ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1812
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ผ้าห่อศพแห่งตูริน

[คัดลอกลิงก์]
   การตามหาสิ่งของที่มีเรื่องราวปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลนั้นเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนผู้เปี่ยมด้วยความศรัทธา นักผจญภัย รวมถึงนักประวัติศาสตร์พยายามแสวงหาแหล่งที่มา รวมทั้งค้นคว้าหลักฐานการมีอยู่จริงของสิ่งเหล่านี้นานหลายศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นการตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์ กางเขนที่ตรึงพระเยซู และหอกที่ใช้ปลิดชีวิตของพระองค์ เศษซากเรือโนอาห์ ฯลฯ  ทว่าหลักฐานที่บรรดาผู้ศรัทธาเชื่อมั่นอย่างที่สุดว่ามีอยู่จริง และเป็นเครื่องพิสูจน์เรื่องราวในพระคัมภีร์ ก็คือ ผ้าห่อศพแห่งตูริน (The Shroud of Turin) ผ้าห่อศพชิ้นนี้เป็นปริศนาลึกลับที่นักประ วัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ นักพยาธิวิทยา นักศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถักทอ นักเคมี นักฟิสิกส์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ พยายามไขมานานหลายทศวรรษ           แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์อันก้าวหน้า จะสามารถหาคำตอบบางอย่างเกี่ยวกับปรา กฎการณ์ที่เกิดขึ้นบนผ้าผืนนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถค้นหาที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน ว่าผ้าลินินผืนนี้เป็นผ้าที่ใช้ห่อพระศพของพระเยซู หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์เพราะถูกตรึงกางเขนจริงหรือ เป็นเพียงงานศิลปะชั้นสูงของศิลปินในยุคกลาง
[size=-1]
[size=-1]ภาพโคลสอัพผ้าห่อศพแห่งตูริน

ผ้าห่อศพแห่งตูริน เป็นผ้าลินินยาว 4.42 เมตร กว้าง 1.13 เมตร แต่เดิมผ้าผืนนี้น่าจะเป็น  สีขาว แต่ปัจจุบันซีดลงจนเป็นสีเหลืองงาช้าง ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ บนผ้าผืนนี้มีภาพรูปร่างชายไม่สวมเสื้อผ้า ขนาดเท่าคนจริง ปรากฏเด่นชัดราวกับเป็นภาพถ่าย ชายผู้นี้ผมและหนวดเครายาว ใบหน้าดูเงียบสงบน่าเกรงขาม นอกจากนี้ยังมีรอยเลือดที่ไหลลงมาเป็นทาง จากส่วนศี รษะ ส่วนแขนทั้งสอง ด้านข้างของร่างกาย รวมถึงข้อมือและเท้า รอยเลือดที่ปรากฏนั้นมีสีเข้มกว่าส่วนที่เป็นภาพ และมองเห็นได้อย่างชัด มีรอยที่เข้าใจว่าเกิดจากแผลนับสิบๆ แผลตามร่างกายอันเกิดจากการถูกเฆี่ยนตี ที่ปลายของรอยแผลแบบนี้เป็นรอยที่เกิดจากแส้ของชาวโรมันเท่านั้น เห็นได้ชัดเจนว่าเจ้าของรูปร่างที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้านี้ผ่านการทารุณที่เหี้ยมโหดอย่างไร้มนุษยธรรม ทำให้บรรดาผู้ศรัทธาเชื่อกันว่าน่าจะเป็นผืนที่ใช้ห่อพระศพ “พระเยซูแห่งน าซาเร็ท” (Jesus of Nazareth) ซึ่งโยเซฟแห่งอริมาเธีย (Joseph of Arimathaea ) ใช้รองและคลุมพระศพของพระเยซู  ในหลุมฝังศพใกล้กับเมืองกอลกอตทา เมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีที่ผ่านมา และผ้าผืนนี้ก็ถูกทิ้งไว้ที่นั่น หลังจากพระองค์ฟื้นคืนชีพและเสด็จออกจากสุสาน
[size=-1]อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมีการค้นพบผ้าห่อศพแห่งตูริน มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับผ้าผืนนี้มานานห ลายศตวรรษ ตามบันทึกของ บิชอปยูเซบิอุส แห่งเซซาเรีย (Eusebius of Caesarea )  ผู้ที่บันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าชิ้นนี้คนแรก กล่าวว่า มีเอกสารกล่าวถึงผ้าโบราณที่ปรากฏภาพพระพักตร์ของพระเยซู ซึ่งไม่ได้ทำขึ้นจากฝีมือมนุษย์  เรียกว่าภาพแห่งเอเดสสา (Image of Edessa) และอัครสาวกผู้หนึ่งเป็นคนนำผ้าชิ้นนี้มาซ่อนไว้ที่กำแพงทางเข้าเมืองเอเดสสา (ปัจจุบันคือ เมืองเดอร์ฟา ในประเทศตุรกี) ในปี ค.ศ. 544 จากนั้นผ้าผืนนี้ถู กนำไปที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในปี ค.ศ. 944 และมีหลายคนที่เคยเห็นผ้าชิ้นนี้ได้บันทึกเกี่ยวกับความยาวของผ้า ภาพพระเยซูและรอยเลือดที่เป็นคราบติดอยู่บนเนื้อผ้า ราวปี ค.ศ.1204 ผ้าผืนนี้ก็ตกเป็นสมบัติของ โอตอง  เดอ ลา โรค (Othon de la Roche) ดยุคแห่งเอเธนส์และทิบิส เขาส่งผ้าไปเก็บไว้ที่ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1207  จากนั้นมีการนำผ้าผืนนี้ออกแสดงที่วิหารแห่งหนึ่ง กระทั่งเกิดไฟไหม้จนเอกสารต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้ถูกทำลายไปสิ้น ยกเว้นเพียงผ้าผืนนี้เท่านั้นที่เหลือรอด หลายปีต่อมา   จอฟฟรีย์ เดอ ช าร์นีย์ (Geoffrey de  Charny) อัศวินชื่อดัง ผู้ครองเมืองลิเรย์ ในประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ค้นพบผ้าผืนนี้เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 (ราวปี ค.ศ.1357) แต่ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเขาพบผ้าชิ้นนี้ที่ไหน หรือได้มาด้วยวิธีใด แต่มีบางตำนานกล่าวว่า เขาได้รับผ้าชิ้นนี้มาจาก โอตอง เดอ ลา โรค เนื่องจากเขาแต่งงานกับหลานสาว ของดยุคผู้นั้น

                         นอกจากบันทึกของบิชอปยูเซบิอุสแล้ว ยังมีบันทึกของ โรเบิร์ต เดอ คลารี (Robert de Clari) ผู้บันทึกเรื่องราวของสงครามครูเสดครั้งที่ 4 เขาเคยเห็นผ้าห่อศพซึ่งมี “พระวรกายพระเจ้าของเรา” ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ในปี ค.ศ.1203 จากนั้นผ้าก็หายไปเมื่อนักรบบุกเข้าปล้นเมืองไบแซนไทน์ ภายหลัง เอียน วิลสัน (Ian Wikson) นักเขียนชาวอังกฤษอ้างว่าเขาติดตามร่อ งรอยของผ้าห่อศพผืนนี้ตั้งแต่เยรูซาเล็มถึงเมืองเอเดสสา ตามที่มีบันทึกไว้และพบว่าเรื่องราวของผ้าห่อศพในสถานที่เหล่านี้ล้วนมีความเชื่อมโยงกัน แม้หลักฐานจะเลือนราง แต่วิลสันก็เชื่อว่าผ้าห่อศพในตำนานที่ร่ำลือกันในนานหลายศตวรรษล้วนเป็นผ้าผืนเดียวกัน ซึ่งก็คือ ผืนที่พบในเมืองลิเรย์นั่นเอง

                          ในช่วงศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มักมีการกุเรื่องราวปาฏิหาริย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ท ำให้มีผู้สร้างเรื่องเท็จ หรือทำของเลียนแบบเพื่อหลอกลวงบรรดาผู้ศรัทธา ผ้าห่อศพผืนนี้ก็ไม่พ้นจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นของที่ทำปลอมขึ้นมาเช่นกัน บิชอปแห่งเมืองทรอเยส ประกาศว่าผ้าห่อศพแห่งเมืองลิเรย์นั้นเป็นของปลอม เมื่อมีการนำออกแสดงใน     ปี ค.ศ.1389 เขายืนยันว่าภาพที่ปรากฏขึ้นนั้นเกิดจากเทคนิคการวาดภาพศิลปินฝีมือเยี่ยมและมีผู้เห็นด้วยกับท่านบิชอปมากมาย เพราะไม่มีใครเชื่อว่าผ้าห่อพระศพจะสามารถประทับภาพของผู้ตายได้ชัดเจนถึงเพียงนี้ อย่างไรก็ตาม ศาสนจักรก็ไม่ยอมปล่อยให้ผู้ค นสิ้นศรัทธาในศาสนา สมเด็จพระสันตะปาปา อาวิญอง โป๊ป เคลมองต์ ที่ 7 (Avugnon Pope Clement  VII) จึงหาทางแก้ไขด้วยการออกข้อกำหนดว่าให้คริสต์ศาสนิกชนถือว่าผ้าห่อศพแห่งลิเรย์นั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสมือนเป็นตัวแทนของผ้าห่อพระศพที่แท้จริง

                         การเดินทางของผ้าห่อศพผืนนี้ยังไม่สิ้นสุดลงเท่านั้น ยังมีเรื่องเล่าต่อมาว่า ทายาทอัศวิน เดอ ชาร์นีย์ได้มอบผ้าห่อ ศพผืนนี้ให้กับ หลุยส์ ดยุคแห่งซาวอย (Lousi, Duke of Savoi)  ในปี ค.ศ.1453 จากนั้นดยุคผู้นี้ได้สร้างวิหาร เซ็นต์ ชาเพลล์  (Sainte Chapelle) ขึ้นที่เมืองแชมเบอร์รีย์ และได้ประดิษฐานผ้าห่อศพนี้ไว้บนแท่นบูชา ซึ่งมีผู้แสวงบุญจากทุกสารทิศเดินทางมาเพื่อสักการะผ้าผืนนี้ ทว่า ปี ค.ศ.1532 ได้เกิดไฟไหม้แท่นบูชา ความร้อนทำให้หีบเงินบรรจุผ้าหลอมละลายและหยดลงบนผืนผ้า จนเกิดรอยไหม้เป็นรูโหว่ตรงรอยพับ แต่ภาพที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้าไม่เกิดความเสียหายแต่อย่างใด  ต่อมาในปีค.ศ.1578 ดยุคแห่งซา วอย จึงนำผ้าห่อศพข้ามเทือกเขาแอลป์ ไปเก็บรักษาไว้ที่เมืองหลวงใหม่ชื่อ ตูรินหรือโตริโน ในประเทศอิตาลี ทำให้ผู้คนขนานนามผ้าชิ้นนี้ว่า ผ้าห่อศพแห่งตูริน และมีการนำออกแสดงต่อสาธารณชนเป็นระยะ ซึ่งปัจจุบันผ้าห่อศพชิ้นนี้เป็นสมบัติของสำนักวาติกัน
[size=-1]
[size=-1]โปสเตอร์โฆษณานิทรรศการผ้าห่อศพแห่งตูรินในปี ค.ศ. 1898


                         อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการชี้ชัดว่าผ้าผืนนี้เป็นผ้าห่อศพจริงที่มีอายุกว่า 2,000 ปี หรือเป็นของที่ทำปลอมขึ้นถึงขนาดเกิดทฤษฎีสมคบคิดขึ้นมาว่าแท้ที่จริงแล้วภาพบุรุษลึกลับผู้นั้น เป็นภาพวาดฝีมือ เลโอนาร์โด ดา วินซี่ (Leonardo Da Vinci)  เนื่องจากภาพดังกล่าวมีรายละเอียดทางด้านสรีรวิทยาที่ถูกต้องและสมส่วนเป็นอย่างมาก หรือแม้แต่ทางวาติกันเองยังเคยออกมาแถลงการณ์ว่าอัศวินเทมพลาร์ (หลายกลุ่มเชื่อว่าพว กเขาคือผู้เก็บรักษาจอกศักดิ์สิทธิ์ และกุมความลับเกี่ยวกับ แมรี่ แมกดาลีน) เป็นคนเก็บรักษาผ้านี้มากกว่า 100 ปี นับตั้งแต่สงครามครูเสดเพื่อยืนยันว่าผ้าผืนนี้เป็นของจริงและแก้ข้อสงสัยเกี่ยวกับประวัติของผ้าที่สูญหายไปก่อนปี ค.ศ.1349

                       วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1898 เซคอนโด เปีย (Secondo Pia) ช่างภาพคนหนึ่งได้ถ่ายภาพผ้าห่อศพผืนนี้จากงานนิทรรศการ แล้วตรวจสอบภาพเนกาทิฟที่ปรา กฏออกมาหลังจากนำขึ้นจากน้ำยาล้างฟิล์ม เขาเกือบปล่อยภาพนี้ ตกจากมือด้วยความตกใจ และรู้สึกเหมือนถูกผีหลอก เพราะภาพบุรุษลึกลับไม่ใช่ภาพเนกาทิฟ แต่กลับเป็นภาพโพสิทิฟที่ชัดเจน ส่วนแสงและเงาที่ปรากฏบนผ้านั้นมีความมีความเด่นชัด ดูเป็นภาพเหมือนจริงอย่างยิ่ง อีกทั้งยังแสดงถึงรายละเอียดต่างๆที่เคยเห็นมาก่อนจากการดูด้วยตาเปล่าอีกด้วย นั่นแสดงว่าภาพจริงๆ บนผ้าห่อศพเป็นภาพ       “เนกาทิฟ” อยู่ก่อนแล้วนั่นเอง เขานำภาพนี้ออกแสดงต่อสาธารณชน และเป็นการพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าภาพที่ปรากฏบนผ้ าห่อศพนี้ ไม่ใช่ภาพวาด เนื่องจากเทคนิคในยุคนั้น ยังไม่สามารถวาดรูปให้เป็นเนกาทิฟได้

                       ร่องรอยที่ปรากฏบนผืนผ้าจึงยังเป็นปริศนาต่อไป นับจากนั้นเป็นต้นมามีการวิจัยเกี่ยวกับผ้าห่อศพผืนนี้ในหลายสถาบันทั่วโลก โดยเฉพาะในปี ค.ศ.1978 มีการนำผ้าห่อศพออกมาจัดแสดงอีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 400 ปี ที่มีก ารนำผ้าห่อศพมาเก็บรักษาไว้ที่ตูริน และมีการจัดตั้งโครงการวิจัยผ้าห่อศพแห่งตูริน ขึ้น นักวิชาการชาวอเมริกันกว่า 36 คน      ขนอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัยถึง 72 กล่อง รวมทั้งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆอีกหลายสิบเครื่อง เพื่อมาพิสูจน์อายุของ
[size=-1]
[size=-1]ภาพแห่งเอเดสสา ปรากฎในภาพวาด
สมัยสวรรษที่ 10
ผ้าผืนนี้ และยังมีการศึกษาต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ฉายแสง UV และเอ็กซเรย์ผืนผ้า มีการถ่ายรูปอย่างละเอียดทุกๆ ตารางมิลลิเมตร ประมาณ 5,000 รูป โดยใช้คลื่นแสงที่มีความถี่ต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทปเหนียว เพื่อดับจับเอาบางส่วนของเส้นใยเล็กๆ ฝุ่นผง ละอองเกสร และอณูอื่นๆ ไปวิเคราะห์    ผลปรากฏว่า สีเหลืองอ่อนที่เป็นภาพจะปรากฏอยู่บนสุดของเส้นด้ายสีนั้นไม่ได้กร ะจายหรือซึมลงไปในเนื้อเส้นด้าย ไม่ได้ไหลลงไปข้างๆ และก็ไม่ได้มีสีปรากฏระหว่างช่องว่างของเส้นด้าย แสดงว่าสีนั้นจับอยู่บนเส้นด้าย แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีวาดหรือถูสีไปบนผ้า ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์      จึงเชื่อว่าผ้าห่อศพแห่งตูรินไม่ใช่ภาพเขียน เพราะไม่พบเม็ดสีหรือรงค์ของสีแต่อย่างใดนอกจากเหล็กออกไซด์ปริมาณน้อยเท่านั้น นอกจากนี้จากการพิสูจน์รอยไหม้ที่เกิดใน ปี ค.ศ.1532 พบว่า ถ้าเป็นภาพที่เกิดจากการใช้สี ความร้อนต้องทำปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้สีเหล่านั้นเปลี่ยนไป นอกจากน้ำที่สาดล งไปบนผ้าเพื่อดับไฟครั้งนั้น ก็ย่อมจะทำให้เกิดรอยด่างหรือจางลงของหมึกหรือสี (หากว่าเป็นภาพที่เขียนขึ้น) แต่บนผ้ากลับไม่ได้ปรากฏหลักฐานเหล่านี้เลย

[size=-1]สำหรับรอยเปื้อนเลือดที่ปรากฏนั้น เมื่อตรวจสอบจากภาพถ่ายของ เซคอนโดเปีย ในปี ค.ศ.1898 แล้ว พบว่าส่วนที่เป็นเลือดจะปรา กฏเป็นโพสิทิฟ ซึ่งต่างกับภาพปรากฏเป็นเนกาทิฟ และเมื่อลองเลาะรอยเย็บข้างหลังผ้าออกก็พบรอยเลือดที่ไหลผ่านทะลุผ้าลงมา ตรงข้ามกับผ้าที่จะเห็นเฉพาะเพียงด้านหน้าของภาพเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่า รอยเปื้อนเลือดกับรอยที่เกิดเป็นภาพนั้นเกิดขึ้นด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏออกมาว่ารอยเลือดนั้นเกิดจากเลือดจริงๆ โดยผลจากการเอกซเรย์แสดงให้เห็นเปอร์เซ็นต์ของธาตุเหล็กในเลือดมนุษย์อย่างถูกต้องและนักวิทยาศาสตร์พบว่าร่องรอยผลึกเล็กๆ ที่เป็นผลึกของเฮโมโกลบินด้วย
[size=-1]
[size=-1]
[size=-1]ภาพเนกาทิฟและโพสิทิฟของผ้าห่อศพแห่งตูริน
[size=-1] ใบหน้าของบุรุษลึกลับที่เชื่อกันว่าคือพระเยซู


                            การวิจัยในเวลาต่อมา มีการตั้งสมติฐานว่า ภาพที่ปรากฏบนผืนผ้าน่าจะเกิดจากปรากฏ การณ์ Electrostatic discharge (ESD) เนื่องจากศพอาจถูกฝังโดยมีแผ่นหินกดทับอยู่ด้านบนและด้านล่าง ซึ่งบนผ้าน่าจะมีฝุ่นจับอยู่ และเมื่อเกิดแผ่น ดินไหว หินก็ปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมา(หินจะปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาเมื่ออยู่ภายใต้แรงดัน) ฝุ่นจึงเกาะติดกับเนื้อผ้าโดยสะท้อนรูปร่างของศพตามหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร เมื่อเวลาผ่านไป สีของเนื้อผ้าเปลี่ยนจึงกลายมาเป็นรอยเช่นที่เห็นกัน ทว่าถ้าเป็นไปตามสมมติฐานนี้ ศพจะต้องถูกฝังเป็นเวลานาน เท่ากับเป็นการปฏิเสธว่าผ้าผืนนี้เคยใช้ห่อพระศพพระเยซู บรรดาผู้ที่เชื่อว่าผ้าผืนนี้เป็นของจริงจึงไม่ยอมรับสมมติฐานนี้เท่าใดนัก

                         การศึกษาผ้าห่อศพแห่งตูริน กลายเป็นความสนใจของนักวิชาการสาขาต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ในปี ค.ศ. 1988 มีการตัดชิ้นส่วนจากผ้าห่อศพส่งไปตรวจด้วยคาร์บอน 14 ผลปรากฏว่าผ้าดังกล่าวทำขึ้นในยุคกลางช่วงปี ค.ศ.1260-1390 หากก็มีคำคัดค้านเกี่ยวกับผลการตรวจนี้มากมาย เนื่องจากมีการวิจัยพบว่าแบคทีเรียสร้างไบโอพลาสติคครอบคลุมอยู่ทั่วเนื้อผ้า ซึ่งน่าจะเป็นเห ตุให้การตราวจสอบอายุมีการคลาดเคลื่อนได้อย่างมาก นอกจากนี้การตรวจสอบด้วยวิธีอื่นยังพบว่าผ้าผืนนี้ทำขึ้นในช่วงอารยธรรมเดียวกับการจารึก ลิขิตเดดซี (ราวศตวรรษที่ 1) นอกจากนี้ ดอกเตอร์ปิแอร์ บาร์เบต์  (Dr. Pierre Barbet) ศัลยแพทย์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสยังทดสอบทางสรีรวิทยาเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องจากรอยแผล และยืนยันว่าผ้าห่อศพนี้เป็นของจริง ไม่ใช่ของที่ทำขึ้นในยุคกลางแต่อย่างใด เขาลองทำกับศพจริงและพบว่าตะปูที่ตอกที่อุ้งมือนั้นไม่สามารถจะยึดตรึงร่างของคนไว้บนไม้กางเขนได้เพราะเนื้อ เอ็ น กระดูกบริเวณอุ้งมือจะฉีกขาดทานน้ำหนักตัวของคนที่แขวนอยู่บนไม้กางเขนไม่ได้ การตอกตะปูจะต้องตอกที่ข้อมือ หรือส่วนแขนตั้งแต่ข้อมือไปเช่นเดียวกับร่องรอยที่เกิดบนผ้านั้นซึ่งต่างจากภาพวาดของจิตรกรในยุคกลางที่มักจะวาดภาพพระเยซูถูกตอกตะปูที่อุ้งมือ หากผ้าผืนนี้ปลอมแปลงขึ้นในสมัยกลาง ภาพที่ปรากฏบนผ้าน่าจะถูกตอกตะปูที่อุ้งมือตามสมัยนิยม

                          ไม่เพียงเท่านั้นอาชญาวิทยา ชาวสวิส ได้เก็บฝุ่นละอองบนผ้าไปตรวจด้วยกล้องไมโคร สโคปและพบเกสรของดอกไม้ 48 ชนิด เกสรละอองเล็กๆ นี้มีลักษณะแตกต่างกันไป และจากการตรวจสอบร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ ก็ได้คำตอบว่า จำนวนหนึ่งเป็นเกสรจากต้นไม้ที่พบมากในฝรั่งเศสและอิตาลีอย่างที่คาดคิดกันไว้ แต่มีส่วนหนึ่งเป็นเกสรของพืช 7 ชนิด ที่ชอบเ กลือและความเค็ม ซึ่งมักจะพบในบริเวณทะเลเดดซี หรือที่อื่นๆ ในแถบปาเลสไตน์และอนาโตเลียเท่านั้น การตรวจสอบนี้จึงเป็นการยืนยันว่า ผ้าห่อศพเคยอยู่ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์มาก่อน ทว่าก็ยังมีผู้คัดค้านเช่นกันว่าเกสรเหล่านี้อาจจะถูกลมพัดพาให้ลอยไปตกยังสถานที่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดของพวกมันก็ได้ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นใยสิ่งทอในประเทศ เบลเยี่ยม ยังแสดงหลักฐานที่ว่าลักษณะการทอผ้า รวมถึงลายก้างปลาเป็นแบบฉบับการทอที่โบราณที่สุด รวมถึงเส้นด้ายที่นำมาทอนั้นปั่นด้วยมือและนำไปย้อมก่ อนนำมาทอ ซึ่งในยุโรป  ยุคกลางนั้นเส้นด้ายที่นำมาทอผ้าล้วนปั่นจากเครื่องปั่นด้ายทั้งสิ้น

                         เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2009 เทียร์รี่ คาสเต็กซ์ (Thierry Castex)  นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ออกมาเปิดเผยว่า เธอเพิ่งค้นพบอักษรอารามาอิกบนผ้าห่อศพแห่งตูริน และสันนิษฐานว่าอักษรที่ถูกเขียนลงบนผ้ามานานกว่า 1,800 ปีแล้ว ซึ่งก่อน หน้านั้นมีการพบอักษรภาษาฮีบรูถอดความได้ว่า “กษัตริย์ของชาวยิว” และอักษรอารามาอิกที่เธอพบล่าสุดก็ถอดความได้ว่า “พบ”    ซึ่งคาสเต็กซ์เชื่อมโยงคำนี้กับพระวรสารของนักบุญลูกาที่ว่า “เราได้พบว่าชายคนนี้กำลังชี้นำประชาชนของเราให้หลงผิด” ซึ่งเป็นคำพูดของฟาริสี ผู้นำชาวยิวบอกกับปอนติอัส ปีลาต เมื่อเขาถามว่า พระเยซูทำผิดอะไร และเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่จะมีการเขียนอักษรบนผ้าห่อศพเพื่อระบุถึงผู้ตาย หากคนผู้นั้นเป็นเพียงสามัญชน

                         อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผ้าห่อศพแห่งตูรินในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้สรุปลักษณะของภาพที่ปรากฏบนผืนผ้าออกมาได้ว่า ภาพที่ปรากฏมีลักษณะเป็นสามมิติ รอยเลือดเกิดขึ้นจากวิธีที่ผ้าสัมผัสกับเลือดที่อยู่บนร่างกายผู้ตาย ภาพไม่ได้เกิดขึ้นด้วยวิธีการสัมผัสของผ้ากับร่างกาย เพราะถ้าหากเกิดขึ้นด้วยการสัมผัสขณะที่ผ้าห่อศพอยู่แล้ว ภาพใบหน้าจะขยายออ กใหญ่กว่าที่เป็นจริง แต่ภาพนั้นมีลักษณะเหมือนภาพสะท้อนของกระจกเงา ร่างกายของชายในภาพอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้นดิน เนื่องจากผมตกลงบนบ่า และใบหน้ามีลักษณะเหมือนคนที่ยืนอยู่ แต่ร่างกายก็ไม่ได้ยืนบนพื้นดิน เพราะลักษณะของเท้าไม่อยู่ในลักษณะของการเหยียบอยู่บนพื้น ทว่าดูเหมือนถูกยกตัวให้ลอยขึ้น เมื่อเลาะรอยเย็บข้างหลังผ้าออกก็พบรอยเลือดที่ไหลผ่านทะลุผ้าลงมา ซึ่งภาพร่างกายนั้นเห็นเฉพาะเพียงด้านหน้าข้างเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่ารอยเลือดกับภาพนั้น เกิดขึ้นด้วยวิธีแตกต่างกั นไป ร่องรอยบางอย่างก็ตรงกับข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่คนโบราณไม่น่าจะรู้ เช่น  เมื่อถูกของมีคมตอกทะลุเส้นประสาทที่ข้อมือ นิ้วหัวแม่มือจะพับเข้าไป รอยที่ปรากฏบนผ้าผืนนี้ก็เป็นเช่นนั้นคือ มีรอยนิ้วมือ 4 นิ้ว ไม่มีรอยนิ้วโป้ง เมื่อขยายภาพผ้าให้ใหญ่ขึ้น จะเห็นได้ว่าไม่มีผงสีบนผ้า และสีเหลืองที่เป็นภาพนั้นปรากฏอยู่เฉพาะส่วนเส้นใยตอนบนของเส้นด้ายเท่านั้น ซึ่งแม้แต่วิทยาการสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดภาพที่ซับซ้อนเช่นนี้ได้

                       ทว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ลุยจิ การ์ลาสเชลลี (Luigi Garlaschelli) ศาสตราจารย์ด้านเคมีอินทรีย์ชาวอิตาลีนำเสนอรายงานว่า เขาสามารถใช้วัสดุและเทคนิคที่มีในยุคกลางทำของเลียนแบบผ้าห่อศพแห่งตูรินขึ้นมาได้ ทีมงานของการ์ลาสเชลลี ใช้ผ้าลินินที่ทอขึ้นด้วยเทคนิคอย่างเดียวกับผ้าห่อศพแห่งตูริน แล้วทำให้เก่าด้วยการนำไป อบแล้วซักน้ำ จากนั้นนำไปห่อใบหน้าอาสาสมัครคนหนึ่งซึ่งสวมหน้ากากเอาไว้ เพื่อจำลองภาพใบหน้าแล้วนำแร่     สีแดงมาทาทับบนตัวผ้า จากนั้นก็เติมรอยเลือด รอยไม้เกรียม รอยด่าง ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ผลที่ได้ก็คือปรากฏภาพเลือนรางคล้ายกับภาพในผ้าห่อศพ และแร่ที่ทาลงไปบนผ้าทำให้มันดูเก่าเกินจริง ทำให้เขาเชื่อว่าผ้าห่อศพนี้เป็นของที่ทำขึ้นในยุคกลางอย่างแน่นอน
                      อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ยังมีความคิดแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้แน่นอนถึงที่มาของภาพบนผ้าห่อศพ หรือพิสูจน์ว่ามันมีอายุเก่าแก่เพียงใด แต่นักวิชาการหลายคนก็หวังว่าหากมีการนำผ้าห่อศพออกมาจัดแสดงอีกครั้งในวันที่ 10 เมษายน- 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ทางวาติกันจะอนุญาตให้พวกเขาตรวจสอบชิ้นผ้าเพิ่มเติม เพื่อไขปริศนาที่มีมายาวนานหลายศตวรรษนี้?

                                                             จาก หนังสือศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2552 /หน้า30-34
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้