ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
คณะศิษย์หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (คศช.)
›
พูดคุยตามประสา คศช.
»
ต้องค้านทั้งระบบ "ตำรวจเกณฑ์"และ"ทหารเกณฑ์"
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1918
ตอบกลับ: 3
ต้องค้านทั้งระบบ "ตำรวจเกณฑ์"และ"ทหารเกณฑ์"
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-7-31 07:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ถ้าอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ก็ควรต้องค้านทั้งระบบ "ตำรวจเกณฑ์"และ"ทหารเกณฑ์"
หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจว่าด้วยตำรวจกองประจำการหรือที่เรียกว่าตำรวจเกณฑ์
โดยให้เหตุผลว่านี่เป็นวิธีการที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนตำรวจในระดับปฏิบัติการเพื่อที่จะออกตรวจตราดูแลความปลอดภัยชาวบ้านโดยมองว่าปัญหาตำรวจขาดแคลนแก้ได้ด้วยการเกณฑ์ตำรวจเช่นเดียวกับระบบทหาร
กล่าวคือระบบทหารนั้นก็จะมีการคัดเลือกชายไทยที่อายุครบ20 ปีและไม่ได้เรียนรักษาดินแดนเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารซึ่งโดยปกติก็จะมีกองทัพบก กองทัพเรือและอากาศ
แต่หลังจากกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้แล้วก็จะมีการเพิ่มในส่วนของตำรวจเข้ามาด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อใช้หลักเกณฑ์เดียวกับทหารเกณฑ์นั้น จะต้องมีการจ่ายเงินเดือนเดือนละ 9,000 บาทและมีระยะเวลาในการประจำการ 2 ปีโดยไม่มียศ และเมื่อปลดประจำการก็จะเป็นทหารกองหนุน
ทั้งนี้โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยระบุว่าประเทศที่เจริญแล้วจะมีอัตราการดูแลประชาชนของตำรวจคือ1ต่อ200 ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการดูแลประชาชนคือตำรวจ 1 คนต่อประชาชน 600 คน
ผู้เขียนไม่รู้ว่าสถิติดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ ว่าตำรวจไทยต้องดูแลคนจำนวนมากขนาดนั้น และต่อให้เป็นจริงก็ตาม ก็เป็นสิทธิที่จะมีคนแสดงความไม่เห็นด้วย
อย่างแรกคือ อย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกับทหารนั้นมีสถานะทางกฎหมายที่แตกต่างกัน เอามาเทียบกันไม่ได้
กล่าวคือทหารมีหน้าที่ในการปกป้องดูแลประเทศชาติ มีรั้วรอบขอบชิด และทำการฝึก ประจำการอยู่ในกรมกอง ควบคุมได้ง่าย และโดยปกติก็ไม่มีอำนาจตามกฏหมายอาญาในการจับกุมคุมขังใครแบบตำรวจ หรือพูดง่ายๆก็คือไม่ได้มีอำนาจที่จะใกล้ชิดต่อประชาชนมากมายเท่าตำรวจ ปัญหาแรกคือว่ารัฐจะกำหนดบทบาทของตำรวจเกณฑ์ไม่ให้กระทบกระทั่งต่อสิทธิของประชาชนได้อย่างไร
เพราะตำรวจที่เป็นตำรวจอาชีพย่อมได้รับการฝึกหัดร่ำเรียนและมีความรู้ทางด้านกฎหมายมาบ้างจนเข้าใจเรื่องสิทธิของประชาชนเป็นอย่างดีก่อนจะมาปฏิบัติหน้าที่ส่วนตำรวจเกณฑ์ซึ่งเป็นการแบ่งกำลังมาจากหลักการเดียวกับของกองทัพ จะมีอะไรรับประกันว่าตำรวจเหล่านั้นจะเข้าใจเรื่องสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมดีพอ หากยิ่งมีอำนาจยิ่งน่ากลัวว่าจะใช้ไปในทางที่ไม่ถูก
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-7-31 07:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การอ้างว่าประชาชนในประเทศไทยขาดความปลอดภัยและมีตำรวจไม่พอต้องใช้วิธีเกณฑ์ตำรวจมานั้นก็ต้องถามว่าวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนหรือไม่เรามีวิธีการให้ได้มาซึ่งกำลังพลที่มีประวิทธิภาพอย่างอื่นหรือไม่ รวมถึงวิธีคิดดังกล่าวขัดกับหลักการของสังคมสมัยใหม่โดยเฉพาะหลักการประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร
เพราะอย่าลืมว่าการเกณฑ์ตำรวจหรือการเกณฑ์ทหารก็ตาม ให้ผู้ที่ถูกเกณฑ์มานั้นมีอำนาจเป็นข้าราชการประจำการล้วนแต่เกิดขึ้นภายใต้การใช้กฎหมายบังคับ ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะ ในหลักการบริหารของโลกสมัยใหม่ เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดจากการบังคับจะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพตามมาได้ง่ายกว่าความสมัครใจ
โดยเฉพาะการอ้างระบบตำรวจและทหารของตะวันตกจนเป็นเหตุให้ต้องเพิ่มกำลังของกองทัพและตำรวจนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเพราะประเทศที่เจริญแล้วเขาล้วนปฏิเสธหลักการการบังคับเปลี่ยนเป็นระบบสมัครใจ หมดแล้ว กล่าวถคือ เขาไม่จำเป็นต้องบังคับให้ใครมาเข้ารับการฝึกหรือมาปฎิบัติหน้าที่ใดๆโดยได้รับค่าตอบแทนอันน้อยนิดแถมยังถูกบังคับกดขี่ถูกสั่งให้กระทำการใดๆด้วยอำนาจโดยปราศจากการตั้งคำถาม
วิธีการเหล่านี้ตะวันตกเค้าเลิกไปนานแล้วโดยเฉพาะทหารเกณฑ์เพราะเขารู้ว่ามันไม่มีประสิทธิภาพคนที่ไม่สมัครใจยังไงก็ต้องหนีหรือกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งหากจำเป็น
ตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่งสหรัฐอเมริกาก็เคยมีการเกณฑ์ทหารมารบในสงครามเวียดนาม และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้อเมริกายกเลิกการเกณฑ์ทหารเพราะถึงที่สุดทหารเหล่านั้นไม่ได้มีความตั้งใจที่จะกระทำเพื่อชาติบางส่วนลอบทำร้ายหัวหน้าที่ออกคำสั่ง เพราะต้องการกลับบ้าน หลายคนต้องจบชีวิตในสงครามโดยไม่รู้ว่าประเทศจะชนะหรือไม่หรือทำสงครามไปเพื่ออะไร ยิ่งนานยิ่งสูญเสียและไร้เป้าหมาย กระทั่งมีการต่อต้านการเกณฑ์ทหารทั่วประเทศ จนนำไปสู่การยกเลิกในที่สุด
แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ยังมีการเกณฑ์ทหารอยู่ก็เช่นประเทศเกาหลีใต้ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะสถานการณ์ความขัดแย้งกับเกาหลีเหนือที่มีปัญหาอยู่ตลอดเวลาทำให้เกาหลีใต้ต้องเตรียมพร้อมกำลังพลขณะที่ประเทศไทยยังมองไม่เห็นเงื่อนไขใกล้เคียงกันเลยสักนิด
ล่าสุดนอกจากกฎหมายการเกณฑ์ตำรวจแล้วประเทศไทยยังมีการผ่านกฏหมายกำลังสำรองคือแยกการฝึกกำลังพลสำรองออกมาจากกฎหมายเดิมของทหารโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการฝึกกำลังพลสำรองมากยิ่งขึ้น
เรื่องนี้ถามว่ามีประโยชน์หรือไม่แน่นอนก็ต้องตอบว่ามีเพราะยิ่งกำลังพลสำรองเยอะ ตัวเลขความพร้อมรบทางสถิติของเมืองไทยก็สูงขึ้น
แต่คำถามคือเรามีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการรบขนาดนั้นหรือและกำลังพลหลักที่มีอยู่หลายเเสนคนในขณะนี้ยังไม่เพียงพออีกหรือ
ทั้งนี้ตามกฎหมาย ชายไทยทุกคนที่ผ่านการเกณฑ์ทหารและการเรียนรักษาดินแดนก็ต้องเป็น กำลังพลสำรองที่กองทัพมีอำนาจในการเรียกตัวได้เสมออยู่แล้ว
แต่กฎหมายฉบับนี้ก็จะทำให้กองทัพสามารถเรียกชายไทยที่เป็นทหารกองหนุนเข้ามาฝึกได้เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ยังกำหนดโทษให้กับบริษัทที่ไม่จ่ายค่าจ้างหากพนักงานของตนเองถูกเรียกมาฝึกชายไทยทุกคนไม่เว้นแม้แต่เพศที่3 ก็จะต้องถูกเรียกมาฝึกได้ตลอดเวลา
เรื่องนี้จึงไม่สามารถปฏิเสธที่จะมองได้ว่าวิธีคิดเรื่องความมั่นคงของไทยเรายังอยู่ในกรอบของการรบพุ่งที่เน้นกำลังและอาวุธโดยเชื่อว่าหากใครมีกำลังหรืออาวุธเยอะเพียบพร้อมกว่ากันก็จะชนะหากเกิดสงครามทั้งที่วิธีคิดเรื่องความมั่นคงในปัจจุบันก้าวพ้นเรื่องพรมแดนและกำลังอาวุธไปบ้างแล้ว ปัจจุบันเค้ามองกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การใช้หลักดุลอำนาจในการถ่วงดุล การรวมกลุ่มประเทศในการต่อรองทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
พูดแบบนี้ ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่ากำลังพลสำรองรวมถึงการเพิ่มกำลังพลไม่จำเป็น เพราะกำลังรบของในประเทศตะวันตก บางส่วนก็ไม่ใช่กำลังพลประจำการ แต่กองหนุนการใช้กำลังคนสำรองของประเทศตะวันตกนั้นเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจและมีผลประโยชน์ตอบแทนที่สมเหตุสมผลมีศักดิ์ศรี
ขณะที่ประเทศไทยยังพยายามที่จะเพิ่มกำลังคนเข้ามาอยู่ในกองทัพด้วยวิธีการใช้กฎหมายบังคับและกำหนดโทษอาญาหากใครไม่ยอมมารายงานตัวพร้อมอ้างวาทกรรมอาญาสิทธิ์เรื่องความรักชาติในการดำเนินการต่างๆอยู่สม่ำเสมอ จนกลายเป็นว่าใครที่ตั้งคำถามเรื่องประสิทธิภาพถูกกล่าวหาว่าไม่รักชาติเสียอีก
นี่ยังไม่ต้องพูดเรื่องความสิ้นเปลืองงบประมาณและต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ระบบเกณฑ์คนซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่าการใช้ระบบดังกล่าวในประเทศไทยในลักษณะบังคับที่จริงแล้วก็มีปัญหาด้านการดำเนินการอยู่พอสมควร โดยเฉพาะเรื่องความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายหรือกล่าวให้ชัดกว่านั้นคือถึงที่สุดก็รู้กันอยู่ว่ามันมุ่งบังคับใช้กับคนระดับล่างที่ไม่มีทางหนีทีไล่ ไม่มีต้นทุนในการเอาตัวรอดที่ดีพอ
จึงเป็นสิทธิที่คนส่วนหนึ่ง ในสังคมจะแสดงความเห็นว่าระบบดังกล่าวมันขัดกับหลักการประชาธิปไตยในสังคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิและเสรีภาพโดยเฉพาะเรื่้องการบังคับ แม้ว่าในสังคมสมัยใหม่ ประชาชนในรัฐมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมือง ซึ่งก็มีทั้งการจ่ายภาษี รวมถึงในอดีตก็ต้องจับปืนออกรบ แต่อย่างที่เห็นกันว่าสถานการณ์ปัจจุบันมันไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมขนาดนั้น เพราะเราไม่ใช่รัฐสงครามหรือใกล้เคียงจะเกิดสงคราม รวมถึงกำลังพลประจำการก็มีมากมาย
หลายคนจับได้ใบเเดง ต้องเป็นทหาร (หรือในอนาคตจะมีตำรวจเพิ่มมาอีก) 2 ปี เมื่อครบกำหนดปลดออกมา เกิดถูกสุ่มถูกเรียกมารายงานตัว ต้องฝึกกำลังพลสำรองต่ออีก กลายเป็นว่า อายุขนาดนี้แล้ว ควรที่จะมีครอบครัว ศึกษาหาความรู้ อยู่เลี้ยงดูพ่อเเม่ ยังต้องมาแบกปืนฝึกทหารกลางป่า
การอ้างเรื่อง การปกป้องภัยพิบัติ อุทกภัยต่างๆ ยิ่งผิดฝาผิดตัวไปใหญ่ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของทหาร จึงใช้อ้างในทางกฏหมายไม่ได้ (แม้ในความจริง ทหารจะออกหน้าช่วยเหลือประชาชนเสมอก็ตาม) เรื่องนี้เป็นหน้าที่ที่รัฐจะต้องไปปฏฺิรูปจัดองคาพยพการแก้ปัญหากันใหม่ ก็ต้องว่ากันไป แต่ไม่ใช่การพึ่งพาทหารอย่างเป็นทางการ
ในส่วนหลักการบริหารการจัดการนั้นก็ยังมีปัญหาเพราะระบบการ"เกณฑ์"ดังกล่าวมักไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรที่ดีพอกับประโยชน์ที่จะได้รับทั้งยังไม่มีความจำเป็นเฉพาะหน้าเพียงพอ
ที่สำคัญใครก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับระบบดังกล่าวจะต้องไม่ถูกโยงว่าสังกัดอยู่กลุ่มการเมืองใดหรือมีความคิดล้าหลังเข้ารกเข้าพงมีอคติทางการเมืองมาบดบังเพราะการไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวไม่ได้ยืนอยู่ลอยๆโดยไม่มีหลักการ
ถึงเวลาอีกครั้ง ที่เราต้องตอบคำถามว่า “ที่สุดเเล้ว การแก้ปัญหาของประเทศ เราจะหาทางออกอย่างลดต้นทุน ด้วยการ "เกณฑ์" เอาง่ายๆอย่างนั้นหรือ และที่สุดเเล้ว มัน ตอบโจทย์อะไรให้กับประเทศชาติ?
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438230949
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
morntanti
morntanti
ออฟไลน์
เครดิต
10113
3
#
โพสต์ 2015-7-31 08:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เลิกการเกณฑ์เปลี่ยนเป็นรับสมัครได้แล้วจะได้คนที่เค้าเต็มใจในการเข้าทำหน้าที่....ปริมาณมากใช่จะมีประสิทธิภาพมีแต่สิ้นเปลืองงบประมาณ....ยุคสมัยเปลี่ยนไปกองทัพต้องปรับเปลี่ยนเน้นคุณภาพกำลังพลไม่ใช่ปริมาณ....
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
majoy
majoy
ออฟไลน์
เครดิต
24696
4
#
โพสต์ 2015-7-31 21:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไม่เคยได้ยินเลย อิรัฐประเทศไหน ที่ทำแบบนี้ ไม่เข้าใจจริงๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...