ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1583
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทรัพย์สินมีอยู่ก่อนบวช ระหว่างอยู่ในสมณเพศ

[คัดลอกลิงก์]
ทรัพย์สินมีอยู่ก่อนบวช ระหว่างอยู่ในสมณเพศ

คอลัมน์ ฎีกาชีวิต

โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช

ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน



ก่อนอื่นขอพูดให้แคบเข้าเฉพาะประเด็นผู้ออกบวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาตามประเพณีนิยมของสังคมไทย มองชีวิตของบุรุษเพศทั้งก่อนออกบวชและหลังบวชเป็นพระภิกษุขณะยังมีชีวิตอยู่และที่สุดถึงแก่มรณภาพขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่นั้น กฎหมายคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินไว้หรือไม่?

ชีวิตของผู้นั้นก่อนหน้าจะออกบวชย่อมจะมีพันธะผูกพันทางครอบครัวของตัวเอง อาจอยู่ในฐานะลูกชาย ฐานะสามี หรือบิดาของลูก (ทั้งชอบกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายตามแต่ข้อเท็จจริง) จึงมีเหตุผลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจว่า

ถ้าผู้นั้นตัดสินใจออกบวชตามประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาก่อนวันเข้าพรรษาก็ดีหรือนอกพรรษาก็ดีแล้วสึกออกมาตามที่ตั้งใจหรือว่าจะครองผ้าเหลืองไม่ยอมสึกบวชต่อไปจนมรณภาพก็ดี

มีคำถามว่าทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนออกบวชหรือได้สิ่งของทรัพย์สินใดมาระหว่างบวชจนถึงแก่มรณภาพหรือในฐานะทายาทโดยธรรมคนหนึ่งระหว่างบวชเรียนนั้นพระภิกษุจะมีสิทธิรับมรดกหรือไม่?

ดังนั้น ก่อนชายหนึ่งออกบวชและหรืออยู่ระหว่างบวชเป็นพระภิกษุจนกระทั่งมรณภาพ สิทธิในทรัพย์สินกฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้อย่างไร? และมีกรณีใดทรัพย์ที่ได้มาระหว่างนั้นตกเป็นสมบัติของวัด?

ทรัพย์สินของชายใดไม่ว่าจะอยู่ในฐานะบิดาก็ดีหรือบุตรชายก็ดีย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแน่นอน ขออย่าได้กังวลก่อนที่จะตัดสินใจออกบวชเถิด ดั่งที่กฎหมายบัญญัติคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินไว้ว่า ทรัพย์สินใดของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาได้ตกเป็นของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้ (มาตรา 1624) ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าก่อนบวชนายสุนัยมีภริยาแล้วมีบุตรหนึ่งคน เขามีฐานะร่ำรวยคนหนึ่งในจังหวัดพิจิตร มีทรัพย์สิน 200 ล้าน ทั้งก่อนบวชหรืออยู่ระหว่างบวชเรียนและภายหลังสึกออกมาทรัพย์สินทั้งหมดยังคงเป็นสิทธิของนายสุนัยอยู่ เพราะกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทั้งหมดที่นายสุนัยมีอยู่ก่อนบวชเรียนจึงหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่

ระหว่างยังมีชีวิตอยู่นั้น นายสุนัยมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือทำพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่ใจ เพราะกฎหมายถือว่าทรัพย์สินดั้งเดิมที่มีอยู่บวชและภายหลังสึกออกมานั้นยังไม่ถือว่าตกเป็นสมบัติของวัด

ประเด็นเกิดขึ้นต่อมา ถ้าระหว่างบวชพระภิกษุสุนัยได้รับมรดกเป็นที่ดินหนึ่งแปลงจากมารดาโดยพินัยกรรมอีกสามเดือนต่อมาพระสุนัยถึงแก่มรณภาพและยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินแปลงนั้นหรือทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้กับภริยาและบุตร

จึงเกิดคำถามมีว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นเป็นมรดกตกทอดแก่ภริยาหรือทายาท? หรือตกเป็นสมบัติของวัด? เป็นประเด็นที่น่าติดตาม

กฎหมายบัญญัติเรื่องนี้ไว้ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” (มาตรา 1623)

ศาลฎีกาเคยพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทพระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส.แล้วในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็นของวัดจำเลยที่ 1 (1816/2542)

กฎหมายมีข้อยกเว้นไว้ว่าระหว่างมีชีวิตอยู่นั้นพระสุนัยย่อมมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือจะใช้สอยหรือยกเป็นทานหรือทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดก็ได้ กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้

เกิดคดีเรื่องหนึ่งต่อสู้คดีกันถึงศาลฎีกาว่า ระหว่างบวชพระภิกษุรูปหนึ่งได้ทำการจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งได้รับมรดกจากโยมมารดา แต่ระหว่างแบ่งแยกที่ดินในส่วนของพระภิกษุยังไม่แล้วเสร็จ พระภิกษุรูปนั้นเกิดมรณภาพเสียก่อน กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ตกลงจะขายยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อเช่นนี้ โดยผลของกฎหมายที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นสมบัติของวัดทันที (ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1316/2544 (ประชุมใหญ่))

เรื่องนี้น่าจะเป็นข้อเตือนใจผู้คิดจะซื้อที่ดินของพระภิกษุ โปรดตามต่อพระภิกษุรับมรดกได้?


http://www.matichon.co.th/news/19807


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-6-20 05:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้