ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 9829
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 ยอดวรยุทธ์ที่ปรากฎในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง

[คัดลอกลิงก์]
สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร


กำเนิด 18 ฝ่ามือพิชิตมังกร


สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร หรือเรียกอีกแบบว่า ฝ่ามือสยบมังกรสิบแปดท่า (จีน: 降龍十八掌; พินอิน: jiàng lóng shí bā zhǎng) เป็นวิทยายุทธในนิยายกำลังภายในหลายเรื่องของกิมย้ง

เดิม ฝ่ามือพิชิตมังกร เป็นกระบวนท่าของวัดเส้าหลิน ซึ่งมีกระบวนท่าเพียงแปดท่าเท่านั้น เฉียวฟงในวัยแปดขวบ ได้มีวาสนาพบพานกับเสียนขู่ไต้ซือ และรับเฉียวฟงไปเป็นศิษย์ฝึกวรยุทธ์ที่วัดเส้าหลิน เมื่อเฉียวฟงเติบโตขึ้นได้อายุเพียงยี่สิบสามปี ด้วยความเป็นผู้มีทักษะยุทธได้คิดค้นกระบวนท่าเพิ่มเป็นสิบแปดท่า จึงเรียกว่าสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร และขึ้นเป็นประมุขพรรคกระยาจก จึงได้รับการถ่ายทอดเพลงไม้เท้าตีสุนัขจากอวงเกี่ยมทง จวบจนเฉียวฟงได้สละตำแหน่งประมุขพรรคกระยาจกเนื่องจากถูกเปิดโปงเรื่องชาติกำเนิด ทำให้ไม่มีผู้สืบทอดฝ่ามือที่สมบูรณ์ชุดนี้ กระบวนท่าที่สืบทอดจึงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ต่อมาอั้งฉิกกงในเรื่องมังกรหยกได้คิดค้นเพิ่มขึ้นให้ครบตามชื่อ รวมเป็นสิบแปดท่าตามเดิม แต่ไม่สามารถคงอานุภาพเทียบเท่ากับสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรของต้นฉบับเดิมได้

วิชาฝ่ามือนี้มีบทบาทอย่างกว้างขวางในนิยายของกิมย้ง ผู้ใช้วิชานี้มักจะเป็นยอดแห่งจอมยุทธในยุคนั้นๆ แม้ว่าในยุคหลังๆจะเสื่อมถอยลงแต่ก็ยังมีการพูดถึงอยู่ ฝ่ามือพิชิตมังกรสิบแปดท่าเป็นวิชาประจำพรรคกระยาจก ซึ่งเป็นพรรคที่ยิ่งใหญ่มีสมาชิกนับแสนกระจายอยู่ทั้วแผ่นดิน วิชาฝีมือนี่เป็นไปในทางกล้าแกร่งตรงไปตรงมา ผู้ที่เหมาะกับการฝึกวิชานี้จะต้องมีร่างกายกำยำแข็งแรง จึงไม่เหมาะกับสตรี วิชานี้มีผู้ใช้อยู่หลายคน บางคนแม้ไม่ใช่ศิษย์พรรคกระยาจกก็มีโอกาสได้ฝึก แต่ที่โดดเด่นสะท้านยุทธภพ มีดังนี้

เฉียวฟงเหนือ หรือ เซียวฟง พูดถึงวิชาฝีมือนี้ต้องกล่าวย้อนไปถึงยอดคนในยุคแรกๆ ตั้งแต่ยุคของแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ช่วงราชวงศ์ซ้องเหนือ (คริสต์ศตวรรษที่ 11) ก็มียอดคนผู้หนึ่งใช้วิชานี้ได้อย่างช่ำชองยิ่ง นั่นคือ เฉียวฟง จอมยุทธผู้เรืองนามในยุคนั้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าในยุคแปดเทพฯนั้นเป็นยุคที่มียอดวิชาที่สุดร้ายกาจแสนพิศดารอยู่มากมาย จอมยุทธแต่ละคนล้วนมีฝีมือสูงเยี่ยมเป็นที่สุด แต่กระนั้น เฉียวฟงยังคงใช้ วิชา สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร วิชาเดียวนี้ โลดเล่นอยู่ในยุทธจักรในยุคแปดเทพฯ ได้อย่างองอาจไร้ผู้ต่อต้าน จนกล่าวกันว่า เฉียวฟงเป็นผู้ที่ใช้ท่าสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร ได้เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคยมีมา

ยาจกอุดรอั้งฉิกกง มาถึงยุคของมังกรหยก วิชานี่ยังคงอนุภาพร้ายกาจสั่นครอนยุทธภพ อั้งฉิกกงได้รับการถ่ายทอดยอดวิชานี้จากประมุขพรรคกระยาจกคนก่อน แต่เนื่องจากฝ่ามือที่ตกทอดมามีเพียงเก้าท่าเท่านั้น และเพื่อให้ครบสมบูรณ์ตามชื่อวิชา อั้งฉิกกงใช้ความอัฉริยะของตนเองบัญญัติคิดค้นขึ้นเองอีกเก้าท่า รวมเป็นสิบแปดท่าตามชื่อวิชา และใช้วิชานี้ โลดเล่นเป็นหนึ่งในยอดจอมยุทธ์ ของยุคนั้น เทียบเคียงกับ อึ้งเอี๊ยะซือ อาวเอี้ยงฮง และอิดเต็งไต้ซือ

ก๊วยเจ๋ง ได้รับการสืบทอดวิชานี้มาจากอั้งฉิกกง และเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสำเร็จในยอดวิชานี้อย่างที่สุด สามารถใช่ร่วมกับวิชาอื่นๆที่ตัวเองมีได้อย่างกลมกลืน สำหรับในมังกรหยกภาคสองนั้น วิชานี้ของก๊วยเจ๋งได้สำแดงเดจครั้งแรกตอนที่ประทะกับอาวเอี้ยงฮง โดยก๊วยเจ๋งใช้ออกด้วยท่ามังกรผยองได้สำนึก กิมย้งนั้นได้อธิบายความร้ายกาจของกระบวนท่านี้ว่า ก๊วยเจ๋งทบทวนฝึกกระบวนท่านี้โดยไม่ว่างเว้น ตอนแรกเริ่มฝึกปรือก็ร้ายกาจยิ่ง บวกกับการมานะฝึกปรือตลอดมา นับว่าก้าวถึงขั้นสุดยอด ตอนแรกที่ผลักมือออกดูไปคล้ายราบเรียบธรรมดา แต่พอเผชิญการต่อต้านสามารถเพิ่มพลังตามหลังอีกสิบสามชั้นในชั่วพริบตา แต่ละชั้นทวีความกล้าแข็ง เป็นอนุภาพการทำลายล้างอย่างรุนแรง นี่เป็นเคล็ดความพิศดารที่ก๊วยเจ๋งได้คิดจากการศึกษาคัมภีร์เก้าอิม เพียงนับกระบวนท่านี้ แม้แต่อั้งฉิกกงเมื่อครั้งกระโน้น ก็ไม่มีความสำเร็จลึกล้ำถึงขั้นนี้ เล่ม 1 หน้า 111 จากนั้นในตอนขึ้นเขาไปสำนักช้วนจินก่า ก๊วยเจ๋งก็ได้สำแดงเดชกระบวนท่านี้อีกครั้ง เพื่อฝ่าค่ายกลใหญ่ฟ้าดาวเหนือ โดยสามารถใช้วิชา ฝ่ามือพิชิตมังกรสิบแปดท่ารวมกับวิชาสองมือพันตูของจิวแป๊ะธงได้อย่างสอดคล้อง ดังความตอนนี้ ก๊วยเจ๋งมือซ้ายใช้ออกด้วยท่ามังกรซ่อนกบดาน มือขวาใช้ด้วยท่ามังกรผยองได้สำนึก สำแดงวิชาสองมือพันตูกันเอง แยกย้ายจู่โจมด้านซ้ายขวาโดยพร้อมเพรียง ยังไม่ทันใช้กระบวนท่าถึงที่สุด พลันแปรเปลี่ยนแต่กลางคัน ท่ามังกรซ่อนกบดานเปลี่ยนเป็นท่ามังกรผยองได้สำนึก ท่ามังกรผยองได้สำนึกกลายเป็นท่ามังกรซ่อนกบดาน ก๊วยเจ๋งใช้วิชาสองมือพันตูกันเอง ฝ่ามือทั้งสองใช้กระบวนท่าที่แตกต่างกัน นับเป็นความยากลำบากอยู่แล้ว มิหนำซ้ำยังสามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนท่าได้กลางคันอีกด้วย เล่ม 1 หน้า 186 และเมื่อตอนบุกค่ายมองโกล ก๊วยเจ๋งต้องประทะกับราชครูกิมลุ้นและพวก ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่ตึงมือยิ่ง กิมย้งยังได้อธิบายถึงความสำเร็จของวิชานี้ของก๊วยเจ็งที่นำยอดวิชาที่ร่ำเรียนมาผสมผสานกลมกลืนกันใช้ออกได้อย่างยอดเยี่ยม เกือบยี่สิบปีมานี้ ก๊วยเจ๋งฝึกปรือเคล็ดวิชาในคัมภีร์เก้าอิม พลังของสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรบัดเดี๋ยวอ่อนบัดเดี๋ยวแข็ง บัดเดี๋ยวยืดบัดเดี๋ยวหด ในความกล้าแกร่งสุดยอดกลับแฝงประสิทธิภาพของความอ่อนหยุ่น บวกกับท่าฝ่ามือของเขา เคลือบแฝงค่ายกลฟ้าดาวเหนือของสำนักชวนจินก่า ขณะที่โรมรันสามารถพุ่งตัวย้อนไปมา ผู้คนหนึ่งคล้ายแปลงร่างเป็นเจ็ดคน เล่ม 3 หน้า 61

นอกจากยอดคนเหล่านี้ก็ยังมีอีกหลายคนที่ใช้วิชานี้ได้ ก๊วยเจ๋งก็ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ลูกและศิษย์ บู๊ตุงยู้ก็เคยจะใช้ท่านี้เพื่อต่อสู้กับฮั่วตู แต่ด้วยพลังฝีมือที่อ่อนด้อยของบู๊ตุงยู้ไหนเลยจะแสดงอนุภาพของยอดวิชานี้ได้ แต่เพียงแค่ตั้งท่า ก็ข่มขวัญราชบุตรฮั่วตูได้ สุดท้ายก็ไม่มีผู้ใดใช้ยอดวิชานี้ได้อย่างสมบูรณ์อีก หลังจากนั้นวิชานี้ก็ค่อยๆเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ

ในฟงอวิ๋น ขี่พายุทะลุฟ้า เพลงเตะพิชิตมังกรของตู้กูหมิงก็เป็นเพลงเตะที่ดัดแปลงมาจากฝ่ามือพิชิตมังกรของอั้งฉิกกง


ฝ่ามือพิชิตมังกรสิบแปดท่า หรืออาจจะเรียกเป็น ฝ่ามือสยบมังกรสิบแปดท่า หรือฝ่ามือปราบมังกรสิบแปดท่า ก็ตาม ล้วนแต่มีความหมายเดียวกัน วิชาฝีมือนี้มีบทบาทอย่างกว้างขวางในนิยายของกิมย้ง ผู้ใช้วิชานี้มักจะเป็นยอดแห่งจอมยุทธในยุคนั้นๆ แม้ว่าในยุคหลังๆจะเสื่อมถอยลงแต่ก็ยังมีการพูดถึงอยู่ ฝ่ามือพิชิตมังกรสิบแปดท่าเป็นวิชาประจำพรรคกระยาจก ซึ่งเป็นพรรคที่ยิ่งใหญ่มีสมาชิกนับแสนกระจายอยู่ทั่วแผ่นดิน วิชาฝีมือนี่เป็นไปในทางกล้าแกร่งตรงไปตรงมา ผู้ที่เหมาะกับการฝึกวิชานี้จะต้องมีร่างกายกำยำแข็งแรง จึงไม่เหมาะกับสตรี วิชานี้มีผู้ใช้อยู่หลายคน บางคนแม้ไม่ใช่ศิษย์พรรคกระยาจกก็มีโอกาสได้ฝึก

รายชื่อฝ่ามือพิชิตมังกรสิบแปดท่า

1. (มังกรผยองได้สำนึก)

2. (มังกรบินอยู่สวรรค์)

3. (มังกรโรมรันกลางไพร)

4. (มังกรซ่อนกบดาน)

5. (เชี่ยวชาญข้ามแม่น้ำใหญ่)

6. (หงส์ร่อนพสุธา)

7. (ประดังโดยพลัน)

8. (สะท้านขวัญร้อยลี้)

9. (ทะยานสู่มหรรณพ)

10. (มังกรเทพสะบัดหาง)

11. (มังกรผงาดกลางทุ่ง)

12. (มังกรคู่ตักน้ำ)

13. (มัจฉาทะยานสมุทร)

14. (บังคับหกมังกร)

15. (เมฆหนาไร้ฝน)

16. (ลดสูญเสียเกิดผลลัพธ์)

17. (สัมผัสน้ำแข็งเหน็บหนาวกาย)

18. (มังกรพิโรธ)

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



2. สิบเจ็ดฝ่ามือกำสรดวิญญาณสลาย


เป็นฝ่ามือที่เอี้ยก้วยเป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง โดยหลังจากฝึกฝีมือกลางคลื่นทะเล หลายปีต่อมาจึงมีกำลังภายในรุดหน้าตามลำดับ มีอยู่วันหนึ่ง เอี้ยก้วยยืนอยู่ชายฝั่งทะเลเป็นเวลานาน ยามไร้เรื่องราวทดลองต่อยหมัดเตะเท้า เนื่องด้วยมีพลังการฝึกปรือล้ำลึก พอลงมือก็เปร่งอนุภาพไพศาล เพียงฝ่ามือเดียวถึงกับฟาดกระดองของเต่าทะเล ซึ่งอยู่บนชายหาดตัวหนึ่งแตกสลาย ดังนั้นใช้ความคิดบัญญัติเพลงฝ่ามือขึ้นมาชุดหนึ่ง ลงมือด้วยท่วงท่าแตกต่างกับวิชาฝีมือธรรมดาทั่วไป ความร้ายกาจอยู่ที่กำลังภายใน มีทั้งสิ้นสิบเจ็ดกระบวนท่า
ในชีวิตเอี้ยก้วยได้รับการชี้แนะจากยอดฝีมือไม่น้อย เริ่มจากร่ำเรียนเคล็ดข้อความกำลังภายในจากสำนักชวนจินก่า จากนั้นเซียวเหล่งนึ่งถ่ายทอดเคล็ดวิชาในคัมภีร์สุรางคนางค์ให้ ระหว่างที่อยู่ในสุสานโบราณพบเห็นคัมภีร์เก้าอิม อาวเอี้ยงฮงก็ถ่ายทอดลมปราณคางคก และวิธีบังคับชีพจรย้อนกลับ อั้งชิกกงและอึ้งย้งถ่ายทอดวิชาไม้เท้าตีสุนัขให้ ส่วนอึ้งเอี๊ยะซืออธิบายวิชาดรรชนีศักดิ์สิทธิ์ และเพลงกระบี่ขลุ่ยหยกแก่เขา นอกจากวิชาดรรชนีเอกสุริยันแล้ว กล่าวได้ว่าศึกษาวิชาฝีมือของ ภูตบูรพา พิษประจิม ยาจกอุดร และกลางอิทธิฤทธิ์ สำหรับแนววิชาของสำนักสุสานโบราณ ก็เป็นมรรคาอีกสายหนึ่งนอกเหนือจากห้าสุดยอดฝีมือ ยามนี้พอหล่อหลอมรวมกัน ก็กำหนดเป็นอีกแนวทางหนึ่ง เพียงแต่เอี้ยก้วยหลงเหลือเพียงแขนเดียว ดังนั้นไม่อาศัยการเปลี่ยนแปลงของกระบวนท่าเข้าเอาชัย จงใจสวนทางกับหลักเหตุผลของวิชาบู๊

เอี้ยก้วยตั้งชื่อเพลงฝ่ามือชุดนี้ว่า เพลงฝ่ามือกำสรดวิญญาณสลาย โดยนำมาจากข้อความในกาพย์เปียกฮู่ ( กาพย์ลาจากจร ) ของกังเอียม ที่ว่า "เศร้ากำสรดวิญญาณสลาย คลาดคลาหายจากจรไปแสนไกล" และได้ใช้ฝ่ามือนี้ครั้งแรกตอนได้พบจิวแป๊ะธง

วิชาที่คิดค้นขึ้นเอง
ก่อนที่จะคิดค้นวิชาฝ่ามือกำสรดวิญญาณสลายนั้น เอี้ยก้วยก็เคยได้คิดค้นวิชาเล็กๆน้อยๆขึ้นเองมาบ้างแล้ว อย่างในตอนแรกที่สู้กับราชบุตรฮั่วตู่ก็เคยได้ใช้ออก ดังความตอนนี้


เอี้ยก้วยถอยไปหลายก้าว ทรุดนั่งลงข้างกายเซียวเหล่งนึ่ง ยกมือขวาท้าวคาง โบกมือซ้ายเบาๆ ทอดถอนใจคำหนึ่ง สีหน้าปรากฎแววอ้างว้างเดียวดาย เป็นกระบวนท่าสุดท้ายอันเป็นการสิ้นสุดของเพลงหมัดหญิงงาม นาม เดียวดายในสุสานโบราณ ซึ่งเป็นเอี้ยก้วยบัญญัติขึ้นเอง นอกจากลิ้งเชียวเอ็งไม่ทราบ เซียวเหล่งนึ่งก็หาล่วงรู้ไม่
เล่ม 2 หน้า 170

จากนั้นยังมีเมื่อครั้งที่ต่อสู้กับกงซุนจี้ เอี้ยก้วยก็ได้ใช้ออกด้วยเพลงกระบี่ที่คิดขึ้นเองอีกชุดหนึ่ง โดยเอื่อนเอ่ยบทกวีออกมาพร้อมกับร่ายรำเพลงกระบี่ไปด้วย ตามความตอนนี้

บทกวีนี้เอื่อนเอ่ยอย่างปลอดโปร่ง เพลงกระบี่กลับโอ่อ่าผ่าเผยโดดเด่นสง่างาม โดยเฉพาะสองท่าสุดท้านแผ่วพริ้วพิศดาร บัดเดี๋ยวซ้ายกลายเป็นขวา มุ่งขึ้นบนจู่โจมล่าง กระบวนเพลงเดียวสองกระบี่ ยากจำแนกสภาพจริงเท็จได้
เล่ม 2 หน้า 541

เพลงกระบี้นี่คิดขึ้นจากหนังสือกวีเล่มหนึ่ง คราก่อนเอี้ยก้วยเห็นจูจื้อลิ้วดัดแปลงวิชาลายมือเป็นกระบวนท่าฝีมือ เลยลองดัดแปลงบทกวีมาเป็นเพลงกระบี่บ้าง

ประสบการณ์ในเชิงบู๊
สิ่งที่ทำให้เอี้ยก้วยมีความรอบรู้ในวิชาบู๊มากมายจนสามารถบัญญัติวิชาขึ้นเองได้ นอกจากได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆมากมายจากยอดคนแล้ว เอี้ยก้วยยังมีประสบการณ์ต่อสู้อย่างโชกโชน และยังมีโอกาสได้เห็นการต่อสู้ของจอมยุทธหลายต่อหลายคน ซึ่งสามารถนำมาเป็นประโยชน์กับตนเองได้ ดังเช่นตอนที่ได้เห็นก๊วยเจ๋งประทะกับ ราชครูกิมลุ้น ก๊วยเจ๋งได้ใช้ออกด้วยวิชาสิบแปดฝ่ามือสยบมังกรผสมผสานเข้ากับวิชาเก้าอิม ดังความตอนนี้


เอี้ยก้วยชมดูอยู่ด้านข้างในใจบังเกิดความเลื่อมใสเหลือประมาณ เอี้ยก้วยเคยฝึกปรือเคล็ดวิชาเก้าอิม เพียงแต่ขาดผู้ชี้แนะไม่ทราบว่ามีความล้ำลึกพิศดารถึงเพียงนี้ เมื่อได้เห็นเพลงฝ่ามือขอก๊วยเจ๋ง ทำใหคิดถึงแนวทางหมัดอันลึกล้ำไม่น้อย
เล่ม 3 หน้า 61

หรือในตอนที่สู้กับกงซุนจี้ ก็ได้ฮิ้วโชวเชี๊ยะบอกให้หมุนตัวอ้อมไปด้านหลังกงซุนจี้ พอไปถึงด้านหลังแล้ว กลับบอกให้หมุนกลับไปด้านหน้า ดูไปเหมือนเป็นการเคลื่อนที่ ที่ไร้ความหมาย แต่พอหมุนตัวอยู่หลายรอบกลับได้พบว่าใต้ซอกแขนขวาของกงซุนจี้เกิดช่องโหว่ขึ้น

ฮิ้วโชวเชี๊ยะไม่ได้ชี้แนะเอี้เยก้วย พิชิตชัยอย่างไร หากแต่แนะนำเอี้ยก้วยค้นหาโอกาสพิชิตชัย จากสภาพที่ไม่อาจเอาชัยได้ ทั้งไม่ได้ระบุช่องโหว่ในกระบวนท่าของกงซุนจี้ หากแต่ให้เอี้ยก้วยล่อลวงกงซุนจี้จนเผยช่องโหว่ จากกระบวนท่าที่ปราศจากช่องว่างรอยโหว่ นางชี้แนะติดต่อกันหลายครั้ง เอี้ยก้วยก็เข้าใจแก่แท้ของวิชาฝีมือชั้นสูง ครุ่นคิดในใจ "หากคู่ต่อสู้เป็นยอดฝีมือ ในกระบวนท่าไหนเลยมีช่องโหว่ให้ฉกฉวย คำชี้แนะของผู้อวุโสแซ่ฮิ้วนี้ นับว่าอำนวยประโยชน์แก่ผู้คนชั่วชีวิต"
เล่ม 2 หน้า 539

ยังมีครั้งที่ได้พบเห็น ยอดคนอย่างอั้งชิกกงประทะกับอาวเอี้ยงฮง เป็นประสบการณ์ที่ยากจะพานพบ และอีกหลายๆครั้งจากหลายๆยอดฝีมือ ประสบการณ์เหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ ทำให้เอี้ยก้วยสามารถบัญญัติยอดวิชาอย่างวิชา ฝ่ามือกำสรดวิญญาณสลาย ขึ้นมาได้

สิบเจ็ดฝ่ามือกำสรดวิญญาณสลาย


ซิมเกียเน็กเถี่ยว ( เนื้อเต้นใจสะท้าน )
กีนั้งอิวเทียน ( วิตกทุกร้อนเกินเหตุ )
บ้อตังแซ่อู๋ ( เสกสรรปั้นเรื่องราว )
ทัวนี้ตั่วจุ้ย ( ยืดเยื้อชวนรำคาญ )
ไป๊ฮ้วยคงก๊ก ( วนเวียนหุบเขาร้าง )
ลักปุกชงซิม ( ใจสู้ขาดแรงหนุน )
เกียซีเจ้าเน็ก ( ซากศพเดินได้ )
ย้งนั้งจื่ออิว ( คนเขลาหาเรื่องใส่ตน )
ต้อเกี้ยเง็กซี ( ฝืนทวนความประพฤติ )
ฮุ่ยจิ้มบ้วงเจี๊ยะ ( ลืมกินไม่หลับนอน )
โกวเฮ้งเจียะเอี้ย ( เงาโดดเดี่ยวร่างเดียวดาย )
อิ้มหึงทุงเซีย ( กลืนความแค้นไม่ออกปาก )
ลักซิ้งปุกอัน ( จิตทั้งหกไม่สงบ )
ข้งทู้ม้วกโล่ว ( อับจนสิ้นหนทาง )
มิ่นบ้อนั้งเส็ก ( หน้าไร้แววผู้คน )
เสียยิบฮุยฮุย ( จิตฟุ้งซ่านรัญจวน )
ไง้เยียกบักโกย ( ตะลึงงันราวกิ่งไม้ )
รายละเอียดของกระบวนท่า
ฝ่ามือนี้มีอยู่ทั้งหมดสิบเจ็บกระบวนท่า เอี้ยก้วยได้บอกชื่อกระบวนท่าทั้งหมดแก่จิวแป๊ะธง ภายหลังได้แสดงแต่ละกระบวนท่าให้ชมดู แต่ที่มีอธิบายในนิยายมีอยู่ ดังนี้

ซิมเกียเน็กเถี่ยว ( เนื้อเต้นใจสะท้าน )
เป็นกระบวนท่าที่สิบสาม สามารถบังคับกล้ามเนื้อ ทรวงอกยุบเข้าด้านใน แล้วดีดกระดอนออกโจมตีศัตรู

กีนั้งอิวเทียน ( วิตกทุกร้อนเกินเหตุ )
เป็นวิชาฝ่ามือที่ฟาดพาดเฉียง พลังฝ่ามือกลับกลายเป็นรูปโค้ง กระจายลงรอบด้านปกคลุมพื้นที่กว้างไพศาล ไม่สามารถหลบหลีกรอดพ้น ฝ่ามือนี้มีความรุนแรง แม้แต่จิวแป๊ะธง ถ้ามาเปรียบเทียบฝ่ามือต่อฝ่ามือแล้ว ฝ่ามือของจิวแป๊ะธงไม่กล้าแข็งแกร่งกร้าวเท่ากับพลังฝ่ามือของเอี้ยก้วย

บ้อตังแซ่อู๋ ( เสกสรรปั้นเรื่องราว )
เคลื่อนไหวทั้งมือเท้า ซ้ายฝ่ามือ ขวาแขนเสื้อ ขยับสองเท้าพุ่งศีรษะชน แม้แต่ทรวงอกหลังไหล่ล้วนใช้กระบวนท่าออก ไม่มีส่วนใดไม่ทำร้ายศัตรู สิบกว่ากระบวนท่าจู่โจมถึงโดยพร้อมเพรียง ที่ว่ากระบวนท่าเสกสรรปั้นเรื่องราวมีเพียงท่าเดียวแต่แฝงท่าตามหลังสิบกว่าท่วงท่า

ทัวนี้ตั่วจุ้ย ( ยืดเยื้อชวนรำคาญ )
แขนเสื้อข้างขวาโบสสะบัด ราวกับสายน้ำหลังไหล แต่มือซ้ายสะดุดลากถ่วง คล้ายกำลังลากดึงดินโคลนหนักหลายพันชั่งก็ปาน แขนเสื้อเป็นภาพลักษณ์ของทิศเหนือ มือซ้ายเป็นภาพลักษณ์ของกึ่งกลาง ประกอบด้วยความคล่องแคล่วหนักหน่วง

มิ่นบ้อนั้งเส็ก ( หน้าไร้แววผู้คน )
เป็นกรนะบวนท่าหนึ่งแต่แฝงความเปลี่ยนแปลงมากหลาย สีหน้าปรากฎแววยินดี เดือดดาร โศกศัลย์ หรรษา เต็มไปด้วยความประหลาดพิกล ศัตรูพบเห็น ยากที่จะควบคุมจิตสำนึกตัวเองได้ เรายินดีศัตรูยินดี เรากังวลศัตรูกังวล สุดท้ายตกอยู่ในอาณัติของผู้ใช้วิชา นี่เป็นวิธีพิชิตศัตรูที่ไร้เสียงไร้เงา เปรียบกับการกู่ร้องสยบศัตรูยังเหนือล้ำกว่าขี้นหนึ่ง กระบวนท่านี้ดัดแปลงมาจากยอดวิชาย้ายวิญญาณในคัมภีย์เก้าอิม

ต้อเกี้ยเง็กซี ( ฝืนทวนความประพฤติ )
เป็นกรนะบวนท่าที่มีการเปลี่ยนแปลงสามสิบเจ็ดแบบ มีต้นกำเนิดจากวิชาฝีมือของพิษประจิมอาวเอี้ยงฮง แต่ว่าล้ำลึกกว่า ในย้อนทวนมีท่าตรง ตรงและย้อนทวนหักล้างกันเอง สะกดข่มกันเอง มิอาจใช้เหตุผลอธิบายได้

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. เก้าอิมจินเก็ง(คัมภีร์มารนพเกล้า)


เก้าอิมจินเก็งแบ่งออกเป็นสองส่วน เล่มต้นเป็นหลักวิชากำลังภายใน ส่วนเล่มท้ายเป็นเคล็ดวิชา (วิชาที่รู้จักกันดีคือ กรงเล็บกระดูกขาว หรือ เก้าอิมแป๊ะกุ๊กเหยี่ยว อันน่ากลัวซึ่งความจริงเป็นวิชาดรรชนีแต่หลายคนฝึกผิดจึงกลายเป็นกรงเล็บไปแทน) นอกจากนี้มีวิชาหมัด เท้า อาวุธ ค่ายกล อาวุธลับ หลายแขนงอยู่ด้วย รวมถึงวิธีการรักษาการบอบช้ำภายใน จัดเป็นยอดคัมภีร์ยุทธในจักรวาลกิมย้ง

เก้าอิมจินเก็งเป็นยอดวรยุทธที่คิดค้นโดยยอดคนที่ชื่อ อึ้งเซียะ  เป็นวิชาอึ้งเซียะ รวบรวม72วิชา สำนักเต๋าเเละพุทธ เน้นการฝึกพลังส่วนหยิน ถ้าอ่านหลายๆเรื่องเกี่ยวกับเก้าอิมจินเก็งเเล้วสามารถจำเเนกได้ทั้งหมดออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สายกำลังภายใน โดยผู้ฝึกจะต้องไม่มีพื้นฐานกำลังภายในจึงจะฝึกได้เป็นอย่างดีอย่าง สำหรับผู้มี่มีกำลังภายในจากที่อื่น จะต้องทำความเข้าใจอย่างดี ก่อนจะฝึกมิฉนั้นจะเกิดธาตุไฟเเตกได้ง่ายกว่าคนไม่มีพื้น ถ้าฝึกถูกจะทำให้พลังวัตรสูงขึ้นด้วย การฝึกกำลังภานใน จะเน้นการฟื้นฟูพลังวัตรอย่างรวดเร็ว รวมทั้งดึงพลังมหาศารออกมา ซึ้งถ้าผู้ฝึกสามารถฝึกได้ทั้งเก้าขั้นน่าจะเทียบได้กับเก้าเอี๊ยง

2 สายกระบวนท่า จะประกอบด้วย หมัด ฝ่ามือ กรงเล็บ กระบี่ เป็นหลักในการฝึก ซึ่งวิชาสายกระบวนท่านี้ อึ้งเซียะได้ศึกษา รวมทั้งคิดค้นดัดเเปลงมาจาก72สำนักเต๋าในราชวงฮั่น

เเละเมื่อฝึกทั้ง2สายอย่างครบถ้วนจึงกลายเป็นเก้าอิมจินเก็งที่ร้ายกาจ เก้าอิมจินเก็งเป็นยอดวิชาที่หาได้ยาก เเม้จะฝึกเพียงเสี่ยวเดียวของคำภีร์ก็ทำให้เป็นยอกฝีมือได้ เเต่หางเร่งรัด ทำให้ตีความ.ยของวิชาผิดจะทำให้เดินทางมารอย่างไม่รู้ตัว เช่น กรงเล็กกระดูกขาวเกิดจากการตีความผมายในคำภีร์ผิด เเละผู้ฝึกไม่มีพื้นเก้าอิ่ม

เขาคิดค้นวรยุทธชุดนี้เพื่อแก้แค้น แต่เขาใช้เวลาในการคิดค้นนานเป็นสิบ ๆ ปี เมื่อออกตามหาศัตรูก็พบว่า ศัตรูทั้งหมดของเขาได้ตายไปตามอายุขัย เหลือเพียงยายเฒ่าอายุเกือบร้อยที่ไร้เรี่ยวแรง และเคยสู้กับเขาในอดีต อึ้งเซียะไม่อาจจะฆ่าหล่อนได้ จึงจากไปพร้อมกับปล่อยวางความแค้นทั้งหมด เพราะเขาได้แก้แค้นแล้วโดยใช้ เวลา เป็นอาวุธ แต่เก้าอิมจินเอ็งก็ถูกตกทอดสู่คนรุ่นหลัง และเกิดการแก่งแย่งไม่มีที่สิ้นสุด ยุทธภพก็ไม่เคยสงบสุขตั้งแต่นั้น จนกระทั่งเฮ้งเตงเอี้ยงเป็นผู้ชนะในการประลองกระบี่เขาฮั้วซัว ซึ่งเขาได้เก็บรักษาคัมภีร์ชุดนี้ไว้ ต่อมาตกอยู่ในมือของมารบูรพา แต่กลับถูกศิษย์ของเขาขโมยหนีไปใช้สร้างความเดือดร้อน วิชานี้มีผู้เรียนรู้อีกคนคือจิวแป๊ะทง(เฒ่าทารก) เขาตีความวิชาออกมาและใช้ประยุกต์เป็นหลักวิชาเฉพาะตัว เช่น วิชาแบ่งจิตสองใจ สองมือขัดแย้ง และถ่ายทอดต่อให้กับก๋วยเจ๋ง และยังถ่ายทอดให้เซียวเหล่งนึ้งด้วย ซึ่งเซียวเหล่งนึ้งนำไปประยุกต์เป็นเพลงกระบี่คู่อันร้ายกาจที่สุดได้สำเร็จ

ดั่งเดิมของวิชานี้ถูกกำเนิดโดย

“ปรมาจารย์ตักม้อ”ซึ่งปรากฏในเรื่องเล่าของ“ปรมาจารย์ตักม้อ” ว่า คำว่า “ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นคำเรียกในภาษาจีนครับ “ปรมะ” หรือ “ปรมา” นั้นมาจาก คำว่า “บรม” ซึ่งแปลว่า “ยิ่งใหญ่” ดังนั้นคำว่า ปรมาจารย์ตักม้อ จึงหมายถึง อาจารย์หรือครู ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีนามว่า “ตักม้อ” นั่นเอง คำว่าตักม้อนี้ชาวจีนเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโม” เพราะนามเดิมของท่านในภาษาอินเดียเรียกว่า “ตะโมภิกขุ” (ภาษาไทยเรียกท่านว่า พระโพธิธรรม) พอไปอยู่เมืองจีนจึงกลายเป็น “ตักม้อ” ไป ครั้นพอมาถึงเมืองไทยก็มีผู้เติม “ไม้ตรี” เข้า ไปอีกตัวหนึ่งจึงกลายเป็น “ตั๊กม้อ”

เนื่องจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อเป็นชาวดินเดียจึงมีผิวกายดำคล้ำและมีเส้นผมหยิกงอ ดังนั้น ภาพของท่านในสายตาของชาวจีนจึงดุร้ายน่ากลัวราวกับโจรผู้ร้ายทีเดียวท่านอาจารย์ตั๊กม้อใช้วิทยายุทธปราบคนพาลอภิบาลคนดีจนมีคน เคารพเลื่อมใสมากมายทั่วไปในเมืองจีน คือตอนที่ท่านเดินทางธุดงค์จาริกไปทั่วเมืองจีนนั้นได้ ช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านด้วยวิชาการต่อสู้อันแปลก พิสดารที่ท่านได้เรียนรู้ไปจากอินเดีย นอกจากนั้นท่านยังได้รวบรวมบันทึกเคล็ดวิชาในการฝึก การต่อสู้อันสุดแสนจะพิสดารต่างๆรวมเข้าไว้เป็นคัมภีร์เล่มหนึ่ง เรียกว่า “คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง”

คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนบน” บันทึกวิชาฝึกความแข็งแรง ของร่างกาย (ฝึกโยคะ) และการต่อสู้ไว้ 72 กระบวนท่า ท่อนที่สองเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนล่าง” บัน ทึกเคล็ดวิชาต้องห้าม (วิชามาร) เอาไว้ 36 ประบวนท่า เคล็ดวิชามารเหล่านี้เป็นแนวทางการ ฝึกวิทยายุทธของคนที่เหี้ยมโหดชั่วร้ายซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝีมือของท่าน อาจารย์ตั๊กม้อจึงยึดเอามา รวมไว้เป็นคัมภีร์ท่อนล่างและกำหนดให้เป็น ”วิชาต้องห้าม” คือห้ามมิให้ฝึกเนื่องจากวิธีการ ฝึกนั้นผิดทั้งครรลองคลองธรรมและผิดศีลธรรมจึงเก็บซ่อนคัมภีร์ท่อนล่างไว้อย่างมิดชิด ภาย หลังจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อมรณภาพไปแล้วได้มีผู้ลอบขโมยคัมภีร์ท่อนล่างนี้ออกมาจากวัด เส้าหลินและหายสาบสูญไปในที่สุด

คัมภีร์  เก้าอิมจินเก็ง   และ  เก้าเอียงจินเก็ง    มีที่มาจากตักม้อ  ปรมาจาร์ยของเส้าหลิน      เพราะเขียนเป็นภาษาอินเดีย   จำได้หรือไม่ว่า ตอนมังกรหยกภาคแรกที่มีการแย่งชิงคัมภีร์เก้าอิมกันไม่มีใครอ่านหรือแปลความหมายออก   เพราะเป็นภาษาอินเดีย

ต้องมีการแปลกันจึงจะฝึกกันได้     ส่วนคัมภีร์เก้าเอี๊ยงจินเก็งก็ถูกขโมยมาจากวัดเส้าหลิน    ซึ่งผู้ขโมยก็ไม่ใช่ใครเป็นคนที่เรารู้จักกันดีซึ่งได้แก่   เซียวเซียงจื้อ  และ  อีเคอซี    และได้ซ่อนไว้ในท้องของค่าง   เป็นเหตุให้หากันไม่พบ   ผู้ที่ฝึกวิชาเก้าเอี๋ยงจินเก็งได้แก่  หลวงจีนกักเอียง   หลวงจีนเฝ้าหอคัมภีร์  และ   เตียกุนป้อ (ตอนหลังเป็นเตียซำฮง  ผู้ก๋อตั้งบู๊ตึง)อิม  เอี๊ยง   เป็นภาษาแต้จิ๋ว   ภาษากลางได้แก่  หยิน  หยางอาจแปลได้ว่า    จันทรา  สุริยัน  ,  หญิง  ชาย  ,อ่อน   แข็ง "เต๋า"  เชื่อว่า     เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งในโลก  มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีที่สิ้นสุด    เตียซำฮง   ได้เรียนรู้วิชา  เก้าสุริยันจากเส้าหลินและได้มาตั้งสำนักบู๊ตึง    วิชาที่แรกเริ่มของสำนักบู๊ตึงได้แก่วิชาสองสันฐาน    ซึ่งมาจาก  หยินหยาง  นี่แหละภาพหยินหยาง  คือภาพยันต์แปดทิศ ที่มีวงกลมสีขาวกับดำอยู่ตรงกลางเชื่อว่าเป็นที่คุ้นตาของทุกคน   จบจากมังกรหยกภารสองนี้แล้วภาคสามเริ่มจากที่มงโกลได้ปกครองเมืองจีนแล้วประมาณได้แปดสิบกว่าปี    คำนวณจากอายุของเตียซำฮง    ตอนเจอเอียก้วย อายุได้สิบกว่าขวบ    แต่ตอนภาคสามอายุเกือบร้อย ตอนภาคสามนี้จะกล่าวถึงบุคคลคนหนึ่งซึ่งสำคัญมากในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แก่ปฐมกษัตริย์แซ่จู     ซึ่งได้แก่  จูหยวนจาง  ซึ่งสามารถ แย่งชิงแผ่นดินจีนมาจากมงโกลได้  ซึ่งทั้งกิมย้ง  และหวงอี้ได้นำประวัติศาสตร์จีนช่วงนี้   มาเขียนเป็นหนังสือขายดิบขายดี โกยเงินใส่กระเป๋ามากมาย   โดยกิมย้งเขียนมังกรหยกภาคสาม ส่วนหวงอี้เขียน   เทพมารสะท้านภพ  ล้วนหยิบเอาประวัติศาสตร์ ช่วงนี้มาเขียนเป็นนิยายปลอมประวัติศาสคร์ทั้งสิ้น

หมายเหตุ     หลวงจีนอิ๊ดเต็ง  ต้วนอ๋อง   กษัตริย์ต้าลี้  หมายถึงอาณาจักรน่านเจ้า  ซึ่งได้แก่     ไทยในอดีตนั้นเอง ถ้าประมาณช่วงเวลากัน   น่าจะได้แก่   พ่อหลวงขุนบรม (พีล่อโก๊ะ)

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

4. เก้าเอี้ยงจินเก็ง



เก้าเอี้ยงจินเก็ง (จีนตัวเต็ม: 九陽真經; จีนตัวย่อ: 九阳真经; พินอิน: Jiǔ Yáng Zhēn Jīng จิ่วหยางเจินจิง) เป็นวิชาฝีมือในนิยายกำลังภายในของกิมย้งเรื่อง มังกรหยก ภาค 2 และ ดาบมังกรหยก โดยปรากฏในเรื่อง มังกรหยกภาค 2 ในตอนท้ายเรื่อง นอกจากนี้ยังพบเห็นได้มากมายในนิยายกำลังภายในเก่าๆ หลายเรื่อง จนยากจะแยกแยะว่าใครเป็นต้นกำเนิดให้วิชานี้ โดยมีคำเล่าลือว่าวิชานี้เป็นของท่านฮุ่ยเคอที่ได้รับสืบทอดมาจากปรมาจารย์ตั๊กม้อ ซึ่งจะจริงเท็จขนาดไหนยังมิอาจพิสูจน์ได้ แต่นี่เป็นวิชาตรงข้ามกับเก้าอิมจินเก็ง เพราะเป็นหลักวิชาร้อนแรงดุจเปลวเพลิง ส่วนเก้าอิมจินเก็งเป็นแนวเย็นเยือก



จากนิยายดาบมังกรหยก วิชาในคัมภีร์เก้าเอี้ยงปรากฏครั้งแรกในตอนที่เอี้ยก้วย เซียวเล้งนึ้ง และก๊วยเซียงไปเที่ยวเล่นบนเขาฮั้วซัว บังเอิญพบเจอกับเซียวเซียงจือ กับ อีเคอซี ที่แอบเข้าไปลักลอบเอาคัมภีร์ลังกาวสูตรจากหอคัมภีร์วัดเสาหลินมา หลวงจีนกั๊กเอี้ยงและเตียป้อกุน (เตียซำฮงตอนเด็ก) จึงติดตามมาขอทวงคืนคัมภีร์จนทำให้เกิดต่อสู้กัน ตอนนี้เองที่พิสูจน์ได้ว่าเก้าเอี้ยงเป็นสุดยอดวิชาสายลมปราณ จากปากคำของเอี้ยก้วยที่บอกว่า น่ากลัวกั๊กเอี้ยงไต้ซือจะมีพลังวัตรเหนือกว่าตนขั้นหนึ่ง



เก้าเอี้ยงปรากฏอีกครั้งในเรื่องดาบมังกรหยกในตอนที่เตียบ่อกี้ได้ผ่าตัดช่วยเหลือชะนีแก่ตัวหนึ่ง แล้วพบเจอคัมภีร์ฉบับนี้ในท้องของมัน ซึ่งเตียบ่อกี้ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว ชะนีตัวนี้เป็นชะนีของอีเคอซีที่แอบเอาคัมภีร์ลังกาวสูตรยัดใส่ไว้ในท้องของมันนั่นเอง ต่อมาเตียบ่อกี้สามารถฝึกได้สำเร็จครบทุกขั้นเป็นคนแรก ทำให้พลังวัตรของเขาเพิ่มขึ้นมหาศาล และยังช่วยขับพิษฝ่ามือในร่างกายเขาได้ด้วย และวิชานี้เป็นรากฐานให้เตียบ่อกี้สำเร็จวิชาพลังเคลื่อนย้ายจักรวาลของนิกายเม้งก่าในเวลาต่อมา จึงนับได้ว่า..เตียบ่อกี้เป็นผู้มีพลังวัตรสูงที่สุดแล้วในมังกรหยกทั้ง 3 ภาค
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5. คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น




คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น (จีนตัวเต็ม: 易筋經; พินอิน: Yì Jīn Jīng) วิชานี้พบได้ในนิยายกำลังภายในหลายเรื่องโดยเฉพาะนิยายกำลังภายในยุคเก่า รวมทั้งนิยายกำลังภายในของกิมย้งด้วยเช่นเดียวกัน ที่ปรากฏเห็นเด่นชัดที่สุด คือ นิยายเรื่อง มังกรหยก, มังกรหยก ภาค 2, ดาบมังกรหยก, แปดเทพอสูรมังกรฟ้า, และ กระบี่เย้ยยุทธจักร

ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง หรือ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น มีอายุกว่า 1,400 ปี สืบทอดมาจากพระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านเราว่า กายบริหารแกว่งแขน
คำว่า “เปลี่ยนเส้นเอ็น” ไม่ได้หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจของการแพ ทย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็น ด้วยการออกกำลังกายโดยวิธีแกว่งแขน ซึ่งจะส่งผลให้เลือดลมภายในโคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด

กำเนิดคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

ในปีพุทธศักราช 1070 ซึ่งตรงกับรัชสมัยราชวงศ์เหลียง พระสังฆปรินายกโพธิธรรมชาวอินเดีย หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “ต๋าโม๋” (TAMO) ได้เดินทางมายังประเทศจีนและปักหลักเผยแพร่พุทธศาสนาที่นั่นเป็นเวลาหลายสิบปี ครั้งหนึ่งในระหว่างการเทศนา และการทำสมาธิ ท่านพบพระสงฆ์หลายรูมีสุขภาพอ่อนแอ และบางรูปถึงกับนอนหลับไปด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย พระปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้ชี้ให้เห็นว่า “ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะยืนหยัดฝึกจิตบำเพ็ญธรรมได้สำเร็จ”
     ก่อนหน้านี้ท่านจะได้เน้นถึงความสำคัญของ่างกายอันได้แก่พลังและท่าทางของร่างกายที่เหมาะสมในการฝึกสมาธินั้น พุทธศาสนิกชน ต่างเน้นแต่การฝึกจิตโดยละเอยร่างกายดังนั้นท่านปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้คิดค้นท่าบริหารร่างกาย สำหรับพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และบันทึกขึ้นไว้เป็นคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่
     1. คัมภีร์ อี้ จิน จิง คือ วิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น
     2. คัมภีร์ สี สุ่ย จิง คือ วิชาชำระไขกระดูกให้สะอาด
     3. สือ ปา หลัว ฮั่ว โส่ว คือ เพลงมวยฝ่ามือสิบแปดอรหันต์
      และคัมภีร์ อี้ จิน จง ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์อันล้ำค่า ของพระโพธิธรรม (ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง) ก็คือ หนังสือกายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค

     กายบริหารแกว่งแขน เป็นวิธีออกกำลังเพื่อบริหารร่างกายที่มีประโยชน์มากวิธีหนึ่ง หลังจากได้มีการค้นพบ และเผยแพร่ตำรานี้ออกมาที่ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน ก็มีประชาชนนิยมทำกายบริหารแบบนี้ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ โดยการแพทย์ปัจจุบัน ก็สามารถใช้การบริหารแบบง่าย ๆ นี้รักษาให้ให้หายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ จนแทนไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ กายบริหารแกว่างแขนนี้ ทำง่าย หัดง่ายและเป็นเร็ว นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย โรคเรื้อรังมากมายหลายชนิด ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีทำการบริหารแบบนี้

ฉะนั้น ขอให้ผู้ที่ปรารถนาในความมีสุขภาพแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์เพรียบพร้อม ควรศึกษาและทำความเข้าใจ วิธีปฏิบัติ ไปตามลำดับโดยเริ่มตั้งแต่

1. เรียนรู้หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
2. เคล็ดวิชา 16 ประการ ของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
3. เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นของวัดเส้าหลิน
----------------------------------------
"อย่ากระทำเมื่อ หิวจัด โกรธจัด เครียดจัด เศร้าจัด เซ็งจัด"

ตำรายืดหดเส้นเอ็น" นี้ ท่านต้กม้อโจวซือ (พระโพธิธรรมมหาเถระ) เป็นผู้นำมาจากชมพูทวีป ท่านตักม้อเป็นชาวอินเดีย ได้เขียนตำรายืดหดเส้นเอ็นและตำราล้างพิษไขกระดูก ไว้ที่วัดเส้าหลิน ในสมัยพระเจ้าถังไท้จงฮ่องเต้
               เมื่อได้แปลตำราทั้งสอง ซึ่งเป็นภาษาบาลี มาเป็นภาษาจีนแล้ว ชาววัดเส้าหลินก็ฝึกเป็นการใหญ่ แต่เป็นตำราที่ฝึกยาก ต้องตั้งใจจริงๆ จึงจะประสบความสำเร็จได้ คำพูดของท่านตักม้อโจวซือพูดกับศิษย์ของท่านที่ฝึกว่า

"คนนี้ได้แค่ผิวของเรา คนนี้ได้แค่เนื้อของเรา คนนี้ได้แค่กระดูกของเรา" และท่านอาจารย์พูดกับศิษย์ที่ชื่อฮุ่ยค้อของท่านว่า  "เจ้าได้ไขกระดูกของเราไป ความหมายที่ว่าเรียนยากก็เป็นเช่นนี้เอง ตำราว่าด้วยการยืดหดเส้นเอ็นนี้ มีด้วยกัน 2 กระบวนท่า คือ กระบวนท่ายืน กระบวนท่านั่ง
ต่างมีทั้งหมด 12 กระบวนท่า เช่นกัน ตำรานี้ใช้สติเป็นที่ตั้ง อิริยาบถช้าๆ นุ่มนวล เป็นหัวใจของการบริหารลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆลึก และแผ่วเบา เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพอย่างสมดุล


หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล
2. ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงตามธรรมชาติ อย่างเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหน้า
3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ
4. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรกเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้
5. สายตาทั้ง 2 ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่งแล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น
6. การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบา ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า ?ว่างและเบา? แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนให้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แล้วตั้งสมาธินับ หนึ่ง? สอง? สาม? ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำว่า ?แน่นหรือหนัก? แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา


สรุป แล้วก็คือ ขณะที่แกว่งแขนไปข้างหลังให้ออกแรงมากหน่อย ส่วนแกว่งไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง คือใช้แรงเหวี่ยงให้กลับไปเอง ก่อนการทำกายบริหารแกว่งแขน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป สะบัดแขน มือ เท้าสักครู่ให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย หมุนศีรษะไปมาแล้วจัดลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง
--------------------------------------------------



6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คำอธิบายเคล็ดวิชา 16 ประการ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

1. ส่วนบนปล่อยให้ว่าง หมายถึง ส่วนบนของร่างกาย คือ ศีรษะ ควรปล่อยให้ว่างเปล่า อย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิแน่วแน่ ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจมีสติ
2. ส่วนล่างควรให้แน่น หมายถึง ส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณสามารถเดินได้สะดวก เพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์ ฉะนั้นคำว่า ?ส่วนบนว่าง ส่วนล่างแน่น? จึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารแกว่งแขน ขณะทำกายบริหารหากไม่สามารถข้าถึงจุดนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ได้ผลน้อยลงไปมากทีเดียว
3. ศีรษะให้แขวนลอย หมายถึง ศีรษะของท่าต้องปล่อยสบาย ๆ ประหนึ่งว่ากำลังแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ จะต้องปล่อยให้ผ่อนคลายไม่เร็ง ไม่ควรโน้มศีรษะไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง หรือเอียงไปข้าง ๆ ต้องมองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า
4. ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึง ไม่ควรหุบปากแน่น หรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขนไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ ให้หุบปากเพียงเล็กน้อยโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น
5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย คือกล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ เมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะอ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย
6. หลังยืดตรงให้ตระหง่าน หมายความว่าไม่แอ่นหน้าแอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยแผนหลังให้ยืดตรงตามธรรมชาติ
7. บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึง บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตรง
8. ลำแขนแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ
9. ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้าง ไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรให้ข้อศอกงอเล็กน้อยตามธรรมชาติ
10. ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้างนั้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกคล้ายมือหนักเหมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ปลายแขน
11. สองมือพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนนั้นฝ่ามือด้านในหันไปด้านหลัง ทำท่าคล้ายกำลังพายเรือ
12. ช่วงท้องปล่อยตามสบาย หมายถึง เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น
13. ช่วงขาผ่อนคลาย หมายถึง ขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ช่วงขา
14. บั้นท้าย ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย หมายถึง ระหว่างทำกายบริหารนั้น ต้องหดกันคือ ขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดหายเข้าไปในลำไส้
15. ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน
16. ปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น หมายถึง ขณะที่ยืนนั้นปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6. เก้ากระบี่เดียวดาย




เก้ากระบี่เดียวดาย เป็นหนึ่งในเคล็ดวิชาในตำนานของกิมย้ง ว่ากันว่าผู้บัญญัติมีฉายา ต๊กโกวคิ้วป่าย แปลว่า แสวงหาความพ่ายแพ้ ถูกอ้างถึงหลายเรื่อง ถ้าจะให้ว่ากันตามจริง อาจะนับได้ว่า เอี้ยก้วย ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เป็นทายาทของเค้าเนื่องจากได้พบหลุมศพพร้อมกระบี่ครบชุด ตั้งแต่กระบี่คมกริบ กระบี่หนัก และกระบี่ไม้ และยังได้ฝึกฝนเพื่อเพิ่มกำลังภายในด้วยแนวทางเดียวกันจากการแนะนำของอินทรีอีกด้วย แต่เอี้ยก้วยไม่ได้ฝึกท่ากระบี่นะ นั่นแปลว่ากระบวนท่าและเคล็ดวิชาทั้งหลายเอี้ยก้วยสะสมจากประสบการณ์แล้วคิดเองใหม่หมด ส่วนกำลังภายในเกือบทั้งหมดได้จากการรำกระบี่ในน้ำตก และในทะเล



เก้ากระบี่เดียวดาย ไม่ถึงกับไร้ผู้สืบทอด ฟงชิงหยางแห่งสำนักฮั้วซัวเป็นผู้สอนวิชานี้ให้แก่เหล็งหูชงอีกต่อหนึ่ง ตอนนั้นเหล็งหูชงมีกำลังภายในนิดหน่อย ฝึกไม่กี่ชั่วโมงก็เอาชนะดาบได้ หลังจากชนะเลยได้เรียนเก้ากระบี่เดียวดายทั้งชุด ก่อนฝึกจำได้ว่าฟงชิงหยางถาม จงใคร่ครวญให้ดี ฝึกแล้วอาจเสียใจภายหลัง การแสวงหาความพ่ายแพ้นั้นก็แย่เหมือนกัน ดูตัวอย่างจากต๊กโกวคิ้วป่ายได้



หลายคนเข้าใจผิดว่าเก้ากระบี่เดียวดายมี 9 กระบวนท่า จริงๆ แล้วเก้ากระบี่เดียวดายไม่ใช่ท่ากระบี่ แต่เป็นเคล็ดกระบี่ 9 เคล็ด



เคล็ดทำลายกระบี่

เคล็ดทำลายดาบ

เคล็ดทำลายทวนและกระบอง

เคล็ดทำลายโซ่และฉมวก

เคล็ดทำลายแส้

เคล็ดทำลายฝ่ามือ

เคล็ดทำลายเกาทัณฑ์ (อาวุธลับ)

เคล็ดทำลายลมปราณ

เคล็ดรวม

อย่างที่บอกว่าเก้ากระบี่เดียวดายเป็นเคล็ดวิชา ไม่มีกระบวนท่าตายตัว ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้ว เคล็ดทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาจุดอ่อนในจุดอ่อนนั่นเอง ความหมายของจุดอ่อนในจุดอ่อนก็คือ จุดอ่อนที่ไม่สามารถละเลยได้ ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า ทุกกระบวนท่ามีจุดอ่อน จะมากน้อยขึ้นกับประสบการณ์ของผู้ใช้ เมื่อมองเห็นจุดอ่อนในจุดอ่อนเราก็สามารถจู่โจมจุดนั้น ผลก็คือคู่ต่อสู้ต้องป้องกันตัว ระหว่างป้องกันตัวก็จะมีจุดอ่อนเกิดขึ้นอีก เราก็โจมตีจุดอ่อนนี้อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนชนะ สรุปง่ายๆ ทุกกระบวนท่าสามารถทำลายได้ และเก้ากระบี่เดียวดายเป็นเคล็ดวิชาทำลายแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ถ้าคู่ต่อสู้ใช้ 1 ท่าเก้ากระบี่เดียวดายก็มีเพียง 1 ท่า ถ้าคู่ต่อสู้ใช้ 100 ท่าเก้ากระบี่เดียวดายก็มี 100 ท่าเช่นกัน



อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเก้ากระบี่เดียวดายจะเป็นเคล็ดที่ไม่แพ้ แต่ไม่ได้บอกว่าจะชนะเสมอไป เมื่อใช้เก้ากระบี่เดียวดายจะเกิดกระบวนท่า ซึ่งสามารถถูกทำลายได้เช่นเดียวกัน หรือจะพูดตรงๆ ก็คือ เก้ากระบี่เดียวดาย มีโอกาสเสมอ เมื่อเจอกับคู่ต่อสู้ที่มีประสบการณ์สูงกว่า


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7. คัมภีร์ทานตะวัน

คัมภีร์ทานตะวัน เป็นชื่อของสุดยอดคัมภีร์ยุทธ์วิชาหนึ่งในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ปรากฎครั้งแรกจากเรื่อง กระบี่เย้ยยุทธจักร

ในเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร "คัมภีร์ทานตะวัน" วิชาที่ชาวยุทธ์ร่ำลือกันว่าเป็นยอดเหนือวิทยายุทธ์อื่นใด และต่างแย่งชิงกันครอบครองเพื่อความเป็นใหญ่

คัมภีร์ทานตะวันเล่มนี้ แต่งโดยขันทีในวังหลวงเมื่อสามร้อยกว่าปีก่อน และสามร้อยกว่าปีมานี้ไม่มีผู้ใดสามารถฝึกวิชาฝีมือในคัมภีร์สำเร็จ แล้วคัมภีร์ก็ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย จนกระทั่งเมื่อร้อยกว่าปีก่อน คัมภีร์เล่มนี้ปรากฏว่าตกเป็นของวัดเส้าหลินในมณฑลฟุโจว เจ้าอาวาสวัดตอนนั้นคือ อั้งเฮียะไต้ซือ

ครั้งหนึ่งเมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีศิษย์หัวซานสองคนคือ งักเซียว และ ฉั่วจื้อฮง ไปเป็นแขกที่วัดเส้าหลิน ไม่ทราบมีโอกาสอย่างไรได้ขโมยดูคัมภีร์ทานตะวัน

ทั้งสองแบ่งกันท่องคนละครึ่ง เมื่อกลับเข้าสำนักหัวซาน ทั้งสองพอท่องวิทยายุทธในคัมภีร์ออกมากลับไม่ปะติดปะต่อกัน คนทั้งสองต่างเข้าใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งท่องผิด ( ต่อมาภายหลัง ทั้งคู่กลับกลายเป็นคู่อริ สำนักหัวซานก็แบ่งเป็นฝ่ายลมปราณ และฝ่ายกระบี่ )

เรื่องที่ งักเซียว และ ฉั่วจื้อฮง แอบดูคัมภีร์ทานตะวัน อีกไม่นานถูกอั้งเฮียะไต้ซือรู้เข้า ท่านไต้ซือทราบว่าวิทยายุทธในคัมภีร์เล่มนี้ร้ายกาจลึกล้ำสุดคาดเดา ระหว่างฝึกปรือขอเพียงผิดเพี้ยนสักเล็กน้อย แม้ไม่ตายก็ต้องบาดเจ็บ ดังนั้น ท่านไต้ซือจึงมอบหมายให้ โต่วง้วนไต้ซือซือ ผู้เป็นศิษย์เดินทางสู่หัวซาน เกลี้ยกล่อมงักเซียว และฉั่วจื้อฮง อย่าได้ฝึกวิทยายุทธในคัมภีร์ทานตะวันที่ทั้งสองได้ลักลอบท่องจำออกมา

ศิษย์หัวซานทั้งสองสำนึกผิด และฝึกไม่ได้สักที เลยขอคำชี้แนะ บังเอิญศิย์รักของท่านเจ้าอาวาส ฉลาดปราดเปรื่อง ว่าไปตามความเข้าใจ แนะวิธีโดยหลักการและเหตุผล สุดท้ายตัวเองเกิดความโลภเมื่อเห็นยอดวิชา เลยคัดลอกลงในจีวร และสึกจากการเป็นบรรพชิต ไปคุมสำนักประกันภัย ซึ่งคนผู้นี้คือ ทวดของหลินผิงจื่อ และใช้วิชาดัดแปลงในคัมภีร์ทานตะวันสร้างชื่อ กลายเป็นวิชา เพลงกระบี่ปราบมารเจ็ดสิบสองท่า

ซึ่งความจริง นี่ไม่อาจโทษใครได้ เมื่อพบเห็นวิทยายุทธอันลึกล้ำ ไหนเลยจะห้ามใจไม่ฝึกปรือได้

งักเซียว และ ฉั่วจื้อฮง แห่งสำนักหัวซาน เขียนคัมภีร์ทานตะวันไม่นาน ก็ถูกสิบผู้อาวุโสนิกายตะวันจันทราฆ่าทิ้ง คัมภีร์ทานตะวันฉบับนี้ ก็ถูกช่วงชิงไป ( จนกระทั่งคัมภีร์ฉบับนี้ตกทอดมาถึง ตงฟางปุ๊ป้าย ผู้ที่ตีความคัมภีร์ออกมาได้ลึกซึ้งและฝึกจนสำเร็จ )

ไม่นานให้หลัง อั้งเฮียะไต้ซือ ก่อนมรณะภาพ ได้เรียกตัวศิษย์ทั้งหมดเข้าพบ บอกต้นสายปลายเหตุของคัมภีร์ทานตะวัน ฉบับสมบูรณ์ เล่มนี้ จากนั้นโยนคัมภีร์เข้าเตาไฟทำลายทิ้ง โดยบอกว่าคัมภีร์เล่มนี้ลึกล้ำพิสดารสุดคาดเดา ซ้ำยังทำให้เกิดปัญหามากมาย เกิดการแย่งชิง เกิดการนองเลือด หากตกทอดถึงชนรุ่นหลังมิใช่วาสนาของยุทธภพ

คัมภีร์ทานตะวันนั้นข้อเด่นคือฝึกแล้วเพิ่มพลังภายในให้อย่างมหาศาลแล้วทำให้ผู้ฝึกเคลื่อนที่ได้รวดเร็วยิ่ง แต่ฝึกได้เฉพาะบุรุษเพศเท่านั้น และหากต้องการจะฝึกต้องทำการตอนตัวเองเสียก่อนด้วย นับเป็นราคาที่แพงเพื่อแลกกับความยิ่งใหญ่

8. ไม้เท้าตีสุนัข


ไม้เท้าตีสุนัข หรือ ไม้ตีสุนัข (อังกฤษ: Dog-Beating Stick Technique; จีน: 打狗棒法) ปรากฏในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง เรื่องมังกรหยก เป็นไม้ไผ่สีเขียวหยก เป็นไม้ประจำตัวประมุข เห็นไม้เหมือนเห็นประมุข จึงเป็นตัวแทนของประมุขพรรคยาจก ไม้ตีสุนัขทำจากไม้ไผ่เก้าปล้องสีเขียวที่หายาก มีลักษณะพิเศษ คือ แข็งเหมือนหยก แต่แกร่งดั่งเหล็กกล้า ผู้ได้รับตำแหน่งประมุขทุกรุ่นจะได้รับมอบไม้ตีสุนัข และเคล็ดวิชาเพลงไม้ตีสุนัข (แบ่งออกเป็นเพลงท่า 36 ท่า เคล็ดลับ 12 เคล็ดลับ) ซึ่งจะถ่ายทอดให้กับประมุขเพียงคนเดียวเท่านั้น

โจ้วซือเอี้ย ผู้ก่อตั้งพรรคกระยาจก เป็นผู้บัญญัติเพลงไม้เท้าตีสุนัขขึ้น แบ่งออกเป็นสามสิบหกท่าไม้เท้าตีสุนัข ที่แล้วมาเป็นประมุขพรรคฯถ่ายทอดให้แก่ประมุขพรรคฯรุ่นหลัง โดยไม่ตกทอดแก่บุคคลที่สอง ซึ่งพลังฝีมือของพระมุขพรรครุ่นที่สาม ยังเหนือล้ำกว่าโจ้วซือเอี้ยผู้ก่อตั้งสำนัก ได้คิดค้นท่วงท่าเปลี่ยนแปลงไปในเพลงไม้เท้าตีสุนัขชุดนี้เข้าไปอีก

เอี้ยก้วยได้รับการถ่ายทอดเพลงท่าจากอั้งชิดกง และเคล็ดลับจากอึ้งย้ง เป็นคนเดียวที่ไม่ได้เป็นประมุขพรรคฯและเป็นคนสุดท้ายที่ฝึกวิชานี้สำเร็จ

ซูซาฮาเอ๋อซาน - ประมุขพรรคคนสุดท้าย จากเรื่องยาจกซูไม้เท้าประกาศิต ผู้ทำลายไม้เท้าตีสุนัขเนื่องจากการประลองคัดเลือกหัวหน้าพรรคกระยาจก

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
9. ดรรชนีเอกสุริยัน - ดรรชนีกระบี่หกชีพจร




ดรรชนีเอกสุริยัน เป็นชื่อวิชากำลังภายใน ปรากฏในเรื่อง มังกรหยก งานประพันธ์ของ กิมย้ง



ดรรชนีเอกสุริยันของอิดเต็งไต้ซือ เป็นยอดวิชาดรรชนีประจำตระกูลต้วน พลังดรรชนีร้อนราวกับดวงอาทิตย์ อานุภาพรุนแรง แต่ก็สามารถใช้รักษาอาการบาดเจ็บภายในได้อย่างดี ภายหลังมีการดัดแปลงเป็นยอดวิชาดรรชนีกระบี่ที่ชื่อว่า กระบี่หกชีพจร ซึ่งมีอานุภาพร้ายกาจกว่า แต่ผู้ที่จะฝึกวิชานี้ได้จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีพลังภายในสูงมาก ที่ผ่านมามีเพียงต้วนอี้เท่านั้นที่ฝึกสำเร็จ พลังคางคกของอาวเอี๊ยงฮงแพ้ทางกับดรรชนีสุริยันมาก กล่าวกันว่ามีเพียงยอดวิชานิ้วดีดของมารบูรพาเท่านั้นที่ทรงอานุภาพเทียบเท่ากับดรรชนีเอกสุริยัน



ดรรชนีกระบี่หกชีพจร ("The Six Meridian Swords", 六脈神剑, Liu Mai Shen Jian) เป็นวิทยายุทธในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง



ดรรชนีกระบี่หกชีพจร หรือเพลงกระบี่หกสาย เป็นยอดวิชาดรรชนีของสกุลต้วนแห่งต้าหลี่ นับเป็นยอดวิชาอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดิน อานุภาพร้ายกาจ รุนแรง ดรรชนีหกชีพจรเป็นวิชาที่ดัดแปลงมาจากดรรชนีสุริยัน ยิงพลังจากนิ้วทั้งหกออกไปเป็นปราณกระบี่ได้หกสายมีชื่อเรียกต่างกัน ผู้ฝึกวิชานี้ต้องมีพลังลมปราณสูงส่ง จึงยากต่อการฝึกพร้อมกันทั้งหกกระบี่ ทำให้น้อยคนนักที่จะสำเร็จวิชานี้ แม้แต่หลวงจีนแห่งวัดมังกรฟ้าที่มีพลังวัตรสูงยังต้องแบ่งกันฝึกคนละกระบี่ เมื่อประสานพร้อมกันจึงจะทรงอานุภาพ ต้วนอี้เป็นคนสุดท้ายที่สำเร็จวิชานี้ เพราะคัมภีร์ถูกผู้อาวุโสโกวย้งแห่งวัดมังกรฟ้าเผาทำลายเพื่อไม่ให้จิวม่อจื้อแย่งชิงไป ดังนั้นกระบี่หกชีพจรจึงสาบสูญไปในยุคของแปดเทพอสูรมังกรฟ้า เหลือเพียงดรรชนีเอกสุริยันที่สืบทอดมาจนถึงยุคมังกรหยก หรือยุคของราชันย์ทักษิณ ต้วนตี่เฮง นั่นเอง



รายนามกระบวนท่ามีดังนี้..



กระบี่จงเหิง - ยิงออกจากนิ้วกลาง

กระบี่กวนเหิง - นิ้วนาง

กระบี่ซางหยาง - นิ้วชี้

กระบี่เส้าเจ๋อ - นิ้วก้อยกับนิ้วโป้งรวมกัน

กระบี่เส้าเหิง - นิ้วก้อย

กระบี่เส้าชาง - นิ้วโป้ง







10. คัมภีร์สาวหยก - เพลงกระบี่สุรางคนางค์ใจพิสุทธิ์





คัมภีร์สาวหยก (วิชาดรุณีหยก หรือวิชาสตรีหยก หรือ คัมภีร์สุรางคนางค์ใจพิสุทธิ์ ) "Swordplay of Jade Maiden"(玉女素心劍法) เป็นสุดยอดวิชาของสำนักสุสานโบราณในนิยายกำลังภายในชุดมังกรหยกของกิมย้ง



ลิ้มเฉียวเอ็งเป็นผู้คิดค้นวิทยายุทธนี้เพื่อใช้สยบวิชาของสำนักช่วนจินก่า แต่กระนั้นก็เป็นยอดวิชาที่หาได้ยาก วิชานี้ต้องฝึกสองคนเพื่อป้องกันธาตุไฟแทรก ลี้มกโช้วต้องการครอบครองวิชาชุดนี้มากจึงพยายามที่จะลอบเข้าสุสานโบราณหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ และต่อมาเอี้ยก่วยและเซียวเหล่งนึ่งก็ฝึกวิชานี้จนสำเร็จ



เคล็ดวิชาสุรางคนางค์ ( วิชาหฤทัยสาวหยก , วิชาดรุณี )

เง็กนึ่งซิมเก็ง หรือ เคล็ดวิชาสุรางคนางค์นั้นบัญญัตขึ้นโดยลิ้มเฉียวเอ็ง นางชนะเดิมพันครอบครองสุสานโบราณด้วยปัญญา หากวิจารณ์พลังฝีมือ นับว่ายังสู้เฮ้งเต้งเอี้ยงไม่ได้ หลังจากที่นางพักอาศัยอยู่ในสุสารโบราณ ก็ศึกษาเคล็ดวิชาที่เฮ้งเต้งเอี้ยงตกทอดทิ้งไว้ก่อน จากนั้นใช้สมองครุ่นคิด ค้นคว้าบัญญัติวิชาฝีมือที่ใช้สะกดข่มวิชาของเฮ้งเต้งเอี้ยง

เพลงกระบี่สุรางคนางค์เป็นดาวข่มของเพลงกระบี่ชวนจินก่าอย่างแท้จริง ทุกกระบวนท่าพอดีสะกดข่มเพลงกระบี่ชวนจินก่า จนไม่อาจขยับเคลื่อนย้ายได้ นับว่าจอคุกคามอยู่ทุกย่างก้าว ชิงสยบทุกท่วงท่า ไม่ว่าเพลงกระบี่ชวนจินก่าจะพลิกแพลงเปลี่ยนแปรงอย่างไร ไม่อาจสลัดหลุดจากการครอบคลุมของเพลงกระบี่สุรางคนางค์ได้

ในส่วนของวิชากำลังภายในนั้น ลิ้มเฉียวเอ็งคิดหาวิธีสยบ กลับไม่ง่ายดายนัก แต่ด้วยสติปัญญาอันชาญฉลาด ได้ค้นพบแนวทางลัด ใช้วิชาทางอธรรมช่วงชิงเป็นฝ่ายมีเปรียบ



การฝึกเคล็ดกำลังภายขอ เคล็ดวิชาสุรางคนางค์นั้น ต้องฝึกด้วยกันสองคน จึงเกื้อหนุนกันและกัน วิชากำลังภายในนี้มีอุปสรรคทุกฝีก้าว อาจโคจรพลังผิดแนวทางได้ทุกเมื่อ หากปราศจากผู้อื่นคอยช่วยเหลือ ต้องถูกธาตุไฟเข้าแทรกแน่นอน ต้องผนึกกำลังกันสองคนค่อยผ่านด่านอันตรายได้ เมื่อครั้งนั้นลิ้มเฉียวเอ็งฝึกร้วมกับสาวใช้ หลังจากสำเร็จได้ไม่นานก็ลาโลกไป ส่วนสาวใช้ ซึ่งเป็นอาจารณ์ของเซียวเหล่งนึ่งนั้นยังฝึกไม่สำเร็จ นอกจากต้องฝึกพร้อมกันสองคนแล้ว ขณะที่ฝึกลมปราณ ตลอดทั้งร้ายปรากฎไอร้อนระเหยออก ต้องเลือกพื้นที่วงกว้างไร้ผู้คน สยายเสื้อผ้าทั้งร้างออกฝึกปรือเพื่อขับเคลื่อนความร้อนออกไป โดยไม่เกิดการสะดุดติดขัด ไม่เช่นนั้นจะย้อนกลับมาสะสมอยู่ภายในกาย หากเป็นสถานเบาต้องป่วยหนัก สถานหนักต้องเสียชีวิต

เคล็ดวิชาสุรางคนางค์แบ่งลำดับขั้นตอนในการฝึกปรือเป็นเก้าขั้น หากฝึกในแนวเดียวเรียกว่าอิมจิ่ง ( เย็นรุกหน้า ) ฝึกปรือสองแนวเรียกว่าเอี้ยงถ่อ ( ร้อนถดถอย ) เมื่อฝึกในแนวทางร้อนถดถอย สามารถยุดยั้งยุติได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าฝึกในแนวทางเย็นรุกหน้า ต้องดำเนินติดต่อตามกัน ไม่อาจมีอุปสรรคขัดข้องแต่กลางคัน



เพลงกระบี่สุรางคนางค์ใจพิสุทธิ์ ในบทสุดท้ายของเคล็ดวิชาสุรางคนางค์นั้นต่างออกไปจากบทอื่นๆ เมื่อครั้งกระโน้นปรมจารย์ลิ้มเฉียวเอ็ง อาศัยอยู่ในสุสานโบราณเพียงลำพัง จัดทำคัมภีร์สุรางคนางค์ขึ้น มาตรแม้นเพื่อสะกดข่มวิชาฝีมือของสำนักชวนจินก่า แต่ในใจยังรักผูกพันต่อเฮ้งเต้งเอี้ยงไม่คลาย เมื่อมีรักเต็มอก เปรี่ยมความครุ่นคิดคะนึงหา ล้วนถ่ายทอดไว้ในคัมภีร์บทสุดท้ายนี้ โดยสร้างมโนภาพว่าสักวันหนึ่งสามารถเคียงบ่าเคียงไหล่กับชายคนรัก กระบี่คู่ที่กรีดกรายเป็นภาพ แท้จริงเพื่อการผนึกกำลังสยบสัตรูจึงเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ ดังนั้นวิชาการต่อสู้ในบทสุดท้าย คนหนึ่งใช้ฝีมือในคัมภีร์สุรางคนางค์ คนหนึ่งใช้วิชาสำนักช้วนจิน ประสานเสริมซึ่งกันและกันแยกย้ายรุกจู่โจม แต่ในจารึกบนผนังศิลาไม่สะดวกกับการบ่งบอกความในใจข้อนี้

ครั้งกระนู้ลิ้มเฉียวเอ็งบัญญัติเพลงกระบี่ชุดนี้เพราะใฝ่ฝันว่าจะได้เคียงข้างกับเฮ้งเต้งเอี้ยงต่อต้านศัตรู ทุกกระบวนท่าล้วนผสานเสริมเกื้อกูลกัน ซึ่งความจริง ลิ้มเฉียวเอ็ง กับเฮ้งเต้งเอี้ยงล้วนเป็นยอดฝีมืออันดับหนึ่ง เพียงลำพังคนเดียวก็ไม่มีใครต้านติด วิชาผนึกกำลังต้านศัตรูนี้ แท้จริงไม่มีประโยชน์อันใดเพียงเป็นความฝันใฝ่ของลิ้มเฉียวเอ็ง เพื่อปลอบประโลมใจเท่านั้น



ต่อมาเอี้ยก้วยกับเซียวเหล่งนึ่ง ได้ทำให้วิชานี้เกิดขึ้นจริงมิใช่เป็นเพียงมโนภาพ โดยครั้งแรกที่ใช้ก็ใช้ต่อกรกับยอดฝีมืออย่างราชครูกิมลุ้น ถึงกับทำให้ราชครูกิมลุ้นต้องล่าถอยหนีไปลิ้มเฉียวเอ็งพลาดหวังในสนามรัก อยู่ในสุสานโบราณ ตรมตรอมจนตัวตาย นางปราดเปรื่องทั้งบุ๋นบู๊ เรียนรู้พิณหมากล้อมตัวหนังสือภาพวาดสุดท้ายทุ่มเทวิชาความรู้ชั่วชีวิตยู่ในพลังฝีมือชุดนี้ ขณะที่บัญญัติขึ้น เพียงเพื่อปลอบประโลมใจคลายเหงา มิคาดอีกหลายสิบปีให้หลัง กลับปรากฎคนรักคู่หนึ่งใช้ต่อต้านศัตรู่เข้มแข็ง นับว่าสุดที่นางจะคาดคิดมาก่อน



อย่างไร วิชาเพลงกระบี่สุรางคนางค์ใจพิสุทธิ์ ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ทั้งคู่จะต้องเป็นคู่รักกัน หากมิใช่เพลงกระบี่ก็จะเปล่งอนุภาพได้จำกัด
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-27 15:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้