ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1530
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วันวิสาขบูชา

[คัดลอกลิงก์]


วันวิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาข
ะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธ
ศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้า
ประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ


๑.เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพ
ินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเท
วทหะ เมื่อเช้
าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๓๘ ปีก่อน

๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย หรือราวประมาณ ๒,๖๐๓ ปีก่อน

๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา ๔๕ พรรษา พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย หรือราว ๒,๕๕๘ ปี ที่จะถึงในวันจันทร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ นี้

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ แต่ปีนี้มีเดือน ๘ สองหน ตามจันทรคติ จึงมาตกที่เดือน ๗ แทน ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

ภาพวาดประกอบ จากศิลปินแห่งชาติอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ขออนุญาต และขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ครับ . . . ส า ธุ

ติดตามอ่านพุทธจริยา ประวัติปฏิปทาพระอรหันตสาวกพระสาวิกา และสามเณรอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ได้ที่ลิงค์
https://www.facebook.com/thindham/media_set?set=a.592972097420002.1073741872.100001216522700&type=3

สาธุ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้