ในขณะนั้น พระราชาทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบเกศา ในทันทีนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศสมณะก็ปรากฏขึ้น สมณบริขารทั้งหลายที่พระองค์ตรัสถึงอย่างนี้ว่า :-
... ไตรจีวร บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคตพร้อมด้วยกระบอกกรองน้ำ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียรได้ปกปิดพระกายขอองพระองค์ทันที
... พระองค์ประทับที่อากาศประทานพระโอวาทแก่คนทั้งหลายแล้ว ได้เสด็จไปสู่เงื้อมนันทมูลนั่นแหละ
---------------------------------
๒) พระนัคคชิปัจเจกพุทธเจ้า :
... ฝ่ายพระราชาทรงพระนามว่า นัคคชิ ในนครตักศิลา ที่แคว้นคันธาระ เสด็จไปท่ามกลางพระราชบัลลังก์ เบื้องบนปราสาท ทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่ง ในมือแต่ละข้างประดับกำไลหยกข้างละอันนั่งบดของหอมอยู่ไม่ไกล ประทับนั่งทอดพระเนตร พลางดำริว่า :-
"กำไลหยกเหล่านั้นไม่กระทบกัน ไม่มีเสียงดัง เพราะเป็นข้างละอัน คือ แยกกันอยู่"
... ภายหลังนางเอากำไลแขนจากข้างขวามาสวมไว้ข้างซ้ายรวมกัน แล้วเริ่มเอามือขวาดึงของหอมมาบด กำไลแก้วมณีคือหยกที่มือซ้ายมากระทบกำไลข้างที่ ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น
... พระราชาทอดพระเนตรเห็นกำไรแขนทั้ง ๒ ข้างเหล่านั้นกระทบกันอยู่มีเสียงดัง จึงทรงดำริว่า :-
"กำไลแขนนี้เวลาอยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน แต่อาศัยข้างที่ ๒ กระทบกันก็มีเสียงดังฉันใด แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ละคนๆ ไม่กระทบกัน ก็ไม่ส่งเสียง แต่พอมี ๒, ๓ คนขึ้นไปก็กระทบกันทำการทะเลาะกัน ส่วนเราวิจารณ์ราษฏรในราชสมบัติ ๒ แห่ง ในกัสมิระ และคันธาระ เราควรเหมือนกำไลแขนข้างเดียว ไม่วิจารณ์คนอื่น วิจารณ์ตัวเองเท่านั้นอยู่"
... แล้วทรงทำการกระทบกันแห่งกำไรให้เป็นอารมณ์แล้วทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิด...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)
๓) พระนิมิราชปัจเจกพุทธเจ้า :
... ที่มิถิลานครในวิเทหรัฐ พระเจ้านิมิราช เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรระหว่างถนน ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้
... ครั้งนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่งคาบเอาชื้นเนื้อจากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น บินล้อมเหยี่ยวตัวนั้น ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ใช้จงอยปากจิกใช้ปีกตี ใช้เท้าเฉี่ยวไป เพราะเหตุแห่งอาหาร มันทนาการรังแกตนไม่ไหว จึงทิ้งก้อนเนื้อก้อนนั้นไป นกเหล่าอื่นก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว ตัวอื่นก็คาบไป นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นเหมือนกัน
... พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า:-
"นกตัวใดๆ คาบก้อนเนื้อ นกตัวนั้นๆ แหละมีความทุกข์ ส่วนนกตัวใดๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้นทิ้ง นกตัวนั้นๆ แหละมีความสุข"
"แม้กามคุณ ๕ เหล่านี้ ผู้ใดๆ ยึดถือไว้ ผู้นั้นๆ แหละมีความทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่ยึดถือนั่นแหละมีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้ เป็นของสาธาณะสำหรับคนจำนวนมาก"
"ก็แล เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง เราควรจะละกามคุณทั้ง ๕ แล้วเป็นสุขเหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น"
... พระองค์ทรงมนสิการโดยแยบคายอยู่ทั้งๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาแล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)
๔) พระทุมมุขะปัจเจกพุทธเจ้า :
ในแคว้นอุตรปัญจาละในกปิลนคร พระราชาทรงพระนามว่า ทุมมุขะ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงประดับเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรพระลานหลวง ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้
... ในขณะนั้น คนเลี้ยงวัวทั้งหลาย ต่างก็เปิดประตูคอกวัว พวกวัวตัวผู้ออกจากคอก แล้วก็ติดตามวัวตัวเมียตัวหนึ่งด้วยอำนาจกิเลส
... ในจำนวนวัวเหล่านั้น โคถึกใหญ่ตัวหนึ่งเขาคม เห็นวัวตัวผู้อื่นกำลังเดินมา มีความเห็นแก่ตัว คือหึงด้วยอำนาจกิเลสครอบงำ จึงใช้เขาแหลมขวิดที่หว่างขา ไส้ใหญ่ทั้งหลายของวัวตัวนั้น ก็ทะลักออกมาทางปากแผล มันถงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง
... พระราชาทรงเห็นเหตุการณนั้นแล้ว ทรงดำริว่า:-
" สัตว์โลกทั้งหลาย ตั้งต้นแต่สัตว์เดียรรัจฉานไปถึงทุกข์ด้วยอำนาจกิเลส วัวผู้ตัวนี้อาศัยกิเลสถึงความสิ้นชีวิต สัตว์แม้เหล่าอื่นก็หวั่นไหวเพราะกิเลสทั้งหลายนั้นเอง เราควรประหารกิเลสที่เป็นเหตุให้สัตว์ทังหลายหวั่นไหว"
... พระองค์ประทับยืนอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสา แล้วยังพระโพธิญาณให้เกิดขึ้น...ฯลฯ (เนื้อความที่เหลือเหมือนนัยตอนแรก)
...อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์เหล่านั้น กำหนดเวลาภิกขาจารแล้ว ก็เสด็จออกจากเงื้อมนันทมูลกะ ทรงเคี้ยวไม้ชำระฟันนาคลดา ที่สระอโนดาต ทรงทำการชำระพระวรกายแล้ว ประทับยืนบนพื้นมโนศิลา ทรงนุ่งสบงแล้วถือเอา บาตรและจีวรเหาะขึ้นไปบนอากาศด้วยฤทธิ์ ทรงย่ำเมฆ ๕ สี ไปแล้ว เสด็จลง ณ ที่ไม่ไกลหมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี ทรงหุ่มจีวรในที่สำราญแห่งหนึ่ง ทรงถือบาตรเสด็จเข้าไปในหมู่บ้าน ใกล้ประตูเมืองเที่ยวบิณฑบาต ลุ ถึงประตูบ้านพระโพธิสัตว์
... พระโพธิสัตว์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วก็ดีใจ นิมนต์ให้ท่านเข้าไปในบ้าน ใหนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้วถวายทักขิโนทกอังคาส ด้วยของเคี้ยวของฉันอันปราณีต นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งไหว้พระสังฆเถระแล้วทูลถามว่า...
|