ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2406
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระแก้วมรกตองค์น้อย สุดยอด! เรื่องราวประวติศาสตร์ที่ท่านอาจไม่เคยทราบที่ใดมาก่อน

[คัดลอกลิงก์]
พระแก้วมรกตองค์น้อย สุดยอด! เรื่องราวประวติศาสตร์ที่ท่านอาจไม่เคยทราบที่ใดมาก่อน


สุดยอด! เรื่องราวประวติศาสตร์ที่ท่านอาจไม่เคยทราบที่ใดมาก่อน

ขอนำเสนอเรื่อง

พระแก้วมรกตองค์น้อย คู่พระบารมี คู่ประชาชนคนไทย
_____________

พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ ว่ากันตามจริงแล้ว เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่ง มีนามตามทางราชการว่า พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร และมีนามเรียกลำลอง ว่า พระแก้วมรกตองค์น้อย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาน เขตพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมหาราชวัง อันเป็นหอพระข้างพี่ที่สมเด็จพระอดีตกษัตริย์ได้ทรงเคารพสักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์

พระพุทธปฏิมากรนี้ ถ้าว่ากันโดยอายุแล้ว ก็มีพรรษาไม่มากนัก เพราะสร้างขึ้นเมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ นี้เอง แรกทีเดียว ทรงมีพระราชดำริจะทรงสร้างขึ้นไว้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญสำหรับพระราชวังดุสิต เช่นเดียวกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปสำคัญสำหรับพระบรมมหาราชวัง จดหมายเหตุเกี่ยวกับการนี้แต่ครั้งแผ่นดินนั้น บันทึกว่า

“เมื่อทรงพระราชดำริเช่นนี้แล้ว จึงได้ทรงสืบแสวงหาแก้ววิเศษ แลพอเป็นเวลาที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ จะเสด็จออกไปยังทวีปยุโรป จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ช่างปั้นรูปพระพุทธปฏิมากรขึ้นจนได้ลักษณะงามพอพระราชหฤทัย จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานรูปตัวอย่างนั้นแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ให้เสาะแสวงหาแก้วมรกต แลช่างที่มีฝีมือดีให้เจียระไนแก้วมรกตขึ้นเป็นพระพุทธปฏิมากรตามตัวอย่าง แล้วแต่จะหาแก้ววิเศษได้ใหญ่เพียงใด เพื่อเป็นพระราชสิริได้ทรงสักการบูชา แลเป็นศรีพระนครอีกทั้งประชาชนในพระราชอาณาจักรทั่วไป สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นั้น ได้ทรงสืบหาแก้วและช่างอยู่เป็นเวลาช้านาน จึงได้แก้วแลช่างในประเทศรัสเซีย ช่างได้จับการเจียระไนอีกขวบปีเศษ จึงสำเร็จบริบูรณ์ถูกต้องตามรูปตัวอย่าง เมื่อการเจียระไนเสร็จแล้ว นับว่าเป็นแก้วบริสุทธิ์แลงามกว่าครั้งก่อน….”

ข้อความในจดหมายเหตุพรรณนาพุทธลักษณะไว้ว่า “เป็นแก้วบริสุทธิ์แลงามกว่าครั้งก่อน” นั้น ผู้เขียน (ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ) มีบุญตาที่ได้ชมบารมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรองค์นี้สองสามครั้ง ยังงามจับตาจับใจอยู่จนบัดนี้ เพราะนอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสมพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระแก้วมรกตองค์น้อยนี้สร้างขึ้นด้วยหินมีค่าที่เรียกว่า หินแนฟไฟตร์ ขนาดใหญ่ไม่มีริ้วรอยราคี ซ้ำยังเป็นฝีมือช่างที่นับถือกันอยู่ในบัดนี้ว่า เป็นเอกฝีมือหนึ่งของโลก คือ คาร์ล ฟาแบร์เช่ ที่ได้รู้กันดังนี้ก็เนื่องจากงานศิลปวัตถุซึ่งเป็นของสร้างขึ้นจากห้างฟาแบร์เช่เมืองรัสเซียนั้น เขาจะทำรอยจารึกเครื่องหมายบอกยี่ห้อ และรายละเอียดบางประการไว้ด้วยเสมอ ที่ใต้ฐานพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าพลิกขึ้นมาดูจะพบเครื่องหมายห้างฟาแบร์เช่ พร้อมจารึกปีที่สร้างคือคริสตศักราช ๑๙๑๔ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ของข้างฝ่ายไทย ขนาดขององค์พระกำลังงามพอดี ไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินงาม มีความสูงตั้งแต่ฐานวัดจนถึงพระเกตุมาลาได้ สิริรวม ๗๗.๕ เซนติเมตร

เมื่อพุทธปฏิมากรองค์นี้เข้ามาถึงพระนครแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีพุทธาภิเษกขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีงานพิธีติดต่อกันหลายวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๔ เดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นส่วนพิธีหลวงแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนสมณะชีพราหมณ์ และอาณาราษฏรทั้งหลาย ได้ทำการสักการบูชาพระพุทธปฏิมากร มีกำหนดตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม จนถึง ๒๘ ธันวาคม ศกเดียวกัน
ถ้าเราสังเกตดีให้ดีจะแลเห็นนพปฏลเศวตฉัตรกางกั้นเหนือพระเศียรพระพุทธรัตนปฏิมากร นพปฏลเศวตฉัตรองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเฉลิมพระเกียตริตามโบราณราชประเพณี พร้อมทั้งพร้อมทั้งพระสังวาลพระนพ และพระสังวาลแฝดนพรัตน์ ในวันพระราชพิธีพุทธาภิเษก

พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ แม้ไม่ได้มีโอกาสปรากฏต่อสายตาสาธารณชนบ่อยนัก เพราะเหตุด้วยประดิษฐานอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการพระราชพิธีสำคัญ ก็มักโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญออมาประดิษฐานในมณฑลพิธีต่าง ๆ.

จบบริบูรณ์

อนุญาตให้แฟนเพจภาพอดีตแชร์ โดยไม่ต้องขออนุญาต”
:เพื่อการศึกษาเท่านั้น
__________________________
อ้างอิงภาพและข้อมูล: หนังสือ ภาพงามของความหลัง , ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ , พิมพ์ครั้งที่ ๒ : กรุงเทพฯ เอส.ซีพริ้นท์แอนด์แพค ๒๕๕๘ (น.๘๗-๘๙)

ค้นคว้าโดย น อติวิชัย เปรียญฯ พิมพ์/เผยแผ่ (สแกนภาพ)

เครดิต ภาพและเรื่อง  


รวมภาพในอดีตเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ All Old Pictures In The Past.




สาธุ สาธุ สาธุ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้