ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4830
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรี

[คัดลอกลิงก์]
ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรี
ละโว้ หรือ ลวปุระ เป็นเมืองโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางความเจริญของทวารวดี ขอม อู่ทอง กรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเรียกเป็น "ลพบุรี" หรือ "เมืองของพระลพ" ตามพระนามพระโอรสของพระราม ใน "มหากาพย์รามายณะ" ด้วยเป็นเมืองที่ผ่านอารยธรรมมาหลายยุคหลายสมัย ทำให้เมืองลพบุรีมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่นับเป็นมรดกอันล้ำค่าและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยู่มากมาย หนึ่งในทั้งหมดที่นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งโบราณ ได้รับความเคารพจากชาวไทยทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อไปถึงจะต้องแวะกราบไหว้สักการะก็คือ "ศาลพระกาฬ"
กลางเมืองละโว้ หรือ ลพบุรี จะปรากฏเทวสถานตั้งตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกของทางรถไฟปัจจุบัน เยื้องกับพระปรางค์สามยอด เป็นสถาปัตยกรรมขอมยุคปลาย Angkor Period อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ลักษณะเป็นองค์ปรางค์เดี่ยวขนาดใหญ่ มีมุขยื่นด้านหน้า ปรากฏซากบันไดทางขึ้น 4 ด้าน ประกอบเป็นผังจักรวาลวิทยาที่มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง เมื่อก่อนชาวเมืองเรียกว่า "ศาลสูง" เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป "เจ้าพ่อพระกาฬ" ทำจากศิลาทราย ศิลปะลพบุรี ยังมีร่องรอยพระกร 4 ข้างปรากฏอยู่คล้ายเป็นเทวรูปพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์ในคติมหายานที่เผยแพร่เข้ามายังละโว้ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปัจจุบันองค์เรือนธาตุปรางค์ประธานเดิมปรักหักพังเกือบหมด แต่พบทับหลังสลักเป็นรูป "วิษณุอนันตศายินปัทมะนาภ" หรือ "นารายณ์บรรทมสินธุ์" ทำจากศิลาทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 และพบจารึกหลายหลักส่วนใหญ่เป็นอักษรขอม เทวสถานแห่งนี้คงจะได้รับการปฏิ สังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้บูรณะ ขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนฐานเดิม

บริเวณศาลพระกาฬในอดีต จะมีต้นกร่างขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้ฝูงลิงเข้ามาอยู่อาศัยมากมายจนกลายเป็นลูกศิษย์เจ้าพ่อพระกาฬเรื่อยมา แม้บ้านเมืองจะเจริญขึ้น ต้นไม้ใหญ่หายไปเหลือเพียงต้นมะขามเทศ แต่เนื่องจากผู้คนพากันมาสักการะองค์เจ้าพ่อพระกาฬ และนำของกินมาฝากเป็นประจำทำให้ฝูงลิงไม่ไปไหนอาศัยอยู่เข้ากับชาวเมืองมาจนบัดนี้
"เจ้าพ่อพระกาฬ" ถือเป็นเทพอารักษ์ประจำเมือง ในคัมภีร์และจารึกโบราณปรากฏนาม "องค์พระกาฬไชยศรี" ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาบ้านเมืองทำนองเดียวกับพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฤทธานุภาพสามารถให้คุณให้โทษ และปรากฏบทบาทเป็นเทพแห่งความตาย ดังนั้น จึงมีผู้คนเคารพยำเกรงอย่างยิ่ง การได้เดินทางมาบูชาสักการะองค์เจ้าพ่อพระกาฬ ถือว่าเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลให้เกิดกับตนและทำให้ศัตรูยำเกรงไม่กล้าทำอันตรายอีกด้วย
ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายนนี้ นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ ชมรมพระเครื่องเมืองละโว้ร่วมกับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จัดให้มีการประกวดพระเครื่อง พระบูชา และเหรียญคณาจารย์ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
ซึ่งอยู่ใกล้กันกับ ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และเหรียญเจ้าพ่อพระกาฬ ซึ่งเชื่อว่าผู้นิยมพระและนักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลมาจากทั่วประเทศ หากใครมาก็อย่าลืมแวะสักการะศาลเจ้าพ่อพระกาฬ เพื่อความสุขสวัสดิพิพัฒนมงคลให้เกิดกับตัวเองนะครับ รับรองว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ครับผม
http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5.html
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-21 16:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-3-21 16:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2016-3-21 16:43


พระคาถาบูชาเจ้าพ่อพระกาฬ

อ.เมือง จ.ลพบุรี




ตั้งนะโม3จบ ว่าดังนี้



+++โอม ทักขิณะทิศ ยะมะเทวะตา สะหะคะณะปริวารา อาคุจฉันตุ ปริภุญชันตุ สะวาสะหายะฯ

      โอม สัพพะอุปาทะวะ สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค  วินาสายะ สัพพะศัตรูปะมุจจะติฯ

      โอม ยะมะเทวะตา สะตะรักขันตุ สะวาหะ สะวาหา สะวาสะหายะฯ+++



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้