ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2591
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตุ๊กตาเสียกบาล"

[คัดลอกลิงก์]
ข้อมูลจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 อธิบายว่า ตุ๊กตาเสียกบาล หมายถึง ตุ๊กตาที่ใส่กระบะกาบกล้วยพร้อมทั้งเครื่องเช่นผี นำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งหรือลอยน้ำแล้วต่อยหัวตุ๊กตาเสีย
ความเชื่อเรื่องผี เห็นจะเป็นสิ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตผู้คนทั่วทั้งโลกอย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ไม่ว่าจะชาติไหนๆ ก็มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับผีกันทั้งนั้น และสำหรับคนไทยนี่ไม่ต้องพูดถึง เรื่องของ ตุ๊กตาเสียกบาล ตุ๊กตาดินปั้นหน้าตาน่ารัก ที่ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นตุ๊กตาเด็กเล่นสมัยก่อนแต่ทว่าความจริงนั้น มันคือตุ๊กตาเซ่นผีตามความเชื่อของคนไทยโบราณต่างหาก
ในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่าการที่คนตายเนี่ยก็เพราะผีมาเอาชีวิตไป
เวลามีคนเจ็บป่วย ร่อแร่ ใกล้ตาย เค้าก็เลยพยายามหาวิธีว่า จะทำยังไงไม่ให้ผีมาเอาตัวไปได้ ก็เลยปั้นตุ๊กตาดินขึ้นมา ให้เป็นเพศเดียวกับคนที่ใกล้ตายเสร็จแล้วหักคอตุ๊กตาตัวนั้นซะ ทำพิธีเสียกบาลแล้วก็เอาไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งเอย ลอยน้ำไปบ้างเอย เป็นกลอุบายหลอกผี โดยใช้ตุ๊กตาเป็นตัวแทนของคนใกล้ตายนั่นเอง พอทำพิธีเสียกบาลตุ๊กตา ก็เหมือนเป็นการโอนถ่ายความตายไปให้ตุ๊กตาและเป็นการบอกผีว่าเนี่ยคนนี้ตายแล้วนะ ไม่ต้องมาเอาชีวิตไปแล้วนะ ตายแล้วและนอกจากตุ๊กตาเสียกบาลจะทำขึ้นในช่วงที่มีคนใกล้ตายแล้วยังทำขึ้นในกรณีที่มีหญิงท้องโตใกล้คลอด และเวลาที่มีเด็กเกิดอีกด้วย ที่ทำพิธีนี้กับหญิงใกล้คลอดก็เพราะแต่ก่อนการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเหมือนทุกวันนี้ การคลอดลูกนี่เป็นตายเท่ากันก็เลยถือว่าคนท้องนี่ก็อยู่ในภาวะเสี่ยงตายเหมือนกัน ส่วนที่ทำพิธีนี้ในช่วงเวลาที่มีเด็กเกิด ก็เพราะคนโบราณเชื่อกันว่าผีจะมาเอาชีวิตเด็กทารกไป เพราะหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู แต่ในกรณีนี้จะไม่หักคอตุ๊กตา แต่จะใช้มีดกรีดหน้าตุ๊กตาให้ดูน่าเกลียดแทน เสร็จแล้วเอาไปเซ่นผีที่ทางสามแพร่งเช่นกัน เป็นนัยว่าเด็กคนนี้หน้าตาน่าเกลียดนะ พอผีมาเห็นว่าตุ๊กตาตัวแทนเด็กหน้าตาน่าเกลียด ก็จะไม่มาเอาตัวไปและนอกจากความเชื่อที่ว่าผีจะมาเอาตัวเด็กทารกไปจะสะท้อนผ่านตุ๊กตาเสียกบาลแล้วยังมีคำๆนึงที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน.. นั่นคือคำว่า น่าชัง ในสมัยโบราณคนไทยจะไม่ชมเด็กแรกเกิดว่าน่ารัก แต่จะบอกว่าน่าชังแทนไม่ว่าเด็กคนนั้นจะหน้าตาน่ารักแค่ไหนก็ตามทีที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะกลัวว่าผีจะมาได้ยิน ก็เลยบอกว่าเด็กน่าชังไป ผีได้ยินจะได้รู้ว่าเด็กคนนี้หน้าตาน่าชัง ไม่มาเอาตัวไป และนี่คือความเชื่อที่เป็นที่มาของ ตุ๊กตาเสียกบาล ตุ๊กตาดินปั้นเซ่นผีที่เรายังคงได้ยินชื่อของมันมาจนถึงทุกวันนี้
ตุ๊กตาเสียกบาลเป็นตุ๊กตาดินเผาเคลือบสมัยสุโขทัย มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ส่วนใหญ่จะปั้นเป็นผู้หญิงมือถือของใช้ หรือเป็นผู้หญิงอุ้มเด็ก ตุ๊กตาเสียกบาลมีจุดมุ่งหมายในการปั้นคือ เมื่อเวลามีคนเจ็บป่วยในบ้านรักษาไม่หายสักทีเขาก็จะปั้นตุ๊กตาเพื่อสมมติว่าเป็นตัวแทนของคนป่วยนั้น โดย ตุ๊กตานี้จะถูกหักคอหรือต่อยหัวออก เพื่อลวงผีว่าคนเจ็บผู้นั้นตายไปแล้วจะได้ไม่มาเอาชีวิตของคนป่วยอีกและคนป่วยจะได้หายไข้นี้จึงเรียกกันว่า “ตุ๊กตาเสียกบาล”
ตุ๊กตาเสียกบาลยังมีรูปแบบตามยศศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของ เช่น ก่อนออกศึกโหรทำนายทายทักว่ามีเคราะห์ก็จะทำการปั้นตุ๊กตาเสียกบาลเป็นรูปต่างๆ เช่น พระยาขี้ม้า หรือขี่ช้าง แล้วหักคอตุ๊กตาทิ้ง แล้วนำตัวไปฝังตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสมส่วนใหญ่จะฝังใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือฝังริมน้ำ ส่วนหัวก็เอาไปฝังเช่นกันแต่ฝังในที่ที่ห่างกันที่เพื่อแก้เคล็ดตามความเชื่อ
แต่อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว มีความเห็นแตกต่างกันไปว่าตุ๊กตาเสียกบาลนั้นไม่ได้ถูกทุบหัว จากการสอบถามหมอสะเดาะเคราะห์ได้ความว่า ตุ๊กตาเซ่นผีนั้น ผู้สะเดาะเคราะห์ส่งให้ไปเป็นบริวารผีแทนตัว จึงตัดเล็บตัดผมของตนให้ไปด้วย ไม่มีเหตุผลที่จะต้องทุบหัวตุ๊กตาเสียก่อน หากทุบหัวตุ๊กตา ผีอาจโกรธเสียด้วยซ้ำที่ส่งของชำรุดไปแทนตัว ตุ๊กตาเซ่นผีมักปั้นด้วยดิน เมื่อวางที่ทางสามแพร่งแล้วอาจถูกสัตว์รบกวน เช่น วัวควายเหยียบย่ำ จึงทำให้ตุ๊กตาชำรุด
นอกจากนี้ภาชนะที่ใส่เครื่องเซ่นนั้น เรียกว่ากะบาน (สะกดด้วย น ไม่ใช่ ล) นิยมทำด้วยกาบกล้วยหักเป็นสามเหลี่ยมบ้างสี่เหลี่ยมบ้าง ใช้ซี่ไม้ไผ่แทงทะลุกาบกล้วยจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ด้านละ 7 ซี่ (รวมต้องใช้ซี่ไม้ไผ่ 14 ซี่) เป็นก้นกะบาน คำอธิบายนี้สอดคล้องกับที่ปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเล แต่สะกดเป็น กระบาน
อาจารย์ล้อมสันนิษฐานว่า เพราะพจนานุกรมไม่ได้เก็บคำว่า กะบานไว้ จึงเขียนว่า ตุ๊กตาเสียกบาล และพยายามผูกเรื่องต่อยหัวตุ๊กตาเช่นผีประกอบไว้
อาจารย์ล้อมได้เสนอว่า ต้องเก็บคำว่า กะบาน หรือ กระบาน ไว้ในพจนานุกรม และแก้คำ เสียกบาล เป็น เสียกะบาน แปลว่า เซ่นผี หรือต้องเซ่นผี
หาก ต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ โปรดอ่านบทความเรื่อง "เสียกบาล-เสียหัว-หัวใคร เสียกะบานไม่ใช่เสียหัว" เขียนโดยอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว นิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-4 15:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
https://scontent-sin1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xlp1/v/t1.0-9/6837_1247113858636201_8921187321761001188_n.jpg?oh=9ffdb8fe22592bdfd474029f6b57cf21&oe=572449BE
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้