ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประวัติพระปิดตา กับตำนานการสร้างพระปิดตาในประเทศไทย

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-6 16:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระ อุโบสถและถาวรสถานในครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2431 ก็ได้สร้างศาลาการเปรียญ และอีก 8 ปี ก็สร้างพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้น ในขณะที่หลวงปู่เอี่ยมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสะพานสูงก็ได้ออกธุดงค์อยู่เสมอ โดยจะมีพระลูกวัดติดตามได้ด้วย โดยท่านจะให้พระลูกวัดออกเดินทางไปก่อน 6-7 ชั่วโมง แล้วหลวงปู่ท่านจะตามไปทีหลัง แต่ท่านก็ตามไปทันตามจุดนัดพบทุกครั้ง หลวงปู่เอี่ยมท่านสำเร็จวิชาโสฬสมงคล และเชี่ยวชาญวิชากรรมฐาน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกแก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก มีพิมพ์ชะลูด พิมพ์ตะพาบ และพิมพ์พนมมือ อีกทั้งตะกรุดมหาโสฬสมงคล ซึ่งตะกรุดของท่านนี้ก็หายากและเป็นที่นิยมกันมาก นับเป็นตะกรุดอันดับหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียวครับ หลวงปู่เอี่ยมท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2439 สิริอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

3. พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข หรือวัดเชิงเลน กทม.
หลวงปู่ไข่ ภูมิลำเนาเดิมอยู่แปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา เกิดที่บ้านประตูน้ำท่าไข่ เมื่อปี พ.ศ.2400 ท่านร่ำเรียนพระธรรมวินัยได้ระยะหนึ่ง แล้วจึงฝากตัวเป็น ศิษย์หลวงปู่จีน ผู้เรืองวิทยาคมด้านไสยเวท ที่วัดท่าลาดเหนือ ท่าศึกษาเล่าเรียนจนชำนาญเชี่ยวชาญไม่แพ้ศิษย์รุ่นพี่ซึ่งเป็นพระเกจิชื่อ ดังอาทิ หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อปาน และหลวงพ่อเจียม เป็นต้น ต่อมาท่านออกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อแสวงหาความรู้และฝึกฝนวิทยาคมเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.2445 ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ จำพรรษาที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุข จากนั้นเป็นต้นมา 7-8 ปีให้หลัง กุฏิหลวงปู่ไข่ก็เนืองแน่นไปด้วยผู้เลื่อมใสศรัทธา พอปี พ.ศ.2460 วัตถุมงคลของท่านก็เริ่มออกสู่สายตาผู้มานมัสการเป็นครั้งแรก แต่ละครั้งที่ท่านสร้างจะมีจำนวนไม่มากนัก โดยยึดหลักว่า “หมดแล้วทำใหม่” ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2474 วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีด้วยกัน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ พระปิดตา เหรียญรูปไข่ และพระอรหังกลับบัว สำหรับพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2460 เป็นต้นมา ส่วนเหรียญรูปไข่สร้างในคราวทำบุญอายุครบ 6 รอบ ส่วนพระอรหังกลีบบัว เป็นพระเนื้อดินผสมผง มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ เนื้อผงคลุกรักนับว่าเป็นพระปิดตาที่หาได้ยากองค์หนึ่งและเป็นหนึ่งในยุทธจักรของ พระปิดตามหามงคล หลวงปู่ไข่ท่านเป็นพระที่สมถ รักสันโดด มีความเมตตาต่อสานุศิษย์ทุกคนแม้กระทั่ง เหล่าเจ้าขุนมูลนายในสมัยนั้นก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน หลวงปู่ไข่เป็นพระคณาจารย์ผู้มีพระเวทย์วิทยาคมสูงถือว่าเป็นหนึ่งในชุดพระ ปิดตา มหามงคล เนื้อผงคลุกรักครับ

4. พระปิดตาพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว
การสร้างพระปิดตา เนื่องจากหลวงปู่พ่อเฒ่ายิ้ม มีวิชาอาคมมาก เพราะศึกษามาหลายสำนัก ท่านจึงสร้างผงวิเศษไว้มากพอสมควร ครั้นได้ฤกษ์งามยามดีท่านก็แกะแม่พิมพ์ ด้วยหินมีดโกน เป็นแบบปิดตา และพระสังกัจจายน์ แล้วสร้างเป็นพระพิมพ์ โดยแบ่งพิมพ์ทรงออกเป็น 4 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่นิยม หรือพิมพ์ชะลูด พิมพ์นี้องค์พระจะมีสัณฐานสูงชะลูดชาวบ้าน เรียกคิดปากว่า "พิมพ์ยืด" ส่วนสูงของพิมพ์นี้ประมาณ 2.5 ซ.ม. ลักษณะของ องค์พระเป็นรูปลอยองค์พระหัตถ์สองข้างปิดพระเนตร ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระเพลา (ส่วนขา) เหยียดตรงติดกัน จนมีลักษณะคล้ายฐานเขียงไม่ปรากฏการซ้อนพระชงฆ์ (แข้ง) แต่อย่างใด รายละเอียดอื่น ๆ ไม่ปรากฏชัดเจนส่วนด้านหลังจะเป็นแบบหลังปาดเรียบ

พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์นี้ชาวบ้านจะเรียกว่า พิมพ์พุงป่อง หรือ พิมพ์อุ้มท้อง ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผง ที่มีวรรณะค่อนข้างจะออกขาวอมเหลือง มีความแห้งจัด องค์พระจะมีความสูง ประมาณ 1.2 ซ.ม. ลักษณะของพิมพ์ดูแตกต่างจากพิมพ์ชะลูดโดยชัดเจน มีลักษณะการใช้พระหัตถ์ที่ประสานเหนือตักในท่านั่งสมาธิรับกับช่วง พระชานุ (เข่า) จะเป็นมุมสามเหลี่ยมไม่มีลักษณะของฐานเขียง ปรากฏแต่อย่าใด

พิมพ์แข้งซ้อน พระพิมพ์นี้มีส่วนสูงประมาณ 2 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. ลักษณะขององค์พระเป็นรูปลอยองค์แบบครึ่งซีก พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกปิดพระเนตรอย่างกลมกลืน ไม่ปรากฏนิ้วมือ ประทับนั่งสมาธิราบ พระเพลา ข้างขวาทับพระเพลาข้างซ้ายแต่ส่วนปลายของพระเพลาขวากลับชี้ขึ้น จนมีลักษณะเหมือนกับยกแข้ง จึงมองดูคล้าย "แข้งซ้อน" และเท่าที่พบเห็น พระส่วนมาก จะมีปีกเกินด้านหลังจะอูมนูนคล้ายกับหลังเบี้ย มวลสารวรรณะจะมี สีเทาอมเขียว

พิมพ์โบราณ พระพิมพ์นี้จัดได้ว่าเป็นการสร้างพระเครื่องรุ่นแรก ๆ ของท่านเท่าที่พบส่วนมากจะมีลักษณะคล้ายพระปิดตาพิมพ์ยืดและพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นคนละพิมพ์กันกับพระพิมพ์นิยมและพระพิมพ์ ส่วนมากจะเป็นเนื้อผงคลุกรัก ด้านหลังจะเป็นแบบหลังปาดเรียบ สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญในเรื่องของพระเครื่อง หลวงปู่เฒ่ายิ้ม จะไม่ขอแนะนำให้สะสม ถือว่าเป็นเกจิอาจารย์องค์หนึ่งที่เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ พ่อเฒ่ายิ้มเป็นพระที่เปรี่ยมด้วยเมตตามหานิยมได้มีผู้กล่าวเล่ากันไว้ว่า ท่านไม่เคยดุด่าว่าใคร เพราะท่านเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ ท่านจึงมักจะไม่พูด มีแต่จะยิ้มให้เมตตาสานุศิษย์สมกับชื่อของท่านว่า "ยิ้ม" พระของท่านเด่นในทางเมตตา มหานิยมและแคล้วคลาด ครับ

5. พระปิดตา หลวงปู่จีน วัดท่าลาด
ประวัติโดยย่อ พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา
วัดท่าลาด สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ.2396 โดยพระยาท่านหนึ่งจากเขมร และได้นิมนต์หลวงปู่จีนซึ่งเดินธุดงค์ผ่านมาพอดี ให้เป็นเจ้าอาวาสจึงนับได้ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าลาด ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมและเชี่ยวชาญด้านไสยเวท ที่สำคัญท่านเป็นพระอาจารย์ของพระเกจิที่มีชื่อเสียงหลายรูป อาทิ หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อปาน และหลวงพ่อโต เป็นต้น พระปิดตาหลวงพ่อจีน จะมีลักษณะของพระกรรณอย่างเด่นชัด ซึ่งความจริงคือกระจังหน้าครอบพระเศียร มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด และเท่าที่พบเห็นจะไม่มีการลงจารอักขระเลขยันต์ เป็นพระประเภทพระเนื้อผงคลุกรัก จุ่มรักคล้ายกับหลวงปู่เจียม วัดกำแพง อายุการสร้างร้อยกว่าปี พุทธคุณก็เด่นทางเมตตามหานิยมเช่นกัน และพระปิดตาของท่านนั้นมีด้วยความศักดิ์สิทธิ์มากครับ คนฉะเชิงเทรา หวงกันมาก

12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-6 16:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระ อุโบสถและถาวรสถานในครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2431 ก็ได้สร้างศาลาการเปรียญ และอีก 8 ปี ก็สร้างพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้น ในขณะที่หลวงปู่เอี่ยมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสะพานสูงก็ได้ออกธุดงค์อยู่เสมอ โดยจะมีพระลูกวัดติดตามได้ด้วย โดยท่านจะให้พระลูกวัดออกเดินทางไปก่อน 6-7 ชั่วโมง แล้วหลวงปู่ท่านจะตามไปทีหลัง แต่ท่านก็ตามไปทันตามจุดนัดพบทุกครั้ง หลวงปู่เอี่ยมท่านสำเร็จวิชาโสฬสมงคล และเชี่ยวชาญวิชากรรมฐาน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกแก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก มีพิมพ์ชะลูด พิมพ์ตะพาบ และพิมพ์พนมมือ อีกทั้งตะกรุดมหาโสฬสมงคล ซึ่งตะกรุดของท่านนี้ก็หายากและเป็นที่นิยมกันมาก นับเป็นตะกรุดอันดับหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียวครับ หลวงปู่เอี่ยมท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2439 สิริอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

3. พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข หรือวัดเชิงเลน กทม.
หลวงปู่ไข่ ภูมิลำเนาเดิมอยู่แปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา เกิดที่บ้านประตูน้ำท่าไข่ เมื่อปี พ.ศ.2400 ท่านร่ำเรียนพระธรรมวินัยได้ระยะหนึ่ง แล้วจึงฝากตัวเป็น ศิษย์หลวงปู่จีน ผู้เรืองวิทยาคมด้านไสยเวท ที่วัดท่าลาดเหนือ ท่าศึกษาเล่าเรียนจนชำนาญเชี่ยวชาญไม่แพ้ศิษย์รุ่นพี่ซึ่งเป็นพระเกจิชื่อ ดังอาทิ หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อปาน และหลวงพ่อเจียม เป็นต้น ต่อมาท่านออกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อแสวงหาความรู้และฝึกฝนวิทยาคมเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.2445 ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ จำพรรษาที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุข จากนั้นเป็นต้นมา 7-8 ปีให้หลัง กุฏิหลวงปู่ไข่ก็เนืองแน่นไปด้วยผู้เลื่อมใสศรัทธา พอปี พ.ศ.2460 วัตถุมงคลของท่านก็เริ่มออกสู่สายตาผู้มานมัสการเป็นครั้งแรก แต่ละครั้งที่ท่านสร้างจะมีจำนวนไม่มากนัก โดยยึดหลักว่า “หมดแล้วทำใหม่” ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2474 วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีด้วยกัน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ พระปิดตา เหรียญรูปไข่ และพระอรหังกลับบัว สำหรับพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2460 เป็นต้นมา ส่วนเหรียญรูปไข่สร้างในคราวทำบุญอายุครบ 6 รอบ ส่วนพระอรหังกลีบบัว เป็นพระเนื้อดินผสมผง มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ เนื้อผงคลุกรักนับว่าเป็นพระปิดตาที่หาได้ยากองค์หนึ่งและเป็นหนึ่งในยุทธจักรของ พระปิดตามหามงคล หลวงปู่ไข่ท่านเป็นพระที่สมถ รักสันโดด มีความเมตตาต่อสานุศิษย์ทุกคนแม้กระทั่ง เหล่าเจ้าขุนมูลนายในสมัยนั้นก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน หลวงปู่ไข่เป็นพระคณาจารย์ผู้มีพระเวทย์วิทยาคมสูงถือว่าเป็นหนึ่งในชุดพระ ปิดตา มหามงคล เนื้อผงคลุกรักครับ

4. พระปิดตาพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว
การสร้างพระปิดตา เนื่องจากหลวงปู่พ่อเฒ่ายิ้ม มีวิชาอาคมมาก เพราะศึกษามาหลายสำนัก ท่านจึงสร้างผงวิเศษไว้มากพอสมควร ครั้นได้ฤกษ์งามยามดีท่านก็แกะแม่พิมพ์ ด้วยหินมีดโกน เป็นแบบปิดตา และพระสังกัจจายน์ แล้วสร้างเป็นพระพิมพ์ โดยแบ่งพิมพ์ทรงออกเป็น 4 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่นิยม หรือพิมพ์ชะลูด พิมพ์นี้องค์พระจะมีสัณฐานสูงชะลูดชาวบ้าน เรียกคิดปากว่า "พิมพ์ยืด" ส่วนสูงของพิมพ์นี้ประมาณ 2.5 ซ.ม. ลักษณะของ องค์พระเป็นรูปลอยองค์พระหัตถ์สองข้างปิดพระเนตร ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระเพลา (ส่วนขา) เหยียดตรงติดกัน จนมีลักษณะคล้ายฐานเขียงไม่ปรากฏการซ้อนพระชงฆ์ (แข้ง) แต่อย่างใด รายละเอียดอื่น ๆ ไม่ปรากฏชัดเจนส่วนด้านหลังจะเป็นแบบหลังปาดเรียบ

พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์นี้ชาวบ้านจะเรียกว่า พิมพ์พุงป่อง หรือ พิมพ์อุ้มท้อง ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผง ที่มีวรรณะค่อนข้างจะออกขาวอมเหลือง มีความแห้งจัด องค์พระจะมีความสูง ประมาณ 1.2 ซ.ม. ลักษณะของพิมพ์ดูแตกต่างจากพิมพ์ชะลูดโดยชัดเจน มีลักษณะการใช้พระหัตถ์ที่ประสานเหนือตักในท่านั่งสมาธิรับกับช่วง พระชานุ (เข่า) จะเป็นมุมสามเหลี่ยมไม่มีลักษณะของฐานเขียง ปรากฏแต่อย่าใด

พิมพ์แข้งซ้อน พระพิมพ์นี้มีส่วนสูงประมาณ 2 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. ลักษณะขององค์พระเป็นรูปลอยองค์แบบครึ่งซีก พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกปิดพระเนตรอย่างกลมกลืน ไม่ปรากฏนิ้วมือ ประทับนั่งสมาธิราบ พระเพลา ข้างขวาทับพระเพลาข้างซ้ายแต่ส่วนปลายของพระเพลาขวากลับชี้ขึ้น จนมีลักษณะเหมือนกับยกแข้ง จึงมองดูคล้าย "แข้งซ้อน" และเท่าที่พบเห็น พระส่วนมาก จะมีปีกเกินด้านหลังจะอูมนูนคล้ายกับหลังเบี้ย มวลสารวรรณะจะมี สีเทาอมเขียว

พิมพ์โบราณ พระพิมพ์นี้จัดได้ว่าเป็นการสร้างพระเครื่องรุ่นแรก ๆ ของท่านเท่าที่พบส่วนมากจะมีลักษณะคล้ายพระปิดตาพิมพ์ยืดและพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นคนละพิมพ์กันกับพระพิมพ์นิยมและพระพิมพ์ ส่วนมากจะเป็นเนื้อผงคลุกรัก ด้านหลังจะเป็นแบบหลังปาดเรียบ สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญในเรื่องของพระเครื่อง หลวงปู่เฒ่ายิ้ม จะไม่ขอแนะนำให้สะสม ถือว่าเป็นเกจิอาจารย์องค์หนึ่งที่เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ พ่อเฒ่ายิ้มเป็นพระที่เปรี่ยมด้วยเมตตามหานิยมได้มีผู้กล่าวเล่ากันไว้ว่า ท่านไม่เคยดุด่าว่าใคร เพราะท่านเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ ท่านจึงมักจะไม่พูด มีแต่จะยิ้มให้เมตตาสานุศิษย์สมกับชื่อของท่านว่า "ยิ้ม" พระของท่านเด่นในทางเมตตา มหานิยมและแคล้วคลาด ครับ

5. พระปิดตา หลวงปู่จีน วัดท่าลาด
ประวัติโดยย่อ พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา
วัดท่าลาด สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ.2396 โดยพระยาท่านหนึ่งจากเขมร และได้นิมนต์หลวงปู่จีนซึ่งเดินธุดงค์ผ่านมาพอดี ให้เป็นเจ้าอาวาสจึงนับได้ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าลาด ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมและเชี่ยวชาญด้านไสยเวท ที่สำคัญท่านเป็นพระอาจารย์ของพระเกจิที่มีชื่อเสียงหลายรูป อาทิ หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อปาน และหลวงพ่อโต เป็นต้น พระปิดตาหลวงพ่อจีน จะมีลักษณะของพระกรรณอย่างเด่นชัด ซึ่งความจริงคือกระจังหน้าครอบพระเศียร มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด และเท่าที่พบเห็นจะไม่มีการลงจารอักขระเลขยันต์ เป็นพระประเภทพระเนื้อผงคลุกรัก จุ่มรักคล้ายกับหลวงปู่เจียม วัดกำแพง อายุการสร้างร้อยกว่าปี พุทธคุณก็เด่นทางเมตตามหานิยมเช่นกัน และพระปิดตาของท่านนั้นมีด้วยความศักดิ์สิทธิ์มากครับ คนฉะเชิงเทรา หวงกันมาก

พระปิดตาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้เป็นพระปิดตาที่หาได้ยากยิ่ง ควรค่าแก่การอนุรักษ์ครับ พุทธคุณ เด่นในด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี อายุการสร้างยาวนานนับร้อยปี
ส่วนพระคาถาที่มีนิยมใช้อาราธนาพระปิดตา
นะโมพุทธัสสะ คะวัมปะติสสะ
นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ
นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ
สุขา สุขะ วะรัง นะโมพุทธายะ
มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา เจวะ เสกขา ธัมมา ยะธาพุทโมนะ ฯ
" เป็นโภคทรัพย์ เจริญด้วยโชคภาลเมตตามหานิยม "
.......................
พระคาถาพิมพ์พระภควัมปติ "ปิดตา"
ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
อ้างอิงรูปและบทความเพิ่มเติมจาก ....
ชั่วโมงเซียน"ป๋อง สุพรรณ"-พระปิดตาวัดท้ายย่านจ.ชัยนาทตำนานแห่งพระปิดตา ...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้