ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1966
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หาดูยากมาก ! สมุดข่อย ‘ขายทาส’ พร้อมภาพชุด ‘ทาสสยาม’

[คัดลอกลิงก์]


ที่มามติชนออนไลน์


1 เมษายน พ.ศ.2448 หรือวันนี้เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ออก “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ส่วนทาสสยามประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันไม่ให้คนที่เป็นไทแล้วกลับมาเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ก็ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว
จึงมักเรียกวันนี้เป็น “วันเลิกทาส”
อย่างไรก็ตาม กระบวนดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้น คือ เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ทรงออก “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย” โดยมีการแก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก
และหากย้อนกลับไปรัชสมัยก่อนหน้า คือรัชกาลที่ 4 ก็มีหลักฐานว่าทรงวิพากษ์วิจารณ์การมีทาสของประเทศที่เจริญแล้วในยุโรป เช่น อังกฤษ อย่างไม่ไว้หน้า
พระองค์ยังกล่าวว่า ทรงจำได้ว่านางแอนนา เลียวโนเวนส์ หรือ “แหม่มแอนนา” เคยพูดว่า “ทาสจะเป็นมลทินที่ยิ่งใหญ่ของชาติสยาม” (“that slavery shall be a great blot on the Siamese nation”) ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงปฏิเสธไปในตอนแรก
ทาสสยาม จากหนังสือ Anna and the King of Siam ของมาร์กาเรต แลนดอน ฉบับพิมพ์โดย The John day company, New York 1944 (ภาพประกอบโดย มาร์กาเร็ต เอเยอร์)ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เคยกล่าวถึงประเด็นการเลิกทาสว่า การดำเนินการดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อให้สยามทันสมัยตามแบบฝรั่งตะวันตก อย่างช้าๆ จากต้นถึงปลายรัชกาล โดยไม่ได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงแนว ‘สงครามกลางเมือง’ เหมือนบางประเทศในโลก เนื่องจากทาส ไม่ได้เป็นคนจำนวนมากของประเทศ จึงไม่ได้มีผลกระทบต่อ “นายทาส” มากนัก และที่สำคัญ คือ ทาสไม่ได้เป็นแรงงานสำคัญในการผลิต ข้าว ยางพารา หรือ ไม้สัก
ทาสสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ
หนังสือสารกรมธรรม์ ขุนนางผู้ใหญ่ นาม “หลวงภักดีสงคราม” และภรรยา “อำแดงคล้าย” ขายตัวเองเป็นทาสแก่ชาวจีนชื่อ “ทองจีน” และภรรยาชื่อ “นางนกแก้ว” คาดเป็น “ขุนนางตกยาก” เมืองนครราชสีมา ข้อความส่วนหนึ่งว่า “ตูข้าอ้ายหลวงภักดีสงคราม อีคล้ายผู้เมีย ทุกข์ยาก พร้อมใจกันทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเองอยู่กับท่านจีนทองจีนผัว นางนกแก้วเมีย (แต่ต้น) เป็นเงินตราสองชั่งสิบสี่ตำลึง ตูข้าเข้าอยู่รับใช้สอยการงานต่างกิริยาดอกเบี้ยของท่าน ….”จากวันนั้น ถึงวันนี้ แม้จะผ่านไปนานกว่า 100 ปี แต่เรื่องราวของทาส ยังถูกถ่ายทอดผ่านงานวรรณกรรมจำพวกนิยาย ซึ่งถูกนำไปผลิตซ้ำในรูปแบบละครโทรทัศน์มากมายหลายเรื่อง ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนกลายเป็นภาพยนตร์ และละครย้อนยุคที่ถูกสร้างใหม่ ‘นับไม่ถ้วนเวอร์ชั่น’ คือ นางทาส เรื่องราวสุดเศร้าเคล้าน้ำตาของทาสสาวสวยนามว่า “อีเย็น” ที่ถูกพ่อแม่นำมาขายรับใช้ในเรือน “คุณหญิงแย้ม” ตั้งแต่เด็ก



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-2 05:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(ซ้าย) นางทาษ พ.ศ. 2498 โดย ละโว้ภาพยนตร์   กำกับโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก  ที่ส่งเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน เมื่อ พ.ศ. 2504 (ขวา) นางทาษ  พ.ศ.2505 (ภาพจาก มูลนิธิหนังไทย)นางทาส เดิม สะกด “นางทาษ” เป็นเรื่องสั้นขนาดยาวของ “วรรณสิริ” นามปากกาของ หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ  อยุธยา ตีพิมพ์ครั้งแรกใน รวมเรื่องสั้นชุด“สร้อยนพเก้า” ครั้นได้รับความนิยมสูงยิ่ง  จึงมีการสร้างเป็นภาพยนต์และละครโดยถูกแต่งเติมเสริมรายละเอียด จนกลายเป็น นางทาส  เวอร์ชั่นปัจจุบัน โดยเป็นที่ “แจ้งเกิด” ดาราสาวหลายราย เช่น มนฤดี ยมาภัย และ  กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง

แยม-มทิรา ละคร นางทาส พ.ศ. 2558อีกเรื่องที่ฮิตแบบตามมากติดๆ คือ “ลูกทาส” เรื่องราวของ แก้ว  ทาสในเรือนของพระยาไชยากร ผู้พยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส  กระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และ  ได้ครองคู่กับหญิงสาวสูงศักดิ์ที่หมายปอง
ลูกทาส ประพันธ์ โดย สุวัฒน์ วรดิลก ภายใต้นามปากกา รพีพร  ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในหนังสือพิมพ์รายปักษ์ เดลิเมล์วันจันทร์

ลูกทาส เวอร์ชั่น พ.ศ. 2507นอกจากนี้  ยังมีวรรณกรรมอีกมากมายที่หยิบเอาเรื่องราวของทาสไปประกอบสร้างหรือเป็นฉากดำเนินเรื่องแสนสนุกคลุกน้ำตา
“มติชน” จึงไปค้นภาพชุดทาสสยาม รวมถึงไพร่  อันเป็นแรงงานสำคัญในระบบเศรษฐกิจในอดีตมาให้ชมกัน เนื่องในวันสำคัญแห่งความเป็นไท 1 เมษายนนี้

หนังสือซื่อขายตนเองเป็นทาส (บน) ขายตัวเองและลูกเต้าเป็นทาสนายเงิน ข้อความตอนนหึ่งว่า “ตูข้าอ้ายเสือผู้ผัว  อีแจ้มผู้เมีย อีอั้ว อีจีบ อีพวง อ้ายอิ่ม ผู้ลูก มีความทุกข์ยาก  พร้อมใจกันทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเองอยู่กับท่านทองอิน….” (ล่าง) เอกสารขายเมียให้เป็นทาส ข้อความตอนหนึ่งว่า “พ่อแสงผู้ผัว  ทำหนังสือสารกรมธรรม์เอาอีศรีเมียมาขายฝากไว้กับท่านภักดีนุชิตผัว อ้นภรรยา …มอบตัวอีศรีให้ท่านใช้สอยงานต่างกระยาดอกเบี้ย…”

ไพร่-ทาส แรงงานสยามในอดีต (ภาพจากเวปไซต์ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน) นักโทษสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกนำมาใช้แรงงาน
ภาพและข้อมูลบางส่วนจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 มกราคม 2547

http://www.matichon.co.th/news/92351
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-8 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในประเทศไทย ทาสยังมีหลงเหลืออยู่ ม่ะหนอ  
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้