ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2713
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระเครื่องภูธราวดี ปี พ.ศ. ๒๕๐๖

[คัดลอกลิงก์]
ศ. ๒๕๐๖






พล.ต.ท. ประชา  บูรณธนิต




พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช



          พระเครื่องภูธราวดี ที่ผู้เขียนจะกล่างในบทความนี้คือพระเครื่องที่สร้างโดย พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต และ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อปีพ.ศ. 2506 อันเป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมว่าน และผงพระพุทธคุณของท่านอาจารย์ต่างๆ มูลเหตุในการส้รางพระเครื่องครั้งนี้เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึกในการที่ท่านนายพลทั้งสองจะเกษียณอายุราชการและท่านทั้งสองห่วงชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงสร้างพระขึ้นเพื่อคุ้มครองป้องกันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อแจกจ่ายแก่ช้าราชการและประชาชนทั่วไปตามสมควร ดังนั้นการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ จึงสร้างถูกต้องตามพิธีโบราณกาลและบรรจุด้วยพุทธาคมจากพลังจิตของท่านคณาจารย์ต่างๆ ที่ร่วมปลุกเสก
          พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2446 ท่านเป็นชาวนครราชสีมาโดยกำเนิด บรรพบุรุษท่านสืบสายรับราชการทางตุลาการ ท่านคือทายาทสายตรงของเจ้าเมืองนครราชสีมาในอดีต เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ นครปฐม รุ่น 2465 จบหลักสูตรเป็นนายร้อยตำรวจปี พ.ศ.2468
          พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจกองปราบปรามและผู้บังคับการตำรวจภูธร สมัยนั้นมีเพียงกองบัญชาการเดียวดูแลพื้นที่ภูธรทั่วประเทศ ผลงานที่ส่งผลให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังคือการปราบปรามเสือร้ายมากมาย เช่น เสือผาด เสือเจริญ เสือใบ ฯลฯ การปะทะกับคนร้ายหลายครั้งที่ถึงขั้นต้องวิสามัญเป็นเหตุให้ท่านถูกคนร้ายยิงด้วยปืนหลายครั้งแต่ก็ไม่เข้าเป็นเพียงเขียวช้ำ จนได้รับฉายาว่านายพลหนังเหนียว เฉพาะคดีสำคัญๆที่ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติดีเด่นของกรมตำรวจขณะนั้นมีจำนวน 42 เรื่อง ได้รับเกียรติเป็นนายพลอัศวิน แหวนเพชร คนแรกของกรมตำรวจในสมัยของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2506 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นโลหิตหัวใจอุดตันเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2529
          พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมาเดิมชื่อ บุตร์ นามสกุล พันธรักษ์ ตามเอกสารราชการระบุเกิด เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 ท่านขุนพันธรักษ์เป็นทายาทสืบเชื้อสายมาจากหมอหลวงประจำพระราชสำนักของเจ้าเมื่อนครศรีธรรมราช เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ รุ่น 2468 และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2472 จากนั้นก็เริ่มต้นชีวิตในเครื่องแบบสีกากีอยู่ในพื้นที่ทางภาคใต้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบ ตามประวัติมีบัญชีรายชื่อเสือร้ายที่ถูก พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชยิงเสียชีวิตจำนวน 62 รายที่ขึ้นชื่อได้แก่ เสือเมือง เสือสังข์ และกลุ่ม ขุนโจรอะแวสะดอ ผู้มีอิทธิพลแถบเทือกเขาบูโด จังหวัดนราธิวาส
          พ.ศ.2489 อธิบดีกรมตำรวจได้ขอตัวท่านขึ้นมาเป็นรองผู้อำนวยการกองปราบปรามพิเศษกรมตำรวจ เพื่อปราบปรามโจรร้ายคดีสำคัญของประเทศหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโจรพิจิตร กำแพงเพชร และลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาจนถึงสุพรรณบุรีจนได้รับฉายาจากซุ้มโตรต่างๆว่า ขุนพันธ์ดาบแดง ต่อมาได้ย้ายกลับสู่ภาคใต้อีกครั้งเพื่อกวาดล้างชุมโจรใหม่ กระทั่งขึ้นเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2549
          สิ่งของหายากที่ต้องนำมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระนั้นประกอบด้วย หัวว่านป่าสำคัญกว่า 400 ชนิด ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย และผงพุทธคุณของสมเด็จพุทธาจารย์โต ผงจากกรุพระนางตรา ผงจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ น้ำพระพุทธมนต์ในพิธีสำคัญต่างๆ จากพระอุโบสถทั่วประเทศ  ฯลฯ ส่วนแบบพิมพ์ท่านจำลองอย่างองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ เนื่องจากท่านทราบว่าเป็นพระประทานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่สักการะบูชากราบไหว้ของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ" ขึ้นยอดเป็นอุนาโลม อยู่ในกรอบรูปทรงคล้ายพระเจดีย์กดจมลึกลงไปในเนื้อพระ



พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ








พระเครื่องภูธราวดี


          รายละเอียดพิธีการสร้างจากการบอกเล่าของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งท่านให้รายละเอียดพิธีกรรมการสร้างไว้ในหนังสือพุทธรันดรไตรเวทย์ ฉบับที่ 3 วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2520

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-17 13:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้










พระประธานภูธราวดี หน้าตัก 29 นิ้ว

สร้างเทหล่อถวายองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อค่ำคืนวันที่ ๒๔เมษายน พ.ศ. 2506




ศาลากตัญญู

เป็นที่ประดิษฐานพระประธานภูธราวดี

(และเป็นที่ตั้ง ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์ จังหวัดนครปฐม)


          จากข้อความคำบันทึกของ พล.ต.ท.ประชา บุรณธนิต ที่เขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2506 กับคำบอกเล่าของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ที่ลงในหนังสือพุทธรันดร ปี พ.ศ.2520 ต่างให้รายละเอียดต่างๆได้ตรงกันเช่น วัสดุที่ใช้สร้างพระ การทำพิธี เหตุการณ์มหัศจรรย์อันเป็นนิมิตดี ทั้งๆที่ท่านทั้งสองได้ให้รายละเอียดต่างวาระกัน เรื่องที่เล่าทุกอย่างน่าจะเป็นจริงอย่างแน่นอน
          รายชื่อเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกพระเครื่องภูธาวดี ที่องค์พระปฐมเจดีย์มีดังนี้
                    1.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
                    2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
                    3.พลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
                    4.หลวงปู่เพิ่ม วังกลางบางแก้ว
                    5.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์
                    6.หลวงพ่อห่วงวัดท่านใน
                    7.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
                    8.พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ
                    9.หลวงพ่อคล้าย (วาจาสิทธิ์) วัดสวนขันธ์
                    10.หลวงปู่ทิม วัดช้างให้
                    11.หลวงพ่อปาน วัดเขาอ้อ
                    12.อาจารย์คง วัดบ้านสวน
                    13.อาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันออก
                    14.อาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ขณะนั้นยังเป้นชีปะขาวอยู่)

         เนื้อพระของพระเครื่องภูธราวดีมีสีน้ำตาลและดำ เป็นพระเครื่องที่อาจารย์นำ แก้วจันทร์ ท่านเป็นประธานการสร้างจนเสร็จพิธี อันเป็นเหตุให้นักสะสมพระเครื่องทางใต้เล่นหาเป็นพระของอาจารย์นำ และเป็นพระเครื่องที่เปี่ยมไปด้วยพุทธานุภาพ เป็นสิริมงคลแก่ท่านที่พกติดตัว เพราะผู้สร้างมีจิตใจอันบริสุทธิ์ และกรรมวิธีการสร้างพระถูกต้องตามโบราณกาล ตลอดจนเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสก ก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ประกอบกับสถานที่กดพิมพ์พระและสถานที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงนับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ดีที่สุดที่ท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ได้สร้างหรือร่วมสร้างขึ้น ค่านิยมโดยทั่วไปองค์พอสวยอยู่ในราคาพันกว่าบาทแต่องค์ที่สวยระดับแชมป์นักเล่นได้ขายไปในราคา ๖,๐๐๐ บาทเมื่อสีปีก่อน อนาคตมีสิทธิ์เล่นหากันถึงหลักหลายหมื่น



พระบูชา 5 นิ้ว










พระกริ่งภูธราวดี ปีพ.ศ. 2506





พระกริ่งภูธราวดี ปีพ.ศ.2506


          พิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ครั้งนี้ (ค่ำคืนวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. 2506) นอกจากจะนำพระร่วงภูธราวดีเข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ในพิธีนี้ได้มีการเทหล่อพระประทานหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว 1 องค์ เพื่อถวายองค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งปัจจุบันตั้งประดิษฐานอยู่ที่ศาลากตัญญูธรรม เทหล่อพระบูชาหน้าตัก 5 นิ้วและเทหล่อพระยอดธงจำนวน 9 องค์ พระกริ่งภูธราวดีจำนวน 80 กว่าองค์ ทั้งพระยอดธงภูธราวดีและพระกริ่งภูธราวดีได้เทหล่อเป็นเนื้อพิเศษ คือสร้างเป็นเนื้อนวโลหะกลับดำ ซึ่งประกอบด้วยโลหะ 9 อย่างได้แก่

                    1.ทองคำ

                    2.เงิน

                    3.ทองแดง

                    4.ดีบุก

                    5.พลวง

                    6.สังกะสี

                    7.เจ้าน้ำเงิน

                    8.เหล็กละลายตัว

                    9.เหล็กใหล

          พระครูอาคมสุนทร(มา) วัดสุทัศน์ฯ เป็นผู้ลงพระยันต์ 108 และนะปถมัง 14 นะ ตามสูตรโบราณกาลและแผ่นทองพระยันต์ของพระคณาจารย์ต่างๆที่เข้าร่วมพิธี ค่านิยมองค์สวยสภาพเรียบร้อยราคาแสนกว่าบาท








          พระเครื่องภูธราวดีจึงเป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นด้วยจิตอันบริสุทธ์ของท่านผู้สร้าง สร้างถูกต้องตามกรรมวิธี พร้อมบรรจุด้วยพุทธาคมอันล้ำเลิศ จากพลังจิตของผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณงามความดี และแก่กล้าแห่งพุทธาคม  ย่อมต้องบังเกิดความขลังเป็นสิ่งที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน  เมื่อเป็นของดีย่อมนำผลให้ผู้บูชาประสบความสำเร็จในสิ่งประสงค์อันดี  และล่วงพ้นจากพยันตรายทั้งปวง



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้