ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1866
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทานบารมีสำคัญอย่างไร : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2015-2-18 23:11



หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



บุคคลจะไปสวรรค์  บุคคลจะไปนิพพานได้นั้น
ก็เพราะสั่งสมบุญกุศลโดยแท้จริง..มันเป็นอย่างนั้น
นอกจากบุญกุศลแล้วไม่มีอะไรที่จะส่งคนเรา
ถึงซึ่งความสุขยิ่งๆขึ้นไปตลอดถึงพระนิพพาน


ก็อย่างที่พระพุทธเจ้านั้น
พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
ก็เพราะพระองค์สร้างบุญบารมีมาจนเต็มบริบูรณ์นู่น
ถ้าบุญบารมียังไม่เต็มตราบใดแล้ว
ก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ให้พึงถือเอานี้นะเป็นหลัก เครื่องเตือนใจ
ของพวกเราที่เป็นพุทธศาสนิกชน
อย่าไปลืมหลักนี้

บางคนก็เห็นว่า  ไม่จำเป็นต้องไปทำบุญให้ทาน
ภาวนาเอาลูกเดียวก็สำเร็จได้

ถ้ายังไปทำบุญทำทานอยู่
มันก็เป็นอุปาทานอยู่สิ
มันจะไปนิพพานได้ยังไง
...ผู้เห็นอย่างนี้ก็มี
นั่นแหละเห็นอย่างนั้น..ไม่ถูกต้อง

  ไม่ถูก...จะไปถูกไง
ไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า


พระพุทธเจ้าสร้างบารมีมา
ต้องยก "ทานบารมี" ขึ้นเป็นปฐมฤกษ์เลย

ลองคิดดู นั่นแหละ..
ถ้าบุคคลให้ทานไม่ได้แล้ว
จะปฏิบัติคุณธรรมอันสูงขึ้นไปกว่านั้นไม่ได้เลย

ลองคิดดู  นั่นแหละ..


คนที่ไม่สามารถจะรักษาศีล
ไม่สามารถที่จะประพฤติธรรมต่างๆได้หมู่นั้น
ล้วนแต่คนไม่ได้ทำบุญให้ทานอะไร

มีสมบัติมากมายก่ายกองมา
ก็ไม่ได้ให้ทานในบุคคลที่ควรให้
แล้วก็เอาไปจ่ายสุรุ่ยสุร่าย
ไปบำรุงบำเรอกามคุณนู่น
มีเงินทองมากมายก่ายกองอันนั้น
นี่ลองพิจารณาดูอย่างว่า
คนไม่มีจิตยินดีในการให้
การบริจาคทานแก่บุคคลที่ควรให้
เช่น ท่านผู้มีศีลมีธรรมอันดีงามในพระพุทธศาสนานี้

ครั้นว่าให้ บางคนก็ให้ทานเห็นแก่หน้า
ให้ทานเพื่อการค้าก็มี
ถ้าไปจัดงานทำบุญให้ทาน
ก็เชิญแขกเหรื่อมากินเลี้ยงกัน
ฆ่าวัวฆ่าควายลง  เลี้ยงกัน..เลี้ยงเหล้ายาปลาปิ้ง
ให้อิ่มหนำสำราญ ฟ้อนรำขับร้อง สรวญเสเฮฮาไป
เพื่อผูกมิตรกับคนหมู่มาก
ก็ให้คนหมู่มากได้เห็นว่าตนนั้นเป็นคนกว้างขวาง
เมื่อตนทำการค้าขายอะไรคนเหล่านั้นก็จะไปอุดหนุนตน
นี่  การให้ทานแบบนั้นน่ะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญเลย
เพราะมันแทรกไปด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน
ทานเพื่อหวังผลตอบแทนในปัจจุบันนี้
ไม่ใช่ให้ทานเพื่อความโลภความตระหนี่
มันเบาบางไปหมดไปสิ้นไป
อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำสั่งสอน

มันเป็นอย่างนั้น เรื่องมันน่ะ



ดังนั้นให้พึงพากันเข้าใจ
เราปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานี้
ให้พึงตั้งใจลงว่า มุ่งเพื่อที่จะให้
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
มานะทิฏฐิ อิจฉาพยาบาท กิเลสชาติต่างๆหมู่นี้
ให้น้อยเบาบางไปหมดไปสิ้นไป
ด้วยการตั้งอกตั้งใจปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิบัติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำสั่งสอน
ดังที่ชี้แจงแสดงให้ฟังมาโดยลำดับนั้นแหละ
มันถึงจะเป็นทางพ้นทุกข์พ้นภัยในวัฏสงสารได้




  


ที่มา :  ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา
https://www.youtube.com/watch?v=v-1AvRR4ay8


                                                                                       
............................................................................

ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=49148

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธี เมื่อ 2015-2-19 20:17

สาธุครับ ในพุทธกาล เศรษฐีทำบุญกับพระบ่อยๆ แต่เทวดาไม่สาธุ เมื่อชายที่เป็นทาส มีอาหารกินวันละมื้อ ตัดสินใจไม่กินข้าวที่ได้รับเพี่ยงมื้อเดียวถวายแก่พระภิกษุที่มาบิณฑบาต เทวดาที่อยู่ที่บ้านเศรษฐีได้สาธุด้วยเสียงดัง ตัวท่านเศรฐีได้ยินก็ถามเทวดาว่า เราทำบุญทุกวันท่านไม่เคยสาธุ แต่เหตุใดทาสทำบุญท่านกลับสาธุ..เทวดาตอบว่า ทานที่ท่านทำได้บุญแต่ เนื่องจากท่านมีมาก ใจของท่านไม่ยินดีในทานมากเท่ากับทาสที่สละไม่กินข้าวที่มีมื้อเดียวถวายแก่พระภิกษุ"
มีผู้ชราบอกผมว่า ถ้าเราทำทานแล้วต้องวางทานด้วย คือไม่คิดว่าเป็นของเราอีก นำไปให้หมาแมวในวัดเสีย ถ้าเรายังยึดว่าเป็นของเรา ก็ไม่บรรลุการทำทานที่ได้อานิสงค์มาก ทำทานแบบพระเวสสันดร ให้แล้วให้เลย ไม่ยึดไม่หวงเป็นของตนเองอีก จึงจะสำเร็จในผลทานนั้น
สาธุธรรม

บางคนก็เห็นว่า  ไม่จำเป็นต้องไปทำบุญให้ทาน
ภาวนาเอาลูกเดียวก็สำเร็จได้
ถ้ายังไปทำบุญทำทานอยู่
มันก็เป็นอุปาทานอยู่สิ
มันจะไปนิพพานได้ยังไง
...ผู้เห็นอย่างนี้ก็มี
นั่นแหละเห็นอย่างนั้น..ไม่ถูกต้อง
  ไม่ถูก...จะไปถูกไง
ไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า


พระพุทธเจ้าสร้างบารมีมา
ต้องยก "ทานบารมี" ขึ้นเป็นปฐมฤกษ์เลย
ลองคิดดู นั่นแหละ..
ถ้าบุคคลให้ทานไม่ได้แล้ว
จะปฏิบัติคุณธรรมอันสูงขึ้นไปกว่านั้นไม่ได้เลย
ลองคิดดู  นั่นแหละ..


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้