ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1769
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กสม.ยอมรับแล้ว รบ.รัฐประหารละเมิดสิทธิ์ประชาชน ชี้กปปส.ชุมนุมไม่สงบ รธน.ไม่คุ้มครอง

[คัดลอกลิงก์]
กสม.ยอมรับแล้ว รบ.รัฐประหารละเมิดสิทธิ์ประชาชน
ชี้กปปส.ชุมนุมไม่สงบ รธน.ไม่คุ้มครอง


วันที่ 16 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558 เวลา 21:42 น.



วันที่ 16 พ.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กสม.ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวว่า กสม.ได้เข้าไปตรวจสอบการชุมนุมทางการเมืองและการใช้ความรุนแรงทางการเมือง 2 ครั้ง คือปี 2553 และปี25 56-2557 มีข้อสรุปว่าการชุมนุมทั้ง 2 ครั้ง มีปัญหาเรื่องสิทธิการรับรู้ความจริง และการยอมรับความจริงร่วมกัน แม้ว่าจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศเข้ามา แต่ยังไม่มีการถอดบทเรียนจากเหตุการณ์อย่างแท้จริง ต้องมีการจัดการการชุมนุมหรือความขัดแย้งอย่างเหมาะสมและไม่ควรใช้กฎหมายที่รุนแรง การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง หากแก้ปัญหาด้วยการทหาร ยิ่งทำให้ปัญหาขยายตัวเหมือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีการเสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่อการชุมนุมอย่างเหมาะสมตามหลักกฎหมาย รวมทั้งต้องสรุปบทเรียนว่าการที่จะทำให้ประเทศไทยไม่ตกหลุมความขัดแย้ง จำเป็นต้องคิดถึงปัญหาต้นตอ เพราะประเทศไทยติดกับดักบ้านเมืองต้องการปฏิรูป ซึ่งมองไม่เห็นเค้าลางการปฏิรูปประเทศไทยจะเกิดขึ้นจริง


นพ.นิรันดร์ กล่าวอีกว่า ระยะ 1 ปีเศษที่ผ่านมา มีปัญหาการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภายใต้สถานการณ์รัฐประหาร ต้องยอมรับว่าภายใต้กฎอัยการศึกแม้จะยกเลิกไปแล้ว สังคมไทยยังมีปัญหาด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นเช่น เสรีภาพของสื่อ และนักวิชาการ เป็นต้น แม้กระทั่งการที่ประชาชนอยากมีส่วนร่วมปัญหาต่างๆในพื้นที่ เช่น ปัญหาปฏิรูปพลังงาน การจัดการทรัพยากร ก็ถูกสกัดกั้นถูกมองว่าทำลายความสงบสุข ในความเป็นจริงเป็นสิทธิของพลเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  การรายงานผลงานของกสม.มีการสรุปรายงานการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. เมื่อปี 2556-2557 ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าแม้การชุมนุมของ กปปส.และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอื่นๆ ในภาพรวมจะเป็นการใช้เสรีภาพที่เป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญ แต่ยังปรากฏว่ามีการดำเนินกิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น อาทิ กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง การปิดล้อมสถานที่รับสมัคร ส.ส. รวมถึงการปฏิบัติการปิดกรุงเทพ ซึ่งถือเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะที่เกินความจำเป็น และพบว่ามีการทำลายทรัพย์สิน การใช้สิ่งเทียมอาวุธ โดยแกนนำไม่สามารถควบคุมได้ และไม่มีการห้ามปราม ก็ถือได้ว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นความผิดเฉพาะราย ไม่กระทบกับการใช้สิทธิชุมนุมของคนส่วนใหญ่  
จากกรณีนี้ กสม.มีข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังรัฐบาล คือ รัฐต้องดูแลการชุมนุมให้เป็นไปอย่างสงบ ป้องกันไม่ให้กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกฝ่าย และรัฐควรหลีกเลี่ยงการประกาศใช้กฎหมายพิเศษเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย เพราะไม่สามารถดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงต้องมีมาตรการ กฎหมายที่เหมาะสม และรัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและ ติดตามผู้กระทำผิด ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ชุมนุม หรือบุคคลอื่น มาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม และการสลายการชุมนุมของตำรวจที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องกับหลักสากลในการสลาย ชุมนุม ขณะที่ผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุมจะต้องสร้างเจตจำนงร่วมในการชุมนุม ภายใต้หลักการรัฐธรรมนูญ ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และผู้ร่วมชุมนุมต้องใช้เสรีภาพเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1447684940



กสม.แถลงผลงาน6ปี รับกปปส.บางส่วนไม่ควรได้รับการคุ้มครองตามรธน. ชี้ปจบ.มีปัญหาเสรีภาพ

(16 พ.ย.58) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะกรรมการได้แถลงผลงานครบรอบ 6 ปี ก่อนส่งมอบให้กับชุดใหม่ โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ กล่าวว่า  กสม.ชุดนี้เข้ามารับหน้าที่เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 โดยรับคำร้องเดิมจากกรรมการชุดเก่า 1,563 คำร้อง ทำเสร็จสิ้น 1,555 คำร้อง และระหว่างเข้ารับหน้าที่เมื่อ 25มิถุนายน 2552 - 30 กันยายน 2558  มีคำร้องยื่นเข้ามาจำนวน 4,143 ทำเสร็จ 3,185 คำร้อง  และจะส่งต่อให้กสม.ชุดใหม่  จำนวน   958 คำร้อง ทั้งนี้ การทำหน้าที่ที่ผ่านมา สื่อมวลชนไม่ค่อยเข้าใจในอำนาจหน้าที่  มีทั้งชื่นชมติติงก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็อดน้อยใจไม่ได้ บางครั้งเข้าใจอำนาจหน้าที่เราผิด  ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนแต่ก็วิพากษ์วิจารณ์เรา แต่ไม่ขอเปรียบเทียบผลงานระหว่างชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 ว่าชุดใดดีกว่ากัน

ขณะที่นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ  กสม.ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวว่า  กสม.ได้เข้าไปตรวจสอบการชุมนุมทางการเมืองและการใช้ความรุนแรงทางการเมือง 2 ครั้ง คือปี 2553 และปี 2556-2557 มีข้อสรุปว่าการชุมนุมทั้ง 2 ครั้ง  มีปัญหาเรื่องสิทธิการรับรู้ความจริงและการยอมรับความจริงร่วมกัน  แม้ว่าจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศเข้ามา แต่ยังไม่มีการถอดบทเรียนจากเหตุการณ์อย่างแท้จริง  ต้องมีการจัดการการชุมนุมหรือความขัดแย้งอย่างเหมาะสมและไม่ควรใช้กฎหมายที่รุนแรง  การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง หากแก้ปัญหาด้วยการทหาร ยิ่งทำให้ปัญหาขยายตัวเหมือน3จังหวัดชายแดนภาคใต้  จึงมีการเสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่อการชุมนุมอย่างเหมาะสมตามหลักกฎหมาย  รวมทั้งต้องสรุปบทเรียนว่าการที่จะทำให้ประเทศไทยไม่ตกหลุมความขัดแย้ง จำเป็นต้องคิดถึงปัญหาต้นตอ  เพราะประเทศไทยติดกับดักบ้านเมืองต้องการปฏิรูป ซึ่งมองไม่เห็นเค้าลางการปฏิรูปประเทศไทยจะเกิดขึ้นจริง

นพ.นิรันดร์ กล่าวอีกว่า ระยะ 1 ปีเศษที่ผ่านมา  มีปัญหาการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภายใต้สถานการณ์รัฐประหาร  ต้องยอมรับว่าภายใต้กฎอัยการศึกแม้จะยกเลิกไปแล้ว สังคมไทยยังมีปัญหาด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นเช่น  เสรีภาพของสื่อ และนักวิชาการ เป็นต้น แม้กระทั่งการที่ประชาชนอยากมีส่วนร่วมปัญหาต่างๆในพื้นที่ เช่น  ปัญหาปฏิรูปพลังงาน การจัดการทรัพยากร ก็ถูกสกัดกั้นถูกมองว่าทำลายความสงบสุข  ในความเป็นจริงเป็นสิทธิของพลเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  การรายงานผลงานของกสม.มีการสรุปรายงานการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. เมื่อปี 2556-2557 ที่ผ่านมา  โดยเห็นว่าแม้การชุมนุมของ  กปปส.และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอื่นๆในภาพรวมจะเป็นการใช้เสรีภาพที่เป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญ  แต่ยังปรากฏว่ามีการดำเนินกิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น อาทิ  กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง การปิดล้อมสถานที่รับสมัคร ส.ส. รวมถึงการปฏิบัติการปิดกรุงเทพ ซึ่งถือเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะที่เกินความจำเป็น  และพบว่ามีการทำลายทรัพย์สิน การใช้สิ่งเทียมอาวุธ โดยแกนนำไม่สามารถควบคุมได้ และไม่มีการห้ามปราม  ก็ถือได้ว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นความผิดเฉพาะราย  ไม่กระทบกับการใช้สิทธิชุมนุมของคนส่วนใหญ่  

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีนี้  กสม.มีข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังรัฐบาล คือ รัฐต้องดูแลการชุมนุมให้เป็นไปอย่างสงบ  ป้องกันไม่ให้กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกฝ่าย  และรัฐควรหลีกเลี่ยงการประกาศใช้กฎหมายพิเศษเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย  เพราะไม่สามารถดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงต้องมีมาตรการ กฎหมายที่เหมาะสม  และรัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและ ติดตามผู้กระทำผิด  ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ชุมนุม หรือบุคคลอื่น มาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม  และการสลายการชุมนุมของตำรวจที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องกับหลักสากลในการสลาย ชุมนุม  ขณะที่ผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุมจะต้องสร้างเจตจำนงร่วมในการชุมนุม ภายใต้หลักการรัฐธรรมนูญ  ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และผู้ร่วมชุมนุมต้องใช้เสรีภาพเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447677621

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้