ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ฮีตสิบสอง
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3509
ตอบกลับ: 12
ฮีตสิบสอง
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-1-19 08:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ฮีตสิบสอง
มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี
ฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้
* เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม
* เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน
* เดือนสาม - บุญข้าวจี่
* เดือนสี่ - บุญผะเหวด
* เดือนห้า - บุญสงกรานต์
* เดือนหก - บุญบั้งไฟ
* เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ (ชำระ)
* เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
* เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
* เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
* เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
* เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
คลองสิบสี่ บางทีเขียนหรือออกเสียงเป็น คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คลองสิบสี่หรือคองสิบสี่ มาจากคำสองคำ คือ คลองหรือคอง มาจาก ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี ทางหรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติ 14 ข้อ ดังนั้นคำว่า คลองสิบสี่ จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ 14 ข้อ คลองสิบสี่อาจสรุปได้ 2 ส่วน คือ สำหรับพระมหากษัตริย์และผู้ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ และสำหรับบุคคลธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนอยู่กันด้วยความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดข้อปฏิบัติทางศาสนาเป็นหลัก
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 08:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนอ้าย : บุญเข้ากรรม
งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะทำพิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่า?เข้าปริวาส
กรรม? เพื่อทำการชำระมลทินที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยคือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมนั้นจะใช้เวลา 6-9 วันในระหว่างนี้เองชาวบ้านจะเตรียมอาหาร หวานคาวนำไปถวายพระภิกษุทั้งเช้าและเพล เพราะการอยู่กรรมจะต้องอยู่ในบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน(หรืออาจเป็นที่สงบในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่นำอาหารไปถวายพระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่าจะทำให้ได้บุญ กุศลมาก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 08:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว
บุญ คูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก จึงต้องการทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและขอโทษที่ได้เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทำนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนสาม
บุญข้าวจี่
ช่วงที่จัด
หลังงานมาฆบูชา
ลักษณะงาน
ชาวนาจะนำข้าวจี่ (ข้าวเหนียว) นึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุก และถอดไม้ออกนำน้ำตาลอ้อยยัดใส่ตรงกลางเป็นไส้ นำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนสี่
บุญพระเวส
ช่วงที่จัด
เดือนมีนาคม ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้
ลักษณะงาน
งานบุญพระเวส หรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศน์เวสสันดรชาดก ซึ่งถือว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ของหอม ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวส และนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ และมีการเทศน์มหาพระเวสตลอดวัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนห้า
บุญสงกรานต์
ช่วงที่จัด
ตรุษสงกรานต์
ลักษณะงาน
นับเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคน ลาว โดยมีการจัดงานติดต่อกันหลายวัน บางแขวงเช่น หลวงพระบางจะมีการจัดงานบุญสงกรานต์ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ มีประกวด และขบวนแห่นางสังขาร (นางสงกรานต์) จึงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด นอกจากนั้นยังถือเป็นวันปีใหม่ลาวเช่นเดียวกับของไทยอีกด้วย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนหก
บุญบั้งไฟ
ช่วงที่จัด
เดือนหกก่อนฤดูการทำนาจะมาถึง ย่างเข้าฤดูฝน
ลักษณะงาน
คล้ายกับงานบุญบั้งไฟในภาคอีสานของ ไทย จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการทำบุญบั้งไฟเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และถือเป็นสัญญาณว่าฤดูทำนากำลังจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณกาล
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:26
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนเจ็ด
บุญซำฮะ
ช่วงที่จัด
เดือนมิถุนายน
ลักษณะงาน
งานเล็กๆ แต่มีความสำคัญ จุดประสงค์เพื่อเป็นการล้างเสนียดจัญไรที่เกิดกับบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีแต่ความสงบสุข
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนแปด
บุญเข้าพรรษา
ช่วงที่จัด
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ลักษณะงาน
เป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือน ชาวไทย พระสงฆ์จะออกบิณบาตรเป็นเวลา 3 เดือน ตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป ในวันแรกนี้จะมีการทำบุญตักบาตรตามวัดต่างๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54741
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-1-19 09:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เดือนเก้า
บุญห่อข้าวประดับดิน
ช่วงที่จัด
เดือนสิงหาคม
ลักษณะงาน
บุญห่อข้าวประดับดินเป็นการทำ พิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญ ชาวบ้านจะนำอาหารคาว หวาน บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตอง นำไปวางตามพื้นดิน หรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด ในช่วงเวลาดังกล่าวที่แขวงหลวงพระบางมีการซ่วงเฮือ (แข่งเรือพาย), ออกร้านตลาดนัดขายสินค้าของชาวบ้าน จึงเป็นอีกงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งภายใน และต่างประเทศเป้นจำนวนมาก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...