ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
สถิติอุณหภูมิถูกทำลายต่อเนื่อง ตอกย้ำโลกยังคงร้อนขึ้น
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1795
ตอบกลับ: 0
สถิติอุณหภูมิถูกทำลายต่อเนื่อง ตอกย้ำโลกยังคงร้อนขึ้น
[คัดลอกลิงก์]
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-5-29 07:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พื้นดินแตกระแหงที่โบลเตอร์ซิตี รัฐเนวาดา (ภาพ: AP Photo)
ในช่วงที่ผ่านมาปี 2015 มีการทำลายสถิติใหม่ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหลายประการ ซึ่งตอกย้ำให้เรารู้ว่า อุณหภูมิของโลกนั้นยังคงเพิ่มงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง...
สำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคม 2015 ทำลายสถิติกลายเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี 1880 และในเวลาเดียวกัน ไตรมาสที่ 1 ปี 2015 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นไตรมาสที่ 1 ที่ร้อนที่สุดในรอบ 136 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มว่าปี 2015 จะทำลายสถิติของปี 2014 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุด
แผนที่ความร้อนในเดือนมีนาคม 2015 (ภาพ: CNN)ตามข้อมูลของศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NCEI) ของ NOAA เมื่อเดือนมีนาคม 2015 อุณหภูมิพื้นผิวดินและผิวน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.85 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1880 ร้อนกว่าสถิติเดิมเมื่อเดือนมีนาคม 2010 อยู่ 0.05 องศาเซลเซียส
ขณะที่อุณหภูมิพื้นผิวดินและผิวน้ำทะเลทั่วโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2015 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.82 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันของศตวรรษที่ 20 ถือว่าร้อนสุดนับตั้งแต่ปี 1880 เช่นกัน และร้อนกว่าสถิติเดิมเมื่อไตรมาสที่ 1 ปี 2002 อยู่ 0.05 องศาเซลเซียส โดยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ เพราะในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา มีการทำลายสถิติปีที่ร้อนที่สุดไปแล้วถึง 10 ครั้ง
แต่สถิติอีกอย่างที่ถูกทำลายลงในเดือนมีนาคมและเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุดคือ การขยายตัวของทะเลน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือลดลง จนเป็นเดือนมีนาคมที่มีการขยายตัวของทะเลน้ำแข็งน้อยที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติเมื่อปี 1979 เป็นต้นมา โดยมีตัวเลขการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 430,000 ตารางไมล์เท่านั้น ตรงข้ามกับทะเลน้ำแข็งในแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ ซึ่งการขยายตัวมากขึ้น
ภาพการแตกตัวของชั้นน้ำแข็ง ลาร์สัน ส่วน บี เมื่อปี 2002 (ภาพ: AFP PHOTO)อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของน้ำแข็งในแอนตาร์กติก เป็นผลมาจากการลดลงของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือไปถึง 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าเสียหายมากกว่า และนาซายังเปิดเผยผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ว่า ชั้นน้ำแข็งซึ่งมีอายุกว่า 10,000 ปีในแอนตาร์กติก จะละลายหายไปภายในปี 2020
ชั้นน้ำแข็งที่ว่าคือ ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี (Larsen B) ซึ่งขยายออกมาจากธารน้ำแข็งหลายก้อนและทำหน้าที่เป็นเหมือนกันชน โดยนักวิทยาศาสตร์เริ่มให้ความสนใจในกรณีนี้หลังจาก บางส่วนของชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี แตกออกมาเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่เมื่อปี 2002 อันเป็นผลมาจากฤดูร้อนที่ร้อนกว่าปกติในคาบสมุทรแอนตาร์กติกา และส่วนที่แตกออกมาก็ละลายหายไปภายในเวลาเพียง 6 สัปดาห์
เมื่อปี 1995 ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี ถึง 4,445 ตารางไมล์ แต่ลดลงเหลือ 2,573 ตารางไมล์เมื่อเดือนก.พ. 2002 หลังจากน้ำแข็งก้อนใหญ่ดังกล่าวแตกออกมา และเพียง 1 เดือนต่อมา ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี ก็มีขนาดเหลือเพียง 1,337 ตารางไมล์
แต่ในปัจจุบัน ชั้นน้ำแข็ง ลาร์เซน ส่วน บี มีขนาดเหลือเพียงประมาณ 618 ตารางไมล์ ขนาดไม่ถึงครึ่งของรัฐโรดไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นรัฐที่เล็กที่สุดของสหรัฐอเมริกา และหากชั้นน้ำแข็งนี้หายไปก็หมายธารน้ำแข็งในขั้วโลกใต้จะละลายเร็วมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับความเร็วในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโลก
เกิดปรากฏการณ์มิราจ บนถนนในอินเดีย เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดเพราะคลื่นความร้อน (AFP PHOTO)นอกจากธารน้ำแข็งทั่วโลกแล้ว น้ำแข็งตามธรรมชาติในพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกก็ลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน โดยภาวะโลกร้อนทำให้ปริมาณหิมะปกคลุมในซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรลดลง โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ ก็เป็นปีที่มีปริมาณหิมะปกคลุมในซีกโลกเหนือน้อยที่สุดเป็นลำดับที่ 7 เท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติมา
ในขณะเดียวกัน ระดับของก๊าซเรือนกระจก (รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) ซึ่งเป็นตัวการของภาวะโลกร้อน เพราะกักความร้อนเอาไว้ในชั้นบรรยากาศโลก ก็พุ่งขึ้นสู่ค่าสูงสุดตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ โดยข้ามเขตอันตรายที่ 400 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วนไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย ตามลำดับเป็นชาติที่ปล่อยการคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสูงชั้นบรรยากาศมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก โดยสหรัฐฯกำลังเผชิญสภาพอากาศแห้งแล้งในภาคตะวันตกเฉียงในและที่ราบตอนกลางของประเทศ และนาซาเตือนว่าหากระดับก๊าซเรือนกระจกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อ ก็มีโอกาส 80% ที่จะเกิดความแห้งแล้งครั้งใหญ่ (megadrought) ซึ่งอาจกินระยะเวลานาน 20-40 ปี ในพื้นที่ดังกล่าวของสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน อินเดีย กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 1,500 รายทั่วประเทศ โดยเป็นผลจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ซึ่งทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง NOAA ทำนายว่า มีโอกาส 60% ที่ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเกิดขึ้นยาวนานกว่าปกติ
ควันจากโรงงานในกรุงโซเฟีย ของบัลแกเรีย บดบังแสงจากพระอาทิตย์ยามเช้า (ภาพ: AFP PHOTO)คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เตือนว่า โลกต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 40-70% ภายในปี 2050 และลดให้เหลือ 0 ภายในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 21 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุณหภูมิโลกซึ่งปัจจุบันสูงขึ้น 0.8 องศาเซลเซียสในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะโลกร้อนที่ไม่อาจแก้ไขได้อีกต่อไป
http://www.thairath.co.th/content/501773
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...