ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
~ การฝึกสมาธิเบื้องต้น ~
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2868
ตอบกลับ: 5
~ การฝึกสมาธิเบื้องต้น ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-7-4 20:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
การฝึกสมาธิเบื้องต้น
สมาธิคือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง
การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน หรือความสิ้นไปของอาสวะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไร ก็จะทำได้ดี และได้เร็วกว่าคนปกติ ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน วิธีการทำสมาธิที่ได้ผลและเป็นที่นิยม ได้ถูกนำมากล่าวแนะนำไว้ในที่นี้แล้ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และขั้นตอนต่างๆ โดยท่านสามารถอ่านทีละหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้
๑.การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ
ท่านพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) พระสายธุดงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งแห่งภาคอีสาน ได้เคยให้คำอธิบายวิธีการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน เวลาที่จะทำสมาธินั้นท่านได้อธิบายอย่างง่ายๆไว้ว่าทำได้ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน ในอิริยบททั้ง ๔ นี้เมื่อใดที่ใจเป็นสมาธิก็ถือว่าเป็นภาวนามัยกุศล ซึ่งถือเป็นกุศลกรรมสิทธิ์เฉพาะตัว ถือว่าได้บุญด้วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงพอสรุปจากคำแนะนำของท่านไว้ได้ดังนี้คือ
การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครม และไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจ
การนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-4 20:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒.ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ
๒.๑ การหาเวลาที่เหมาะสม เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้นจะทำให้หิวข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหาร และไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงนอน หรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น
๒.๒ การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ที่อึกทึก นอกจากได้สมาธิในขั้นต้นแล้ว และต้องการฝึกการเข้าสมาธิในที่อึกทึก
๒.๓ เสร็จจากธุระภาระกิจต่างๆ และกิจวัตรประจำวันแล้ว เช่นหลังจากอาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใครแล้วเป็นต้น
๒.๔ อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย ท่าที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลังใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง
๒.๕ ไม่ควรนึกถึงผล หรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
๒.๖ ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ ๑๕ นาทีก็ต้องทำให้ได้เป็นต้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น
๒.๗ เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-4 20:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓.การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต
การทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธี และแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือ เป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้ วิธีนับแบบต่างๆพอกล่าวโดยย่อได้ดังต่อไปนี้คือ
๓.๑ นับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
๓.๒ นับลมแบบอรรถกถา
๓.๓ นับทวนขึ้นทวนลง
๓.๔ นับวน * ๓.๑ การนับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พอหายใจเข้าก็นับหนึ่ง พอหายใจออกก็นับสอง หายใจเข้าต่อไปก็นับสาม และหายใจออกต่อไปก็นับสี่ บวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทีละหนึ่ง ตัวเลขที่นับมันก็จะไม่รู้จบ แต่ท่านอาจจะกำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดก็ได้ อาทิเช่นพอถึงหนึ่งร้อย ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นต้น คงไม่ต้องยกตัวอย่าง วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ง่าย และใช้สมาธิไม่มากนัก เพราะเหตุที่เราคุ้นเคยกับการนับในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เอาการนับมาควบเข้ากับจังหวะการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้มีจิตรู้ตัวอยู่เสมอนั่นเอง
๓.๒ การนับลมแบบอรรถกถา เป็นวิธีของท่านพระอรรถกถาจารย์ ที่ได้นำเอาตัวเลข มาเป็นเครื่องกำหนดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ ตามหลักคำสอนของท่านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือพุทธธรรม ของพระราชวรมุนี หน้า (๘๖๕) หลักการนับแบบนี้ช่วยฝึกให้ใจมีสมาธิจดจ่อมากกว่าวิธีแรก วิธีนับมีสองแบบ แบบแรกให้นับเป็นคู่ คือเมื่อหายใจเข้า ก็ให้นับว่า ๑ เมื่อหายใจออกให้นับว่า ๑ พอเที่ยวต่อไปหายใจเข้าให้นับว่า ๒ หายใจออกก็ให้นับว่า ๒ สรุปก็คือลมหายใจเข้าและออกถือเป็นหนึ่งครั้ง จนถึงคู่ที่ ๕ ก็ให้ตั้งต้นมานับ ๑ ไปใหม่จนถึงเลข ๖ ก็ให้มาตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๗ ถึง ๘ ถึง ๙ และ ๑๐ แล้วตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๕ และนับต่อไปถึง ๑๐ อีก ลองศึกษาดูที่ตารางข้างล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง
แบบนับเป็นคู่พร้อมกับลมหายใจ เช่น (๑-๑) หนึ่งตัวแรกคือลมหายใจครั้งที่ ๑ หนึ่งตัวที่สองคือการนับ
เที่ยวที่ ๑ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕
เที่ยวที่ ๒ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖
เที่ยวที่ ๓ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗
เที่ยวที่ ๔ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘
เที่ยวที่ ๕ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙
เที่ยวที่ ๖ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐
อีกแบบหนึ่งคือการนับเดี่ยว นับแต่ตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นลมหายใจเข้าหรือออก แต่ท่านควรจะทำแบบแรกให้คล่องเสียก่อน แล้วจึงมาลองแบบที่สองนี้ ลองศึกษาทำความเข้าใจกับตารางข้างล่างนี้สำหรับการนับเดี่ยว
เที่ยวที่ ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕
เที่ยวที่ ๒ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖
เที่ยวที่ ๓ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗
เที่ยวที่ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
เที่ยวที่ ๕ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
เที่ยวที่ ๖ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
ทั้งสองแบบนี้ใช้วิธีการนับทวนไปทวนมา จนกระทั่งเราเกิดสมาธิ อย่างไรก็ตามขอให้ถือหลักความเพียรเข้าไว้ วันนี้ใจยังว้าวุ่นอยู่ก็ไม่เป็นไร ลองพรุ่งนี้อีกที ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสงบใจให้เชื่องอยู่ใตับังคับบัญชาของเรา และเมื่อนั้นแหละคุณภาพทางจิตและร่างกายของท่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว
แบบนับลมเป็นคู่
วิธีนี้จะง่ายกว่าแบบอรรถกถาข้างต้นเล็กน้อย เพราะว่าให้เริ่มนับไปได้เลย วิธีมีดังนี้คือ
แบบนับตามลม เวลาหายใจเข้า ก็ให้กำหนดลมหายใจที่เข้ามากระทบไว้ที่ปลายจมูก หรือโพรงจมูกด้านใน ตรงที่รู้สึกว่าลมกระทบตรงนั้น แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งในใจ แล้วก็เอาใจตามลมหายใจเข้ามาจนผ่านปอด ให้ความรู้สึกว่าไปสุดปลายที่ท้องเลยทีเดียว ถึงตรงนี้ก็คือถือเป็นสิ้นสุดการหายใจเข้า
เวลาหายใจออก ก็ให้ต้นลมอยู่บริเวณท้องแล้วก็นับหนึ่งใหม่ในใจ พร้อมกับหายใจออก
เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ให้ศึกษาดูจากตารางนี้อีกเที่ยวหนึ่ง
เที่ยวที่ ๑ ๑-๑
เที่ยวที่ ๒ ๑-๑ ๒-๒
เที่ยวที่ ๓ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓
เที่ยวที่ ๔ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔
เที่ยวที่ ๕ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕
เที่ยวที่ ๖ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖
เที่ยวที่ ๗ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗
เที่ยวที่ ๘ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘
เที่ยวที่ ๙ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙
เที่ยวที่ ๑๐ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐
*ตัดตอนบางส่วนมาจากหนังสือสมาธิภาวนา โดยธรรมรักษา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-4 20:17
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมาธิ (สันสกฤต : समाधि)
คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน
การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้
รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน
ในปี 2007 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐพบว่าเกือบ 9.4% ของผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ล้านคน) มีการฝึกสมาธิภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7.6% (มากกว่า 15 ล้านคน) ในปี 2002
ตั้งแต่ปี 1960, การทำสมาธิได้รับการเพิ่มจุดเน้นของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น โยคะ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54753
5
#
โพสต์ 2013-7-5 02:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36144
6
#
โพสต์ 2017-10-24 06:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...