ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 13113
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระร่วงรางปืน วัดพระแทนดงรัง กาญจนบุรี

[คัดลอกลิงก์]


(ข้อความจากใบฝอยของวัดฯ)
กล่าวโดยคุณค่าของความเป็นพระเครื่อง  อย่างน้อยย่อมมีคุณค่าทางใจ  ต่อนักสะสมเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องเพราะชมชอบในพระเครื่องจึงสะสมเก็บไว้  
แม้ในอีกบางด้านจะชมชอบเพราะความเชื่อมั่นในพุทธคุณ  หรืออีกบางด้านจะยึดเป็นธุรกิจของตนก็ตาม  แต่หากจะกล่าวโดยแท้จริง
พระเครื่องสร้างขึ้นมาด้วยมูลเหตุแห่งพระพุทธศาสนาเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเพื่อสืบทอดอายุ  หรือการเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชน
สระทุนทรัพย์ของตนเพื่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธาเป็นคุณค่าทางน้ำใจที่ญาติโยมจะได้"ให้"คุณค่านี้แก่กัน
สืบทอดไปชั่วลูกชั่วหลาน
     พระร่วงหลังรางปืน วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของวัตถุมงคลพระเครื่องที่
ได้สร้างขึ้นมา ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ มีการค้นพบชินตะกั่วที่ใช้ปูดาษพื้นวิหารพระแท่น  ระหว่างการซ่อมแซมพระวิหารครอบพระแท่น
โดยการขุดลอกพื้นวิหารเมื่อ  พ.ศ.2525 ทางเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร  คือ  พระราชวิสุทธาภรณ์(ทองดำ อิฏฺฐาสโภ)
ได้เล็งเห็นว่าชินตะกั่วที่พบดาษพื้นนั้น ไม่น่าจะทิ้งไปโดยปราศจากประโยซน์จึงได้ปรึกษากับคณะกรรมการ  จัดสร้างเป็น
วัตถุมงคลขึ้นมาชุดหนึ่ง  เป็นพระร่วงหลังปืนและพระนางพญาขึ้นมา  จำนวนทั้งสิ้นอย่างละ 3,000 องค์  โดยใช้เนื้อชินตะกั่วเพียงอย่างเดียว
   กล่าวสำหรับเนื้อชินตะกั่วที่ขุดพบในวิหารพระแท่นดงรังนั้นจากหนังสือ   ประวัติพระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรีได้พิมพ์บัญชีรายนาม
ผู้ปฏิสังขรณ์พระแท่นดงรัง  ในร.3 ซึ่งคัดจากหมายเหตุ ร.3 เลขที่ 316 เรื่องบัญชีรายนามผู้ปฏิสังขรณ์พระแท่น จ.ศ. 1201 (พ.ศ.2382)
อันเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกที่มาของชินตะกั่ว ว่าเป็นตะกั่วที่ใช้ดาษพื้นรอบๆพระแท่นภายในวิหาร อันเป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญๆ
ต่างๆมามากมาย อีกทั้งเป็นที่ซึ่งคณาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งหลายได้เข้ามาอธิฐานจิตเพื่อสักการและระลึกถึงพระพุทธคุณที่มีต่อสัตว์โลก รวมถึงบุคคล
สำคัญต่างๆที่มากด้วยบารมีหลายๆประการ ตลอดระยะเวลาเกือบสามร้อยปี
    สาเหตุที่ได้บูรณปฏิสังขรณ์กันนั้นเนื่องจากเจ้าอธิการวัดสุวรรณทารามบางกระและลูกศิษย์ ได้มานมัสการพระแท่น เมื่อปี พ.ศ.2380
เห็นว่าชำรุดทรุดโทรมจึงได้บูรณะขึ้นใหม่

     เจ้าคณะอำเภอท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันนี้เอง ได้สร้างพระร่วงหลังรางปืนและพระนางพญาขึ้นมาโดยเฉพาะ
พระร่วงหลังรางปืนอันโดเด่นเป็นพิเศษ  ทั้งยังมีขนาดเล็กกระทัดรัดกล่าวคือ มีขนาดสูงประมาณ  5  ซม. กว้าง 1.5 ซม.
ด้านหน้า เป็นรูปองค์พระประทานพรประทับยืนอยู่ในซุ้มประภามณฑล ยกอรหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ แบฝ่าพระหัตถ์ออกข้างนอกพระหัตถ์
ซ้ายทอดลงพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ออกข้างนอกในท่าแสดงประธานพร เศียรพระองค์พระสวมอุณหิสแบบกระบังหน้า
ขอบกระบังหน้าเป็นเส้นรัดเกล้า 2 เส้น ขนานกัน พระเกศขมวดเป็นรูปบัวตูมพระพักตร์ ปรากฎรายละเอียดของพระเนตร
พระนาสิก พระโอษฐ์ อย่างชัดเจน พระศอปรากฎสร้อยพระคอ รัดประคดตำกว่าพระนาภี เป็นเส้นแถบตรงกลางเป็นหัวกลม
ระหว่างกึ่งกลางของรัดประคดเป็นจุดไข่ปลาเรียงราย ตรงกลางปรากฎเส้นผ้าห้อยแสดงการซ้อนของสบง ด้านข้างของพระวรกาย
มีเส้นคู่แสดงจีวรลงมาถึงข้อพระบาท พระบาทประทับเป็นยืนอยู่บนแท่นรองรับแบบฐานเขียง ด้านหลังเป็นตรงกลาง
เป็นร่องรางเว้าลงไปแบบรางปืนและได้พุทธาภิเศก เมื่อปี พ.ศ. 2525

รายนามเกจิอาจารย์ผู้เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเศกทั้งสิ้น ๑๙ รูปตามประกอบด้วย
๑ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
๒  พระธรรมคุณาภรณ์ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม กาญจนบุรี
๓ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
๔ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
๕ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
๖ หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
๗ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
๘ หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม นครปฐม
๙ หลวงพ่อพ่วง วัดหูช้าง   ราชบุรี
๑๐ หลวงพ่อบุญส่ง วัดพระนอน สุพรรณบุรี
๑๑ หลวงพ่อโน้ม  วัดหัวกลับ สุพรรณบุรี
๑๒ หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ ราชบุรี
๑๓ หลวงพ่อจุ่น วัดเขาสะพายแร้ง กาญจนบุรี
๑๔ หลวงพ่อแท่ง วัดหนองลาน กาญจนบุรี
๑๕ หลวงพ่อเสงี่ยม วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
๑๖ หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งสมอ กาญจนบุรี
๑๗ หลวงพ่อพา วัดน้ำวน ปทุมธานี
๑๘ หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร นครปฐม
๑๙ หลวงพ่อนิล วัดสำนักคร้อ กาญจนบุรี

พุทธคุณยอดเยี่ยมมากในเรื่องแคล้วคลาด สุดยอดครับ
http://www.web-pra.com/Shop/wison/Show/106867
เคยมีอยู่องค์นึง แต่มอบให้อาจารย์เป็นมวลสารแล้ว
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2017-1-30 18:07
เคยมีอยู่องค์นึง แต่มอบให้อาจารย์เป็นมวลสารแล้ว

จริง ป่ะ

จริงแท้แน่นอนคร้าบบบ... น่าจะเป็นมวลสารอยู่ในเหรียญอาจารย์ซักรุ่น
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2017-9-5 09:27
จริงแท้แน่นอนคร้าบบบ... น่าจะเป็นมวลสารอยู่ในเหรียญอาจารย์ซักรุ่น

อนุโมทนาครับ
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2017-9-5 09:27
จริงแท้แน่นอนคร้าบบบ... น่าจะเป็นมวลสารอยู่ในเหรียญอาจารย์ซักรุ่น

ของปลอมป่าว.วววว
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2017-9-18 06:57
ของปลอมป่าว.วววว

ของแท้แน่นอนครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้