ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2014
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปราสาทวัดพู ( มรดกโลก ของ ลาวตอนใต้ )

[คัดลอกลิงก์]

เป็นพิพิธภัณทสถานที่ ซึ่งถือว่า สำคัญสำคัญที่สุดใน ลาวตอนใต้ ซึ่งได้รับการรับรองและ ขึ้นทะเบียนจาก องค์การ UNESCO เมื่อวันที่25 ธันวาคม 2545 ว่าเป็น สถานที่เมืองมรดกโลก แห่งที่สอง ของ ลาว นับจากหลวงพระบาง ตั้งอยู่บนเนิน เขาภู หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภูควาย หรือ ภูเขาควาย ห่างจากตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองไป 9 กิโลเมตร เชื่อกันว่า ปราสาทวัดพู แห่งนี้ เป็น เทวสถานขอม คล้ายกับ เขาพระวิหาร ณ ปราสาทวัดภู แห่งนี้ ได้สร้างก่อน อังกอร์วัด ประเทศเขมร ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยของพระเจ้ามเหนทรวรมัน



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-10-25 11:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ปราสาทวัดพู กับ สภาพแวดล้อม โดย รอบ ปราสาท วัดภู เป็น ภูเขาที่มีจอมภูรูปศิวลึง และมี แม่น้ำโขงหล่อเลี้ยงเบื้องหน้า มีทุ่งเพียงหรือพื้นราบอยู่ส่วนกลาง จึงสามารถตอบสนองได้ทั้งเงื่อนไข ที่อยู่อาศัยอุดม และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไปพร้อมกันชาวเมืองโบราณ จึงเสมือนได้อยู่อาศัย ภายใต้ร่มเงาและใกล้ชิดศิวเทพอย่างผาสุกกว่าถิ่นใด ปราสาทวัดภู เมืองโบราณเก่าแก่ดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงด้านทิศตะวันอกสุด ของ ปราสาทหินวัดพู เมืองนี้ถูกสร้างขึ้น ในยุคก่อน สมัยอังกอร์วัด มีหลักฐานซึ่งบ่ง คือโครงสร้างดินเผาจำนวนมากมาย มีกำแพงเมืองซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน จากภาพถ่ายทางอากาศ อาณาเขตเมืองโบราณดังกล่าว กินเนื้อที่ประมาณ ๓.๖ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงดิน ๒ ชั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เมืองนี้อาจจะถูกสร้างขึ้น เมื่อปลายศริสต์ศตวรรษที่ ๕ ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกแผ่นหนึ่งของ


     กษัตริย์ผู้ทรงพระนามว่า เทวะนิกะ ค้นพบที่บริเวณบ้านพะนอนเหนือในปัจุบัน ในพื้นที่เดี่ยวกันนั้น ยังได้พบศิลาจารึกอีก ๒ แผ่น เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๖ เป็นต้นมา ดินแดนแห่งนี้เป็นนครหลวงของแผ่นดิน พระเจ้ามะเหทะระวรมัน ซึ่งต่อมาพระองค์ ได้ย้ายไปปกครองอขตซำปอไปรกุก อยู่ห่างจาก วัดพู ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๒๔๐ กิโลเมตร นักค้นคว้าหลายท่าน ให้การสันนิษฐานว่า นครโบราณแห่งนี้คือ นครเสดถาปุระ ซึ่งได้เสียบทบาท ความสำคัญ การเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เพราะว่าบรรดาราชวงค์ได้ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้ และทำการปกครอง กลุ่มดินแดนของพวกขอมทั้งหมด จากนั้นจึงได้ตั้งอังกอร์วัดขึ้นเป็นนครหลวง กระนั้นบรรดาผู้นำขอมในยุคสมัยต่างๆ ต่อมาก็ได้ลืมรากเหง้าถิ่นกำเนิดของตน ดังปรากฏทุกรัชกาล ของกษัตริย์ขอม จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์องค์สุดท้าย) ปราสาทหินแห่งนี้ ก็ได้รับการพระราชทานทรัพย์ และส่งช่างมาบำรุงรักษา ต่อเติมปราสาทหินอย่างเป็นปกติอีกด้วย จนพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลแทนศาสนาฮินดู ทั้งใน ดินแดนเขมรและลาวส่วนนี้


     ปราสาทหินวัดพูจึงเปลี่ยนบทบาท จากฮินดูสถานกลายสภาพเป็นพุทธสถาน ถูกใช้เป็นศาสนาคารแห่ง พุทธศาสนาสืบต่อมาจนปัจุบัน โดยเฉพาะในตัวปราสาท ที่พุทธศาสนิกชนได้สร้างพระพุทธรูปไว้ด้าน ในแทนศิวลึงค์ เสมือนจะเป็น พุทธอุโบสถ และมีพระสงฆ์ปฎิบัติธรรมอยู่บนภูด้วย บริเวณนี้ทั้งหมดจึงถูกเรียกว่า วัดพู เพราะเป็นวัดทีตั้งอยู่บนภู คือ ภูเกล้านั่นเอง ท่านบุญฮ่ม จันทะมาด กับท่านเวียงแก้ว สุกสะหวัดดี (๒๐๐๐.๒๘) ได้กล่าวถึงปราสาทหินวัดพู ในงานเขียนชื่อ ไขความลึกลับเก่าแก่ของวัดพูจำปาสัก ว่า จากหลักฐานทางศิลาจารึก เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖ ได้กล่าวถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนภูว่ามีอายุร่วมสมัยเดียวกับเมืองโบราณ แต่ว่าเทวสถานได้พังทลายไปหมดแล้ว ต่อมาจึงได้มีการสร้างเทวสถานขนาดใหญ่ ทับใส่เทวสถานเดิม และมีการต่อเติมเสริมแต่งมาเรื่อยๆ จึงกล่าวได้ว่า ช่วงระยะการสร้างปราสาทหินวัดพู คือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๓-๑๓ จนครั้งหลังสุด คือปราสาทหินวัดพูที่ยังคงเหลือให้เห็นทุกวันนี้ กลุ่ม ปราสาทหิน วัดพู ได้รับการออกแบบแผนผังบนเส้นแกนตะวันออกตะวันตก



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-10-25 11:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2015-10-25 11:13

  
จากพื้นราบตัดขึ้นไปตามเชิงภูจนถึงพักชั้นบนสุดมีความสูง ๖๐๗ เมตรจากรระดับน้ำทะเล เป็นที่ตั้งขององค์ปราสาทประธาน และ หน้าผาหินทราย ที่มีน้ำไหลรินอยู่ทุกฤดูกาล จึงเชื่อว่าเป็น น้ำศักดิ์สิทธิ์ ตราบปัจจุบัน เมื่อเดินมุ่งหน้าจากจุดเริ่มต้น ด้านทิศตะวันออกไปยังปราสาทองค์ประธานชั้นบนสุด สิ่งแรกที่พบ คือ สระน้ำขนาดใหญ่ ขอบสระก่อด้วยศิลาทราย กว้าง ๒๐๐ เมตร ยาว ๖๐๐ เมตร วางตัวในแนวยาว ตามทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นสถานที่พักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน และเป็นสระกักเก็บน้ำให้ประโยชน์ได้จนถึงปัจุบัน ตามความเชื่อของ ศาสนาฮินดู หมายถึง มหาสมุทรที่ล้อมรอบโลก ถัดจากขอบสระด้านทิศตะวันตก ก่อนถึงทางเดินขึ้นสุ่ปราสาท ได้มีการสร้างศาลารับเสด็จบนฐานหินเดิม สร้างเพื่อรับเสด็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ กับ พ.ศ.๒๕๑๑ รวมทั้งไว้ต้อนรับเจ้านายชั้นสูง เมื่อมาทำบุญวัดพู ปัจุบันชำรุดมาก จากนั้น จะเป็นทางเดินขึ้นไปตามทางเดินเท้า ระยะทาง ๒๘๐ เมตร ปูพื้นด้วยศิลาทราย ขอบทางเดินตั้งเสานางเรียง ๒ ฟาก เป็นเสาหิน มีสระน้ำขนาดเล็ก ไม่มีน้ำขังขนาบข้าง ทางเดินโบราณนี้ เชื่อว่าสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ทางเดินดังกล่าวมีไปจนถึงชั้นพักที่ ๑ คือที่ตั้งของปราสาท ๒ หลัง มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยหินทราย มีการแกะสลักที่หน้าบัน และลวดลายตามเปลือกผิวหิน มีบริเวณว่างใช้สอยด้านใน


     ยังไม่ประจักษ์ว่า อาคารทั้งสองหลัง ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือเป็นที่พักของกษัตริย์หรือประชาชน แต่ชาวบ้านพากัน เรียกว่า โรงท้าว กับ โรงนาง อันหมายความถึง ที่ปะทับของพระอิศวร สำหรับโรงท้าว กับที่ประทับของมเหสีพระอิศวร สำหรับโรงนาง ซึ่งเชื่อว่าสร้างในคริสต์ศวรรษที่ ๑๑ สำหรับลวดลายแกะสลักบนผิวหน้า ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมชุดนี้ ยังไม่ประณีตนัก ถัดจากโรงท้าวโรงนาง เป็นทางเดินปูด้วยแผ่นหินทั้งสองฟาก มีโครงสร้างหลังคาไปสู่บันไดขั้นแรก ที่จะขึ้นไปสู่ปราสาทประธาน แต่ปัจุบันหลังคาพังทลายไปหมดแล้ว ส่วนด้านใต้ของทางเดิน ช่วงระยะนี้มีร่องรอย ของหอไหว้หลังหนึ่ง ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ เรียกว่า โฮง งัวอุสุพะลาด หรือ งัวนันทึน ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ และเริ่มจากโรงวัวแห่งนี้ มีเส้นทางโบราณไปทางทิศใต้ ผ่านบ้านธาตุ มุ่งตรงไปยังนครวัด ประเทศกัมพูชา จากนั้นเป็นบันไดหินขึ้นสู่ปราสาทแบ่งเป็น ๔ ช่วง มีลักษณะเป็นบันไดนาค ๒ ข้าง ปรับเป็นชั้นบันไดใหญ่ บางช่วงมีกองอิฐของปราสาทเก่า และชั้นกำแพงหินป้องกันดินทรุดเป็นระยะๆต่อไป ชั้นบันไดพักแรก ที่เชื่อมต่อระหว่าง ระเบียงพักอีกแห่งหนึ่ง


      จะมีกำแพงกั้นดินทรุดตัว ด้วยหินทราย และชั้นบันไดพักที่สองมีซุ้มประตูโขง (สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒) ปัจุบันพังไปแล้วเช่นกัน มีส่วนเหลือให้เห็นคือ รูปของทวารบาล หรือผู้รักษาประตูด้านทิศเหนือ ในสภาพ มือขวากุมไม้เท้า มือซ้ายแนบหน้าอก เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทเบื้องบน แต่คนทั่วไป กลับตีความว่าเป็นภาพพระยากำมะทา ผู้ควบคุมการก่อสร้างวัดพู กำลังทุบอกตนเอง ด้วยเสียใจที่การก่อสร้างวัดพูแล้ว เสร็จที่หลังการก่อสร้างพระธาตุพนม ถัดจากบันไดที่ ๒ ขึ้นไป เป็นทางเดินอีกแห่ง สร้างด้วยแผ่นหินทราย ที่มีความชันตามแนวลาดของภูเขา นำไปสู่ บันไดขั้นที่ ๓ บันไดขั้นนี้ ได้เชื่อมต่อกับระเบียงพักสุดท้าย ถึงบันไดขึ้นสู่ระเบียงพักบนสุด เป็นที่ตั้งของปราสาทหลังประธาน ซึ่งสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ด้านใต้ของปราสาทประธานมีอาคารหลังเล็กเรียก หอไตรธิบรรณาลัย ด้านตะวันตก กั้นด้วยกำแพงกมมะเลียน สร้างไว้บนลานหินธรรมชาติ มีประตู ๒ ด้านเชื่อมต่อบริเวณ น้ำเที่ยง ที่เชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์ น้ำดังกล่าวรินไหลลงมาจากชะโง่นผาหินด้านหลังปราสาท นอกจากนี้


       โขดหินด้านหลังปราสาทหลังประธาน ยังมีรูปแกะสลักนูนสูงตรีมูรติ หรือรูปเทพเจ้า ๓ องค์ แห่งศาสนาฮินดู มีพระศิวเทพอยู่กลาง พระพรหมอยู่ด้านขวา ส่วนพระวิษณุอยู่ด้านซ้าย สำหรับปราสาทองค์ประธาน ประกอบด้วยพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง ฝาผนังส่วนด้านหน้าห้องโถง ก่อด้วยหินทราย มีประตูทางเข้า ๓ ด้าน คือด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ประดิษฐาน ศิวลึงค์ มีน้ำศักดิ์สิทธื จากเพิงผาหินน้ำเที่ยง ไหลตามร่องหิน เข้าสู่ปราสาท ทางด้านหลังไหลเข้ามาอาบรดศิวลึงค์อยุ่ตลอดเวลา แล้วไหลตามร่องน้ำออกมาทางผนังด้านเหนือ ดังนั้น ลักษณะพิเศษของปราสาทวัดพู คือ การสรงน้ำศิวลึงค์อยู่ตลอดเวลา ด้วยสายน้ำเที่ยงที่ไหลรินอยู่ ชั่วนาตาปี แล้วจึงไหลออกมาให้ประชาชน ได้ใช้เพื่อสิริมงคล ซึ่งมีเฉพาะปราสาทหินวัดพูเท่านั้น จึงเป็นภูมิปัญญาในการวิเคราะห์ เลือกสถานที่และการออกแบบก่อสร้าง ระหว่างความเชื่อและภูมิทัศน์ได้อย่างน่าพิศวง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-10-25 11:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ในส่วนของเปลือกผิวอาคาร มีการแกะสลักขอบประตู เป็นรูปทวารบาลและภาพนางอัปสร บนซุ้มประตู ทางเข้าแต่ละช่อง พื้นที่สีหน้าและทับหลัง แกะสลักเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระกฤษณะ พระอินทร์ พระวิษณุ พระศิวะ พระฤาษี และเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์ ด้วยทักษะเชิงช่างชั้นสุงและฝีมือ ที่วิจิตรบรรจงเป็นพิเศษ รูปแกะสลักที่โดดเด่นที่สุด คือ รูปแกะสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ บนทับหลัง ส่วนกลางของปราสาท ขนาดกว้าง ๑ เมตร ยาว ๒ เมตร การก่อสร้างปราสาทหินดังกล่าว จะมีช่างที่เกี่ยวข้อง ๓ กลุ่มใหญ่ คือ สถาปนิก วิศวกร และช่างแกะสลัก กลุ่มวิศกรมีหน้าที่สลักหิน และวางหินเรียงตามแบบแปลนของสถาปนิก ส่วนความงดงาม เป็นหน้าที่ของช่างศิลป์ ที่เข้ามาดำเนินการแกะสลัก ภายหลังโครงสร้างก้อนหินถูกจัดวางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ช่างศิลป์จึงต้องมีฝีมือในระดับที่เชื่อมั่นได้ เพราะจะผิดพลาด และนำเอาหินก้อนใหม่ไปเปลี่ยนแทน ไม่ได้นั่นเอง


      ปัจจุบันฝ่าย พิพิธภัณฑ์ และ วัตถุโบราณ องค์การยูเนสโก ร่วมกับอำนาจการปกครอง และประชาชนท้องถิ่น กำลัง นำเสนอกลุ่มสถานโบราณวัดพูจำปาสัก เข้าเป็นมรดกโลก ซึ่งมีพื้นที่รวมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มจำปาสัก สายภูเกล้า ไปจนถึงพื้นที่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขงบริเวณ อุบมุงห้วยโต๊ะโม๊ะ บริเวณริมห้วยโต๊ะโม๊ะปากแม่น้ำโขง เขตเมืองปะทุมพอน เป็นอาณาบริเวณของ เขตมรดกโลกกลุ่มโบราณสถานวัดพู และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็ได้พยายามที่จะทำการอนุรักษ์ กลุ่มปราสาทและโบราณสถานวัดพู ให้คงอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ให้น้อยที่สุด เพื่อเป็นมรดกแก่ชาวลาวและชาวโลก ต่อไป ปราสาทหินวัดพู ใน มิติทางพุทธศาสนา กล่าวสำหรับปราสาทหินวัดพู ในมิติทางพุทธศาสนา เมื่อพุทธศาสนา ได้เข้ามาเป็นความเชื่อหลักของเจ้าของพื้นที่ แทนศาสนาฮินดู ได้อาศัยโครงสร้างทางพิธีกรรม และสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู แล้วปรับเปลี่ยนเป้าหมายทางพิธีกรรม แทนที่ศิวลึงค์ในปราสาทองค์ประธาน ให้เป็นพระพุทธรูปและเรียกบริเวณนี้ทั้งหมดว่า วัดพู รวมทั้งดำเนินงาน นมัสการตัวปราสาทพระพุทธรูปและสถานที่ทั้งหมดของอาณาบริเวณ ซึ่งแม้จะเป็นพิธีกรรมนมัสการวัดพู บนฐานพิธีของพุทธศาสนา ก็ยังคงมองเห็นถึงพิธีกรรม ในส่วนของความเชื่อ ประเภทอ้อนวอนร้องขอ ตามแบบอย่างศาสนาฮินดูไปพร้อมกัน โดยเฉพาะในคืนขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งเป็นวันจุดธูปเทียนนมัสการ การทำบุญของชาวพุทธเพื่อนมัสการ วัดพู กำหนดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓


       หรือชาวลาวลุ่มเรียกว่า เดือน ๓ เพ็ง ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา จัดเป็นงานบุญที่ใหญ่ที่สุด ของ ๔ แขวงลาวภาคใต้ คือ จำปาสัก สาละวัน อัตตะปือ และเซกอ และถือเป็นงานหลัก เป็นพิธีด้านพุทธศาสนาของ สปป.ลาว เช่นกันกับงานนมัสการพระธาตุหลวง กำแพงนครเวียงจันทน์ และงานนมัสการพระธาตุอิงฮัง แขวงสะวันนะเขต งานบุญนมัสการวัดพู จะมีพิธีสำคัญ ๒ วัน คือ ช่วงเย็นถึงค่ำคืนของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันจุดธูปเทียนไหว้บูชาวัดพูและพระพุทธรูป และเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันตักบาตรพระสงฆ์ ในช่วงระยะหลัง ทางแขวงจำปาสักได้เข้ามาร่วมเป็นผู้ดำเนินการจัดงาน โดยให้ถือเป็นงานประเพณีของทางแขวงด้วย จึงมักจะเริ่มงานก่อนหน้าวันมาฆบูชา ๒-๓ วัน และเพิ่มเติมกิจกรรม ด้วยปราสาทด้านทิศใต้ สระน้ำในขณะที่บริเวณสระน้ำโบราณยังมีการแข่งเรือด้วย การเริ่มงานก่อนหน้าวันมาฆบุชา มีส่วนดีต่อการเดินทาง


      มาร่วมงานของคนต่างถิ่น ทั้งพระภิกษุสามเณรและฆราวาส เป็นการเดินทางมาเพื่อแสวงบุญจริงๆ ในขณะเดียวกัน เจ้าของถิ่นคือ ชุมชนที่อยู่ในละแวกเมืองจำปาสัก เช่น บ้านไฮ บ้านห้วยสระหัว บ้านวัดหลวงเก่า บ้านหนองเวียน บ้านโพนงาม ฯลฯ และชุมชนต่างๆ บนดอนแดง เรือนชานของพวกเขาได้กลายเป็นสถานที่ ต้อนรับพุทธศาสนิกชน ที่เดินทางทะลักมาจากทุกสารทิศ ให้พักอาศัยอย่างเต็มใจและไมตรี สำหรับงานไหว้นมัสการวัดพูประจำปี ๒๕๔๔ ที่ผู้เขียนได้เข้าไปสังเกตการณ์ แบบมีส่วนร่วม โดยมีท่านอุดมสี แก้วสักสิด รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วัดพู เป็นผู้นำตรงกับวันที่ ๗-๘ กุมภาพันธ์ งานดังกล่าวจะเริ่มต้นอย่างเป็นพิธีการในช่วงบ่ายคล้อย ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ในวันนี้จะมีผู้คนจำนวนมาก เดินทางสู่เมืองจำปาสัก ด้วยขบวนรถเหมา รถรับจ้าง รถโดยสาร และรถส่วนตัว ขณะที่ผู้คนส่วนหนึ่ง ก็เดินทางด้วยเรือโดยสาร ทั้งที่มาจากปากเซและมาจากบริเวณสี่พันดอน จนกล่าวได้ว่าในวันนั้น การจราจรทั้งทางน้ำและทางบก ต่างมุ่งมาสู่เมืองจำปาสัก เพื่อจะเดินทางต่อ ไปยังเนินเขาภูเกล้า ที่ประดิษฐานปราสาท ซึ่งอยู่ห่างจาก เทศบาลเมืองจำปาสักประมาณ ๖ กิโลเมตร


ขอบคุณที่มา : http://www.southlaostour.com

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้