ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5496
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด

[คัดลอกลิงก์]


หลวงพ่อ หรุ่น เก้ายอด เดิมซื่อ ตาหรุ่น ใจภารา เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.2390 เป็นคนเกิดในตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาซื่อ นายน้อย ใจภารา และมารดาซื่อ นางคำ ใจภารา ซึ่งตั้งรกรากทำนามาแต่บรรพบุรุษ ในตำบลเชียงรากนั่นเอง นายรุ่นไม่เคยสนใจในการทำนา และไม่เคยช่วยบิดา มารดา ทำงานเลย สนใจแต่เพียงว่ามีพระเกจิอาจารย์องค์ใดที่เก่งกล้าในวิชาอาคมทางไสยศาสตร์อยู่ที่ไหน เป็นต้องหนีออกจากบ้านไปครั้งละหลายวัน บางครั้งก็เป็นเดือน เพื่อขอร่ำเรียน
วิชาต่างๆ ทำความอิดหนาระอาใจให้แก่นายน้อยและนางคำเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอยู่ต่อมาบิดาและมารดาเห็นว่าจะเลี้ยงลูกคนนี้ไว้ไม่ได้แล้ว จึงได้ปรึกษากันและกล่าวว่า ถ้าเองไม่ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ข้าทั้งสองก็เห็นจะเลี้ยงเองต่อไปไม่ได้ เพราะเองเอาแต่เที่ยวเตร่อย่างเดียว นายรุ่นเป็นคนที่ฐิทิมานะแรงกล้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงก้มลงกราบพ่อแม่แล้วพูดว่า ถ้าชีวิตยังไม่ตายเสียก่อน จะกลับมาสนองพระคุณพ่อแม่ให้ได้ต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมเสื้อผ้าข้าวของที่มีอยู่ใส่ในย่ามและลงเรือหายสาบสูญไปเป็นเวลานานโดยไม่มีข่าวและวี่แววอีกเลย
จนกระทั้ง พ.ศ.2425 เสือหรุ่น ใจภารา ปรากฎตัวขึ้น โดยปล้นและฆ่าเจ้าทรัพย์มานับเป็นร้อยๆราย ตลอดทุกตำบลในจังหวัดพระนครครีอยุธยา และตำบลอื่นๆ ไม่มีใครที่จะปราบเสือหรุ่นลงได้ แม้แต่กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะเสือหรุ่นผู้นี้แก่กล้าวิชาอาคมสามารถผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ยิงและจับมานับครั้งไม่ถ้วน และตัวเองก็สามารถหลบหนีจากเงี้ยมมือของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในสมัยนั้นไปได้ทุกครั้ง ทำความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่เจ้าหน้าที่ไปตามๆกันทางการสมัยนั้นยังไม่รุ่งโรจน์พอ เครื่องมืออาวุธยุทรภัณฑ์ก็ล้าสมัย เจ้าหน้าที่ก็มีน้อย อีกทั้งยานพาหนะก็ไม่เคยปรากฎว่ามีกันเลย จนถึงพูดกันในสมัยนั้นว่า นักเลงโตกว่าตำรวจ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถปราบเสือหรุ่นได้ กิตติศัพท์ของเสือหรุ่นในสมัยนั้นเลื่องลือไปจนกระทั้งชาวบ้านทุกๆตำบลของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พากันนอนไม่หลับจนกระทั้งนายอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เขียนประกาศปิดใว้ในที่ต่างๆให้เสือหรุ่นเข้าพบ โดยมีข้อแม้ว่าให้เสือหรุ่นมาเพียงคนเดียว และห้ามพกอาวุธ พบกันที่บ้านพักนายอำเภอ จะ
ได้เจรจากันเพื่อเข้ารับราชการต่อไป โดยจะไม่เอาผิดในครั้งที่แล้วๆมา เมื่อเสือหรุ่นได้ทราบหนังสือประกาศของนายอำเภอแล้วจึงรีบเดินทางมาพบนายอำเภอทันที เพื่อมอบตัวหวังกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี
แต่เสือหรุ่นติดกับนายอำเภอเสียแล้ว เพราะนายอำเภอจัดเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน พร้อมทั้งอาวุธปืนรายล้อมบริเวณนั้นใว้อย่างหนาแน่น เสือหรุ่นได้เดินทางมายังบ้านพักนายอำเภอ เพื่อหวังเจรจากัน เมื่อใกล้ถึงบ้านพัก เสือหรุ่นได้ยินเสียงนายอำเภอตะโกนมาว่า เสือหรุ่นจงหยุดอยู่กับที่ และยอมมอบตัวเสียแต่โดยดี มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่รายล้อมอยู่รอบตัวเสือหรุ่นจะยิงทันทีเสือหรุ่นเมื่อรู้ตัวว่าถูกลวง ก็มิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด นึกแค้นใจนายอำเภอเป็นที่สุดจึงสำรวมใจเป็นสมาธิแล้วภาวนาคาถาที่ได้ร่ำเรียนมา ผูกหุ่นลวงนายอำเภอใว้ และหนีฝ่าวงล้อมรอดไปได้
นับตั่งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เสือหรุ่นได้ทวีการปล้นฆ่าหนักยิ่งขึ้น จนเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาได้เรียกประชุมกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านตำบลต่างๆมาพบและปรึกษาหารือกันว่าเสือหรุ่นนี้ยากแก่การปราบปรามอยากจะเกลี้ยกล่อมให้เสือหรุ่นกลับใจเข้ารับราชการเสีย จึงเขียนประกาศด้วยตัวของเจ้าเมืองเองให้เสือหรุ่นมาพบกับท่านโดยตรงโดยท่านจะไม่เอาโทษทัณฑ์กับเสือหรุ่นเลยเพราะทางการต้องการคนดีใว้ใช้ต่อไปเมื่อเสือหรุ่นทราบเรื่อง ครั้งแรกก็ยังลังเลใจอยู่ เพราะเคยถูกนายอำเภอต้มมาหนหนึ่งแล้ว แต่ใจหนึ่งก็คิดว่าตัวเองได้ก่อกรรมทำเข็ญสร้างเวรกรรมไว้มากแล้ว คิดจะกลับตัวกลับใจเลิกเป็นโจรเสียที จึงตัดสินใจเขียนจดหมายถึงเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาว่า ตนยินดีที่จะพบกับท่านเจ้าเมืองทุกเวลาแต่มีข้อแม้ว่าให้ท่านเจ้าเมืองมาเพียงคนเดียว เสือหรุ่นรับรองในความปลอดภัย และให้พบได้ในวันขึ่น 15 ค่ำ ลานนวดข้าวหลังโรงสีเวลา 2 ทุ่มตรง
ครั้นถึงเวลานัดเจ้าเมืองได้มาถึงที่ลานนวดข้าวก่อน พอได้เวลาเสือหรุ่นจึงเดินแหวงพุ่มไม้ออกมาพบ ท่านเจ้าเมือง
จึงพูดขึ้นว่าหรุ่นเอ๊ยสิ่งใดที่ผ่านมาขอให้ลืมมันเสีย จงกลับตัวกลับใจเสียใหม่ ทางราชการยังขาดคนดีมีฝีมือเช่นเจ้าอยู่ ฉะนั้น
ข้าจะแต่งตั้งให้เอง เป็นกำนันปกครองคนในตำบลเชียงรากบ้านเดิมต่อไป เสือหรุ่นได้ฟังดังนั้นก็ตื่นตันใจจึงทรุดตัวลงนั่งยกมือใหว้ท่านเจ้าเมืองและกล่าวว่าจะพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด







ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-28 22:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



นับแต่นั้นมาเสือหรุ่นก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีตลอดมาประมาณ 3 ปี จึงได้พระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจล ใจภารา หลังจากได้รับพระราชทานยศเพียง 1 ปี ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก คือ เสืออุ่น ได้มาปรากฏตัวขึ้นในตำบลนั้น ขุนกาวิลจึงเรียกเสืออุ่นเข้ามาพบแล้ว ท่านกำนันตำบลเชียงรากหรือเสืออหรุ่นจึงอบรมสั่งสอนให้เสืออุ่นให้ประพฤติแต่สิ่งดีงาม ขอให้เลิกทำความชั่วเสียเพราะได้เคยสร้างเวรสร้างกรรมใว้มาก ส่วนเสืออุ่นนั่งฟังอยู่ก็มิได้รับคำแต่ประการใด กับนึกในใจว่า ขุนการวิจลเห่อยศศักดิ์จนลืมเพื่อนเก่าๆเสียสิ้น จึงรีบขุนกาวิจล กลับไป
เมื่อเสืออุ่นลาขุนกาวิจล ใจภารา กลับมาด้วยความไม่พอใจเสืออุ่นเริ่มปล้นห่าเจ้าทรัพย์คนแล้วคนเล่า แล้วเมื่อปล้นฆ่าแล้วทุกๆราย เสืออุ่น จะเอ่ยซื่อ เสือหรุ่น ปล้นฆ่าทุกครั้ง ความทราบถึงเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาให้มีความสงสัยจึง มี
หนังสือถึงขุนกาวิจลให้เข้ามาพบด่วน ฝ่ายขุนกาวิจลได้รับหนังสือแล้วคิดว่าการครั้งนี้ เราคงมีความผิดแน่ๆ เพราะเจ้าเสืออุ่นถูกจับได้ซัดทอดมาถึง และอีกประการหนึ่ง ใครๆ ก็ย่อมรู้ว่าเสืออุ่นคือ สมุนมือขวาของขุนกาวิจลมาก่อนคงจะรุ้เห็นเป็นใจกันแน่จึงได้หลบหนีหายเข้ามาในกรุงเทพ แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามล่าตัวอยู่ตลอดเวลา ขุนกาวิจลเห็นว่าถ้าขืนอยู่ในกรุงเทพต่อไป มิวันใดก็วันหนึ่งต้องถูกจับจนได้ จึงหนีย้อนกลับขึ้นไปบวชอยู่ที่วัดลำลูกกานั้นเอง ประมาณปีพ.ศ. 2431 โดย พระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่พระธรรมราชานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ประมาณ 3 พรรษาครึ่ง เมื่อเรื่องเงียบหายไป ท่านจึงเดินทางเข้ามากรุงเทพ มาประจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพ ต่อจากนั้นเมื่อลูกหลานทราบข่าวก็พากันมาพร้อมทั้ง ศานุศิษย์เพื่อขอของขลังจากท่าน ในระหว่างนั้นท่านยังไม่ได้ทำเครื่องรางของขลังใว้เลยท่านจึงได้ลงมือสักหลังมาตั้งแต่บัดนั้นจนมีกิติสัพท์ร่ำลือว่า (เก้ายอด) กรุงเทพสมัยนั้นย่อมทราบดีว่า นักเลงดังๆ ไม่มีใครเกินก๊ก (เก้ายอด) เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างใว้ระยะหลังมีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. เหรียญรูปไข่รูปเหมือนครึ่งองค์
2.ตะกรุดโทนดอกยาวประมาณ 1 เกรียก (ยาว ประมาณปลายนิ้วโป้ง ถึงนิ้วชี้ หรือ 2 องคุลีนิ้ว)
3.กระดูกห่าน กระดูกแร้ง ลงจารขอม ยาวประมาณ 1 องคุลี
4. แหวนเก้ายอด เป็นชิ้นสุดท้าย
ของทุกชิ้นใน 4 ชนิดนี้ หาได้ยากมากเพราะท่านได้สร้างไว้จำนวนน้อย และราคาก็สูงในปัจจุบัน อภินิหารซึ่งตามที่ได้ปรากฎมาเป็นของ คงกระพันชาตรีโดยตรง
สำหรับตะกรุดโทน หลวงพ่อหรุ่นนั้นมี 2 ชั้น ชั้นแรกทำด้วยตะกั่ว ชั้นที่สอง ทำด้วยทองแดงมีความยาวประมาณ 1 เกรียก มีทั้งชนิด ถักเชียกหุ้มและไม่ถักเชียกหุ้ม ภายหลังลงอักขระและม้วนเรียบร้อย ตะกรุดที่ในภาพประกอบเรื่องนี้เป็นเครื่องรางชิ้นเดียวของอาจารย์หรุ่น ที่แม่ฟัก (ลูกสาวที่ยังเหลือเพียงคนเดียว) มีอยู่และได้มอบให้ลูกชายผู้เขียนบันทึกเรื่องของ หลวงพ่อหรุ่นออกเผยแพร่
เครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง ของหลวงพ่อหรุ่น
คือตะกรุด ทำด้วยกระดูกห่าน เป็นกระดูกห่านซึ่งดูเป็นสีขาวนวล ด้านนอกลงอักขระไว้เต็มสำหรับตะกรุดกระดูกห่านนี้อาจารย์พู่ ลูกศิษย์หลวงพ่อซึ่งได้รับมอบหมายให้สักแทน ภายหลังเมื่อหลวงพ่อเสียแล้วเล่าให้ฟังว่า ตะกรุดกระดูกห่าน และเครื่องรางตลอดจนเหรียญนั้นท่านไม่ได้ดำริทำขึ้นเอง เป็นเพีงลูกศิษย์ไปแสวงหาและทำกันมาเสร็จแล้วก็นำมามอบให้ หลวงพ่ออาจารย์หรุ่น ปลุกเสกให้ ซึ่งท่านก็ทำให้ทุกรายไป
หลังจากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันได้ไม่นานนัก หลวงพ่อหรุ่นก็ได้อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ด้วยโรคอัมพาตและท่านได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2471 ณ.วัดอัมพวัน นั่นเอง ในกุฏิหลังโบสถ์ปัจจุบันนี้ คำนวนอายุได้ 81 ปี 35 พรรษา พอดี
ประวัติ และ การดูวัตถุมงคล ของท่านแบบละเอียด
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อหรุ่น จัดสร้างประมาณปี พ.ศ.2460 ที่ท่านสร้างเองจะมีจำนวนน้อยมาก แต่จะมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งลูกศิษย์สร้างขึ้นแจกจ่ายกันเองแล้วต่างคนต่างก็นำมา ให้หลวงพ่อหรุ่นปลุกเสกอีกทีหนึ่ง ประมาณ 4,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ยกขอบโดยรอบเป็นเส้นแบน พิมพ์ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หลวงพ่อหรุ่น ที่คอปรากฏเม็ดประคำ 5 เม็ด ด้านบนสุดจารึก "ตัวอุ" ลากหางยาวไปจนจดขอบหูเชื่อม
ต่อลงมาเป็นอักษรขอมว่า "อะ ระ หัง" มี "ตัวอุ" ขนาบทั้ง 2 ข้าง แถวต่อมาเป็นอักษรขอมว่า "มะ อะ" ถัดลงมามี "ตัวอุ" ซ้อน 2 ตัว ขนาบอยู่ทั้ง 2 ข้าง ถัดจากตัวอุ เป็นอักษรขอมทั้ง 2 ข้างว่า "พุท ธะ สัง มิ" ล่างสุด เป็นโบปลายกนก ภายในจารึกอักษรขอมว่า "ระ อะ ภะ" และมี "ตัวอุ" ขนาบทั้ง 2 ข้าง
สำหรับ พิมพ์ด้านหลัง มีด้วยกัน 2 พิมพ์ เพราะแม่พิมพ์เดิมชำรุดจึงสร้างแม่พิมพ์ด้านหลังขึ้นใหม่ พิมพ์แรก คือ "บล็อกหลังยันต์ใบพัด หรือพิมพ์บล็อกแตก" จะมีรอยบล็อกพิมพ์แตกบริเวณที่พาดลงมาตามขอบเหรียญด้านล่างด้านซ้ายของเหรียญ โดยรอบด้านของเหรียญจะเป็น "ยันต์รูปใบพัด" ทั้งใหญ่ เล็ก ตรงกลางเป็น "ยันต์นะองค์พระ" ด้านบนเป็นตัว "อุ" และมีอักขระขอมเรียงเป็นแถว ส่วนพิมพ์ที่ 2 คือ "บล็อกหลังยันต์นะองค์พระในวงกลม" พิมพ์นี้ยันต์นะฯ จะอยู่ภายในเส้นล้อมวงรูปไข่ โดยรอบจะเป็นอักขระขอม
ตำหนิในพิมพ์ทรงนี้จะเป็นเส้นพิมพ์แตกบริเวณด้านขวาของเหรียญ ตรงมุมล่างที่ยันต์ใบพัด พาดจากขอบเหรียญไปยังยันต์ใบพัดครับผม









ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้