ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8519
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

แกะรอย "ตำนานรักบันลือโลกปู่ม่าน ย่าม่าน" แห่งวัดภูมินทร์ ณ หอศิลป์ริมน่าน

[คัดลอกลิงก์]
"น่าน" แม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ ทางภาคเหนือ แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวให้ไปสัมผัสมากมาย เช่น ผาชู้ ดอยเสมอดาว พระธาตุแช่แห้ง ล่องแก่งลำน้ำว้า วัดภูมินทร์ หอศิลป์ริมน่านฯลฯ

แต่มีสถานที่แห่งหนึ่งที่ทุกคนมักจะได้รับคำแนะนำให้ไปเยือนคือ วัดภูมินทร์ เพราะที่นี่นอกจากจะได้ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว

ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง "ปู่ม่าน ย่าม่าน ตำนานกระซิบรักบันลือโลก" ให้ได้สัมผัสชื่นชม  แต่จะมีสักกี่คนจะรู้ว่า ภาพประวัติศาสตร์อายุกว่า 200 ปีนี้  คนในภาพเป็นใคร?   ศิลปินท่านใดเป็นผู้วาด ?



[size=+0]อาจารย์วินัย ปราบริปู ศิลปินเมืองน่านและเป็นเจ้าของหอศิลป์ริมน่าน[size=+0] ซึ่งค้นคว้าจนได้รับความกระจ่างว่า "ปู่ม่าน ย่าม่าน" คือใคร ได้เล่าให้ "มติชนออนไลน์" ฟังระหว่างพาชมภาพถ่ายจากจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญในเมืองน่าน ที่จัดแสดงอย่างถาวร ณ หอศิลป์ริมน่านว่า


"ข้อความที่ เขียนกำกับว่า ปู่ม่าน ย่าม่าน หมายถึงว่า เขาเรียกผู้ชายพม่า ผู้หญิงพม่าคู่นี้ เป็นนัยยะ เป็นสามีภรรยา แล้วการเกาะไหล่กันเป็นธรรมชาติของผู้ชายผู้หญิงที่เป็นสามีภรรยา  ถ้าเป็นหนุ่มสาว ถูกเนื้อต้องตัวไม่ได้ และรูปลักษณะการแต่งกายชี้ชัดไปอีกสอดคล้องกับคำว่า [size=+0]ปู่ม่าน ย่าม่าน ม่านคือพม่า ปู่นี่คือผู้ชาย พ้นวัยเด็กผู้ชายเรียกปู่ พ้นวัยเด็กผู้หญิงเรียกย่า ซึ่งที่จริงออกเสียง "ง่า" ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย [size=+0]โดย หนานบัวผัน เป็นศิลปินผู้เขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ทั้งที่วัดหนองบัว และวัดภูมินทร์"

ทั้งนี้อาจารย์วินัยยังย้ำถึงความสำคัญที่ใหญ่ยิ่งของภาพนี้อีกว่า

"ความคิดสร้างสรรค์ การเกาะไหล่กันไม่มีที่ไหนในมิวเซียมระดับโลก ไม่ว่าจิตรกรรมฝาผนังชนชาติไหนไม่มี มีเฉพาะที่วัดภูมินทร์ เลยกลายเป็นว่าภาพนี้มีคุณค่าสูงในการสร้างสรรค์ ทั้งทักษะฝีมือและประวัติท้องถิ่น"

ได้ยินอย่างนี้แล้ว คราวหน้าแวะไปน่านอย่าพลาดไปชมภาพ "ปู่ม่าน ย่าม่าน" ทีเดียว

[size=+0]อีกภาพที่สำคัญไม่น้อย ที่จัดแสดงที่หอศิลป์แห่งนี้ อาจารย์วินัยเล่าว่า เป็นภาพฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพฯ ที่ทรงวาดไว้ เป็นภาพตะโกน[size=+0] ล้อเลียนภาพกระซิบ โดยทรงตรัสกับผู้ตามเสด็จว่า ที่ต้องตะโกนเพราะอายุมากแล้วกระซิบไม่ได้ยิน เลยต้องตะโกนกัน

อาจารย์วินัยยังบอกด้วยว่า ความสำคัญของภาพนี้ไม่เพียงเป็นภาพฝีพระหัตถ์ แต่ ภาพตะโกนยังไม่มีศิลปินคนไหนเขียน พระองค์เป็นองค์แรก

ความน่าสนใจของหอศิลป์ริมน่าน ไม่ได้มีเพียงแค่ภาพถ่ายจากจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญในเมืองน่าน 127 ภาพที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมเมืองน่านในอดีต  ยังมีปฏิมากรรมอีกหลายชิ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะ ที่สร้างสรรค์จากภาพตะโกน และภาพกระชิบที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหน้าหอศิลป์  รวมทั้งผลงานของศิลปินร่วมสมัยที่น่าสนใจที่ผลัดเปลี่ยนกันมาแสดงให้ชมอยู่ตลอดเวลา




รู้อย่างนี้แล้ว หากมีโอกาสไปเยือน น่าน อย่าลืมแวะไปที่ หอศิลป์ริมน่าน( www.nanartgallery.com)

เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลก่อนไปชื่นชมจิตรกรรมฝาผนังยังวัดสำคัญต่าง ๆ โดยอาจารย์วินัย  ปราบริปู และอาจารย์อมรพิพัฒน์ เจริญชัย พร้อมเป็นไกด์พาชม  รับรองได้ว่าการชมภาพจิตรกรรมฝาผนังของทุกท่านจะได้อรรถสเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย...
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361011706

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-11 15:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภาพ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นหนึ่งในงานจิตรกรรมฝาผนังถูกวาดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2410-2417 ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมวัดภูมินทร์ในสมัยเจ้าอนันตฤทธิวรเดชครองเมืองน่าน ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในชาดก และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวน่านในอดีต
แต่ภาพ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงของงานจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว ด้วยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดทั้งด้านองค์ประกอบและอารมณ์ รังสรรค์โดยศิลปินนิรนามที่คาดว่าเป็น หนานบัวผัน ศิลปินชาวไทลื้อที่เคยสร้างงานจิตรกรรมที่วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ด้วยเปรียบเทียบภาพจิตรกรรมทั้งสองก็พบความเหมือนทั้งลายเส้น, สีสัน, ใบหน้า และฉากกว่า 40 จุด[3] ทั้งยังมีมุมมองและแนวคิดที่ทันสมัย รู้จักนำสีสันมาใช้ เช่น สีแดง ฟ้า ดำ น้ำตาลเข้ม และมีวิธีลงฝีแปรงคล้ายภาพวาดสมัยใหม่[7]
รายละเอียดของ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นภาพที่แปลกแยกจากรูปอื่น ๆ โดยวาดเหนือภาพพระเนมีราชท่องนรกและสวรรค์ของชาดกเรื่อง เนมีราช[8] แสดงให้เห็นรูปของชายหญิงคู่หนึ่ง โดยบุรุษใช้มือข้างหนึ่งเกาะไหล่สตรีแล้วมืออีกข้างหนึ่งป้องปากคล้ายกับกระซิบกระซาบที่ข้างหูสตรีผู้นั้นด้วยนัยน์ตากรุ้มกริ่มแฝงไปในเชิงรักใคร่[3] บุรุษในภาพสักลายตามตัว ขมวดผมไว้กลางกระหม่อมพร้อมผ้าพันผมแบบพม่า นุ่งผ้าลุนตะยา[9] ส่วนสตรีในภาพแต่งกายไทลื้อเต็มยศ[10] การแสดงท่าทางกระซิบหยอกล้อดังกล่าวมิใช่การเล้าโลมของคู่รักหนุ่มสาว หากแต่เป็นการแสดงความรักของคู่สามีภรรยา การแปลความหมายไปในทางกามารมณ์จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากเจตนารมณ์เดิมของศิลปิน[5]
เคยมีการสันนิษฐานว่าบุรุษในภาพน่าจะเป็นผู้เขียนภาพ คือตัวหนานบัวผันเอง[11] แต่ทว่าได้รับการปฏิเสธในเวลาต่อมาด้วยตัวหนานบัวผันเป็นชาวไทลื้อ[9] ทั้งนี้ได้การแต่งคำบรรยายภาพดังกล่าวเป็นภาษาถิ่นพายัพอันสละสลวย ซึ่งแต่งและแปลโดยสมเจตน์ วิมลเกษม ความว่า[3][7]
คำฮักน้อง กูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว
จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุม
จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป
ก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้
ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา…
แปล:
ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว
จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย
หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป
เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง
ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น
ด้วยเหตุที่ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นภาพของการกระซิบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ล้อเลียนเป็นภาพบุรุษตะโกนใส่สตรีผู้หนึ่ง เพื่อล้อเลียนภาพกระซิบ โดยสตรีใช้มือปิดหูเอาไว้สวนผ้าถุงลายน้ำไหลเมืองน่าน ส่วนบุรุษไว้ผมทรงโมฮอว์ก ด้วยทรงให้เหตุผลกับผู้ตามเสด็จว่า "ต้องตะโกนกัน เพราะกระซิบไม่ได้ยินแล้ว อายุมากกันแล้ว"[4] ปัจจุบันภาพฝีพระหัตถ์ดังกล่าวถูกจัดแสดงที่หอศิลป์ริมน่าน[6]
นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสิมของวัดโพธาราม อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ที่มีภาพชายหญิงกระซิบรักเช่นกัน โดยวาดเหนือภาพพระมาลัยโปรดนรก-สวรรค์ ไม่ปรากฏนามผู้วาด สันนิษฐานว่าภาพดังกล่าววาดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้น

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-11 15:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้