ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3918
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับความเชื่อของคนสุพรรณ

[คัดลอกลิงก์]
วัดมะนาวจ.สุพรรณบุรี

"หลวงพ่อวัดมะนาว"พระพุทธรูปใหญ่คู่เมืองสุพรรณบุรี ประดิษฐาน ณ วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี  หลวงพ่อวัดมะนาวมีพุทธศิลปะที่ไม่เหมือนใครด้วยผู้จัดสร้างตามจินตนาการ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวัดที่สร้างจากไม้เป็นทรงไทยหมู่ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อายุไม่น้อยกว่า 140-150ปี เนื้อองค์หลวงพ่อวัดมะนาวมีการสร้างจากปูนซีเมนต์จากต่างประเทศในสมัยนั้นผสมมวลสารชนิดต่างๆ เข้าไป และในองค์หลวงพ่อวัดมะนาวยังมีพระเครื่องจำนวนมากมายอยู่ด้านในองค์และใต้ฐานหลวงพ่อวัดมะนาวมีความสูง 6 เมตร หน้าตักกว้าง 5 เมตร มีสีทองทั่วองค์พระพุทธรูป ซึ่งเนื้อองค์พระมีความแข็งแรงมาก
           ชาวบ้านเล่ากันว่ามีโจรมาพยายามขุดเพื่อจะเอาพระในหลวงพ่อวัดมะนาว แต่ไม่สามารถขุดและเจาะเข้าไปได้ และประดิษฐานอยู่ที่บริเวณหน้าวัดกลางแจ้งซึ่งมีการสร้างพุทธกุฏิ กว้าง 12 เมตร ยาว 24 เมตรสร้างด้วยไม้สักเป็นฝาทรงไทย ไม้ประดู่ทำพื้น และไม้ตะเคียนทำโครงสร้างครอบหลวงพ่อวัดมะนาวไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้าสักการะหลวงพ่อวัดมะนาว ดำเนินการสร้างเมื่อปี 2549 สร้างเสร็จเมื่อปลายปี 2551 ใช้เวลาในการสร้าง 1ปี 6 เดือน ด้วยงบประมาณกว่า 12 ล้านบาท และมีการเปิดให้ประชาชนเดินทางเข้ากราบไหว้ได้แล้วในขณะนี้
สำหรับ หลวงพ่อวัดมะนาวชาวบ้านเชื่อถือกันว่าหญิงสาวสตรีที่มีครรภ์คนใดได้ดื่มกินหรืออาบน้ำมนต์หลวงพ่อวัดมะนาว จะทำให้คลอดบุตรง่ายปลอดภัยทั้งแม่และบุตร เด็กที่คลอดออกมามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เลี้ยงง่ายไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
       ชาวบ้านเชื่อกันว่า ผู้ใดเดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อวัดมะนาวแล้วบ้านเรือนที่อาศัยจะไม่เกิดไฟไหม้อย่างเด็ดขาดบางรายขอให้การงานก้าวหน้า ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเมื่อสมประสงค์ดังใจหมายจะมีการนำภาพยนตร์หนังกลางแปลงลิเก จัดหมากพลู ขนมต้มขาว ต้มแดง มาถวาย เพื่อแก้บน


วัดมะนาวเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักสะสมนิยมพระเครื่องและเซียนพระทั่วไปเนื่องจากชื่อของหลวงพ่อโบ้ย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี ผู้มากด้วยเมตตาธรรมมักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลังอาคมที่แก่กล้า นามของท่านจึงขจรขจายไปไกลทั่วภาคกลางเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในด้านพุทธคุณ และประสบการณ์มากมายให้ประจักษ์ เลื่องลือกันมาช้านานแล้วในอดีตพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย ไม่ได้รับความสนใจจากนักสะสมพระเครื่องเท่าที่ควร เพราะจำนวนพิพม์และจำนวนพระมีมากทำให้เสาะหามาสะสมได้ไม่ยากนัก  แต่ในปัจจุบันหาเป็นเช่นนั้นไม่จำนวนพระเครื่อง ของหลวงพ่อโบ้ยได้ร่อยหรอและหายากขึ้นมิได้เป็นพระราคาเยาวชนเหมือนในอดีต แต่กลับกลายเป็นพระที่มีความนิยมกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นหลวงพ่อโบ้ยเกิดเมื่อปี ๒๔๓๕ (ปีมะโรง) ไม่ทราบวันเดือนที่แน่ชัด ณ บ้านสามหมื่น ต.บางปลาม้าอ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โฉมศรี ส่วนโยมมารดาไม่ทราบชื่ออาชีพทำนาต่อมาเมื่อปี ๒๔๕๖ อายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็กอ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ศึกษาพระธรรม และจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว ได้ราว ๓ พรรษา จึงได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านพระธรรมวินัยและอักขระขอม ที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ธนบุรี เมื่อปี๒๔๕๙ จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อด้านวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดอมรินทร์โฆสิตาราม เป็นเวลา๘-๙ ปี จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาว ในปี ๒๔๖๖ และในปีถัดมาจึงได้มีโอกาสไปศึกษาต่อวิชาวิปัสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเวลา ๑ พรรษาจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาวต่อไป

                 หลวงพ่อโบ้ยเป็นพระที่ถือสมถะ สันโดษ มักน้อยไม่สะสมทรัพย์สมบัติใดๆ ได้รับกิจนิมนต์ไป โปรดญาติโยม ไปสวดมนต์ ไม่ว่าที่ใด หากญาติโยมถวายเงินปัจจัยเป็นจำนวนมากๆท่านจะ ไม่ยอมรับไว้ เหตุนี้ท่านจึงไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ทั้งไม่รับครองผ้ากฐินวัตรปฏิบัติของท่านที่ทำเป็นประจำคือท่านจะตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน และทำวัตรสวดมนต์ จนกระทั่งรุ่งเช้า จึงออกไปบิณฑบาตเมื่อกลับมาถึงวัดท่านจะนิมนต์ พระทุกรูปในวัดยืนเข้าแถว แล้วจะตักข้าวในบาตรของท่านถวายแด่พระทุกรูปเป็นเช่นนี้ประจำอยู่ทุกวันดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับการสร้างวัตถุมงคลแจกฟรีโดยไม่ยอมรับปัจจัยเด็ดขาด จึงนับได้ว่าท่าน เป็นพระผู้สละแล้วซึ่งทุกสิ่ง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่๑๘ มกราคม ๒๕๐๘ พระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย มีมากมายหลากหลายพิมพ์ให้ศึกษา สะสมส่วนมากที่พบมักจะเป็น พระเนื้อโลหะผสม โดยสร้างล้อพิมพ์ต่างๆ จากพระเก่า พระกรุ และพระเกจิอาจารย์ที่ท่านนับถือและมีชื่อเสียงในอดีต เช่นที่เป็นพิมพ์พระกรุ ได้แก่ พิมพ์ลีลา พิมพ์ขุนแผน(จักรนารายณ์) พิมพ์มเหศวร พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น ส่วนพิมพ์ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆได้แก่ พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ พิมพ์ขี่ครุฑ (หลวงพ่อปาน)พิมพ์สร้อยสังวาลย์ พิมพ์งบนํ้าอ้อย พิมพ์นางกวัก พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระปิดตาพิมพ์นาคปรก และพิมพ์อื่นๆ อีกมากที่ได้รับการยอมรับเป็นพิมพ์มาตรฐานในการเล่นหาและสะสม พระเครื่องรุ่นแรกของหลวงพ่อโบ้ย จัดสร้างเมื่อประมาณปี ๒๔๗๓ เป็นพระเนื้อโลหะผสมโดยกระแสหลักคือทองเหลือง โดยมากเป็นฝาบาตร ขันลงหิน ช้อนทัพพี เชี่ยนหมาก เงินและทองคำที่ชาวบ้านและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญถวายเพื่อสร้างพระเครื่องดังนั้นพระของท่านจึงมีเนื้อหาหลายกระแส เช่น เนื้อขันลงหิน บางองค์เป็นเนื้อสำริดแก่เงินและบางองค์ก็เป็นสำริดแก่ทอง สีสันและผิวพรรณจะไม่เท่ากันทุกองค์ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากพิมพ์ทรงเป็นสำคัญ

                        พระเครื่องหลวงพ่อโบ้ยกลายเป็นวัตถุมงคลยอดนิยม ที่มีราคาเช่าบูชาไม่แพงแต่พุทธคุณยอดเยี่ยม โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดปลอดภัย, คงกระพันชาตรี วัตถุมงคลหลวงพ่อโบ้ยมีประสบการณ์มากมาย เล่าลือกันว่า เคยมีคนโดนยิงตกน้ำยังไม่เข้ามีเพียงแต่รอยไหม้เท่านั้น และอีกรายยิงต่อสู้กับโจรปล้นบ้าน ถูกยิงอย่างแรงจนหงายหลังแต่กระสุนปืนไม่ระคายผิว ชาวสุพรรณฯ ต่างโจษขานเรื่องนี้กันไปทั่ว

ภาพบรรยากาศวัดมะนาว

















2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-11-1 15:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศาลหลักเมือง
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ที่ตั้ง
          ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณสุพรรณบุรี บนถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

สาระสำคัญ
ชาวสุพรรณนิยมเรียกศาลหลักเมืองว่า "ศาลเจ้าพ่อหรือศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"
อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน เดิมเป็นศาลไม้ทรงไทยมีเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์สวมหมวกเติ๊ก(หมวกทรงกระบอก) สลักด้วยหินสีเขียว  ปัจจุบันได้สร้างศาลเป็นรูปวิหารและเก๋งจีน  เจ้าพ่อหลักเมืองนี้เป็นพุทธประติมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน แบบศิลปเขมรอายุราว พ.ศ.1185–1250 หรือประมาณ 1,300-1,400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือที่เรียกกันว่า พระนารายณ์สี่กร เป็นที่สักการะบูชาทั้งชาวไทยและชาวจีน ตามประวัติกล่าวว่า ประมาณ 150 ปีมาแล้วมีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินจมโคลนอยู่ริมคลองศาลเจ้าพ่อ  จึงได้ช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบนพร้อมกับสร้างศาลเป็นที่ประทับ  ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จทรงกระทำพิธีกรรมเจ้าพ่อหลักเมืองและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานสำหรับคนบูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลออกมาเป็นเก๋งแบบจีน  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์กับเจ้าพระยายมราช ทรงสนพระทัยในการปรับปรุงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเมื่อในราว พ.ศ. 2480 ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของจีน  มีการสร้างกำแพงล้อมเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีประตูเข้าด้านหน้า มีศาลาพักคนบูชา และปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้ปรับปรุงซ่อมแซมศาลหลักเมืองใหม่ และยังคงรูปแบบอาคารซึ่งเป็นอาคารทรงไทยไว้ภายในอาคารทรงตึกซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมแบบจีนอีกด้วย หลังจากนั้นก็มีการซ่อมแซมก่อสร้างเรื่อยมาจนปัจจุบันและกำหนดเป็นประเพณีบวงสรวงศาลหลักเมืองหรือ "ปูนเถ้าก๋ง" ขึ้นเป็นการประจำปีในทุกวันที่ 18 เดือน 7 หลังวันสารทจีนตามปฏิทินจีน เรียกว่า งานทิ้งกระจาด เป็นคติพุทธมหายาน ถือเป็นการเจริญเมตตาธรรมแก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้คนในตลาดจะนำเครื่องอุปโภคบริโภคมาแจกจ่ายเป็นทานแก่ผู้ยากจน และได้ปฏิบัติประเพณีนี้อย่างยิ่งใหญ่สืบเนื่องกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน

การขึ้นทะเบียน
         กรมศิลปากรได้ ประกาศ ขึ้นทะเบียนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี    ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม  พ.ศ. 2478


ภาพบรรยากาศศาลหลักเมือง


















3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-11-1 15:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร


วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
เดิมชื่อ วัดลานมะขวิด เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้าน คู่เมืองที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรมาแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724 ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนพระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอนต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 7-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12
  ตรงข้ามวิหารวัดมีร้านขายสินค้าที่ระลึกพื้นเมืองหลายร้านให้แวะเลือกซื้อ ด้านหลังวัดมี “คุ้มขุนช้าง” ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามบทพรรณนาเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นฉากภาพวาดตัวละครขุนช้างสำหรับให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปเป็นที่ระลึก บนเรือนแต่ละห้องมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีตู้จัดแสดงภาชนะเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆไม่ว่าจะเป็นฉากกั้นหรือถ้วยโถโอชามเก่าแก่แบบต่างๆ


ภาพบรรยากาศภายในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร


                                      
















แผนที่ไปวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร




4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-11-1 15:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพระลอย
วัดพระลอย มงคลแห่งปาฏิหาริย์บุญบารมี พระนาคปรกสมัยลพบุรี อายุกว่า ๘๐๐ ปี

                ตั้งอยู่ที่ ต.โพธิ์พระยา เป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ภายในวัดมีวิหารลักษณะเลียนแบบสถาปัตยกรรมพม่าที่มีความงดงามแปลกตา ด้านหลังวัดยังมีหอไตรกลางน้ำ ตู้พระธรรม และยังมี อุทยานมัจฉา
               สาเหตุที่สร้างวัดนี้น่าจะมาจากที่มีพระพุทธรูปปางนาคปรกเนื้อหินทรายขาวลอยมาตามแม่น้ำท่าจีน(แม่น้ำสุพรรณ) จึงได้ทำพิธีอาราธนาขึ้นมาจากแม่น้ำ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ที่ปรักหักพังสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทางวัดได้ปฏิสังขรณ์โดยสร้างโบสถ์ใหม่ครอบ และยังมีอุโบสถจตุรมุขใหญ่ สูงเด่น สง่างาม ประดิษฐานพระพุทธนวราชมงคล สวยงามมาก และมีพระพุทธรูปเนื้อหินทรายปางต่างๆ เก่าแก่มาก
สมเด็จนางพญา ของหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี อายุของสมเด็จนางพญาองค์นี้ น่าจะอยู่ในราว 60-90 ปี สัณนิษฐานจากคำบอกเล่าของเจ้าของเดิม เป็นพระผงมวลสารสีดำ ขนาดประมาณ 1/2*1 นิ้วพุทธคุณของสมเด็จนางพญามีในด้านเมตตามหานิยม เสริมส่งบารมี ผู้คนยกย่องนับถือ ทั้งหญิงชายใช้ได้ ไม่ใช่พระสำหรับผู้หญิง


สิ่งศักดิ์สิทธิ์ – ความเชื่อ
อุทยานมัจฉา
                เชื่อกันว่าสักการะแล้วขอพร “ให้มีมงคลแห่งปาฏิหาริย์ เสริมบุญบารมี มีความสุข รุ่งเรืองสว่างไสวงดงาม” จะสักการะด้วย ดอกไม้ ธูปเทียนบูชา
ความหมายของปลาที่ปล่อยปล่อยเต่า                             เพื่อต่อชะตาเพิ่มอายุให้ยืดยาว สุขภาพแข็งแรงปล่อยนก                               เพื่อขอโชคขอลาภ เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดี และพบแต่สิ่งที่ดีในชีวิตปล่อยปู                                 เพื่อให้มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู เจริญก้าวหน้าปล่อยหอยคม                      เพื่อไม่ให้ชีวิตขื่นขมและขมขื่นปล่อยปลาไหล                    เพื่อธุรกิจการเงิน การงาน ความรัก ราบรื่น ไหลรื่นปล่อยปลาบู่                          เพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ และปู่ ย่า ตา ยายปล่อยปลาสวาย                  เพื่อขอโชคขอลาภปล่อยปลาดุก                       เพื่อขอให้มีบริวารและมิตรที่ดีปล่อยปลาหมอ                    เพื่อขอให้มีสุขปล่อยปลาช่อน                    เพื่อให้ช้อนเงิน ช้อนทองเข้าบ้านปล่อยกบ                               เพื่อให้หมดศัตรูคู่แข่งในทุกๆด้านและเพื่อปลดปล่อยกรรมเก่าของตนเองหมายเหตุ·       ปล่อยตามกำลังวันเกิด จะทำให้ดวงชะตาสูงยิ่งๆขึ้นไป·       ปล่อยปลา 99 ตัว จะทำให้หมดทุกข์ หมดโศก หมดโรค หมดภัย เริ่มต้นชีวิตใหม่พบแต่สิ่งที่ดีๆ และมีโชคลาภตลอดไป ปล่อยปลาตามกำลังวันเกิด                                วันจันทร์                               15                           ตัว                                วันอังคาร                              8                             ตัว                                วันพุธ (กลางวัน)                17                           ตัว                                วันพุธ (กลางคืน)                12                           ตัว                                วันพฤหัสบดี                        19                           ตัว                                วันศุกร์                                   21                           ตัว                                วันเสาร์                                  10                           ตัว                                วันอาทิตย์                              6                              ตัว คำอธิฐานปล่อยปลาและปล่อยนก                ข้าพเจ้าชื่อ............................นามสกุล.........................ปล่อยเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ศัตรูหมู่มารทั้งหลาย ทั้งเจ้ากรรมนายเวร จงเอาสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย และเสนียดจัญไร ทั้งหลายทั้งปวง ปัดเป่าออกจากตัวข้าพเจ้า และครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร ได้โปรดอโหสิกรรม สิ่งที่ข้าพเจ้าเคยล่วงเกิน ไม่ว่าจะเป็นอดีตชาติที่ผ่านมา หรือภพภูมิปัจจุบัน ขอให้สิ้นสุดในวันนี้ จากที่ข้าพเจ้าได้ปล่อยปลาทั้งหลายทั้งปวงลงในแม่น้ำ ขอให้ชีวิตของข้าพเจ้าและครอบครัว พบกับความร่มเย็นเป็นสุขยิ่งๆ ขึ้นไปคาถาปล่อยปลา                                                พุทธังอนันตัง                      ธัมมังครอบจักรวาล                                                สังฆังนิพพานัง                   นะปัจจะโยโหตุ

ภาพบรรยากาศวัดพระลอย

















5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-11-1 15:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่

มีตำนานเกี่ยวกับสระศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ว่า มีเจ้าผู้ครองนครองค์หนึ่งมีพระราชธิดา 4 พระองค์ทรงพระนามว่า แก้ว คา ยมนา เกศ ทุกพระองค์มีพระสวามีแล้ว แต่องค์สุดท้องคือเกศมีพระสวามีเป็นลิงเผือก ต่อมาเจ้าผู้ครองนครได้สั่งพระราชธิดา และพระราชบุตรเขยว่า ถ้าใครสามารถขุดสระได้ลึกและกว้างที่สุด จะมอบพระขรรค์ศักดิ์สิทธิ์และให้ครองนครต่อไป ดังนั้นทุกคนจึงเริ่มต้นขุดสระ ส่วนน้องเกศน้องคนสุดท้องต้องขุดอยู่คนเดียว อีกทั้งตอนถึงเวลากลางคืน พี่สาวทั้ง 3 และพี่เขยยังเอาดินมาถมสระอีก ครั้นถึงวันสุดท้ายลิงเผือกกับบริวารมาช่วยกันขุดสระพักเดียวก็ได้สระที่ กว้างและลึกที่สุดกว่าทุกๆสระ และยังปลูกต้นเกศไว้ตรงกลางสระเป็นเครื่องหมายอีกด้วย ครั้งถึงรุ่งเช้าตามกำหนด เจ้าผู้ครองนครก็สวรรคตบรรดาเสนาอำมาตย์จึงตั้งกรรมการมาตรวจดูสระทั้งสี่ ปรากฏว่าสระของเกศกว้างใหญ่และลึกที่สุด จึงมองพระขรรค์ให้เกศ ทำให้พี่สาวและพี่เขยไม่พอใจ จึงลักเอาพระขรรค์ศักดิ์สิทธิ์หนีไป ลิงเผือกจึงขี่ม้าติดตามออกไปจนทันที่สระของเกศ เมื่อพี่สาวและพี่เขยเห็นจวนตัวจึงขว้างพระขรรค์ลงไปในสระของเกศ บังเอิญถูกตัดต้นเกศขาดสะบั้นลง และพระขรรค์ก็อันตรธานหายไป น้ำในสระจึงกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สระ ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในเขตตำบลสระแก้ว ริมถนนสายดอนเจดีย์-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 322) กิโลเมตรที่ 7-8ตรงข้ามทางเข้าสวนนกท่าเสด็จ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาทอดพระเนตรสระศักดิ์สิทธิ์ที่ตำบลนี้ จึงเป็นเหตุให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านท่าเสด็จ สระศักดิ์สิทธิ์เดิมพบเพียง 4 สระ คือ สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ต่อมาพบอีก 2 สระ คือ สระอมฤต 1 และสระอมฤต 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “แต่เหตุไฉนที่สระนี้ขลังนักไม่ปรากฏ คงจะมีตัวครูบาที่สำคัญเป็นอันมาก น้ำในสระก็ไม่ใช้ ปลาในสระก็ไม่กิน สระมีหญ้าขึ้นรกเต็มไปหมด มีจระเข้อาศัยอยู่ทั้งสี่สระน้ำสระคา สระยมนา ไม่สู้สะอาด มีสีแดง แต่น้ำสระเกษ สระแก้วใสสะอาด” น้ำในสระทั้งหมดนี้ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราช พิธีสระน้ำมูรธาภิเษกตามลัทธิพราหมณ์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนจัดตั้งสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นโบราณสถานไว้




ภาพสระศักดิ์สิทธิ์











         


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-11-1 15:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-11-1 15:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อจักรเพชร วัดเขาดิน


หลวงพ่อจักรเพชร
สำหรับองค์เจดีย์นั้นเดิมส่วนยอดปรักหักพังเหลือเพียงส่วนองค์ระฆังเท่านั้น จากคำบอกเล่าของบุคคลในท้องถิ่นและพระภิกษุในวัดดังกล่าว ทางวัดได้ทำการต่อเติมขึ้นสำหรับปักธงเพื่อใช้ในงานประจำปี ในช่วงปี 2540 ลงมา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดเขาดินเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า33/11 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และใน 2505 มีการขุดเจาะองค์เจดีย์เพื่อค้นหาโบราณวัตถุ ทั้งโดยการลักลอบและโดยทางราชการ ได้พระพุทธรูปปางต่างๆหลายองค์ อาทิเช่น พระพุทธรูปยืนสำริดกระทำวิตรกะมุทรา ศิลปะแบบอู่ทอง ปัจจุบันอยู่ในกุฏิวัดเขาดิน ขนานนามว่า “หลวงพ่อจักรเพชร” และพระพุทธรูปปางสมาธิสำริด ศิลปะแบบอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-25ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2538 กรมศิลปากรได้จ้างเหมาบริษัทโดยทำการขุดแต่งพร้อมเขียนแบบ สภาพปัจจุบันและแบบวิเคราะห์รูปทรงของเจดีย์องค์นี้



โบราณสถานวัดเขาดิน

โบราณสถานวัดเขาดิน ต.สระแก้ว อ.เมือง สุพรรณบุรี ในเขตบริเวณวัดเขาดิน เริ่มจากตัวเมืองสุพรรณบุรีไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 จนถึงบ้านอู่ยาเป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร แยกเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข322 ซึ่งเป็นถนนสายที่จะไปยังอำเภอดอนเจดีย์ต่อไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงบ้านท่าเสด็จหลังจากข้ามสะพานแม่น้ำท่าว้าจะมีป้ายบอกทางแยกเข้าสู่วัด เขาดินอยู่ทางซ้ายของถนน ปากทางเป็นที่ตั้งของสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 สระ ได้แก่ สระแก้ว สระคา สระยมนา และสระเกษ เลี้ยงเข้าไปตามเส้นทางดังกล่าวอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงวัดเขาดิน รวมระยะทางจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีถึงโบราณสถานวัดเขาดิน 16 กิโลเมตร
การตั้งวัดและเจดีย์องค์นี้ไม่ปรากฏเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ก่อ สร้างขึ้นเมื่อใด และมีเจ้าอาวาสสืบต่อกันมาแล้วกี่องค์ มีแต่คำบอกเล่ากันมาว่าเมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 นั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งของวัดเขาดินเกรงว่าพระพุทธบาทที่จำหลักด้วยไม่ที่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้จะเป็นอันตรายจึงได้ของย้ายไปซ่อนไว้ในดงไม้ ครั้นเมื่อสงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงนำพระพุทธบาทไม้จำหลักองค์นี้ไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระรูปในตัวเมือง สุพรรณบุรี และอยู่สืบทอดมาจนปัจจุบัน
กล่าวกันว่าตัวอาคารเป็น แบบศาลาโถงที่ตั้งอยู่ข้างเจดีย์โบราณนี้เคยเป็นที่ตั้งของมณฑปที่ประดิษฐาน พระพุทธบาทไม้มาก่อนจึงประมาณกันว่าอย่างน้อยวัดนี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวถึงการสร้างเจดีย์วัดเขาดินว่า มีชาย 2 คน เป็นเพื่อนกันพากันไปเที่ยวป่า แล้วได้ยินเสียงโคร้อง โดนไม่เห็นตัว จึงพากันเดินหาที่มาของเสียงดังกล่าวจนมาพบกับเขาคู่หนึ่ง และได้แบ่งกันคนละ 1 เขา คนหนึ่งนำไปบูชาออย่างดีเกิดร่ำรวยขึ้นมา จึงไปสร้างวัดให้ชื่อว่าวัดโคกโคเฒ่า ที่บ้านโคกโคเฒ่าในปัจจุบัน ส่วนอีกคนเมื่อถึงบ้านก็ทิ้งไว้ไม่สนใจกราบไหว้บูชา ครั้นไปเยี่ยมเพื่อนพบว่าเพื่อนร่ำรวยขึ้นจึงสอบถาม เมื่อได้ความก็กลับมาค้นหาเขาโคที่ทิ้งไว้ แต่ก็ไม่พบ จึงนำดินมาปั่นเขาโคขึ้นใหม่แล้วกราบไหว้


ภาพบรรยากาศ























http://manandcrea.blogspot.com/2010_09_01_archive.html
สาธุครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้