำดำหัวพระสงฆ์ ซึ่งการรดน้ำผู้ใหญ่จะทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ก็คือวันที่ 15 เมษายน (วันผู้สูงอายุ) ส่วนการรดน้ำดำหัวพระสงฆ์จะมีพิธีการมากกว่า คือก่อนที่จะรดน้ำพระสงฆ์ จะต้องรดน้ำ
พระพุทธรูปก่อน แล้วจึงค่อยรดน้ำดำหัวพระภิกษุสงฆ์ จากนั้นก็รับพร สามารถทำได้ทุกวันตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย (13-15) ของสงกรานต์
5. ต้องเตรียมอะไรบ้าง

เตรียมน้ำอบน้ำปรุง หรือน้ำหอม มาผสมในน้ำสะอาด สิ่งที่ต้องเตรียมไปในการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ได้แก่ น้ำอบไทย น้ำหอม หรือน้ำส้มป่อย เพื่อนำไปผสมกับน้ำที่จะนำไปรดน้ำผู้ใหญ่ ข้อต่อมาคือเตรียมดอกมะลิ ดอกกุหลาบ หรือดอกไม้อื่นๆ ที่ปลูกอยู่ในบ้านก็ได้ ถัดมาต้องเตรียมขันเงินหรือขันทองเหลือง พานข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน ข้อสุดท้าย คือ เตรียมผ้าตัดเสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าห่มผืนใหม่ หรือของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อมอบให้แก่ผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ไทย

ใส่ดอกไม้กลิ่นหอมลงไปด้วยเพื่อความสดชื่น ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวดีๆ ของการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เอาเป็นว่าสงกรานต์นี้ก็อย่าลืมที่จะจัดเตรียมดอกไม้ น้ำอบน้ำปรุง ไปรดน้ำผู้สูงอายุกันนะจ๊ะ จะได้สานความผูกพันในครอบครัวให้ยิ่งอบอุ่นและมีความสุขตลอดปีใหม่นี้

ที่มา : kroobannok, dmc
ภาพ : thailanologies, leecraker, bangkokknights, afrims, jakeneedham, goasean


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้