ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1620
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปชป.-พท.จับมือเปิดตัวเว็บประชามติ

[คัดลอกลิงก์]
[url=][/url]


ปชป.-พท.จับมือเปิดตัวเว็บประชามติ                                        ปชป.-พท.จับมือเปิดตัวเว็บประชามติ เปิดทางปชช.แสดงความเห็นร่างรธน. คสช. มีคำสั่งให้ง'ปานเทพ'นั่ง'ประธานป.ป.ช.'ต่อ          
            8พ.ค.2558 ที่ร้านบราวน์ ชูการ์ เดอะ แจ๊ส บูทีค เขตพระนคร เครือข่ายกลุ่มสื่อทางเลือกและองค์กรวิชาการ ได้แก่ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า, สำนักข่าวประชาไท, สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ilaw) ร่วมเปิดตัวเว็บไซต์ประชามติดอทโออาร์จี (www.prachamati.org) เพื่อเป็นพื้นที่แสดงความเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีประชาชน สื่อมวลชน และตัวแทนนักการเมือง อาทิ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย เข้าร่วม สำหรับบรรยากาศเป็นไปอย่างเรียบร้อย

            ทั้งนี้ นายจอน อึ้งภากรณ์ ฐานะผู้ร่วมก่อตั้งเวปไซต์ประชามติ กล่าวว่า เว็บไซต์ดังกล่าวต้องการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนที่มีความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้กลไกทางการที่ไม่มีหลักประกันว่าความเห็นของประชาชนจะนำไปใช้หรือไม่ ขณะเดียวกันประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญมีผลกระทบระยะยาวกับประชาชนทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ดังนั้นเวปไซต์จึงถือเป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งที่เห็นดัวยหรือไม่เห็นดัวยกับประเด็นต่างๆ ในร่างรัฐธรรมนูญแสดงความเห็น ในรูปแบบการลงคะแนนเสียง โดยคำถามแรกจะเกี่ยวกับความเห็นต่อความต้องการให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่

            “ยอมรับว่าผลของการโหวตประเด็นต่างๆ ไม่สามารถอ้างอิงอย่างเป็นทางการได้ แต่ประเด็นสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และอย่างอิสระ ขณะที่การตัดสินใจทำประชามติอย่างเป็นทางการยังไม่ชัดเจน ผมเชื่อด้วยว่าผลของการโหวตแต่ละประเด็นจะเป็นกระแสให้สังคมและสื่อมวลชนติดตาม” นายจอน กล่าว

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในงานเปิดตัวดังกล่าวได้เปิดเวทีให้ผู้ที่เข้าร่วมแสดงความเห็น เรื่อง “รัฐธรรมนูญใหม่ ใครตัดสิน” โดยผู้มาร่วมงานร่วมขึ้นเวทีแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ขณะที่ความเห็นต่อตัวแทนพรรคการเมืองที่เข้าร่วม

             โดยนายวิรัตน์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ตนสนับสนุนให้มีการทำประชามติ ขณะเดียวกันทางสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญก็็เห็นในทำนองเดียวกัน ดังนั้นตนเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)จะตัดสินใจให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน โดยในทางปฏิบัติตนเห็นว่าเมื่อคสช. และคณะรัฐมนตรีร่วมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ตามที่มาตรา 46 กำหนดไว้แล้ว เมื่อผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คสช. ต้องนำอำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557มาใช้เพื่อยกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ.2552 มาดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพราะสถานะของกฎหมายว่าด้วยการทำประชามตินั้นสิ้นผลไปตั้งแต่ที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ถูกยกเลิก

            “การทำประชามติ ผมมองว่าควรแยกทีละประเด็น เพื่อรักษาสิ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกออกแบบไว้ดีแล้วไว้ ขณะที่ประเด็นใดซึ่งไม่ได้รับการเห็นชอบ ควรกำหนดให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นำกลับมาแก้ไขใหม่” นายวิรัตน์ กล่าว

            ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าตนสนับสนุนให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะกรณีไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความเห็น หรือแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ยังไม่รู้ว่าเมื่อบังคับใช้แล้วความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตจะคลี่คลาย หรือจะทำให้ประเทศไทยได้รัฐบาลที่ดี หรือไม่ดี และสร้างสังคมประชาธิปไตยได้หรือไม่นั้นอาจทำให้รัฐธรรมนูญไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญช่วงนี้ ก่อนการมีผลบังคับใช้และใช้ไปแล้วก็ไม่สามารถแก้ไขได้อีกเพราะมีกลไกที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้จริง จะเป็นช่องทางที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นเผด็จการน้อยลงได้

            “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ถูกแก้ไขในสาระสำคัญ ความขัดแย้งหลังการเลือกตั้งก็จะกลับมาได้อีก ซึ่งไม่มีทางออกใดๆ ทั้งสิ้น ผมไม่เห็นด้วยที่บอกว่าใช้ไปก่อน 5 ปีแล้วค่อยมาแก้ไข ผมไม่รู้ว่าช่วง 5ปีนั้นจะมีรัฐประหารเกิดขึ้นอีกกี่ครั้ง ดังนั้นทางออกขณะนี้ ต้องบอกให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญรีบแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญจะไม่เป็นประชาธิปไตย หากไม่มีการทำประชามติ ดังนั้นหากการตัดสินใจทำประชามติได้เร็ว จะกระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะรับฟังเพื่อนำไปแก้ไข ขณะเดียวกัน สปช.ต้องทำหน้าที่เสนอประเด็นและบอกว่าหากไม่แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เขาจะคว่ำแน่ ดังนั้นถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ประชาชนจะมีสิทธิ มีเสียง และป้องกันหรือลดความรุนแรงเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต” นายจาตุรนต์ กล่าว

คสช. มีคำสั่งให้ง'ปานเทพ'นั่ง'ประธานป.ป.ช.'ต่อ


            คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2558  เรื่อง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอยู่ในตําแหน่งต่อไป ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พุทธศักราช 2558 แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป นั้น

            บัดนี้ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประกาศฉบับดังกล่าว กําลังจะพ้นจากตําแหน่งในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เนื่องจากอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ในขณะที่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอีก 4 คน ได้แก่ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย นายภักดี โพธิศิริ นายวิชา มหาคุณ และนายวิชัย วิวิตเสวี ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประกาศฉบับเดียวกัน ยังคงอยู่ในตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ 9 ปี ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2558

                    ดังนั้น เพื่อมิให้ต้องดําเนินการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2 ครั้ง ในเวลาใกล้เคียงกัน อันจะเป็นการสร้างภาระแก่ผู้สนใจสมัครเข้ารับการสรรหาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศโดยไม่จําเป็น จึงเห็นสมควรให้ดําเนินการสรรหาบุคคล แทนตําแหน่งที่ว่างไปในคราวเดียวกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปประเทศและการปฏิรูปองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งให้ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติต่อไปจนถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


ที่มา.http://www.komchadluek.net/detail/20150508/205980.html

อย่างน้อยก็ยังเห็นค่าความสามัคคี
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้