ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1630
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เรียนรู้ในตำราและรู้จริงจากปัญญา

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2015-3-20 07:44

เรียนรู้ในตำราและรู้จริงจากปัญญา  


      
                   ขณะนี้ผู้ปฏิบัติไม่สนใจในการพิจารณาทางปัญญา ไม่สนใจในการวิจัย        วิเคราะห์ตรึกตรอง ไม่ต้องคิดพิจารณาให้เสียเวลา อยากรู้ธรรมะหมวดไหนก็ไป        อ่านในตำราก็รู้ได้ อยากรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไปศึกษาในตำราก็รู้        ความจริงนี้ได้ การเรียนรู้ในตำราและรู้จริงจากปัญญา จะมีความแตกต่างทางจิต        ใจ เหมือนกับอาหารสำเร็จรูป เราอยากรับประทานอาหารประเภทไหนก็ซื้อรับ        ประทานอิ่มได้ ถ้าอาหารนั้นทำกับมือเราเองรับประทานเอง ในความรู้สึกจะเกิด        ความพอใจในฝีมือเราเอง ถึงร้านอาหารเขาเลิกไปก็ไม่เกิดความเดือดร้อน เพราะเราทำอาหารรับประทานเองได้อยู่แล้ว นี้ฉันใด การอาศัยความรู้จากผู้อื่นยกยื่น        ธรรมะให้ก็ฉันนั้น ก็จะเป็นธรรมะที่ยืมจากผู้อื่นมารู้เท่านั้น         ถ้าผู้อื่นไม่อธิบายให้        ฟังก็จะนั่งซึมเซ่อเหม่อลอย จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองไม่ได้เลย         ถ้าเราฝึกสติ        ปัญญาพิจารณาในหลักความเป็นจริงอยู่บ่อย ๆ ใจก็จะเกิดความแยบคายในปัญหา        นั้น ๆ




      ใจก็จะละจากความเห็นผิดได้ การภาวนาปฏิบัติก็จะก้าวหน้าไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคขัดขวางให้เสียเวลาแต่อย่างใด เหมือนกับได้โชเฟอร์ขับรถที่ดีมีฝีมือ        เราก็นั่งไปด้วยความปลอดภัย ถ้าได้โชเฟอร์ขี้เมาก็จะพาให้เราตกคลองไปด้วย        ถ้าเรามีความชำนาญในการขับรถด้วยตนเองมีความมั่นใจในฝีมือตัวเอง การดูเส้น        ทางและอ่านป้าย รู้จักไฟเขียว ไฟแดง รู้กฎจราจร การขับรถก็จะมีความปลอด        ภัยไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ นี้ฉันใด การภาวนาปฏิบัติก็ฉันนั้น ถ้าได้        ครูอาจารย์ดีก็มีความโชคดีไป ถ้าได้ผู้นำที่ไม่รู้อุบายปฏิบัติที่ถูกต้อง         ก็จะเป็น        ปัญหาในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมากทีเดียว ถ้าเราฝึกตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้        สติปัญญาเราดีมีเหตุผลอย่างพอเพียง จะไม่ต้องเสี่ยงต่อการภาวนาปฏิบัติธรรมแต่        อย่างใด




ธาตุดินจึงเป็นหลักให้แก่ธาตุอื่น ๆ ให้รวมตัวอยู่ได้ เป็นธาตุที่แข็งแกร่ง


ให้ธาตุนํ้า ธาตุลม ธาตุไฟ ได้ทรงตัวเป็นรูป ถึงธาตุอื่นจะมีความสำคัญก็เป็น        


เพียงธาตุประกอบกัน อยู่ในธาตุดินนี้ทั้งสิ้น




           ให้สังเกตดูว่า..





พระอุปัชฌาย์ให้        กัมมัฏฐานแก่พระเณรที่บวชใหม่ ก็ให้กัมมัฏฐานห้าล้วนแล้วแต่เป็นธาตุดิน

เช่น        เกศาผม โลมาขน นะขาเล็บ ทันตาฟัน ตะโจหนัง ทั้งห้านี้มีอยู่ภายนอก        สัมผัสด้วยตาได้

กัมมัฏฐานห้านี้มีอยู่กับทุก ๆ คน การบอกกัมมัฏฐานห้าให้ผู้        บรรพชาอุปสมบทนั้น

เป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนา บวชให้ถูกต้องตามพุทธ        ประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน

เพื่อให้พระเณรได้นำไปพิจารณาด้วยปัญญา        ให้รู้เห็นในความสกปรกโสโครกของร่างกาย

ไม่ให้ใจเกิดความกระสันยินดี






ให้ใจเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในกามคุณ ให้พิจารณาด้วยปัญญา ใน        กัมมัฏฐานห้าของตนเองและของผู้อื่น ให้เป็นไปในสามัญลักษณะในความสกปรก        โสโครกเหมือนกัน ถ้ารู้เห็นเป็นไปตามความจริงอยู่อย่างนี้ ความยินดีที่อยากจะ        สัมผัสก็คลายออกจากใจไปได้ มองดูตัวเองและเห็นใคร ๆ ก็จะเป็นซากศพเคลื่อน        ที่ไปเสียทั้งหมด         ถ้านอนอยู่ร่วมกันก็เหมือนได้อยู่ในป่าช้าผีดิบดูน่าสะอิดสะเอียน        เบื่อหน่าย ไม่มีความสวยงามไปตามโมฆบุรุษ โมฆสตรีที่มืดบอดแต่อย่างใด        ความเข้าใจ ความเห็นเป็นอย่างนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบถูกต้องตาม        ความเป็นจริง


แมลงผึ้งแสวงหาเกสร

แมลงวันแสวงหาของบูดเน่า

นักปราชญ์แสวงหาความจริง




ขณะนี้เราเป็นอะไร และแสวงหาอะไรกันแน่ ให้ดูใจเราก็แล้วกัน        


ธรรมะหลวงพ่อทูล   

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้