ตำนานหลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ พระมหาเถราจารย์ยุคเก่าผู้ทรงคุณวิเศษ เก่งกล้าพุทธาคม มากด้วยบุญญาภินิหาร
กล่าวถึงประวัติ : หลวงพ่อพวง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสิบ ปีวอก ตรงกับพ.ศ.๒๔๑๕ หลวงพ่อพวงเกิดที่บ้านฟากคลอง ต.หนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดหนองกระโดน ซึ่งการเรียนนั้นมุ่งไปที่การอ่านหนังสือไทย และหนังสือขอม การท่องบทสวดมนต์ และต่อหนังสือกับพระในตอนเย็น เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น จึงลาออกจากวัดไปช่วย บิดามารดาประกอบอาชีพ จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงเข้าอุปสมบทที่วัดมหาโพธิใต้ ต.มหาโพธิ อ.บรรพตพิสัยเดิม(ปัจจุบันขึ้นอ.เก้าเลี้ยว) โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณเป็นพระอุปัชณาย์ อยู่ในสมณเพศได้ 1 พรรษา ที่วัดหนองกระโดน แล้วก็ลาสิกขา ไปช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ครองเพศฆราวาสอยู่ได้ไม่นานนักก็เบื่อหน่ายใน ฆราวาสวิสัย จึงกลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ ๒๓ ปีบริบูรณ์ ตรงกับพ.ศ.๒๔๓๘ที่วัดมหาโพธิใต้ โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณ(หลวงพ่อเฮง)วัดเขาดินใต้เป็นพระอุปัชณาย์ แล้วกลับไปอยู่ที่วัดหนองกระโดน ในการอุปสมบทครั้งนี้ หลวงพ่อพวงได้ตั้งปณิธาน ไว้ว่าจะดำรงสมณเพศตลอดไป จึงตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย จากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน การปฏิบัติตามวิสัยของหลวงพ่อพวงนั้น จะออกบิณฑบาตรเป็นกิจวัตร มีการทำวัตรเช้า-เย็นทุกวันไม่มีขาด เวลากลางคืนท่านจะนั่งเจริญกรรมฐานจนดึกทุกคืน จริยาวัตรของท่าน เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ยึดมั่นในสัจธรรมที่ว่า"ยถาวาที ตถาการี"หมายถึง"คนตรงพูดอย่างไรทำอย่าวนั้น" จนมีคำพูดว่าหลวงพ่อพวงเป็นพระจริงๆ ในปีพ.ศ.๒๔๕๐ หลวงพ่อพวงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดนเมื่อ มีพรรษา ๑๒ พรรษา เนื่องจากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสท่านเดิมนั้นประชาชนได้อาราธนาไปเป็นเจ้า อาวาสวัดหัวเมือง(วัดนครสวรรค์) ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๖๘เมื่อต.ลาดยาว ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอ.ลาดยาว ขณะนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวได้ว่างลง ขุนนิพัธ์ประสาสน์ นายอำเภอลาดยาวขุนลาดบริบาล พ่อค้า ประชาชนจึงได้จัดขบวนไปรับหลวงพ่อพวงที่วัดหนองกระโดน ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวและเจ้าคณะแขวงลาดยาว ในปีพ.ศ.๒๔๗๓ หลวงพ่อพวงได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอตรี ชื่อ"พระครูนิวิฐธรรมสาร" และเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตแขวงลาดยาวเมื่อมีอายุ๕๘ ปี พรรษาที่ ๓๕ หลวงพ่อพวงมีความรู้ด้านการช่างฝีมือเป็นอย่างดี โดยได้ช่วยพระปลัดเคลือบสร้างศาลาวัดหัวเมืองจนแล้วเสร็จ ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๕๙ได้เป็นผู้นำการสร้างศาลาวัดหนองยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๖๗ ได้บูรณะวัดหนองกระโดนโดยสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ปีพ.ศ.๒๔๖๘ได้เป็นกำลังสำคัญสร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดเก้าเลี้ยว ปีพ.ศ.๒๔๖๙ ได้สร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดทัพชุมพลและไปช่วยสร้างวัดหนองโรงต.หนองกรด อ.ปากน้ำโพ นอกจากนี้ยังได้ไปช่วยหลวงพ่อขันสร้างวัดลาดยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๗๐ ได้ก่อสร้างมณฑปที่วัดหนองกระโดนเพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและก่อ สร้าวศาลาวัดเนินขี้เหล็กและวัดบ้านไร่ ในปีพ.ศ.๒๔๗๑หลวงพ่อพวงได้เริ่มก่อสร้างวัดเขาสมุกโดยสร้างศาลาการเปรียญ โรงน้ำร้อน กุฏิ ๔ หลัง หอฉัน ศาลา ๙ ห้อง สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองไว้บนยอดเขาสมุก และสร้างมณฑปครอบไว้ การก่อสร้างใช้เวลา ๕ ปี แล้วเสร็จเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ มีเนื้อที่ดิน ๓๐ ไร่เศษ หลังจากหลวงพ่อพวงได้มรณะภาพแล้ว ได้มีการปั้นรูปเหมือนหลวงพ่อพวงไว้ที่วัดหนองกระโดน วัดลาดยาว วัดเขาสมุก วัดหนองยาว และวัดศรีสุธรรมาราม [ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ]
|