ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6999
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานและนิทานพื้นบ้านจังหวัดพิจิตร เรื่องชาละวัน- ไกรทอง

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2016-3-23 18:14

ตำนานและนิทานพื้นบ้านจังหวัดพิจิตร เรื่องชาละวัน- ไกรทอง
ชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งลำน้ำน่านเก่า เมืองพิจิตรเกิดขึ้นหลังจากพิจิตร สิ้นราชวงศ์โคตรตะบองเทวราช ประมาณพุทธศักราช ๑๘๐๐ ไปแล้ว เมืองพิจิตรปกครองโดย เจ้าเมืองพิจิตรอีกหลายชั่วคนวันหนึ่งลูกสาวเศรษฐีเมืองพิจิตรเก่าถูกชาละวันแว้งตกน้ำหายไป เศรษฐีจึงได้ประกาศหาคนมาปราบ โดยจะยกลูกสาวอีกคน ที่เหลือให้เป็นรางวัล ในที่สุดก็ได้

นายไกร พ่อค้าเรือจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจะเป็นชาว นนทบุรี (มีหลักฐานคือตำบลนายไกร จังหวัดนนทบุรี น่าจะเป็นบ้านเดิมของนายไกร) เป็นผู้ปราบจระเข้ใหญ่ที่ชื่อชาละวันได้

ตำนานเล่าว่า ตายายสามีภรรยาไปหาปลาได้พบไข่จระเข้จึงได้เก็บมาฟักเป็นตัว แล้วเลี้ยงดูไว้ในสระน้ำใกล้ๆ กระท่อมของตากับยาย ยายรักจระเข้น้อยเหมือนลูก เมื่อตาไป หาปลามาได้ก็จะนำมาเลี้ยงดู จนกระทั่งตัวใหญ่มากขึ้น อาหารที่ตาหามาให้ไม่พออิ่มจึงกัดกิน ตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงจึงคลานออกจากสระลงไปในแม่น้ำน่านเก่า ซึ่งอยู่ห่าง จากสระตายายออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร เนื่องจากความหิวและ เคยได้กินเนื้อมนุษย์ จระเข้ของตากับยาย จึงมีความดุร้ายเที่ยวกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่เว้นแต่ละวัน จระเข้ใหญ่ตัวนี้จึงได้ชื่อว่า "ไอ้ตาละวัน" และเพื้ยนมาเป็น "ไอ้ชาละวัน"




ไกรทอง

    เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลางของไทย ที่มีตัวเอกชื่อไกรทอง เล่าไว้หลายสำนวนด้วยกัน ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 2ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครสำหรับละครนอก และได้รับความนิยม ยกย่องเป็นฉบับมาตรฐานฉบับหนึ่งเนื้อเรื่องชาละวันเป็นจระเข้เจ้า อาศัยอยู่ในถ้ำทองใต้บาดาล

  ในถ้ำทองจระเข้จะกลายร่าง เป็นคนได้ ชาละวันตอนกลายร่างเป็นคนจะเป็น หนุ่มรูปงาม โดยชาละวันเองมีเมียสาว สวยเป็นนางจระเข้ 2 ตัวคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ ชาละวันเป็นหลานชายของ ท้าวรำไพ ผู้เป็นจระเข้เจ้าที่อยู่ในศีลธรรม ไม่เคยจับสัตว์หรือมนุษย์กินเป็นอาหารและ จะกินแต่ซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหารเท่านั้น ชาละวัน แม้อยู่ในถ้ำทองจะอิ่มทิพย์ไม่ต้อง กินเนื้อ แต่ ด้วย ความมีนิสัยที่เป็น อันธพาล จึงชอบมาเมืองบน ตามแม่น้ำลำคลอง จับคนที่เป็นชาวบ้านและสัตว์กินเพื่อความสนุกสนานณ หมู่บ้านดงเศรษฐี แขวงเมืองพิจิตร มีพี่น้องฝาแฝดคู่หนึ่ง มีความงามเป็นที่ เลื่องลือ ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐีคำ และ คุณนายทองมา วันหนึ่งนางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองได้ลงไปเล่นน้ำที่ท่าหน้าบ้าน


  ช่วงเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งเป็นจระเข้ได้ออกมาว่ายน้ำหาเหยื่อ เมื่อได้เห็นนางตะเภาทอง ก็ลุ่มหลงในความงาม จึงโผล่ขึ้นเหนือน้ำเข้าไปคาบนางตะเภาทองแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทอง อันเป็นที่อยู่ของเจ้าชาละวัน เมียของชาวละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่ พอใจแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้เพราะเกรงกลัวจึงต้องยอมให้ผัวมีเมียเป็นมนุษย์อีกคน เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมาเจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสี แต่นางตะเภาทองก็ไม่สนใจ เจ้าชาละวันจึงจำต้องใช้เวทมนตร์สะกดให้นางตะเภาทองหลงรัก และยอมเป็นภรรยาตั้งแต่นั้นมาเศรษฐีคำ และคุณนายทองมาโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก ที่นางตะเภาทอง บุตรสาวคนเล็กถูกเจ้าชาละวันคาบไป และคิดว่าบุตรสาวตนคงตายไปแล้ว ด้วยความรัก ในบุตรสาว และความแค้นในเจ้าชาละวัน

   จึงประกาศออกไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงาน กับนางตะเภาแก้วด้วย แต่ก็ไม่มีหมอจระเข้คนไหนสามารถปราบเจ้าชาละวันได้ นอกจาก กลายเป็นเหยื่อของเจ้าชาละวันคนแล้วคนเล่า จนในที่สุดก็มีชายหนุ่มรูปงาม นามว่าไกรทอง ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ได้อาสามาปราบเจ้า ชาละวัน แต่อาจารย์คงรู้ว่าเจ้าชาละวันเป็นพญาจระเข้มีอำนาจมาก และหนังเหนี่ยว ฆ่าฟันไม่ตาย เนื่องจากมีเขี้ยวเพชรทำให้อยู่ยงคงกระพัน


   จึงได้มอบหอกสัตตโลหะ เทียนระเบิดน้ำ เสื้อยันต์และลูกประคำปลุกเสก แก่ไกรทองรุ่งเช้าตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมอ่านคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดร้อนลุ่มต้องออกจาก ถ้ำขึ้นมาต่อสู้กับไกรทอง ไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ และแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกได้ทิ่มแทงเจ้าชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และได้หนี กลับไปที่ถ้ำ แต่ไกรทองก็ใช้ เทียนระเบิดน้ำ ตามไปต่อสู้อีกในถ้ำ





2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2016-3-23 18:15

ระหว่างที่เข้าไปในถ้ำไกรทองก็พบกับ วิมาลา เมียของชาละวัน ด้วยความเจ้าชู้ จึงเกี้ยวพาราสี นางวิมาลา จนนางใจ



อ่อนยอมเป็นชู้ และบอกทางไปช่วย นางตะเภาทอง


ไกรทองตามมาต่อสู้กับเจ้าชาละวัน ในถ้าต่อจนเจ้าชาละวันตาย และไกรทองก็ได้ พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากจึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภา แก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน ไกรทองจอมเจ้าชู้ก็รับไว้ด้วยความยินดีแต่ยังไม่จบแค่นั้นด้วยความเจ้าชู้ของไกรทองแม้ชาละวันตายไป ไกรทองก็ยังหลง รสรักกับนางวิมาลา จงไปหาสู่ที่ถ้ำทอง และคิดจะพานางวิมาลาไปอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำ ให้นางยังคงเป็มมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้ว และ นางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลา ด้วยใจอาวรณ์


ตัวละครเอก
  • ไกรทอง
  • นางตะเภาแก้ว
  • นางตะเภาทอง
  • พญาชาละวัน (จระเข้)
  • นางวิมาลา ภรรยาของพญาชาละวัน
  • นางเลื่อมลายวรรณ ภรรยาของพญาชาละวัน


เนื้อเรื่องย่อณ เมืองพิจิตร


ชาวบ้านพากันแตกตื่นเมื่อไอ้ด่างเกยชัย จระเข้ร้ายออกอาละวาด ขุนไกร หมอจระเข้จากนนทบุรีและ ไกรทอง ลูกชายได้ล่องแพผ่านมาพอดี จึงได้ช่วยชาวบ้านปราบไอ้ด่างเกยชัย แต่ขณะที่ขุนไกรจับไอ้ด่างได้ ท้าวโคจร พญาจระเข้ได้โผล่ขึ้นมางาบขุนไกรจมหายไปในน้ำท่ามกลางความตกตะลึงของทุกคนท้าวโคจรอาศัยอยู่ในถ้ำจระเข้กับ ท้าวรำไพ ผู้เป็นพ่อ และลูกชาย ชื่อว่า ชาละวัน ท้าวรำไพพยายามดุด่าว่าท้าวโคจรที่เอาแต่เกเร เที่ยวกัดกินคนไปทั่ว แต่ท้าวโคจรไม่สนใจ จนวันหนึ่ง ท้าวโคจรเกิดไปมีเรื่องกับท้าวพันตา และท้าวพันวัน จระเข้ต่างถิ่นจนเกิดการกัดกันตายทั้งสามฝ่าย ทำให้จระเข้ร้ายหมดไป

   สร้างความยินดีให้กับชาวบ้านเป็นอันมากสิบปีผ่านไป ณ บ้านริมน้ำที่เมืองพิจิตร เศรษฐี มีลูกสาวสองคนคือ ตะเภาแก้ว และ ตะเภาทอง ทั้งสองได้ออกไปเล่นน้ำ ชาละวันซึ่งโตเป็นหนุ่มแล้วเห็นเข้าก็รู้สึกถูกใจ จึงจับตัวตะเภาทองไป สร้างความตื่นตะลึงให้กับเศรษฐีเป็นอันมาก เศรษฐี จึงรีบป่าวประกาศตามหาหมอจระเข้ให้มาช่วยกันจับตัวชาละวัน พร้อมกับจะให้รางวัลอย่างงามพญาชาละวันมีเมียอยู่แล้ว สองคน คือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ ซึ่งรู้สึกไม่พอใจที่ชาละวันจะเอาตะเภาทองมาเป็นเมียอีก แต่ก็ไม่สามารถขัดชาละวันได้ ชาละวันไม่สนใจคำเตือนของท้าวรำไพว่าจะนำเคราะห์มาสู่ตนไกรทองได้ล่องแพส่งสินค้ามาจากเมืองนนทบุรี ได้เห็นประกาศของเศรษฐีก็สนใจรับอาสาปราบเจ้าชาละวันโดยมีคู่แข่งคือ เสี่ยเฮง เจ้าของฟาร์มจระเข้ ที่หวังจะได้ตะเภาแก้วมาเป็นเมีย ไกรทองใช้มนต์ล่อชาละวันออกมาหวังใช้หอกจัดการกับเจ้าชาละวัน แต่หอกทำอันตรายชาละวันไม่ได้



ก่อนที่ไกรทองจะถูกชาละวันเล่น อาจารย์คง ก็มาช่วยไกรทองเอาไว้ได้
ไกรทองรู้ว่าอาจารย์คงคือาจารย์ของขุนไกรพ่อของตนจึงขอให้อาจารย์คงช่วยฝึกวิชาให้จนเก่งกล้า



อาจารย์คงบอกว่าการจะฆ่าชาละวันได้ต้องใช้หอกสัตตโลหะเท่านั้น ไกรทองจึงไปหาช่างตีเหล็กที่บึงจระเข้สามพันโดยมีเสี่ยเฮงแอบติดตามไปหวังจะแย่งหอกมาจากไกรทอง แต่กรรมตามทันเมื่อเสี่ยเฮงพลาดท่าตกลงไปในบึงถูกจระเข้กัดกินจนตาย
ท้าวรำไพเตือนชาละวันว่ากำลังมีเคราะห์ให้ชาละวันบำเพ็ญศีลอยู่แต่ในถ้ำ แต่ชาละวันทนมนต์เรียกจระเข้ของไกรทองไม่ไหวจึงระเบิดถ้ำออกมาไกรทองได้ใช้เทียนระเบิดน้ำบุกเข้าไปเพื่อช่วยตะเภาทองและเกิดการต่อสู้กับชาละวันขึ้น ไกรทองได้โอกาสใช้หอกสัตตะโลหะแทงชาละวันจนตายชาวเมืองพิจิตรกลับสู่ความสงบอีกครั้ง ตำนานของไกรทองได้คงอยู่คู่เมืองพิจิตรตั้งแต่นั้นมา

https://sites.google.com/site/dfginkhilhll/tanan-laea-nithan-phun-ban-canghwad-phicitr-reuxng-cha-la-wan--kir-thxng


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
".....ถ้ำชาละวัน...."
          มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะถ้ำ กว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร และลึก 4 เมตร มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้วพระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่งก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขินทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย






4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติวัดบางไกรใน

       วัดบางไกรในเป็นวัดราษฎร์    ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๑ หมู่ ๔ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี  เดิมชื่อวัดบางนายไกร
มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๑งาน ๕๐ ตรางวา  ตามประวัติลูกหลานนายไกรทองผู้ปราบชาละวันเป็นผู้สร้างวัดบางไกรในนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายไกรทอง ตามประวัติมีอยู่ว่านายไกรทองมีอาชีพทำสวน และคุมเรือสินค้า นำผลไม้จากสวนนนทบุรี ล่องเรือไปขายทางเมืองพิจิตรและได้ถือโอกาสไปร่ำเรียนวิชาอาคมกับท่านพระครูวัดหน้าพระธาตุ  เมืองพิจิตร ต่อมาเศรษฐีเมืองพิจิตรได้ประกาศว่าใครก็ตามที่ปราบชาละวันได้จะยกลูกสาวที่ชาละวันคาบไปยกให้เป็นภรรยา โดยการอาสาของนายไกรทองที่สำเร็จวิชาปราบจรเข้ จึงอาสาปราบพระยาชาละวันถึงแก่ความตายด้วยหอกสะตะโลหะ เศรษฐีจึงได้ยกลูกสาวให้เป็นภรรยาและอยู่ทำนาหากินที่เมืองพิจิตรจนมีลูกหลานมากมาย ต่อมานายไกรทองถึงแก่ความตาย ลูกหลานมีความกตัญญูระลึกถึงนายไกรทองผู้เป็นพ่อ จึงร่วมใจกันสร้งวัดขึ้นในถิ่นบ้านเกิดของนายไกรทอง ที่จังหวัดนนทบุรีชื่อวัดบ้านนายไกร และเปลี่ยนเป็นวัดบางนายไกรปัจจุบันเป็นวัดบางไกรในจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
หลักฐานที่ปรากฏที่สุทรภู่ที่ผ่านมา
                    บางในไกร ไกรทอง  อยู่คลองนี้
             ชื่อจึงมี  มาทุกวัน  เหมือนมั่นหมาย
             ไปเข่นฆ่า  ชาละวัน  ให้พลันตาย
             เป็นเลิศชาย  เชี่ยวชาญ  ผ่านวิชา
                    ได้ครอบรองสองสาวชาวพิจิตร
             สมสนิท  นางตะเข้  เสน่หา
             เหมือนตัวพี่  นี้ได้ครอง  แต่น้องยา
             จะเกื้อหน้า  พางาน  ขึ้นครามครันฯ

              

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดบางไกรใน



และมีศาลของนายไกรทองที่เป็นผู้ปราบชะลาวัลที่เป็นตำนานที่มียืนยันไม่ได้ว่ามีจริงเป็นเพียงตำนานมาแต่ช้านานเป็นที่นับถือของชุมชนเช่นกัน วัดนี้ถ้าเป็นวันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีคนมาร่วมทำบุญกันมากเพราะใกล้กับหมู่บ้านต่าง ๆ และมีโรงงานมากในบริเวณนั้นจึงทำให้มีคนมาทำบุญกันมากวัดนี้ตั้งอยู่ที่ ถ.นครอินทร์ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย. จ.นนทบุรี ถ้าใครแวะผ่านไปก็แวะไปทำบุญกันนะครับ ขอบคุณครับ



เป็นวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ริมคลองบางไกรนอก เลขที่ 101 หมู่ที่ 4 บ้านบางนายไกร ถนนนครอินทร์ ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544



ตำนานการสร้างวัด วัดบางไกรในเดิมชื่อ "วัดบ้านนายไกร" ตามตำนานมีอยู่ว่า ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา นายไกรทองเดิมชื่อ "ไกร" อาศัยอยู่ในย่านที่ตั้งวัดบางไกรในในปัจจุบัน มีอาชีพทำสวนและล่องเรือนำผลไม้ไปขายตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งทางเหนือและทางใต้ และได้เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ที่วัดลิงขบ (วัดบวรมงคล) ครั้งหนึ่งนายไกรได้ล่องเรือไปทางหัวเมืองทางเหนือ เมื่อถึงเมืองพิจิตรได้เจอประกาศการปราบจระเข้ชาละวัน ผู้ใดปราบได้จะได้รางวัล คือ ได้ที่นาทำมาหากินที่เมืองพิจิตร ได้ผู้หญิง ได้ทรัพย์สมบัติ นายไกรจึงไปเรียนวิชาหอกและเทียนเบิกน้ำกับท่านพระครูวัดหน้าพระธาตุ เมืองพิจิตร เมื่อปราบชาละวันเสร็จสิ้นแล้ว นายไกรก็ตั้งหลักปักฐานอยู่ที่พิจิตรจนสิ้นบุญ
ต่อมาลูกหลานที่เมืองนนทบุรีได้สืบสาวราวเรื่องว่าเป็นลูกหลานของนายไกร จึงได้ประกาศตามหาลูกหลานที่เมืองพิจิตรด้วยแต่ไม่พบ ลูกหลานจึงได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายไกรที่ปราบจระเข้ได้ โดยใช้ชื่อว่า "วัดบ้านนายไกร" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดบางนายไกร" และในที่สุดก็เปลี่ยนเป็น "วัดบางไกรใน" เพื่อแยกความแตกต่างกับวัดบางไกรนอกที่สร้างขึ้นในภายหลัง ส่วนบริเวณหมู่บ้านที่นายไกรเคยอาศัยอยู่ก็มีชื่อว่า "บ้านนายไกร" มาจนถึงปัจจุบัน (คำว่า "ทอง" ที่เป็นสร้อยท้ายชื่อไกรทองนั้น เข้าใจว่าเป็นการเพิ่มเข้าไปในสมัยหลัง)

โบราณสถาน โบราณสถานสำคัญภายในวัดบางไกรในได้แก่ อุโบสถโบราณซึ่งมีอายุกว่า 300 ปี เดิมเป็นโครงหลังคาสร้างด้วยไม้สักทอง แกะสลักลายไม้สักทอง เขียนด้วยจิตรกรรมสีลายต่าง ๆ ตัวอุโบสถก่ออิฐฉาบปูนเรียบ มีมุขพาไลโครงสร้างไม้ทั้งหน้าและหลัง หน้าบันเป็นไม้สักฉลุลวดลาย บานประตูด้านหน้ามีภาพเขียนสีรูปทวารบาลถืออาวุธด้ามยาว ฉากหลังเขียนภาพช่อดอกพุดตานใบเทศ มีศาลนายไกรทองบริเวณข้าง ๆ อุโบสถเก่า ภายในมีพระพุทธไกรรัตนนายก (หลวงพ่อโต)
ภายในบริเวณวัดบางไกรในยังมีวิหารหลังเขียว (หลังเก่า) มีพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทองหรือหลวงพ่อแหน ตามประวัติเดิมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทองครั้งที่มาตั้งทัพไปรบเมืองราชบุรี หลวงพ่ออู่ทองเดิมย้ายมาจากอุโบสถวัดตะระเก (ขณะนั้นเป็นวัดร้าง) และที่เรียกว่าหลวงพ่อแหนเพราะว่าในการอัญเชิญหลวงพ่อมาประดิษฐาน ณ วัดบางนายไกร หลวงพ่อแหนตกลงไปในคลอง เมื่อนำขึ้นมาแหนก็ติดตามตัว จึงเรียกหลวงพ่อแหน

ต่อมากรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะวัดและยกให้เป็นโบราณสถานแห่งตำบลบางขุนกอง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2016-3-23 18:33

ประวัติวัดบางไกรใน

       วัดบางไกรในเป็นวัดราษฎร์    ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๑ หมู่ ๔ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี  เดิมชื่อวัดบางนายไกร
มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๑งาน ๕๐ ตรางวา  


ตามประวัติลูกหลานนายไกรทองผู้ปราบชาละวันเป็นผู้สร้างวัดบางไกรในนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายไกรทอง ตามประวัติมีอยู่ว่านายไกรทองมีอาชีพทำสวน และคุมเรือสินค้า นำผลไม้จากสวนนนทบุรี ล่องเรือไปขายทางเมืองพิจิตรและได้ถือโอกาสไปร่ำเรียนวิชาอาคมกับท่านพระครูวัดหน้าพระธาตุ  เมืองพิจิตร

  ต่อมาเศรษฐีเมืองพิจิตรได้ประกาศว่าใครก็ตามที่ปราบชาละวันได้จะยกลูกสาวที่ชาละวันคาบไปยกให้เป็นภรรยา โดยการอาสาของนายไกรทองที่สำเร็จวิชาปราบจรเข้ จึงอาสาปราบพระยาชาละวันถึงแก่ความตายด้วยหอกสะตะโลหะ เศรษฐีจึงได้ยกลูกสาวให้เป็นภรรยาและอยู่ทำนาหากินที่เมืองพิจิตรจนมีลูกหลานมากมาย ต่อมานายไกรทองถึงแก่ความตาย ลูกหลานมีความกตัญญูระลึกถึงนายไกรทองผู้เป็นพ่อ จึงร่วมใจกันสร้งวัดขึ้นในถิ่นบ้านเกิดของนายไกรทอง ที่จังหวัดนนทบุรีชื่อวัดบ้านนายไกร และเปลี่ยนเป็นวัดบางนายไกรปัจจุบันเป็นวัดบางไกรในจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

หลักฐานที่ปรากฏที่สุทรภู่ที่ผ่านมา

                    บางในไกร ไกรทอง  อยู่คลองนี้
             ชื่อจึงมี  มาทุกวัน  เหมือนมั่นหมาย
             ไปเข่นฆ่า  ชาละวัน  ให้พลันตาย
             เป็นเลิศชาย  เชี่ยวชาญ  ผ่านวิชา
                    ได้ครอบรองสองสาวชาวพิจิตร
             สมสนิท  นางตะเข้  เสน่หา
             เหมือนตัวพี่  นี้ได้ครอง  แต่น้องยา
             จะเกื้อหน้า  พางาน  ขึ้นครามครันฯ



7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องไกรทอง

ไกรทอง

                        ไกรทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลางของไทย ที่มีตัวเอกชื่อไกรทอง เล่าไว้หลายสำนวนด้วยกัน ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครสำหรับละครนอก และได้รับความนิยม ยกย่องเป็นฉบับมาตรฐานฉบับหนึ่ง

                เรื่องนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดพิจิตรซึ่งมีถ้ำอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่งและถ้ำนั้นก็เป็นถ้ำของจระเข้ กล่าวกันว่าในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษซึ่งส่องประกายแวววาว ทำให้บริเวณถ้ำนั้นสว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ ดุจเวลากลางวันเลยทีเดียว เมื่ออยู่ในถ้ำจระเข้ทุกตัวก็จะกลายร่างเป็นร่างเป็นมนุษย์ได้และจะไม่รู้สึกหิวอะไรเลย ภายในถ้ำมีพญาจระเข้ผู้เฒ่าอยู่ตัวหนึ่งชื่อว่า ท้าวรำไพ เป็นราชาแห่งจระเข้ที่ไม่ยอมกินสิ่งมีชีวิตและบำเพ็ญตนถือศีลมาเป็นเวลานาน จระเข้ผู้เฒ่านี้มีบุตรอยู่ตัวหนึ่งชื่อว่า ท้าวโคจร และท้าวโคจรเองก็มีบุตรตัวหนึ่งชื่อว่า ชาละวัน ในเวลาต่อมาท้าวโคจรเกิดทะเลาะวิวาทกับพญาจระเข้ด้วยกันชื่อ ท้าวพันตาและพญาพันวัง ทั้งสามต่อสู้กัน เพื่อชิงความเป็นใหญ่น้ำแต่ผลปรากฏว่า ทั้งสามต้องมาจบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการต่อสู้กันนั้น



                 ดังนั้นพญาชาลาวัน จึงได้ครอบครองความเป็นใหญ่ในถ้ำโดยไม่มีใครกล้าท้าทายอำนาจหลังจากนั้นก็ได้นางจระเข้สองตัวเป็นภรรยา คือ นางวิมาลา และนางเลื่อมลายวรรณ โดยธรรมชาติของสัตว์กินเนื้อ ถึงแม้ว่ามันจะกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ก็ตามที พญาชาละวันก็ยังมีนิสัยดุร้าย  และชอบกินเนื้อมนุษย์ไม่เหมือนกับจระเข้ที่เป็นปู่ของตน พญาจระเข้ตัวใหม่นี้ไม่รักษาศีลแต่อย่างใด


                 ณ หมู่บ้านดงเศรษฐี แขวงเมืองพิจิตร มีพี่น้องฝาแฝดคู่หนึ่ง มีความงามเป็นที่ เลื่องลือ ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐีคำ และ คุณนายทองมา วันหนึ่งนางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองได้ลงไปเล่นน้ำที่ท่าหน้าบ้าน พญาชาละวันออกมาจากถ้ำเพื่อหาเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหาร ได้ว่ายตามน้ำมาจนถึงท่าน้ำเมืองพิจิตรเวลานั้นสองสาวพี่น้องคือ ตะเภาแก้วและตะเภาทอง บุตรสาวของเจ้าเมืองพิจิตรกำลังลงเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำหน้าบ้านของตนอยู่พอดี สองพี่น้องห้อมล้อมด้วยบ่าวไพร่หลายคน


                 


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-23 18:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความงามของตะเภาทองเป็นที่ต้องตาต้องใจของชาละวันมาก  มันเกิดความรักในมนุษย์ขึ้นมาในทันที เจ้าสัตว์ร้ายเปลี่ยนใจทันที  จากความต้องการที่จะกิจเนื้อเหยื่อกลับกลายเป็นรักเหยื่อดังนั้นมันจึงว่ายน้ำตรงรี่เข้าไปหาหญิงสาวแล้วคาบนางไว้ท่ามกลางความตกตะลึงของบ่าวไพร่  ชาละวันคาบหญิงสาวผู้ไร้เดียงสาไปสู่ถ้ำของตนในทันที                 ในขณะที่ถูกคาบอยู่ในปากตะเภาทองสลบไสลไม่ได้สติ  ชาละวันทำการแก้ไขจนกระทั่งนางฟื้น  ครั้นลืมตาขึ้นนางก็ต้องตกใจที่ได้พบกับถ้ำอันวิจิตรตระการตายิ่งนัก  เมื่อนางเห็นชาละวันผู้ซึ่งตอนนี้ได้กลายร่างเป็นมนุษย์แล้ว  นางก็รู้สึกขวยเขินที่ได้เห็นชายหนุ่มรูปงาม  ฝ่ายชาละวันก็จัดการเกี้ยวพาราสีนางจนกระทั่งนางหลงรักและตกเป็นภรรยาคนที่สามของชาละวันไป  และนับจากนั้นมาก็เริ่มมีการทะเลาะวิวาทในระหว่างภรรยาทั้งสามของชาละวันอยู่เป็นประจำ
                 ในขณะเดียวกัน หลังจากได้ทราบข่าวที่ทำให้ตกตะลึงนี้แล้ว  เจ้าเมืองพิจิตรก็เกิดวิตกกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของลูกสาวตน  และแค้นเคืองเจ้าสัตว์ร้าย เพื่อกำจัดเจ้าจระเข้ร้ายเสีย  ท่านเจ้าเมืองจึงป่าวประกาศว่าผู้ใดก็ตามสามารถสังหารจระเข้ได้และสามารถนำลูกสาวของตนกลับมาในขณะมีชีวิต  จะได้แต่งงานกับนางและได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติของตน
                 ขณะนั้นมีชายหนุ่มวัยแตกพานอายุ 18 ปี  อยู่คนหนึ่งชื่อว่า “ไกรทอง” เป็นชาวจังหวัดนนทบุรีได้คุมเรือไปทำการค้าขายอยู่ที่เมืองพิจิตร  และได้ถือโอกาสเล่าเรียนวิชาอาคมกับอาจารย์ที่นั่นเขามีความชำนาญในการปราบจระเข้และสามารถระเบิดน้ำเป็นทางเดินเข้าไปได้
                 เมื่อไกรทองรู้ข่าวการประกาศให้รางวัล  เขาก็อาสาปราบจระเข้โดยไม่รีรอ  ก่อนอื่นเขาไปพบอาจารย์และเล่าให้ท่านฟังเกี่ยวกับการพจญภัยในครั้งนี้  อาจารย์ของเขาจึงได้ทำการตรวจดู  ดวงชะตาราศีและตรวจดูฤกษ์ยามเห็นว่าไกรทองจะต้องมีชัยชนะในการพิชิตจระเข้ร้ายได้อย่างแน่นอน  แต่เนื่องจากจระเข้ร้ายมีเขี้ยวแก้ว จึงไม่มีอาวุธใดที่จะระคายผิวของมันได้  อาจารย์จึงได้มอบของวิเศษ 3 อย่างให้ไกรทองไปซึ่งก็ได้แก่ เทียนชัย  ใช้จุดระเบิดน้ำเป็นทางเดินไปจนถึงที่หมาย มีดหมอลงอาคม และหอกสัตตะโลหะ  พร้อมให้พรให้ไกรทองประสบชัยชนะ
                  ฝ่ายชาละวันหลังจากได้ตะเภาทองเป็นภรรยาคนที่สามแล้ว  คืนวันหนึ่งได้ฝันว่าเกิดมีไฟไหม้ขึ้น และ  มีเทวดาผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ใช้พระขรรค์ตัดคอตนขาดกระเด็น  หลังจากตื่นขึ้นก็ตกใจรีบไปปรึกษาปู่ของตน  คือท้าวรำไพผู้ซึ่งรู้ได้ทันทีว่าหลานของตนกำลังตกอยู่ในอันตราย  จึงสั่งให้ชาละวันจำศีลอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 7 วัน  เพราะถ้าเขาขืนออกไปก็จะต้องประสบกับอันตรายอย่างแน่แท้  ชาละวันเกิดความกลัวจึงสั่งให้บริวารจระเข้นำหินมาปิดปากถ้ำไว้อย่างแน่นหนา  และเริ่มถือศีลตามคำแนะนำของจระเข้ผู้เป็นปู่           
                  ในขณะเดียวกันหลังจากกล่าวลาผู้เป็นอาจารย์แล้ว  ไกรทองก็ต่อแพลอยลงน้ำและประกอบพิธีเรียกราชาแห่งจระเข้มาต่อสู้กัน  ชาวบ้านที่อยากดูเหตุการณ์เมื่อรู้ข่าวการล่าพญาจระเข้ทั้งอยู่ใกล้ไกลก็แห่กันมาดูเหตุการณ์อยู่บนฝั่งแม่น้ำอย่างใจจดใจจ่อและถึงแม้ว่าพญาชาละวันจะพยายามปกป้องชีวิตของตนอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม  แต่ก็ไม่สามารถหนีโชคชะตาไปได้  ดังนั้นพิธีของไกรทองจึงทำให้ชาละวันรู้สึกเร้าร้อนเหมือนถูกไฟเผา  เมื่อสุดจะทนไหวแล้วชาละวันก็ลืมคำสั่งของผู้เป็นปู่เสียสนิท  พญาชาละวันจึงแผลงฤทธิ์พังประตูถ้ำออกมาแล้วโผล่ขึ้นเหนือน้ำกลายเป็นจระเข้ใหญ่น่ากลัว  แม่น้ำที่สงบเงียบก็ปั่นป่วยด้วยฤทธิ์ของสัตว์ร้าย  ทันทีที่ทั้งคู่เผชิญหน้ากันก็เกิดการต่อสู้กันชุลมุนท้ายที่สุดไกรทองก็แทงสัตว์ร้ายเข้าที่ใต้ราวนมด้วยหอกสัตตะโลหะทันใดนั้นทั่วทั้งลำน้ำก็กลับกลายเป็นสีแดงฉานพร้อมทั้งกลิ่นคาวเลือด  เพื่อปกป้องชีวิตของตนไว้ พญาชาละวันจึงหนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำใต้น้ำ  แต่ว่าไกรทองไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้นเขาตามคู่ต่อสู้ลงไปในถ้ำ  โดยจุดเทียนชัยระเบิดน้ำเป็นทางลงไปใต้น้ำ


                  เมื่อเข้าไปในถ้ำไกรทองเห็นวิมาลา  ภรรยาของชาละวันก็แกล้งทำเป็นเข้าไปลวนลามเพื่อให้นางส่ง  เสียงจะได้ยั่วให้สัตว์ร้ายที่กำลังได้รับบาดเจ็บออกมาที่ซ่อน  ชาละวันเองเข้าไปหาปู่ของตนเพื่อให้ช่วยรักษาบาดแผลให้  แต่ว่าจระเข้เฒ่าไม่สามารถจะช่วยอะไรได้เพราะชาละวันไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้  เสียงหวีดร้องของภรรยาทำให้เจ้าสัตว์ร้ายเดือดดาลยิ่งนักถึงกับออกมาจากที่ซ่อนแต่ก็มาถูกแทงตายอยู่ตรงนั้นเอง  ไกรทองสามารถช่วยตะเภาทองออกมาได้และนำนางขึ้นสู่เหนือผิวน้ำท่ามกลางเสียงโห่ร้องฝูงชน


                 ด้วยความดีใจอย่างสุดซึ้ง  ท่านเจ้าเมืองพิจิตรจึงมอบรางวัลให้ไกรทองตามสัญญาพร้อมกับยกลูกสาว  อีกคนหนึ่งคือตะเภาแก้วให้เป็นภรรยาของไกรทองด้วย  ดังนั้นไกรทองจึงได้สองพี่น้องเป็นภรรยาพร้อมกับสมบัติอีกส่วนหนึ่งจากท่านเจ้าเมือง  ทั้งสามจึงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพิจิตรอย่างมีความสุข  และเรื่องไกรทองนี้ก็นำมาเล่าสู่กันฟังซ้ำอีกทั่วทั้งประเทศ แง่คิด : ถึงแม้ตนจะเก่งกล้าสามารถและวิเศษขนาดไหนก็ย่อมมีผู้ที่เหนือกว่าสมดังคำที่ว่า “ เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า ”







แหล่งที่มาของข้อมูล..http://www.wathuadong.net/index.php?mo=3&art=506179
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้