ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1721
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระปิดตากุมารในครรภ์

[คัดลอกลิงก์]

พระปิดตากุมารในครรภ์ หรือ พระสอดเข่า ชาวบ้านเรียก พระในครรภ์ เป็นพระเครื่องชนิดหนึ่งที่นิยมสร้างกันในภาคใต้ เท่าที่ปรากฏหลักฐานมีการสร้างกันหลายวัด เช่น พระปิดตากุมารในครรภ์วัดปากสระ, วัดเขาแดงตะวันตก, วัดชายคลอง จังหวัดพัทลุง พระปิดตากุมารในครรภ์วัดกลางตานีสโมสร อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พระปิดตากุมารในครรภ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างที่วัดใด เป็นต้น พระปิดตาแบบนี้ตามความเห็นของแอดมิน ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นรูปทารกในครรภ์ตามการปฏิสนธิของมนุษย์ ซึ่งย่อมมีความบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย แต่ในที่นี้หมายถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อแรกปฏิสนธิในครรภ์พระพุทธมารดา โดยโบราณจารย์ได้ความคิดนี้มาจากพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ที่กล่าวถึงการปฏิสนธิของมนุษย์ว่า มาจากพระธรรม ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า พระปิดตากุมารในครรภ์เป็นบุตรของพระธรรม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือบุดขาว เรื่อง "พระอภิธรรมแปล" ฉบับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง โรงเรียนสตรีพัทลุง ระบุไว้ว่า
จึงพระสรรเพชญ ตรัสรู้เห็นเสร็จ สมเด็จอยู่หัว ซึ่งว่าพระธรรม แต่งให้เป็นตัว มีเมียมีผัว เราท่านทั้งหลาย เป็นเบญจขันธ์แล้ว ที่นั่นลูกแก้ว กอดมือนั่งยอง ผันหน้าเข้าห้อง กระดูกหลังโดยปอง เห็นแล้วเนืองนอง ปรากฏแก่คน พุงอาหารเก่า แห่งพระเล่าไซร้ ย่อมตั้งอยู่บน หัวลูกนี้และ แม้แท้ทุกคน ลูกนั่งอยู่บน เหนืออาหารเก่า วิบากหนักหนา ทนทุกข์เวทนา ดังนี้ตัวเรา ใช่แม่ทั้งนั้น ทันอาหารเก่า ที่ลูกอยู่เล่า ดังนี้แลหนา
นอกจากนี้แล้วยังปรากฎหลักฐานในคาถาบูชาพระปิดตากุมารในครรภ์ ได้กล่าวถึงพอสรุปได้ว่า พระธรรมเป็นผู้ให้การปฏิสนธิของมนุษย์ ครั้นได้ ๗ วัน แตกเป็นเบญจสาขา ๑๕ วัน แตกเป็นเบญจไตร พระสูตรกับพระวินัยเป็นผู้แต่งดวงจิต พระวิภังค์เป็นผู้แต่งหูซ้ายหูขวา พระธาตุกถาเป็นผู้แต่งลมหายใจ พระบุคคลบัญญัติเป็นผู้แต่งปาก พระกถาวัตถุเป็นผู้แต่งร่าง พระยมกเป็นผู้แต่งใจ................"
การสร้างพระปิดตากุมารในครรภ์ของโบราณจารย์ มีส่วนประกอบขององค์พระ ดังนี้
๑. รกหนา หมายถึง ส่วนที่เป็นฐานพระ นิยมขมวดเป็นรูปวงกลม หรือ แผ่นกลม วางไว้ใต้ก้น หรือ ใต้พระบาททั้งสองขององค์พระ
๒. รกบาง ไม่ปรากฏสัญลักษณ์ในรูปองค์พระ เนื่องจากเป็นส่วนที่บางใสอย่างอากาศธาตุที่ห่อหุ้มอยู่รอบองค์พระ จึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์
๓. น้ำทัง หมายถึง ส่วนที่เป็นขมวดมวยอยู่บนพระเศียรขององค์พระ
๔. ลำไส้ หรือ สายสะดือ หมายถึง ส่วนที่เป็นเส้นที่ลากผ่านกลางหลังขององค์พระ จากด้านซ้ายไปด้านขวา หรือ จากด้านขวาไปด้านซ้าย หรือ เส้นที่ลากต่อจากขมวดมวยบนพระเศียรลงไปทางด้านหน้าจดกับสะดือ เพราะฉะนั้นสายสะดือกับขมวดมวยน้ำทังจึงเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกัน
ส่วนประกอบทั้ง ๔ ส่วนนี้ ยกเว้น รกบาง จะมีความสัมพันธ์กลมกลืนกันอย่างสวยงามประกอบขึ้นเป็นองค์พระที่มีคุณค่าทางด้านศิลปะ และด้านความศักดิ์สิทธ์ ไสยศาสตร์ รูปแบบพระปิดตากุมารในครรภ์เป็นพระหล่อด้วยโลหะผสมแบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ ดังนี้
แบบที่ ๑. ลักษณะองค์พระประทับนั่งยองบนขมวดมวย หรือ แผ่นกลม พระเศียรขมวดมวย พระหัตถ์ทั้งสองสอดเข่ายกขึ้นปิดพระพักตร์ ด้านหน้าบางองค์ขมวดเป็นอักขระ "อุณาโลม" บางองค์ไม่มีอุณาโลม ด้านหลังขมวดเป็นอักขระเลขยันต์ตัว "เฑาะว์สมาธิ" หรือ "ทมขึ้นองค์" บางองค์ใช้ตัว "นะสมาธิ" หรือ "นะขึ้นองค์" บางองค์ใช้อักขระหลายตัว ไม่มีกฎเกณท์ที่แน่นอน
แบบที่ ๒. ลักษณะองค์พระประทับนั่งยองบนขมวดมวย หรือ แผ่นกลม พระเศียรขมวดมวย พระหัตถ์ทั้งสองสอดเข่ายกขึ้นในท่าประนมมือ บางองค์ยกพระหัตถ์ขึ้นในท่าดูดนิ้วพระหัตถ์ ด้านหน้าและด้านหลังขมวดเป็นตัวอักขระเลขยันต์เช่นเดียวกับแบบที่ ๑
แบบที่ ๓. ลักษณะองค์พระประทับนั่งยองบนขมวดมวย หรือ แผ่นกลม พระเศียรขมวดมวย พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระพักตร์โดยไม่สอดเข่า ด้านหน้าและด้านหลังขมวดเป็นตัวอักขระเลขยันต์เช่นเดียวกับแบบที่ ๑
การสร้างพระปิดตากุมารในครรภ์ โบราณจารย์ จะปั้นหุ่นด้วยขี้ผึ้ง เข้าพิมพ์ด้วยดิน และหล่อโลหะ เสร็จแล้วจึงนำมาทำพิธีปลุกเสก หลังจากนั้นก็จะแจกจ่ายให้กับผู้ที่ต้องการทั่วไป เชื่อกันว่า พระปิดตากุมารในครรภ์มีพุทธคุณทางด้านโชคลาภและแคล้วคลาดปลอดภัย การนำพระไปใช้ให้ได้ผลดี ผู้เป็นเจ้าของพระจะต้องนำคาถาบูชาพระปิดตากุมารในครรภ์ไปภาวนา พร้อมกับบูชาพระทุกคืน เป็นประจำ จึงจะสัมฤทธิ์ผล พระปิดตากุมารในครรภ์ เป็นที่แสวงหาของนักเล่นพระเครื่องอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความเชื่อทางด้านพุทธคุณ และเป็นพระเครื่องที่ ซึ่งมีลักษณะสวยงามแบบฝีมือช่างท้องถิ่น จึงมีคุณค่าทางศิลปะด้วย..



ที่มา เพจ  พระอริยะสงฆ์ แล ะพระคาถาศักดิ์สิทธิ์

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้