ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2251
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พุทธวิธีระงับความโศก

[คัดลอกลิงก์]
พุทธวิธีระงับความโศก
โดย...พระอัครเดช  ญาณเตโช
วัดฉาง ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
อีเมล์ : akradate@outlook.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


ภาพจาก Web Site
http://board.postjung.com/data/745/745728-topic-ix-0.gif
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-5-58
          ทุกสิ่งในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเริ่มต้นแล้ว ย่อมมีการสิ้นสุด ดังคำภาษิตจีนที่ว่า มิมีงานเลี้ยงใดที่ไม่เลิกรา ทุกคนที่เกิดมาแล้วก็เช่นกัน จะต้องการหรือไม่
ต้องการ ก็ต้องพลัดพรากจากสิ่งของ หรือบุคคลที่รักที่ชอบใจเป็นธรรมดา ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงหรือหน่วงเหนี่ยวสิ่งซึ่งจะต้องเป็นไปมิให้เป็นไป ชีวิตนี้มีความพลัดพราก
เป็นที่สุด
          เมื่อต้องพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก ความโศกก็เกิดขึ้น ยิ่งรักมากก็ยิ่งโศกมาก ความโศกย่อมทิ่มแทงหัวใจของผู้ที่เศร้าโศกดุจถูกลูกศรอาบยาพิษเจาะ และ
ความโศกย่อมแผดเผาจิตใจอย่างแรงกล้าดุจหลาวเหล็กถูกไฟเผาผลาญอยู่ ผู้ที่ถูกความโศกครอบงำ ย่อมจะเสียใจร้องไห้น้ำตาไหล คร่ำครวญ รำพัน ร่ำไร บ่นเพ้อ จนคอ
ริมฝีปากและเพดานแห้งผาก ย่อมได้รับ ทุกข์อันสาหัส ทอดอาลัยในชีวิต ละทิ้งการงาน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ที่เศร้าโศก เสียใจจนเจ็บไข้หรือเสียชีวิต หรือฆ่าตัวตายก็มี ที่เสียใจ
จนเป็นบ้าไปก็มี ที่ซึมเศร้า หงอยเหงา จมอยู่กับความหลังเหมือนคนไร้อนาคตหมดหวังในชีวิตก็มี
          การปล่อยให้ความโศกเข้าครอบงำ ย่อมทำให้เกิดโทษมากมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องศึกษาหาวิธีการต่างๆ เพื่อระงับหรือคลายความโศกลงบ้าง สำหรับ ชาวพุทธก็มีวิธี
ระงับหรือคลายความโศก โดยนำคำสอนหรืออุบาย ที่พระพุทธเจ้า และพระสาวก ทรงใช้สอนเตือนสติหรือปลอบใจ ผู้ที่ทุกข์โศกให้หายทุกข์คลายโศกมาแล้ว มาเป็นแนวทางใน
การปฏิบัติ ในที่นี้จะเรียกคำสอนหรืออุบาย เหล่านี้ว่า พุทธวิธีคลายโศก ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ กันดังนี้

ธรรมดา ของสังขาร คือการดับ ไม่มีกลับ คืนเป็น เช่นลมหวน
เป็นของจริง จงจำ อย่าคร่ำครวญ สิ่งที่ควร เร่งทำ คือกรรมดี
          ในอดีตกาล ณ กรุงสาวัตถี มีหญิงสาวที่ยากจนคนหนึ่งชื่อ กิสาโคตมี เมื่อนางได้สามี บิดามารดาและญาติสามีดูหมิ่นว่าเป็นลูกสาวของสกุลเข็ญใจ ต่อมานางคลอดบุตรชาย
คนหนึ่ง จึงได้รับการยกย่องจากบิดามารดาและญาติสามี แต่ลูกชายนางก็ตายเสียขณะที่วิ่งเล่นได้ นางจึงเป็นบ้าเพราะความเศร้าโศก อุ้มร่างลูกชายที่ตายแล้ว ตระเวนไปทั่ว
พระนคร ร้องขอยาสำหรับบุตรของตน ชายคนหนึ่งได้แนะนำให้นางไปขอยาจากพระศาสดา นางก็ไปขอพระศาสดาตรัสว่า จงนำเมล็ดผักกาดหยิบมือหนึ่งมาจากเรือนที่ไม่เคยมี
คนตาย นางดีใจมาก เข้าพระนครไปที่เรือนหลังแรก ถามว่า ถ้าในเรือนนี้ไม่เคย มีใครตาย โปรดให้เมล็ดผักกาดแก่ข้าด้วยเถิด ได้รับคำตอบว่า ใครเล่าจะสามารถนับคนที่ตาย
ไปแล้วในเรือนหลังนี้ได้ นางไปเรือนหลังอื่นๆ จนถึงเย็นก็ไม่ได้เมล็ดผักกาด นางจึงได้สติคิดว่า เราสำคัญว่าลูกชายของเราเท่านั้นตาย ก็ในบ้านทุกหลัง คนที่ตายมากกว่าคนเป็น
คิดแล้วก็สลดใจคลายความโศกลง
          จากนั้นก็ออกไปนอกเมือง ทิ้งศพลูกชายไว้ที่ป่าช้าผีดิบ แล้วกล่าวว่า ความไม่เที่ยงมิได้เกิดกับชาวชนบท ชาวพระนคร หรือสกุลใดสกุลหนึ่งเท่านั้น หากเกิดกับชาวโลก
ทั้งหมดรวมทั้งเทวโลกด้วย แล้วนางก็กลับไปเฝ้าพระศาสดา

ภาพจาก Web Site
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/103/29103/images/20081017210425.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-5-58
          พระองค์ตรัสถามว่า เธอได้เมล็ดผักกาดหยิบมือหนึ่งแล้วหรือ นางตอบปฏิเสธ พระศาสดาจึงตรัสว่า เธอเข้าใจว่าบุตรของเราเท่านั้นตาย ความตายเป็นธรรมยั่งยืนสำหรับ
สัตว์ทั้งหลาย แล้วตรัสว่า มฤตยูย่อมพาชนผู้มัวเมา ในบุตรและสัตว์เลี้ยงผู้มีใจฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ไป ดุจห้วงน้ำใหญ่พัดพา ชาวบ้านผู้มัวหลับไหลไปฉะนั้น เมื่อจบพระดำรัส
นางได้เป็นพระโสดาบัน ต่อมาก็บวชเป็นภิกษุณี
          นางกิสาโคตมีถูกความโศกครอบงำอย่างหนัก หากพระพุทธเจ้าตรัสบอกนางว่าไม่มียารักษาบุตรของนางที่ตายแล้ว นางก็คงไม่เชื่อพระองค์จึงตรัสให้นางไปหาเมล็ด
ผักกาดจากบ้านที่ไม่เคยมีคนตาย เมื่อมีความหวังว่าจะได้ยามารักษาบุตร นางก็ดีใจ แต่เมื่อตระเวนไปตามบ้านต่างๆ จนได้รับทราบความเป็นจริงของชีวิต ก็สลดใจและฉุกคิด
ได้ว่า ทุกคนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ใช่บุตรของตนเท่านั้นที่ตาย เมื่อคิดได้อย่างนี้ย่อมคลายความโศกได้

หากน้ำตา เป็นน้ำยา ชุบชีวิต เชิญญาติมิตร ครวญคร่ำ รำพันหา
กี่ศพแล้ว ที่รด หยดน้ำตา ไม่เห็นฟื้น คืนกายา ดังตั้งใจ
         
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-12-22 09:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
โลกนี้เป็นโลกของความทุกข์ เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการแก่ การเจ็บ และการตาย  สิ่งเหล่านี้คนโดยมากพอใจกันนักหรือ เปล่าเลย แต่แม้จะไม่พอใจ  ก็จำต้องเป็นไปอยู่นั่น
เอง เพราะเมื่อมีเกิด สิ่งเหล่านี้ก็ติดตามมา  แล้วก็เป็นทุกข์ เพราะพยายามจะฝืน  ธรรมดาของโลกเป็นเช่นนี้เอง
          สรรพสิ่งเปลี่ยนแปรอยู่ทุกขณะ  ไม่มีอะไรคงอยู่ในสถานะเดิม สภาพเก่าสิ้นไป สภาพใหม่มาแทน หากเมื่อวานยังคงอยู่  วันนี้จะมีได้หรือ ถ้าคน สัตว์เกิดมาแล้วไม่ตาย โลก
วันนี้ก็จะคับแคบแน่นขนัด  และคงไม่เป็นสภาพที่น่าอยู่ คนที่อยู่ค้ำฟ้าคงจะแก่คร่ำคร่าน่าชัง  วิถีทางธรรมชาติเป็นเช่นนี้  การเกิดแก่เจ็บตายเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว
          ความสุขในโลกเปรียบเหมือนความฝันและของขอยืมเขามาทรัพย์สมบัติ  ข้าวของเงินทองหมดทั้งสิ้นไม่ใช่ของเรา เป็นของกลางสำหรับแผ่นดิน ตายแล้ว ทิ้งหมด  เอาไป
ไม่ได้ อย่าหลงมัวเมาไปเลย แต่ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้ เป็นของเราแท้ๆ  หนีไม่พ้น
          โลกธรรม คือ ธรรมดาของโลกนี้ มีอยู่ ๘ ประการคือ ลาภ ยศ  สรรเสริญ สุข และ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ สี่ข้อแรกน่าชื่นชมยินดี  ทุกคนอยากมี อยากได้  สี่ข้อหลัง
ไม่น่ายินดีไม่มีใครปรารถนาแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น กล่าวคือเมื่อมีลาภ  พอถึงคราวลาภก็เสื่อม มียศแล้วก็มีเสื่อมยศ ดังนั้น ท่านจึงสอน  มิให้มัวเมากับโลกธรรมฝ่ายที่น่ายินดี  และ
ไม่ให้ทุกข์โศกเกินไปเมื่อถึงคราว
          คนเราเมื่อเกิดมาก็แต่ตัวเปล่า  มิได้มีผู้ใดนำเอาทรัพย์สินหรือเครื่องประดับ สักชิ้นติดตัวมาเลย เมื่อยามจะตาย  ทุกคนก็ต้องทิ้งสมบัติที่หามาด้วยความเหนื่อยยากไว้
เบื้องหลัง  จะมีผู้ใดนำสมบัติแม้แต่ชิ้นเดียวติดตัวไปก็ไม่มี  เมื่อทรัพย์สมบัติทั้งหลายมีภาวะความจริงเป็นอย่างนี้  บุคคลก็ไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นของตนแต่ผู้เดียว เขาควรคิดอยู่เสมอ
ว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของโลก ส่วนที่อยู่ในความครอบครองของเขา  เป็นเพียงการยืมมาใช้ชั่วคราวเท่านั้น
ภาพจาก Web Site
http://1.bp.blogspot.com/-w9Ag4WNEGec/UkGWrrEEB9I/AAAAAAAAAUo/wL__jei9dBU/s1600/คลายโศก.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-5-58
เรื่องราวที่นำมาเสนอนี้  เป็นพุทธวิธีซึ่งมีประสิทธิภาพในการระงับหรือคลายความโศก  จัดเป็นธรรมโอสถขนานเอกสำหรับถอนพิษของความโศก  แม้พุทธวิธีคลายโศกเหล่า
นี้ทำให้คลายความโศก คือมุ่งเตือนสติให้ยอมรับความจริง  ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ทุกคนพิจารณาเนืองๆ มี ๕ ประการ  คือ
          ๑. เราจะต้องแก่เป็นธรรมดา จะไม่แก่ไม่ได้
          ๒. เราจะต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะไม่เจ็บไข้ไม่ได้
          ๓. เราจะต้องตายเป็นธรรมดา จะไม่ตายไม่ได้
          ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
          ๕. เรามีกรรมเป็นของเฉพาะตน เมื่อทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม  เราจะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น
          ความจริงเหล่านี้เกิดขึ้นกับทุกคน  ไม่ใช่เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว ทุกคนต้องแก่เจ็บตาย  ทุกคนต้องพลัดพรากจากคนรักและของรัก ทุกคนต่างมีกรรมเป็นของเฉพาะตน
ทั้งนั้น  สิ่งเหล่านี้ย่อมจริงแท้ แน่นอน ไม่มีวันกลับกลายเป็นอื่นไป  ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ คนเราจะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่พลัดพราก  เพราะไม่ยอมรับรู้ ไม่ยอมพูดถึง
หรือเพราะกลัวความแก่ ความเจ็บ ความตาย  ความพลัดพราก ก็หาไม่ เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล เวทมนตร์ คาถาอาคม  พิธีต่ออายุ การสะเดาะเคราะห์ ทรัพย์ ยศ อำนาจ
อาหาร เสื้อผ้าอาภรณ์  เครื่องสำอาง ยารักษาโรค ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ... ฯลฯ  จะช่วยเหลือหรือป้องกันคนเราให้พ้นไปจาก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความ
พลัดพราก  ก็หาไม่ ดังนั้น จึงไม่ควรกลบเกลื่อน หรือหลีกหนีความจริงเหล่านี้  เพราะมีแต่ทำให้ทุกข์โศกมากยิ่งขึ้น ควรหันมาเผชิญหน้ากับความจริง เหล่านี้  และทำใจให้ยอมรับ
ว่า สิ่งที่จะต้องเป็นไป ย่อมเป็นไป  ใครเล่าจะห้ามได้
          เรื่องราวที่นำมาเสนอนี้จะช่วยให้ยอมรับความจริงเหล่านี้  ได้ดีขึ้น ความโศกจะลดลงมากน้อยเพียงใด  ขึ้นกับว่าเรายอมรับความจริงเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน  ยิ่งพิจารณา
ความจริงเหล่านี้บ่อยเพียงไร  จิตก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อความโศกมากขึ้นเพียงนั้น ดังนั้น  พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ทุกคน ไม่ว่า บุรุษ สตรี ชาวบ้านหรือนักบวช  ให้พิจารณาบ่อยๆ
ผู้ที่ยอมรับความจริง เหล่านี้  จึงจะทุกข์โศกน้อยลงหรือไม่ทุกข์โศกเลย  เมื่อเผชิญกับเรื่องที่น่าทุกข์โศก

อันคืนวัน พลันดับ  ลงลับล่วง ท่านทั้งปวง อุตส่าห์สร้าง ทางกุศล
แก่ลงแล้ว รำพึง ถึงตัวตน อายุคน  นั้นไม่ยืน ถึงหมื่นปี



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

ธมฺมวฑฺโฒ ภิกฺขุ ,พุทธวิธีคลายโศก ,(เดือนสิงหาคม ๒๕๔๕)



ที่มา..http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-58(500)/page1-10-58(500).html
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้