ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
พระควัมปติ - ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1993
ตอบกลับ: 2
พระควัมปติ - ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-8-6 17:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พระควัมปติ เป็นกลุ่มเพื่อนพระยสะ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส และได้ออกบวชตาม พระกลุ่มนี้มี ๕๔ รูป แต่ที่ปรากฏชื่อและได้รับจัดเข้าเป็นพระอสีติมหาสาวกมีเพียง ๔ รูป คือ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ และพระควัมปติพระควัมปติ เกิดในวรรณะไวศยะ ในตระกูลเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี เมื่อท่านทราบว่า ยสะ ออกบวช ท่านและสหาย จึงพร้อมใจกันเดินทางไปหาพระยสะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ด้วยความศรัทธา พระยสะได้พาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หลังจากกราบทูลให้ทรงทราบถึงประวัติส่วนตัวของแต่ละท่านแล้วได้ทูลขอให้พระ พุทธเจ้าแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธเจ้าได้ตรวจดูอุปนิสัยแล้วก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้ฟังตามลำดับ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ทั้ง ๔ ท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบัน ครั้นแล้วได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาอย่างที่ทรงประทานแก่ พระปัญจวัคคีย์
หลังจากบวชแล้ว พระพุทธเจ้ายังคงแสดงธรรมโปรดอยู่เนือง ๆ ไม่ช้าก็ได้บรรลุอรหัตผล และอยู่ในคณะพระธรรมจาริกรุ่นแรกที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๖๐ รูป
พระควัมปติ คราวหนึ่งได้จำพรรษาอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน เมืองสาเกตกับพระพุทธเจ้าและ พระภิกษุสามเณรจำนวนมากปรากฏว่า เสนาสนะไม่พอ พระภิกษุและสามเณรที่ไม่ได้เสนาสนะต้องพากันไปจำวัดตามหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำ สรภูซึ่งอยู่ใกล้ ๆ วิหาร ตกเที่ยงคืนเกิดฝนตกน้ำหลาก พระเณรต้องหนีน้ำกันจ้าละหวั่น ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรง ใช้พระควัมปติให้ไปใช้ฤทธิ์กั้นสายน้ำช่วยพระและเณรที่กำลังเดือดร้อน ท่านไปตามพุทธบัญชาแล้วใช้พลังฤทธิ์กั้นสายน้ำไม่ให้ไหลมารบกวนพระและเณรอีก อยู่มาวันหนึ่งท่านกำลังนั่งแสดงธรรมให้เทวดาฟัง พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสสรรเสริญท่านว่า เทวดาและมนุษย์ต่างพากันนอบน้อมพระควัมปติ ผู้ใช้ฤทธิ์ห้ามแม่น้ำสรภูไม่ให้ไหล
พระควัมปติมิได้มีตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เพราะท่านมิได้ตั้งความปรารถนาตำแหน่งเอตทัคคะใด ๆ ไว้แต่อดีตชาติเช่นเดียวกับพระยสะ เพียงแต่ได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อการเป็นพระมหาสาวกไว้เท่านั้น
แต่ในหนังสือตำนานพระพุทธสาวก ภาค ๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ นั้นได้เขียนไว้ว่า..พระควัมปติ - ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) หมายถึง พระมหากัจจายนะ
พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมืองหลวงของแคว้นอวันตี พระ กัจจายนะเดิมเป็นคนมีรูปร่างงาม และเป็นคนใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาคือ ได้ศึกษาพระเวทต่างๆ จนมีความรู้แตกฉาน ต่อมาเมื่อบิดาของท่านได้เสียชีวิตลง ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตในพระราชสำนักสืบแทนบิดาต่อไป
พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงทราบว่าพระ พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงมีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดชาวเมืองอุชเช นี จึงรับสั่งให้ท่านกัจจายนะไปกราบทูลเชิญเสด็จ ท่านกัจจายนะได้ทูลของพระบรมราชานุญาตต่อพระเจ้าจัณฑปัชโชตที่จะอุปสมบทด้วย เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ท่านกัจจายนะพร้อมด้วยบริวาร ๗ คน ก็ได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมเทศนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และทูลของอุปสมบท
หลังอุปสมบทแล้วไม่นาน ท่านพระกัจจายนะได้กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเมืองอุชเชนี พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า"เธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้ว พระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส"
พระมหากัจจายนะ พร้อมกับพระภิกษุ ๗ รูปนั้น จึงได้เดินกลับไปยังเมืองอุชเชนี และได้แสดงธรรมให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองอุชเชนีฟัง เมื่อพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ฟังธรรมที่พระมหากัจจายนะแสดงนั้น ก็ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วประกาศตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยเป็น สรณะ พร้อมด้วยพสกนิกรเป็นจำนวนมาก
ท่านพระมหากัจจายนะได้แสดง "ภัทเทกรัตตสูตร" จนได้รับคำชมเชยจากพระพุทธเจ้า และได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าในตำแหน่งเอตทัคคะ(เป็นเลิศกว่าผู้อื่น)ในทางขยายความแห่งภาษิตให้พิสดาร
พระมหากัจจายนะ มีชื่ออีกชื่อว่า พระควัมปติ แต่มหาชนไม่นิยมเรียก เพราะชื่อไปซ้ำกับสาวกอีกองค์หนึ่งที่เป็นสหายของพระยสะ จึงคงเรียกชื่อท่านตามสกุลว่า “มหากัจจายนะ”แต่เติมคำว่า มหาเข้าไปด้วยท่านเป็นเถระชั้นมหาสาวกเช่นเดียวกับพระมหากัสสปะ
และการที่ท่านพระมหากัจจายนะเป็นผู้ที่มีรูปงาม ทำให้พระภิกษุอื่นๆ เมื่อเห็นท่านแต่ไกลเข้าใจผิดว่าพระพุทธองค์กำลังเสด็จมา จึงพากันลุกขึ้นยืนต้อนรับบ่อยครั้ง ครั้นเข้ามาใกล้จึงประจักษ์ชัดว่าเป็นพระมหากัจจายนะ(พระควัมปติ) จึงได้พากันให้ชื่อใหม่ท่านว่า “ภควัมปติ” ซึ่งแปลว่า เหมือนพระผู้มีพระภาค เมื่อท่านทราบเรื่องนี้เข้า เกรงว่าจะเป็นโทษซึ่งพาให้คนทั้งหลายเข้าใจผิดเพราะร่างกายของท่านไปเหมือน พระพุทธเจ้าเข้า ท่านจึงได้อธิษฐานเปลี่ยนรูปเพื่อให้ไม่เหมือนพระศาสดา ด้วยอำนาจแห่งฌานอภิญญา รูปของท่านจึงอ้วนท้องยุ้ยไม่งามเหมือนเมื่อก่อน ใครเห็นก็จำได้ไม่เกิดความเข้าใจผิด
บ้างก็กล่าวว่า เพราะมีเกิดเรื่องประหลาดขึ้น คือมีบุตรเศรษฐีคนหนึ่ง เห็นว่าท่านมีรูปงาม นึกอกุศลอยากได้ภรรยาที่มีลักษณะงามเหมือนท่าน ทันใดนั้นเขาก็กลายเป็นสตรีเพศทันที ด้วยความละอายเขาจึงได้ไปอาศัยอยู่ที่เมืองตักศิลาจนมีสามีและบุตร ต่อมาเมื่อได้ไปขอขมาท่านพระมหากัจจายนะ จึงได้กลับเพศเป็นชายดังเดิม ว่ากันว่าตั้งแต่นั้นมา ท่านพระมหากัจจายนะได้อธิษฐานให้ร่างกายของท่านอ้วนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนชาวพุทธยุคหลังได้สร้างรูปพระอ้วนลงพุงเป็นอนุสรณ์ให้แก่ท่าน เรียกกันว่า "พระสังกัจจายน์"หรือ "พระสังกัจจาย"
พระมหากัจจยานะได้ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นอวันตี และได้นำกุลบุตรออกบวชใน พระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ท่านได้นิพพานหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่นานนัก
พระภควัมบดี เป็นคติการสร้างรูปจำลองแห่งพุทธสาวก คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของ พระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอตทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์
พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณพราหมณ์ ณ กรุงอุเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่เกิด จึงได้นามว่า "กาญจนะ" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้)
พระมหาสังกัจจายนะ มีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง พระมหาสังกัจจายนะมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-8-6 17:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
และด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง ก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิง จนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่า การมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกายเป็นต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน
แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งผลให้ "พระสังกัจจายน์" เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญ
ในพุทธประวัติกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นเลิศ ในด้านลาภสักการะของพระสังกัจจายน์ไว้ว่า
ครั้งหนึ่ง พระศาสดาพร้อมด้วยพระสาวก ๕๐๐ รูป เดินทางธุดงค์เรื่อยมาจนถึงทางสามแพร่งแห่งหนึ่ง ก็เป็นเวลาพลบค่ำพอดี ทางสามแพร่งแห่งนี้มีอยู่ ๒ เส้นทางสำคัญที่จะไปยังจุดหมาย
เส้นทางแรก เป็นระยะทางอันสั้น จัดเป็นเส้นทางลัดที่ใช้เวลาเพียงน้อยนิด ไปสู่จุดหมายได้รวดเร็ว
เส้นทางที่สอง เป็นเส้นทางที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าเส้นทางแรกหลายเท่า กว่าจะไปถึงจุดหมาย
เส้นทางแรก เป็นเส้นทางลัดก็จริง แต่ในระหว่างทางแทบจะไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย จัดเป็นเส้นทางที่แห้งแล้งทุรกันดาร ถ้าเดินทางธุดงค์ผ่านไปก็จะเดือดร้อนเรื่องของขบฉัน
ครั้นพอตกกลางคืน สมเด็จพระบรมศาสดาได้แสดงพระธรรมเทศนาตามกิจวัตรของพระธุดงค์ ซึ่งเมื่อตกกลางคืนก็จะมาสนทนากัน และในเวลานี้ก็มีพรหมเทพเทวดาทั้งหลายได้พากันมาสดับพระธรรมเทศนาของพระองค์ด้วย
ณ ที่ประชุม พระศาสดาทรงมีพุทธดำรัสตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า จะใช้เส้นทางใดในการเดินทางธุดงค์ไปยังจุดหมาย ในที่ประชุมสงฆ์นั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าจะใช้เส้นทางใด
พระศาสดาจึงมีรับสั่งถามว่า "ในที่ประชุมนี้พระสีวลี (หรือพระฉิมพลี-ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ) เดินทางมาด้วยหรือไม่" พระสาวกทั้งหลายกราบทูลตอบว่า "พระสีวลีมิได้เดินทางมาด้วย"
พระศาสดาจึงตรัสถามต่อไปว่า "หากว่าพระสีวลีไม่มาแล้วพระสังกัจจายน์มาด้วยหรือไม่" พระสาวกทั้งหลายกราบทูลตอบว่า "มาด้วย"
พระศาสดาจึงทรงมีพุทธบัญชาให้ใช้เส้นทางลัด อันเป็นเส้นทางทุรกันดาร เป็นเส้นทางในการเดินทางไปสู่จุดหมาย
หลังจากเลือกใช้เส้นทางลัดดังกล่าวเป็นข้อยุติแล้ว พระศาสดาจึงมีพุทธบัญชาปิดประชุม พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย ต่างแยกย้ายกันไปจำวัดยังกลดของตน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-8-6 17:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การประชุมสงฆ์ดังกล่าว ทำให้พระสังกัจจายนะบังเกิดความพิศวงเป็นยิ่งนักว่า ทำไม? พระศาสดาจึงต้องเลือกเสด็จไปทางลัดอันทุรกันดาร โดยให้มีท่านเดินทางไปด้วย? ท่านนั้นมีดีอะไรหรือ?
คิดดังนั้นแล้ว จึงตั้งจิตอธิษฐาน ยกมือทั้งสองปิดหน้า เรียกว่า เข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิษฐานลาภ เพื่อจะตรวจดูตัวท่านเองว่า มีความโดดเด่นอะไรหรือ?
และท่านก็ได้ประจักษ์กับความจริงว่า ท่านเคยเป็นหมอยา (ในอดีตชาติ) รักษาโรค ได้บำเพ็ญทานบารมีด้วยการแจกยารักษาโรคให้ผู้คนทั่วไป โดยมิได้คิดค่ารักษา
ด้วยอานิสงส์ผลบุญจากทานบารมีดังกล่าว ทำให้ท่านเป็นผู้มีความบริบูรณ์ในโภคทรัพย์ และลาภสักการะ
ครั้นพอรุ่งเช้า พระศาสดาพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย จึงออกเดินทางธุดงค์ไปยังจุดหมาย โดยใช้ทางลัดที่ทุรกันดาร ซึ่งปรากฏว่า ด้วยบารมีธรรมของพระสังกัจจายนะ ทำให้มีทั้งมนุษย์และอมนุษย์ (เทพยดาพรหมทั้งหลาย) พากันมาใส่บาตรถวายแด่พระศาสดา และพระสาวกกันมากมาย ทำให้พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลายไม่เดือดร้อนเรื่องภัตตาหาร ของขบฉันต่างๆ จนสามารถเดินทางถึงยังจุดหมายโดยสวัสดิภาพ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคติความเชื่อว่า พระสังกัจจายนะมีความโดดเด่นทางด้านโภคทรัพย์และลาภสักการะ จึงมีการสร้างรูปจำลองของพระมหากัจจายนะในปาง "เข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิษฐานลาภ" ซึ่งมีลักษณะเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย มือทั้งสองปิดอยู่ที่หน้า (ตา)
ปางที่เป็นรูปของพระสังกัจจายนะนั่งสมาธิแบมือบ้าง มือทั้งสองกุมอยู่ที่ท้องบ้าง ขึ้นมาบูชาเป็นสัญลักษณ์ของพระแห่งโชคลาภ จนแพร่หลายอยู่กระทั่งทุกวันนี้
โบราณาจารย์ได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดี ในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า
- พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดี เต็มไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ
- พระปิดทวารทั้ง ๙ อันเป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย - พระปิดตามหาอุตม์ อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ในกระบวนพระปิดตาของพระเกจิอาจารย์แต่โบราณนั้น มีขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัตถุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระ มีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...