ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ที่มาของชื่ออำเภอ สามโคก ทำไมต้อง สาม?
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 4156
ตอบกลับ: 0
ที่มาของชื่ออำเภอ สามโคก ทำไมต้อง สาม?
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8069
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-10-29 17:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ที่มาของชื่ออำเภอ สามโคก ทำไมต้อง สาม? : Check in ถิ่นสยาม (ชมคลิป)
วันนี้เช็คอินถิ่นสยาม ชวนมาเที่ยวใกล้กรุงกันที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี หลายๆ คนอาจจะเคยเดินทางผ่าน แต่ไม่รู้ว่าที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง
"สามโคก"
เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี เกิดจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มอญที่อพยพหนีการกดขี่ของพม่าอังวะในสมัยกรุงศรีอยุธยา กลายเป็นแหล่งชุมชนมอญเก่าแก่ขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ บนเส้นทางเดินเรือที่จะผ่านไปออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ในอดีตชาวมอญที่นี่ยึดอาชีพผลิตเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเตาเผาจะมีลักษณะเป็นโคกดินขนาดใหญ่ ในย่านนี้พบอยู่ 3 แห่ง จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "สามโคก" นั่นเอง
จนกระทั่งสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล 2 เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก ราษฎรก็นำดอกบัวมาถวายมากมาย พระองค์จึงทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า
"ปทุมธานี"
ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันจึงปัจจุบัน
ทุกวันนี้ยังเหลือร่องรอยของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาชาวมอญสามโคกก็คือ
โบราณสถานเตาโอ่งอ่าง
แห่งนี้นี่เอง
โบราณสถานแห่งนี้ลักษณะเป็นเนินเตาเผาสามโคกตั้งเรียงรายกันซึ่งเป็นเตาบนดินก่อด้วยอิฐสอดินเหนียว ลักษณะเป็นเตาแบบระบายความร้อนผ่านแนวนอนมีรูปร่างเตา
คล้ายมะละกอผ่าซีกซึ่งภาชนะที่ขึ้นชื่อของที่นี่คือ"ตุ่มสามโคก" หรือชาวมอญเรียกว่า "อีเลิ้ง" มีเนื้อดินสีแดงส้มเหมือนสีอิฐหรือสีมันปู รูปทรงปากโอ่งแคบ ตรงกลางป่องกลม ปากและก้นโอ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน
จุดที่เราจะพลาดมาเช็คอินไม่ได้นั่นก็คือ
วัดสิงห์
ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของชุมชนมอญ จนเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสามโคก
วัดสิงห์มีทั้งโบสถ์ โกศพญากราย วิหาร กุฎิโบราณอายุกว่า 348 ปี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร และยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุศิลปะมอญ ที่มีเครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูป และของใช้เก่าแก่มากมายที่หาชมได้ยาก
ขับรถต่อมาจากวัดสิงห์อีกเพียง 10 กม.ก็มาถึง
ตลาดร้อยปีระแหง
ที่ยังคงวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิมอยู่ ตลาดระแหง ตั้งอยู่ริมคลองระแหง เคยได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ชุมชนดั้งเดิม
สองฝั่งตลาดยังเป็นห้องแถวไม้เรียงรายภายในมีบ้านของตระกูลสุทธาภิรมย์พาณิชที่มีข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณและร้านไถ่เฮงการประมงอายุกว่า90ปี ที่มีของเก่าเก็บไว้
ก่อนกลับก็แวะมาชิม
ก๋วยเตี๋ยวโบราณตาพ้ง
กันสักหน่อย คุณตาขายอยู่ที่นี่มากว่า 65 ปีแล้ว รสชาติอร่อย แถมราคาไม่เแพงเพียงชามละ 25 บาทเท่านั้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1445585567
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...