ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1944
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตะกรุดเสื้อยันต์

[คัดลอกลิงก์]

เกี่ยวกับ ตะกรุดเสื้อยันต์ ครูบาชุ่ม โพธิโก เมื่อสงคราวโลกครั้งที่ ๒ สงบลง ก็ถึงคราที่เกิดสงครามเวียดนามขึ้น ราวปี พ.ศ.๒๕๐๗ รัฐบาลเวียดนามใต้(โฮจิมินห์) ขอความช่วยเหลือทางการทหารและทางเศรษฐกิจจากฝ่ายประเทศเสรี ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามใต้สู้รบกับเวียดนามเหนือ(ฮานอย) เร่มตั้งแต่ปี ๒๕๐๗ โดยส่งกำลังพลไปเป็นช่วงๆ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้ส่งกำลังเพิ่มเติมในรูปกองพลอาสาสมัคร ฉายานามว่า “กองพลเสือดำ” เข้าทำการสู้รบ จำนวน ๓ พลัดๆ ละ ๑ ปี เหล่าทหารกองพลเสือดำรุ่นที่ ๑ และ ๒ จำนวนหลายสิบนาย ได้มากราบนมัสการหลวงปู่ชุ่ม เพื่อขอวัตถุมงคลไว้เป็นสิริมงคล ปกป้องคุ้มภัย หลวงปู่ได้มอบ “ยันต์ตะกรุดเสื้อ”ให้ทหารทุกนาย "ปรากฏว่า ทหารหน่วยกองพลเสือดำที่มียันต์ตะกรุดเสื้อต่างรอดพ้นจากภยันตรายกลับมาบ้านพร้อมกันทุกนาย" หลังจากนั้นมา ทหารรุ่นต่อไปที่จะออกไปรบ หลวงปู่ชุ่มจะได้รับการนิมนต์ให้ไปเป็นประธานประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่บริเวณชานชาลาสถานีรถไฟเชียงใหม่ทุกครั้ง แล้วมีเรื่องเล่ากันว่ามีสามเณรองค์หนึ่งสนใจทางด้านคาถาอาคม รู้ว่าหลวงปู่ชุ่มเก่งกล้าทางด้านนี้ จึงได้เพียรพยายามมาให้ครูบาชุ่มทำตะกรุดให้ ครูบาชุ่มเห็นเณรยังเยาว์วัยจึงผัดผ่อนไปเรื่อยมา จนหลวงปู่ทนการรบเร้าอ้อนวอนหลายครั้งหลายหนไม่ได้ จึงได้จัดสร้างตะกรุดเสื้อให้ไปหนึ่งชุด ด้วยเหตุนี้จึงเกิดตำนานของ “เสือวงศ์” ผู้เป็นน้าชายของสามเณร ขึ้นในเวลาต่อมา เสือวงศ์ ท่านใช้ตะกรุดยันต์เสื้อครูบาชุ่มติดตัวตลอด รอดพ้นจากการถูกยิงถูกล่ามานับครั้งไม่ถ้วน บั้นปลายชีวิตของท่านหลังจากเลิกเป็นโจรแล้ว ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา
วิธีการใช้ ตะกรุด : ใช้สวมที่ตัว เหมือนสวมเสื้อ หรือ ม้วนพกพาใส่กระเป๋าเสื้อ
วิธีใช้ตะกรุดยันต์เสื้ออีกอย่างหนึ่งที่ได้รับฟังมาจาก"คุณพ่อหนานปัน จินา"หลานแท้ๆของครูบาชุ่ม คือ “ตะกรุดยันต์เสื้อในสายล้านนานั้นใช้เตือนภัยล่วงหน้าได้ด้วย” คือ ถ้าเวลาสวมตะกรุดแล้วสวมเท่าไร่ก็สวมไม่ได้ เช่น สวมแล้วผิดด้านบ้าง สลับด้านบ้าง สวมกลับหัวเป็นตัวบ้าง เมื่อพยายามสวมใหม่แล้วสวมยังไงก็สวมไม่ได้ แสดงว่าตะกรุดได้เตือนภัยล่วงหน้าให้แล้ว วันนั้นอย่าออกจากบ้าน เพราะอาจมีเหตุเภทภัยหรือเรื่องเดือดร้อนรออยู่ข้างหน้า ในภาพนี้เป็นตะกรุตเสื้อของคุณพ่อหนานปัน จินา

Kญาณกีรติ กัทลีรัตน์

เรื่องเล่าขานตำนานพระเกจิฆราวาสจอมขมังเวทรย์
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้