|
ผงเจ้าสัวยี่กอฮง - ปี่เซียะเจ้าทรัพย์
ยี่กอฮง เป็นชื่อของ รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) มีชื่อจีนว่า "ยี่กอฮง" หรือ "ตี้ยัง แซ่แต้"
เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พ.ศ. 2392 เป็นคนเชื้อสายจีนประกอบอาชีพค้าขาย และมีตำแหน่งเป็นนายอากรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2479 รวมอายุได้ 87 ปี
ยี่กอฮงการมาอาศัยในประเทศไทย ในครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่และประกอบอาชีพค้าขาย และได้สมรสเป็นลูกเขยของคหบดีย่านตลาดสันป่าข่อย จนอายุได้ประมาณ 30 ปี ยี่กอฮงได้ล่องแพนำสินค้าลงมาค้าขายอยู่แถวบริเวณหน้าจวนของท่านเจ้าคุณโชฎึกราชเศรษฐี บริเวณวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อค้าขายได้ในระดับหนึ่ง ยี่กอฮงจึงตัดสินใจมาตั้งรกรากทำการค้าอยู่ที่พระนครโดยถาวร โดยเลือกทำเลปลูกตึกอยู่ตรงสถานีตำรวจพลับพลาชัยในปัจจุบัน
เมื่อมาประกอบอาชีพในเขตพระนครแล้ว ก็ได้มีฐานะร่ำรวยขึ้น และได้สร้างสาธารณประโยชน์ไว้อย่างมากมาย อาทิเช่น สร้างถนน สร้างดังนี้สะพานฮงอุทิศ สะพานนิยมนฤนาถ สะพานอนุวัฒนโรดม สร้างโรงเรียนวัดสะพานสูง (โรงเรียนโยธินบูรณะ), โรงเรียนป้วยเองหรือโรงเรียนเผยอิง เมื่อ พ.ศ. 2463, สร้างศาลเจ้าเก่าถนนทรงวาด, สร้างศาลเจ้าไต้ฮงกง, ก่อสร้างท่าน้ำฮั่วเซี้ยม, ริเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้า เป็นต้น ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งขึ้น โดยชักชวนเหล่าพรรคพวกเพื่อนฝูงในสมัยนั้น มาร่วมกันสร้างมูลนิธิช่วยเหลือผู้ยากไร้ตกทุกข์ได้ยากและสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากไร้ อีกทั้งยังเป็นผู้มีส่วนในการรณรงค์หาเงินเข้าสภากาชาดไทยอย่างมากมาย รวมถึงได้บริจาคเงิน 10,000 บาทในการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 9
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงทราบถึงคุณความดีและทรงพอพระทัยอย่างมาก จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระอนุวัฒน์ราชนิยม"รองหัวหมื่น กรมมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2461 และพระราชทานนามสกุล "เตชะวณิช" ตำแหน่งนายอากร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
บั้นปลายชีวิตของยี่กอฮง ได้ใช่ชีวิตอยู่ที่บ้านของท่านปัจจุบันคือพื้นที่ของสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย และได้เสียชีวิตอย่างสงบในบ้านของท่าน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2479 รวมอายุได้ 87 ปี ศพของท่านได้นำกลับไปฝัง ที่สุสานในเมืองปังโคย ประเทศจีน ขณะเดียวกันหลวงอดุลเดชจรัส ผู้เป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นมีความต้องการใช้บ้านของท่านมาเป็นโรงพักกลางแทนโรงพักสามแยกที่ถูกไฟไหม้เสียหายไป จึงทำการรื้อตัวอาคารเดิมทั้งหมดทิ้งลง แล้วสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาแทน และสร้างศาลพ่อปู่เจ้ายี่กอฮงไว้บนโรงพักแห่งนี้ด้วย
สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้เป็นเจ้าของโรงหวย ซึ่งตั้งขึ้นในยุคแรกในสมัยนั้น ทำให้มีความเชื่อว่า เจ้าพ่อยี่กอฮง เป็นเทพเจ้าแห่งหวยและการเสี่ยงโชค ตลอดจนถึงการพนันขันต่อทุกชนิด ทำให้บรรดานักเสี่ยงโชคนิยมไปบนบานสานกล่าว และขอโชคลาภจากท่าน หรือแม้แต่หารูปเคารพของท่านมาติดไว้บูชาเพื่อเสริมทางด้านการเสี่ยงโชค จากประสบการณ์และคำบอกเล่าปากต่อปากในการให้ความความสำเร็จและสมหวังทางด้านการเสี่ยงโชคทำให้ ยี่กอฮงเป็นที่ยอมรับกันจากบรรดานักเสี่ยงโชคว่าท่านเป็นเจ้าพ่อแห่งการเสี่ยงโชค ประสปการณ์บอกเล่าจากผู้ที่บูชายี่กอฮงมีบอกเล่ากันมากบางรายเล่าว่าไม่เคยถูกหวยมา 6 ปี แต่เมื่อบูชายี่กอฮงแล้วถูกหวยติดกันหลายงวด เมื่อคนที่บนขอสำเร็จได้โชคลาภมักนิยมแก้บนด้วยการนำข้าวขาหมู โอยั้ว น้ำชาดอกดาวเรือง หมากพลูบุหรี่ และซิการ์ถวาย
|
|