ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6278
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สาเหตุมวยสากลอาชีพได้ทำการปรับเปลี่ยนกติกาจากเดิม 15 ยก มาเป็น 12 ยก

[คัดลอกลิงก์]
สาเหตุมวยสากลอาชีพได้ทำการปร ับเปลี่ยนกติกาจากเดิม 15 ยก มาเป็น 12 ยก


https://www.youtube.com/watch?v=F4tj_Hn0l2c




(เรื่องราวในอดีตที่โด่งดังไปทั่วโลก ของนักชกยอดกตัญญูชาวเกาหลี)     คิม ดุ๊กกู     ได้มีโอกาสได้เดินทางไปชกชิงแชมป์โลกในรุ่ นเดียวกันนี้ ของสมาคมมวยโลก (WBA) กับ เรย์ มานชินี่ เจ้าของฉายา "บูม บูม" แชมป์โลกชาวอเมริกันถึงลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525     โดย คิม ดุ๊กกู มีอันดับโลกเป็นรองแชมป์อันดับ 1     การชกเป็นไปอย่างดุเดือด เพราะคิม ดุ๊กกู ถูกมานชินี่ไล่ชกแต่เพียงข้างเดียว แต่ก็กัดฟันยืนสู้ได้มาจนยกที่ 14 จึงล้มลงกองกับเวที ไม่ฟื้น     แพทย์ ได้ทำการตรวจสมองของ คิม ดุ๊กกู พบว่าสมองไม่ทำงานเสียแล้ว ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลเดเสิร์ตสปริงทันที     ทางรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ออกเงินค่าตั๋วเครื่ องบินให้นางและลูกชายอีกคน คือ นายคิม คุน ยอง เดินทางไปดูอาการของคิม ดุ๊กกู ถึงสหรัฐอเมริกา     หลังจากคณะแพทย์ทำการผ่าตัดสมองหลายรอบแล้ ว อาการก็ยังไม่ดี นางซุน เยียว ยาง ได้ตัดสินใจให้แพทย์ถอดเครื่องปั๊มหัวใจออ ก และให้คิม ดุ๊กกู จากไปอย่างสงบ     และหลังจากกลับมาเกาหลีใต้แล้ว เพียง 4 วันต่อมา นางซุน เยี่ยว ยาง มารดาก็ได้ผูกคอตายตามลูกชายไป     การเสียชีวิตของ คิม ดุ๊กกู ปรากฏเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก และทำให้ต่อมาการชกมวยสากลอาชีพได้ทำการปร ับเปลี่ยนกติกาจากเดิม 15 ยก มาเป็น 12 ยก เช่นในปัจจุบัน


https://www.youtube.com/watch?v=F4tj_Hn0l2c



คิม ดุ๊กกู (เกาหลี: 김득구, MC: Gim Deuk-gu, MR: Kim Tŭk-ku, อังกฤษ: Duk-Koo Kim) นักมวยชาวเกาหลีใต้ผู้โชคร้าย ผู้จากไปจากการชกบนผืนสังเวียนเลือดด้วยอายุเพียง 23 ปี ในปี พ.ศ. 2525
คิม ดุ๊กกู เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่หมู่บ้านชาวประมงยากจนในเมืองโกจิน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่ออายุได้ 5 ขวบ พ่อก็เสียชีวิต เมื่ออายุ 14 ได้เดินทางเข้ามายังโซล เมืองหลวงของประเทศ เพื่อศึกษาต่อด้านวิชาชีพและชกมวยอาชีพ ซึ่งประสบความสำเร็จภายในระยะเวลา 4 ปี เมื่อได้ครองแชมป์ของสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF) ในรุ่นไลท์เวท
และได้มีโอกาสได้เดินทางไปชกชิงแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันนี้ ของสมาคมมวยโลก (WBA) กับ เรย์ มานชินี่ เจ้าของฉายา "บูม บูม" แชมป์โลกชาวอเมริกันถึงลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 โดย คิม ดุ๊กกู มีอันดับโลกเป็นรองแชมป์อันดับ 1 และเป็นการป้องกันตำแหน่งครั้งแรกของมานชินี่ด้วย การชกครั้งนี้จัดบนเวทีกลางแจ้งในเวลาเย็น การชกเป็นไปอย่างดุเดือด เพราะคิม ดุ๊กกู ถูกมานชินี่ไล่ชกแต่เพียงข้างเดียว แต่ก็กัดฟันยืนสู้ได้มาจนยกที่ 14 จึงล้มลงกองกับเวที ไม่ฟื้น แพทย์สนาม คือ น.พ.ลอนนี่ แฮมมาร์เกร็น ได้ทำการตรวจสมองของ คิม ดุ๊กกู พบว่าสมองไม่ทำงานเสียแล้ว ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลเดเสิร์ตสปริงทันที
วันต่อมา ข่าวนี้ได้แพร่ไปถึงประเทศเกาหลีใต้ นางซุน เยียว ยาง มารดาของคิม ดุ๊กกู ได้ทราบข่าวได้แต่ร้องไห้ ทางรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ออกเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้นางและลูกชายอีกคน คือ นายคิม คุน ยอง เดินทางไปดูอาการของคิม ดุ๊กกู ถึงสหรัฐอเมริกา
หลังจากคณะแพทย์ทำการผ่าตัดสมองหลายรอบแล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับการรักษาแบบฝังเข็มด้วยคณะแพทย์เกาหลี 4 คนที่เดินทางไปด้วย นางซุน เยียว ยาง ได้ตัดสินใจให้แพทย์ถอดเครื่องปั๊มหัวใจออก และให้คิม ดุ๊กกู จากไปอย่างสงบ ในตอนเย็นของวันที่ 18 พฤศจิกายน จากนั้นได้มีการทำพิธีส่งมองร่างของคิม ดุ๊กกู เพื่อส่งกลับประเทศ โดยมีเทศบาลเมืองลาสเวกัสเป็นผู้ทำพิธีให้ และหลังจากกลับมาเกาหลีใต้แล้ว เพียง 4 วันต่อมา นางซุน เยี่ยว ยาง มารดาก็ได้ผูกคอตายตามลูกชายไป
การเสียชีวิตของ คิม ดุ๊กกู ปรากฏเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก และทำให้ต่อมาการชกมวยสากลอาชีพได้ทำการปรับเปลี่ยนกติกาจากเดิม 15 ยก มาเป็น 12 ยก เช่นในปัจจุบัน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A1_%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B9
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-12-22 13:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คนไทยที่ถูกตั้งชื่อว่า..บูม..เข้าใจว่าคงตั้งชื่อให้จากความโด่งของ


เรย์ มานชินี่ เจ้าของฉายา "บูม บูม" แชมป์โลกชาวอเมริกัน

ในยุคนั้น
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-12-22 14:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไขปริศนาหมัดน็อก

หากเป็นแฟนฟุตบอลแล้ว สุดยอดของเกมก็คือการพังประตู แต่สำหรับแฟนหมัดมวย สุดยอดของการต่อสู้ก็คือการ “น็อกเอ๊าท์”
ระยะหลังๆ บ้านเราห่างเหินจากการถ่ายทอดสดการชกไฟต์สำคัญๆ เนื่องด้วยเพราะจัดทีไรก็ขาดทุนกันเห็นๆ อีกทั้งการเข้ามาตีตลาดของระบบเคเบิลทีวี ที่จับจองการถ่ายทอดไฟต์ใหญ่ๆ ไว้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญ วงการมวยบ้านเรากำลังอยู่ในช่วงขาลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยมีแชมป์โลก (ของจริง) ประดับประเทศอยู่เสมอๆ แต่เดี๋ยวนี้คนที่เรียกตัวเองว่าแชมป์โลก กลับไม่ได้แสดงฝีมือให้สมกับตำแหน่งนั้นเลยซักนิด ท่านอาจจะเคยมีโอกาสได้ชมการชกที่มีการน็อกเอ๊าท์เกิดขึ้นมาบ้าง บางครั้งเต้นไปเต้นมา 2-3 ที โดนหมัดเข้าไปเปรี้ยงเดียว ก็ลงไปนอนนับสิบตั้งแต่ยกแรก  บางคู่กอดปล้ำกันไปมา เผลอแผล็บเดียวโดนเข้าเต็มคางก็หลับกลางอากาศได้เช่นกัน และมีบ้างเหมือนกันที่โดนยำเละบนเวที แต่กลับไม่น็อก มาวูบเอาตอนที่ลงจากเวทีแล้ว บางรายถึงขั้นช็อก เสียชีวิตไปเลยก็มี
คำถามก็คือว่า พวกเขาน็อก และโดนน็อกกันได้อย่างไร?
“ไมค์ ไทสัน” ราชาน็อกเอ๊าท์คนสุดท้ายแห่งศตวรรษที่ 20       
“มฤตยูดำ” ไมค์ ไทสันอดีตแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวท 3 สถาบัน เจ้าของสถิติเป็นแชมป์โลกรุ่นยักษ์ที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก ด้วยวัยเพียง 21 ปี เป็นนักมวยที่จัดได้ว่าเป็นราชาแห่งการน็อกเอ๊าท์ ในสมัยที่ยังรุ่งๆ การน็อกคู่ต่อสู้ในยกแรก จัดเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับเขา ไฟต์แห่งความทรงจำที่แฟนมวยไม่มีวันลืม ในปี 1988  เมื่อ ไทสัน ขึ้นป้องกันตำแหน่งกับอดีตแชมป์ ไมเคิล สปิงค์ส ในครั้งนั้นบรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลายต่างชี้ไปที่ สปิงค์ส ว่าเขานี่แหละคือผู้ที่จะมาหยุดความอหังการของ ไทสัน
แต่เอาเข้าจริง ซูเปอร์ไฟต์ที่ทุกคนตั้งตารอกลับจบลงเพียงแค่ 91 วินาทีของยกแรก เมื่อ สปิงค์ส รับหมัดของ ไทสัน เข้าไปเต็มๆ ชุดใหญ่ จนร่วงลงไปนอนคาเชือกให้กรรมการนับสิบ
หมัดสวิงหรือหมัดขว้าง อาวุธเด็ดของไทสัน เห็นได้ชัดว่าเป็นการทิ้งทั้งไหล่ เหมือนการขว้าง
ไมค์ ไทสัน ในช่วงที่เขาครองตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทของสามสถาบันหลักของโลก (สมาคมมวยโลก / WBA, สภามวยโลก / WBC และ สหพันธ์มวยนานาชาติ / IBF)  ได้รับการยกย่องให้เป็นนักมวยที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ด้วยสถิติการน็อกเอ๊าท์กว่าร้อยละ 90 ของการชกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเก็บคู่ต่อสู้ก่อนยกที่ 6 แทบทั้งสิ้น (มวยสากลอาชีพระดับนานาชาติจะชก 12 ยก) แต่หากพิจารณาในอีกมุมมองหนึ่ง ไทสัน อาจจะไม่แกร่งอย่างที่คิด เพียงแค่เขาจัดการคู่ต่อสู้ได้รวดเร็ว ก่อนที่คู่ต่อสู้จะทำอะไรเขาได้ต่างหาก พิสูจน์ได้จากการพ่ายแพ้อย่างหมดรูปเป็นครั้งแรก ต่อคู่ชกโนเนม เจมส์ บัตเตอร์ ดักลาส ในปี 1990 หรือการโดน อีแวนเดอร์ โฮลิฟิลด์ สอนมวยในปี 1996
เคล็ดลับและเทคนิคสุดยอดของ ไทสัน นั่นก็คือ การน็อกคู่ต่อสู้ให้เร็วที่สุด!

การออกหมัดแบบทุ่มทั้งตัวของ ไทสัน สังเกตที่เท้า จะเห็นว่าตัวของ ไทสัน ลอยอยู่เหนือพื้นเวที

“ชกถูกตรงไหน และจังหวะไหน”
เรย์ อาร์เซล (Ray Arcel : 1899-1994) เทรนเนอร์ผู้ปลุกปั้นแชมป์โลกอย่าง โรแบร์โต้ ดูรัน หรือ ลาร์รี่ โฮล์มส์ เคยให้ทัศนะไว้ว่า เขาเคยเห็นนักมวยถูกน็อกด้วยหมัดที่แทบจะไม่มีพิษสง แต่เขาเชื่อว่าหมัดทุกหมัดที่ปล่อยออกไปมีพลังแฝงอยู่ในนั้น จุดสำคัญคือ ชกถูกที่ตรงไหน และในจังหวะไหนมากกว่า
จิมมี่ แบร๊ดด็อก (เจ้าของฉายา The Cinderella Man ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันนี้ ในปี 2005) นักมวยที่ อาร์เซล เคยเทรนมากับมือ มีโอกาสขึ้นชกกับ “ไอ้ลูกระเบิดสีน้ำตาล” โจ หลุยส์ ในช่วงปลายอาชีพค้ากำปั้น สามารถส่งยอดมวยอย่าง โจ ลงไปนอนนับแปดในยกแรก ทั้งๆ ที่ แบร๊ดด็อก ไม่ใช่นักมวยหมัดหนักอะไรเลย (ผลการชก ปรากฏว่า โจ ไล่ถลุง แบร๊ดด็อก พ่ายน็อกในยกที่ 8 ) ซึ่ง อาร์เซล อธิบายว่า หมัดที่ส่ง โจ ลงไปนอนนับแปดนั้น พุ่งเข้าใส่ปลายคางอย่างพอเหมาะพอเจาะต่างหาก
ยอดมวยอย่าง “เดอะ ฮิตแมน” โทมัส เฮิร์นส์ ก็เคยถูกคู่ต่อสู้น็อกตาตั้งมาแล้ว เฮิร์นส์ ได้ชื่อว่าเป็นนักมวยที่ คางเปราะ มากที่สุดคนหนึ่ง ไฟต์ที่เขาพบกับ “ไอ้โล้นซ่า” มาร์วิน แฮกเลอร์  ในศึกชิงแชมป์มิดเดิ้ลเวท 3 สถาบัน ในปี 1985 เฮิรนส์ เป็นฝ่ายครองเกมได้ตลอดใน 2 ยกแรก เมื่อเขาอาศัยความรวดเร็วและช่วงชกที่ยาวกว่า ดักต่อยวงนอกอยู่ตลอด แต่พอเข้าสู่กลางยกที่ 3 หมัดของ แฮกเลอร์ ที่โดนเพียงปลายหมัดจำเพาะเข้าที่คางของ เฮิร์นส์ อย่างจัง ทำเอาเขาเป๋ไปติดเชือก แน่นอนว่า แฮกเลอร์ ไม่ปล่อยโอกาสทอง และศึกครั้งนั้นก็จบลงที่ยกที่ 3 เท่านั้นเอง
จากกำปั้นสู่สมอง  
ทางด้านการแพทย์นั้นอธิบายไว้ว่า การหมดสติของนักมวยนั้น เกิดจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากแรงภายนอก จนทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของสมองอย่างฉับพลัน อธิบายง่ายๆ ก็คือ สมองของคนเราอยู่ภายใต้การปกป้องของกะโหลกศีรษะ โดยมีเยื่อหุ้มสมองเป็นเสมือนผ้าบางๆ รองไว้ชั้นหนึ่ง  ลองนึกถึงผลส้มก็ได้ ให้จินตนาการว่าเปลือกส้มก็คือกะโหลกศีรษะ ใยของเปลือกภายในก็คือเยื่อหุ้มสมอง และเนื้อส้มก็คือก้อนสมอง
เมื่อศีรษะของนักมวยรับแรงจากการชกของคู่ต่อสู้ กะโหลกศีรษะจะหมุนตามแรงหมัด ในขณะที่สมองซึ่งเคลื่อนตัวช้ากว่า จึงเป็นเหตุให้ร่างกายขาดสมดุล ในกรณีที่โดนเข้าอย่างจัง เยื่อหุ้มสมองอาจจะยืดตัวออก และก้อนสมองไปกระทบกับผิวกะโหลกศีรษะ จนทำให้สมองได้รับความเสียหายในที่สุด
ศาสตราจารย์ นายแพทย์แบร์รี่ ดี. จอร์แดน (Barry D. Jordan) อดีตผู้อำนวยการแพทย์ คณะกรรมการการกีฬาแห่งนิวยอร์ก ผู้เขียนหนังสือ Medical Aspect of Boxing ได้แบ่งสภาพการน็อกเอ๊าท์ไว้ 4 ประเภท



4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-12-22 14:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
1. นักมวยอยู่ในอาการมึนงง ไม่สามารถปกป้องตัวเองจากคู่ต่อสู้ได้อีกต่อไป แต่ยังไม่ถึงกับหมดสติ ซึ่งในวงการมวยเรียกว่า แพ้แบบ TKO (Technical Knockout)  ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งที่ เขาทราย แกแล็คซี่ ไล่ถลุง เคนจิ มัตสึมูระ ผู้ท้าชิงชาวญี่ปุ่นจนเลือดกลบปาก และกรรมการต้องเข้าไปยุติการชกในยกที่ 12 เพราะเห็นว่า เขาทราย เลือกต่อยอยู่ฝ่ายเดียว โดยที่ มัตสึมูระ ไม่มีโอกาสปัดป้อง
ภาพแรกเป็นศีรษะของนักมวยในสภาพปรกติ ภาพต่อมาคือ ศีรษะของนักมวยเมื่อถูกแรงหมัดทำให้กะโหลกเบนออกจากตำแหน่งปรกติ
2. นักมวยถูกชกลงไปนอนให้กรรมการนับสิบ โดยไม่สามารถลุกขึ้นมายืนได้ทั้งที่ยังคงมีสติ อย่างเช่นกรณีของ ไมค์ ไทสัน ที่ถูก เลนน็อกซ์ ลูอิส ถลุงพ่ายน็อกในยกที่ 8  ไทสัน พยายามลุกขึ้นขอสู้ต่อแต่ก็ทรงตัวไม่ได้ ขนาดที่เก็บฟันยางใส่เข้าปากไม่ถูกด้วยซ้ำ
ศีรษะของนักมวยเมื่อถูกหมัดเข้าอย่างเต็มที่ กะโหลกศีรษะจะเคลื่อนที่อย่างฉับพลัน
ในขณะที่สมองเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า ทำให้ไปกระแทกกับด้านในของกะโหลก
สภาพของ ไมค์ ไทสัน ที่ถูกหมัดของ ลูอิส ประเคนเข้าใส่
ไทสัน ยังไม่หมดสติ แต่ไม่สามารถทรงตัวขึ้นได้
3. เป็นการน็อกโดยที่นักมวยถูกหมัดเข้าอย่างแรงทำให้หมดสติลงฉับพลัน แต่ก็สามารถคืนสติกลับมาได้ในเวลาไม่นาน อย่างเช่นในศึกชิงแชมป์เฮฟวี่เวท ปี 2001 ที่ ฮะซิม ราห์มาน โดนหมัดของ เลนน็อกซ์ ลูอิส จนหลับกลางอากาศในยกที่ 5 ก่อนจะฟื้นขึ้นมาแบบงงๆ ว่าโดนอะไรเข้าไป
ฮะซิม ราห์มาน ถูกหมัดฮุคของ เลนน็อกซ์ ลูอิส เข้าอย่างจัง จนหลับกลางอากาศ
สังเกตบริเวณกรามของ ราห์มาน ที่บิดเบี้ยวผิดรูปอย่างชัดเจน
และดูการออกหมัดของ ลูอิส ที่มีแรงส่งจากสะโพก
4. คือการน็อกเอ๊าท์แบบที่นักมวยหมดสติเป็นเวลานาน ซึ่งหากถึงมือแพทย์ช้าเกินไปก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ หรือในบางครั้งจะฟื้นสติกลับมาได้ แต่ก็อาการทรุดลงในภายหลัง เช่นกรณีของ เรย์ “บูมบูม” มันชินี่ แชมป์โลกรุ่นไลท์เวท ชาวอเมริกัน ที่สอย คิม ดุ๊ก คู จากเกาหลีใต้ลงไปนอนในยกที่ 14  หลังจากนั้น คิม ก็ไม่ฟื้นอีกเลยและเสียชีวิตในอีก 4 วันถัดมา จากการชกไฟต์นี้เอง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาในการชกอาชีพ จาก 15 ยก เหลือ 12 ยก จนถึงปัจจุบัน
ไฟต์ประวัติศาสตร์ ระหว่าง เรย์ “บูมบูม” มันชินี่ กับ คิม ดุ๊ก คู
ศ. จอร์แดน ยังอธิบายอีกว่า การน็อกเอ๊าท์นั้น เกิดขึ้นจากการที่สมองไหวตัวอย่างฉับพลัน ในขณะที่แกนสมองไม่ได้ขยับตามไปด้วย นั่นจึงอธิบายได้ว่า นักชกที่ใส่เฮดการ์ดแต่ทำไมถึงยังถูกน็อกได้ ก็เพราะเฮดการ์ดนั้นไม่ได้ช่วยปกป้องการไหวตัวของสมองนั่นเอง


ที่มา...https://janghuman.wordpress.com/ ... %E0%B8%97%E0%B9%8C/
… ต่อตอนหน้า
About these ads

ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้