|
ยัง หาญทะเล ปะทะ จิ๊ฉ่าง วันมังกรสู้เสือ ตอนที่ 1
วันมังกรสู้เสือ ครึ่งแรก
จิ๊ฉ่าง VS ยัง หาญทะเล
--คู่หูของนายทับ จำเกาะ--
เมื่อนายทับ จำเกาะ กลับไปภูมิลำเนาเดิมแล้วเสียงเรียกร้องต้องการให้คู่หูของ นายทับ จำเกาะ คือ นายยัง หาญทะเล เป็นตัวยืนโดยให้ทางสมาคมแสวงหาคู่ที่เหมาะสม เข้าเทียบ ฝ่ายสนามก็มิได้นิ่งนอนใจ พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดีพยายามปรึกษาหารือพวกข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดจนเพื่อน ๆ ที่เป็นพ่อค้าสังกัด " กรมท่าซ้าย " และในไม่ช้าก็แพร่ข่าวออกมาว่ามีมวยจีนฝีมือเยี่ยมมาจากฮ่องกง ในความอุปการะของสโมสรสามัคคีจีนสยามอันมี นายเค็งเหลียน สีบุญเรือง และนายฮุน กิมฮวด เพื่อนเกลอและกรรมการ ฯ ส่งเข้ามาเพื่อช่วยเหลือราชการเสือป่า แต่บางเสียงก็ว่าเป็นจีนกวางตุ้งในเมืองไทย ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่มวยจีนย่านสำเพ็ง
--จี๊ฉ่าง--
อย่างไรก็ ตาม มวยจีนฝีมือเยี่ยมดังกล่าวได้ซุ่มซ้อมอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อแถว ๆ วัดแก้วแจ่มฟ้า (วัดแก้วฟ้าล่าง) ถนนสี่พระยา โดยมีการกวดขันการเข้าออกอย่างเคร่งครัด ทำนองเดียวกับ ยอร์ช กาปังติเอร์ ซุ่มซ้อมที่มหานครนิวยอร์ค ในคราวจะชิงตำแหน่งจอมมวยกับ แจ็ค เดมป์เซย์ กระนั้นก็มิวายมีข่าวหลุดออกไปสู่ประชาชนว่านักมวยยิ่งใหญ่จากฮ่องกงมีนามกร ว่า จี๊ (โฮ้วจงกุ๋น)ฉ่าง มีความว่องไวเยี่ยงลิง กำหมัดสองข้างหงิกงอส่ายไปมาคล้ายหัวงูเห่าที่กำลังจะฉกเหยื่อ ท่วงท่ากระโดดเข้าควักหักกระดูกไหปลาร้าให้ติดนิ้วออกมาอย่างรวดเร็วมองไม่ ทัน ลำแขนอันล่ำสันแข็งปั๋งเหมือนกับท่อน้ำฉวัดเฉวียนเหวี่ยงสูงต่ำ ลดนั่งและลุยืนด้วยความคล่องแคล่ว เพียงนิ้วมือสามนิ้วทิ่มไม้หนาสองนิ้วทะลุ นิ้วชี้กับนิ้วกลางหนีบข้ออ้อยไว้แล้วทุบค่อย ๆ ข้ออ้อยก็แตกอย่างไม่น่าเชื่อ
พร้อม ๆ กับข่าวอันน่าเกรงกลัวของมวยจีนนั้นการซ้อมมวยไทยภายในวังเปรมประชากรก็ ดำเนินไปอย่างไม่ยี่หระ เสด็จในกรม ฯ คงควบคุมการซ้อมอย่างใกล้ชิด และทรงแนะนำ " ไม้กล " แก่นายยัง หาญทะเล ด้วยพระองค์เอง จนเกิดความเชื่อมั่นกันว่า นายยังจะฆ่าปลาฉลามจี๊ฉ่างได้แน่นอน
--สนาม สวนกุหลาบคึกคักเป็นพิเศษ--
เช้าวันนั้น วันอาทิตย์สำคัญ ซึ่งเป็นวันที่จะมีมวยจีนชกแข่งขันกับมวยไทยพระนคร เฉพาะอย่างยิ่งถนนตรีเพชร จักเพชร บ้านหม้อ พาหุรัด และรอบ ๆ นอกบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยซึ่งใช้เป็นสนามมวย พลุกพล่านด้วยผู้คนคอยรอเวลาชมมวย คนส่วนมากเข้าใจกันว่ามิใช่ดูการแข่งขันชกมวย(สู้กันตัวต่อตัว) เท่านั้นแต่มันจะกลายเป็นดูพวกจีนกับพวกไทยห้ำหั่นกันตามคำโฆษณาเชิงปลุก ปั้น
จีนรวมพวกเดินกันเป็นกลุ่มด้วยความตั้งใจจะดูไส้นายยัง หาญทะเลว่ายาวแค่ไหนส่วนพวกไทยก็ใช่ว่าจะไม่เตรียมพร้อม เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มิได้ประมาท จัดตั้งโต๊ะเก็บ " ไม้ตะพด" ขนาดต่าง ๆ ทุกช่องประตู เหมือนงานวัดถึงกระนั้นก็ยังมีคนไทยถูกจับเพราะพกสนับมือ (อาวุธร้ายสมัยนั้นมีอัตราปรับ ๑๒ บาทเท่ากับปืนพก) เตรียมเล่นงานจีนหลายต่อหลายราย
พ่อเสือลูกเสือต่างเตรียมตัว โดยถือไม้พลองทาสีขาวยาวเกินตัว หนังสือพิมพ์ประจำวันขายเกลี้ยงเป็นล้างน้ำ เพราะมีการกล่าวขวัญถึงศักดาเดชของคู่มวยยิ่งกว่าข่าวเบ็ดเตล็ดและข่าวสำคัญ อื่น ๆ
--อ้ายเต๊ะ--
เนื่องจากมวยนัดนั้นอาจจะลุกลามกลายเป้ นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ หรือที่คนทั้งหลายในสมัยนั้นฉายาให้ท่านว่า " อ้ายเต๊ะ " จึงต้องระดมกำลังสารวัตรใต้บังคับบัญชา เพื่อระงับเหตุการณ์ไม่พึงปรารถนาอันอาจเกิดขึ้นได้ พวก " แขนแดง "พวกสารวัตรทหารสมัยนั้น ( แขนเสื้อมีปลอกแขนสีแดงพัน ) จึงดุเกลื่อนทั้งภายนอกและภายในสนามมวย สำหรับมวยคู่ที่จะกลายเป็นการดูพวกจีนกับพวกไทยห้ำหั่นกันตามโฆษณาเชิงปลุก ปั้นเช่นนี้ ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษก จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ผู้ เขียนต้องขอปรับความเข้าใจกับผู้อ่านว่า การที่คนไทยสมัยโน้นตั้งฉายาให้แก่ พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ ว่า " อ้ายเต๊ะ " นั้น มิใช่เป็นการเรียกท่านอย่างหยาบคายแต่ประการใด แต่เนื่องจากท่านมีร่างกายอ้วนจนลงพุง แลดูคล้ายรูปคิงในไพ่ป๊อกคนไทยมักเรียกกันว่า " อ้ายเต๊ะ " ท่านจึงได้รับฉายาจากคนสมัยโน้นเช่นนั้น แม้ดาราหนังที่คนสมัยโน้นนิยมชมชอบและยกย่องบทบาทการแสดงของเขาก็ยังตั้ง ฉายาขึ้นต้นด้วยคำว่า " อ้าย " ทั้งนั้น เช่น " อ้ายเอ๊ด " (คือเอ๊ดดี้ โปโล) และ " อ้ายลันด์ " (คือฟรานซิส พอร์ค) เป็นต้น
--มวยจีนจาก ฮ่องกง--
อันที่จริงนายยัง หาญทะเลได้ถูกกำหนดให้เป็นตัวยืน เพื่อหาคู่ประกบ ภายหลังการเฟ้นหานักมวยเปรียบนายทับ จำเกาะไม่ได้มาหลายอาทิตย์แล้วเพราะนักมวยด้วยกันไม่มีใครสมัครใจต่อกรกับ นายยัง หาญทะเลเพื่อนของนายทับ จำเกาะความจำเป็นที่ต้องหานักมวยต่างด้าวสุดแต่จะเป็น พม่า , จีน , จาม ฯลฯ
แล้วแต่จะเหมาะสมประชาชนปรารถนาเพียงอย่างเดียวให้ได้ดูฝีมือ นายทับ จำเกาะ หรือนายยัง หาญทะเล เพื่อนคู่หูอีกสักครั้งพอให้แน่ใจในฝีมือ เนื่องจากเหตุดังกล่าวมวยจีนจากฮ่องกงจึงถูกสั่งเข้ามาด้วยความเอื้อเฟื้อ ของชาวจีนที่ภักดีต่อประเทศไทย เพราะปรากฎว่าทั่วบูรพาประเทศว่าฮ่องกงเป็นเมืองท่าที่รวมบุคลประเภทหัวกระ ทิ ทั้งในด้านการค้าและการท่องเที่ยวแสวงโชค เป็นเมืองชุมนุมคนดีคนชั่ว ตลอดจนกุ๊ยท่าเรือ เสือสาง แม่นางโกง (โสเภณี) ฯลฯ
--มวยไทยจากวัง เปรมประชากร--
ผู้เขียนได้กล่าวแล้วว่า ทางวังเปรมประชากรมิได้นิ่งนอนใจหรือมีความประมาทยิ่งเกิดกิตติศัพท์ความ เก่งกาจครองฤทธิ์อำนาจพิสดารของมวยจีนจากฮ่องกงแพร่ออกมาอย่างมากมาย ฝ่ายมวยไทยก็ยิ่งเพียรพยายามเตรียมที่จะรับมืออย่างสม " สยามยศ " แม้ครั้งนี้ นายยัง หาญทะเลไม่มีหลวงพ่อสุก (พระครูวิมลคุณากร) แห่งวัดมะขามเฒ่า เหมือนเมื่อครั้ง นายทับ จำเกาะก็ยังมีตัวแทนคือเสด็จในกรม ฯ ศิษย์เอกของหลวงพ่อ ซึ่งเป็นผู้ทรงจัดเจนในศิลปการต่อสู้ และเสด็จในกรมฯตระหนักพระทัยดีว่า นอกจากความรู้ความสามารถด้านวิชาการแล้ว จิตวิทยาย่อมมีส่วนควบคุมนักมวยให้มีความเชื่อมั่นอันสุดยอดและนำไปสู่ความ สำเร็จสมประสงค์ได้
พระองค์จึงทรงกรุณาทุ่มเทพระสติกำลังความสามารถ ประสิทธิประสาทและปลุกปั้น นายยัง หาญทะเล มวยในอุปการะของพระองค์ให้แข็งแกร่งเพียบพร้อมด้วยความรู้ ไม้กล ไม้ตาย ไม้ลับ พร้อมสรรพด้วย อิทธิอำปลัง (อำนาจเคลือบคลุม) ขั้น " เพชรดา " (คงทนต่อเขี้ยวงา) นอกจากนั้นนายยัง หาญทะเลยังได้รับคำยืนยันจากบุคคลภายนอกอย่างหนาหูว่า บรรดาทหารเรือลูกศิษย์เสด็จในกรม ฯ ซึ่งสักตราสมอดำที่ต้นแขนล้วนคงทนต่อ อสิธารา (คมศาสตราวุธ) เช่นอาวุธปลายแหลมชายธงเป็นต้น (มีดชายธงเป็นอาวุธที่พวกนักเลงสมัย ๕๐ ปีก่อนนิยมพกและใช้ ความร้ายแรงน้อยกว่ามีดซุย , หลาว หรือเหล็กขูดชาฟท์)
--พิธีอตตม สูตรและชุบตัว--
" คูณพ่อชลัม " (พระชลัมพิสัยเสนี ร.น. ผู้บังคับการเรือรบหลวงพระร่วง ซึ่งประชาชนเรี่ยไรซื้อให้รัฐบาล) ได้เป็นผู้นำในการประกอบพิธี อตตมสูตร ให้นายยัง หาญทะเล ตามบัญชาของ เสด็จในกรม ฯ แล้วก็ใช้เวลาตอนเช้าด้วยพิธีการที่เรียกกันว่าชุบตัวแล้วพักผ่อนเพื่อรอ ฤกษ์ยกขบวนไปสู่สนามมวยสวนกุหลาบตามประเพณีที่วังเปรมประชากรเคยปฏิบัติมา
อนึ่ง ตามที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ในตอนต้น ๆ ว่าในสมัยโบราณนิยมให้นักมวยอาบน้ำชำระร่างกายก่อนเข้าสู่สนามรณรงค์นั้น หากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วมิใช่ว่าคนไทยเชื่อถือในสิ่งที่งมงาย (Superstitious)เพราะการชำระร่างกายเป็นวิธีปล่อยทุกข์ให้กระเพาะวางเปล่า ลดอัตราอันตรายแก่อวัยวะภายในช่องท้องส่วนการอาบน้ำในแง่สุขลักษณะ น้ำเป็นอาโปธาตุที่สร้างกำลังความชุ่มชื่นแก่ร่างกาย ด้วยเหตุว่าประเทศไทยอยู่ในโซนร้อน จึงไม่จำเป็นต้องพะวักพะวน " อุ่นเครื่อง " (Warm up)
ตามแบบอย่างต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศหนาว อีกประการหนึ่งหารบริกรรมมนต์คาถา
(Supernatural Psychology) ตามลัทธิศรัทธาของคนไทยก็นับว่าเป็นอุปเท่ห์ในการอุ่นเครื่องได้ดุจกัน ผู้ใดสงสัยโปรดทดลองด้วยตนเองโดยนั่งนิ่ง ๆ (ทำนองนักมวยไหว้ครู) หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ (บริกรรมพระคาถาสุดแต่จะเล่าเรียนจากอาจารย์ใด) ประมาณสัก ๑ นาที (เวลาที่เลือดฉีดทั่วร่างกาย) ก็จะเริ่มรู้สึกว่ามีความอบอุ่นขึ้นแถว ๆ ข้างหูหรือข้างหลังตอนใต้สะบัก ทั้งนี้อาศัยพลังจิตของผู้บริหารด้วย
พิธีอตตมสูตรก็ทำนองเดียวกับ การอาบน้ำวึ่งมีธรรมเนียมนิยมในประเทศอินเดียในเวลาก่อนทำการสำคัญใด ๆ ฉะนั้นในบางโอกาสที่ไม่สามารถอาบน้ำชำระกายก็ถือเอาเพียงรดน้ำมนต์ (ไสยศาสตร์) เพื่อรับสวัสดิมงคลตามประเพณีพราหมณ์ ซึ่งนำเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาเมื่อผลแห่งความจริงปรากฏว่าไทยเป็นชาติที่นับถือศาสนาพุทธ จึงเปลี่ยนเป็นรดน้ำพระพุทธมนต์แต่เพราะความเคยชิน หรือไม่เข้าใจแจ่มแจ้งพวกเราจึงคงได้ยินใช้กันสับสนว่ารดน้ำมนต์อย่างเดิม
--วัน มังกรสู้เสือ--
วันนั้นเป็นวันที่เต็มไปด้วยภาพอันน่าตื่นเต้นเหลือ ที่จะพรรณา ผู้คนในชุดแต่งกายตามเชื้อชาติหลั่งไหลมุ่งหน้ามายังสนามมวยสวนกุหลาบเพื่อ ชมมวยจีนมวยไทย บรรยากาศตอนแรก แดดร้อนจัดและแจ่มใสตลอดจนถึงตอนบ่าย ทำให้เกิดความหวังกันว่าอากาศปลอดโปร่งดีตลอดวัน แต่ก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น อันเป็นเวลาเริ่มแข่งขันมวยมีฝนโปรยเม็ดลงมาเล็กน้อย แม้กระนั้นก็ไม่มีใครขยับเขยื้อนจากที่นั่งซึ่งเรียกได้ว่าเต็ม เพราะเกรงจะไม่ได้นั่งอย่างเดิม เมื่อมวยคู่ประกอบรายการได้แข่งขันแล้วปรากฏว่าเก้าอี้นั่งเดี่ยวรอบ ๆ เวที และที่นั่งชั้นอัฒจันท์เต็มจนต้องยัดเยียดเบียดเสียดกันแน่นขนัดทั้งภาย นอกบริเวณและภายในสนามมวยชักจะมีการรวนเรกันดันประตู พ่อค้าหาบเร่เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์เกินคาดเพราะขายสินค้าคล่องเป้นเทน้ำ เทท่า ขณะนั้นประชาชนที่อุตส่าห์กรำแดดเข้านั่งคอยชมมวยคู่พิเศษระหว่างจีนกับไทย ชักเคร่งเครียดด้วยความร้อน
ทันใด โฆสก ประจำสนามมวยก็ประกาศก้องว่านักมวยค๋สำคัญได้มาถึงสนามและกำลังเตรียมตัวจะ ขึ้นสังเวียนต่อไปแล้ว !
พึงสังเกตว่าในตอนแรกผู้เขียนใช้คำว่า โฆษก ด้วยความตั้งใจให้เป็น พิธีกร แต่มาในตอนหลังนี้ผู้เขียนใช้คำว่า โฆสก ด้วยความตั้งใจให้หมายถึง ผู้ประกาศ (Ring announcer) เหราะเหตุว่าในปัจจุบันนี้ มักใช้ไม่แยกกันจนบางคนไม่รู้หน้าที่ของตน โฆษณาเสียจนการกีฬากลายเป็นการชวนออกศึกไป ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นการเสียหาย ข้อนี้ย่อมสุดแต่อาจารย์ทั้งหลายจะพิจารณา
--นายยัง หาญทะเลขึ้นสังเวียน--
ประชาชนต่างลุกฮือชะแง้ชะเง้อมองไปทางเดียว กัน มีรายงานจากภายนอกอีกว่า เวลานี้ประชาชนกำลังจะพังประตูเพราะซื้อบัตรดูมวยไม่ได้ เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยทุกฝ่ายต้องปฏิบัติงานด้วยความยุ่งยาก เหน็ดเหนื่อย
" บัตรหมดแล้ว ที่นั่งเต็ม ! " เสียง โฆสก ประกาศทางโทรโข่ง
ทันใดนั้นประชาชนก็โห่ร้องกลบเสียงโฆสก เพราะนายยัง หาญทะเล ในเครื่องแต่งกายมวยไทยครบถ้วน ผ้าขนหนูสีเทาชุบน้ำพอหมาด ๆ พาดปกสองบ่า ไว้หนวดริมฝีปากบนแบบชาวชนบทไทยทั้งหลาย เคี้ยวหมาก (อาพัด) แหยะ ๆ ขนาบข้างด้วยพี่เลี้ยงและ " คุณพ่อชลัมภ์ " มาหยุดดุษฎีก่อนก้าวขึ้นบันไดยกพื้นสูงประมาณ ๔ ฟุต สะกดทับสรรพอัปมงคลการกระทำของฝ่ายศัตรูตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอน แล้วค่อย ๆ ก้าวตีนขวาขึ้นบันไดเข้าบนสังเวียน ยกแขนที่ห้อยไว้ข้างตัวทำนองเดียวกับพลตระเวนเท็กซัส (Texas Ranger) เตรียมพร้อมจะชักปืน ขึ้นพนมไหว้ไปรอบ ๆ ทิศ กัดฟันด้วยมั่นใจ เสียงโห่ร้องต้อนรับนายยัง หาญทะเลดังแรงขึ้นกว่าเดิมอีกครั้งหนึ่งแล้วค่อย ๆ เงียบ ๆ ลง
--จี๊ ฉ่างขึ้นสังเวียน--
เสียงโห่ร้องยังไม่ทันสงบดี เสียง ฮ้อ.. ฮ้อ..! พร้อมกับเสียงกลอง ตลุ้ง ตุ้ง ฉ่าง แช่ เก๊ง ! กวงเล่าโก๊ก็ดังซ้อนขึ้นจนแก้วหูแทบแตก " มาแล้ว นั่นจี๊ฉ่างคนตัดผมโล้นที่ห้อมล้อมด้วยพวกพ้องชาติเดียวกัน ! " เป็นคำตะโกนต่อ ๆ เซ็งแซ่ดจนฟังไม่ได้ศัพท์ เพราะเพียงแต่เสียงกลองและฉาบขนาดใหญ่ ก็สะเทือนยอดอกและหูอื้อเสียแล้ว จึงไม่สามารถรู้ว่าประชาชนพูดจากล่าวขวัญอะไรกัน
เมื่อขบวนน้อย ๆ โอบล้อมนายจี๊ฉ่างมาถึงหน้าบันไดยกพื้นสูง ๔ ฟุต จี๊ (โฮ้วจงกุ๋น) ฉ่าง ซึ่งเดินชูกำปั้น " หัวนกอินทรีย์ " (Eagle - beak Fists) ก็เดินล้ำหน้าเพื่อน ๆ ไปโดยมิได้หยุดรั้งรอ แผ่อำนาจด้วยสุรเสียงตวาด " ว้าก ! …." แบบงิ้วทำให้เลือดแทบจะข้นแข็งตัว แล้วกระโดดจนแผลวข้ามลูกนอนลูกตั้งบันได ๔ - ๕ ขั้น ขึ้นบนเวทีคล้ายเสือดาวกระโจนข้ามเรียวไผ่เข้าในคอกแพะ หรือคล้ายขึ้นลุยไถ ที่เคยพบในหนังสือพงศาวดารจีนราวกับเสียงคลื่นในมหาสมุทร ก่อความกระวนกระวายหวาดหวั่นแก่ประชาชนชาวไทยแทนนายยัง หาญทะเล เพื่อนร่วมชาติอย่างพรรณาไม่ถูก
--โฆสกประกาศศึก--
" โปรดเงียบ โปรดเงียบ " เสียงโฆสกกระจายออกทางโทรโข่ง " ต่อไปนี้จะเป็นมวยคู่พิเศษส่งเสริมราชการเสือป่า …… โปรดเงียบหน่อยครับ เงียบหน่อย " โฆสกกล่าวขอร้องและเตือนซ้ำอีก
" ผู้ที่ยืนอยู่ทางมุมนี้ " เจ้าหน้าที่ผู้ประกาศผายมือชี้ไปทางนักมวยไทยสวมกางเกงแดงยืนอยู่กับพี่ เลี้ยง
" คือนายยัง หาญทะเล แห่งนครราชสีมาหรือเมืองมวย อันเป็นฉายาเกียรติประวัติตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระปิยะมหราช " เสียงโห่ร้องดังขึ้นอีก " โปรดเงียบ โปรดเงียบ " เสียงโฆสกอ้อนวอนทางโทรโข่ง " ผู้ที่ยืนอยู่ทางนี้ " ผายมือซ้ายที่ถือกระดาษไปทางนักมวยตัดผมโล้น นุ่งกางเกงสีน้ำเงินยาวเกือบถึงหัวเข่ามีแพรแถบสีกุหลาบสวยสดเคียดพุง ๓ รอบ ผูกเงื่อนกระตุกข้างบั้นเอวซ้าย ทิ้งชายประมาณครึ่งโคนขามีผ้าพันแข้งสีเดียวกับกางเกง ตามประเพณีการแต่งกายนักรบจีน
ทำนองเดียวกับนักมวยไทยได้รับการ ยินยอมให้คาดเชือก (ถักหมัดด้วยด้ายดิบ) ซึ่งฝ่ายจีนอ้างว่า การถักหมัดก้นหอยเป็นการเสริมให้หมัดแข็งร้ายแรงกว่าหมัดลุ่น ๆ จึงเป็นตกลงอนุญาตให้ใช้ตามประเพณีของแต่ละฝ่ายเพื่อตัดปัญหากล่าวคือเมื่อ ฝ่ายไทยคาดเชือกได้ ฝ่ายจีนก็พันแข้งได้
" จี๊ฉ่าง จอมมวยแห่งฮ่องกง " เสียงโห่ร้องเป็นภาษาจีนดังเกรียวกราวขึ้นไม่แพ้เสียงไชโยโห่ร้องของไทย หลังจากนี้ความเงียบสงบก็ปกคลุมบริเวณสนามมวยชั่วคราว มีแต่เสียงร้องของอีกา ๓ - ๔ ตัว บินผ่านข้ามหัวไปด้วยความประหลาดใจ
--ผู้ ตัดสินบนเวที--
นายยัง หาญทะเล พร้อมพี่เลี้ยงฝ่ายหนึ่ง และนายจี๊ฉ่างพร้อมด้วยพี่เลี้ยงและล่ามอีกคนหนึ่งถูกเรียกเข้ารวมกลาง สังเวียน เพื่อฟังคำชี้แจงปัญหาต่าง ๆ แต่ปรากฎว่าไม่มีปัญหายุ่งยากใด ๆ เพราะได้ทำความเข้าใจกันมาก่อนแล้วเป็นอย่างดี
ผู้ตัดสินกล่าวสรุปคำ ชี้แจงต่อหน้านักมวย , พี่เลี้ยง และล่ามมีความสำคัญว่า " การแข่งขันเพื่อแพ้ชนะมีกำหนด ๑๑ ยก (ระเบียบการแข่งขันมวยของสนามสวนกุหลาบ พ.ศ. ๒๔๖๔) ใครได้เปรียบคนนั้นชนะนักมวยคนใดล้มลงนอน คนทำล้มต้องไปคอยที่มุมกลาง (Neutral corner) ต้องแยกกันเมื่อได้ยินเสียงสั่งหยุด ! ห้ามกัด ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้ คนใดไม่เชื่อฟังหรือผิดประเพณี (คำนี้ใช้กันมาตั้งแต่พระยาพิชัย(สงคราม) ดาบหักยังเป็นเด็กชายจ้อยอยู่วัดบ้านหันคา อำเภอทุ่งยั้ง เมืองพิชัยเดิม ซึ่งผู้เขียนจะได้เล่ารายละเอียดในโอกาสข้างหน้า) อาจถูกปรับโทษตามผลลัพธ์จนถึงขั้นแพ้ทุกฝ่ายเข้าใจนะ "
เมื่อล่ามมวย จีนแปลเสร็จจี๊ฉ่างพยักหน้าแสดงว่าเข้าใจแจ่มแจ้งปราศจากสงสัย นักมวยและพี่เลี้ยงต่างฝ่ายกลับเข้ามุม
ผู้เขียนขอโอกาสเสนอข้อ สังเกตแก่เฉพาะผู้ที่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่า " มุมกลาง "หรือ Neutral corner ไว้ ณ ที่นี้ ตามกติกาสากลที่ไทยเราลอกแบบมาใช้ คำว่า " มุมกลาง " หมายถึงมุมที่มิใช่ฝ่ายแดงหรือฝ่ายน้ำเงิน ชาวต่างประเทศหมายถึงมุมซึ่งไม่มีม้าแป้น (Stool) ให้นักมวยนั่งตั้งแต่เริ่มชก กติกาบางฉบับแปล Stool ผิดว่า " เก้าอี้ " (เคราะห์ยังดีที่ไม่แปลตรง ๆ ว่า
" อุจจาระ ") เพราะเก้าอี้ต้องมีพนัก แต่ไทยเราบางท่านถือเอา Neutral corner เป็นมุมไกลที่สุด ซึ่งไม่สู้จะถูกต้องและปฏิบัติยากเพราะนักมวยที่อยุ่ในสภาพที่อ่อนระโหยโรย แรงนัยน์ตาอาจฝ้าฟาง ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่ามุมที่ตนถอยไปยืนนั้นไกลที่สุดหรือไม่
ตาม ธรรมดาสังเวียนมี ๔ มุมด้วยกัน มุมกลางจึงไม่ใช่มุมของนักมวย ตามเจตนารมณ์ของกติกาต่างประเทศ พี่เลี้ยงนักมวยเข้าไปที่มุมกลางไม่ได้จึงไม่มีดอกาสเสี้ยมสอนนักมวยหรือแนะ นำขณะที่กำลังได้เปรียบ การช่วยเหลือนักมวยจะกระทำได้เฉพาะเวลาระหว่างยกหรือเข้ามุมของตนเท่านั้น แต่ในเมืองไทย พวกเรามักจะได้เห็นการกระทำที่ผิด ๆ โดยปล่อยปละละเลยให้ละเมิดกติกาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือสะเพร่า หรือเกรงใจกัน หากปล่อยให้พี่เลี้ยงละเมิดกติกาข้อนี้จนเคยชิน เมื่อถึงคราวแข่งขันสำคัญระหว่างมวยต่างประเทศ อาจนำความปราชัยมาลบล้างความได้เปรียบอย่างน่าเสียดาย ผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอฝากเป็นดุลพินิจไว้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ตัดสินและพี่เลี้ยงเพราะนอกจากฝ่ายนักมวยที่ได้เปรียบอาจถูกปรับ เป็นแพ้อย่างเถียงไม่ขึ้นแล้ว ผู้ตัดสินเจ้าหน้าที่สนาม (Whips) และกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ยังอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ด้วย
--การ ต่อสู้ระหว่างมวยไทยกับมวยจีนเริ่มต้น--
คำชี้แจงของผู้ตัดสินซึ่ง กล่าวต่อหน้านักมวยไทย ,จีน พี่เลี้ยงและล่ามนั้น อันที่จริงดูเหมือนประชาชนส่วนมากมิอาจทราบได้ว่ามีความสำคัญอย่างไรนอกจาก ผู้เคยชินกับวงการมวย ข้อใหญ่ใจความก็คือปรับความเข้าใจกันทุกฝ่ายเพื่อป้องกันการโต้แย้งคัดค้าน ว่า " ต่อยมวยไทย " หรือ " ต่อสู้แบบชาวสยาม "
ต่อจากนั้นเจ้า หน้าที่รักษาเวลา (Time Keeper) มองดูนาฬิกาจับเวลา ๒ เรือนตั้งเวลาตรงกัน ทางมุมน้ำเงิน พี่เลี้ยงจี๊ฉ่างเลิกเสื้อคลุมขาวกุ๊นตามริมมีอักษรจีนตัวโตสีเดียวกับผ้า กุ๊นตรงแผ่นหลังส่งออกให้คนรับนอกสังเวียน แล้วช่วยกันหมุนตัวให้จี๊ฉ่างหันหน้าสู่กลางเวที เสียงพรรคพวกคนจีนโห่ร้องเป็นภาษากวางตุ้งจนลั่นสนาม ฟังคลับคล้ายคลับคลาว่า " ฮ้อดฉอย ! ฮ้อดฉอย ! " ฝ่ายคนไทยเพียงแต่พึมพำ ฮือฮา รู้สึกว่าจี๊ฉ่างเป็นมวยสำคัญเอาการอยู่
ฝ่ายนายยัง หาญทะเลก็กำลังผินหลังกำเชือกสังเวียนไว้ทั้งสองมือ เคี้ยวหมาก (อาพัด) พยักหน้ายิ้มอย่างไม่ยี่หระไปทางพรรคพวกที่คอยเอาใจช่วยพี่เลี้ยงตบไหล่เบา ๆ แล้วทยอยออกนอกสังเวียน เจ้าหน้าที่รักษาเวลามองนาฬิกาอีกครั้งแล้วยกมือ กลอง " ตุ้ง " เป็นสัญญาณให้การต่อสู้ระหว่างมวยไทยกับมวยจีนเริ่มได้ ประชาชนคนดูต่างเงียบราวกับนัดกัน
--นายยัง หาญทะเลไหว้ครู--
นาย ยัง หาญทะเลยกมือคาดเชือกถึงข้อศอกขึ้นไหว้ไปทาง " คุณพ่อชลัม " ผินหน้ากลับเข้าสู่กลางเวที ก้าวโหย่ง ๆ บนปลายตีนโดยไม่มีด้ายพันนิ้วออกจากมุม ๓ - ๔ ก้าว ทรุดตัวลงนั่งคุกเข่ากราบกรานไปทางเก้าอี้ที่ประทับของเสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ ประชาชนมองตาม เสด็จในกรม ฯ ผงกพระพักตร์รับคารวะน้อย ๆ เพียงพอให้นายยัง หาญทะเลเห็น นายยังเขยื้อนกายปรับท่านั่งกระหย่ง (นั่งบนส้น) โดยหันหน้าสู่ทิศบูรพาอันเป็นทิศครู ปี่กลองสองหน้าและฉิ่งคณะหมื่นสมัครเสียงประจิต เล่นทำนองเร้าอารมณืระทึกจนบางคนต้องเอามือลูบหัวเพราะรู้สึกขนลุกขนพอง
นาย ยัง หาญทะเลใช้หัวแม่มืออุดจมูกสอบลมปราณตามแบบฉบับมวยครู ขึ้นท่าถวายบังคมพรหมสี่หน้าเสร็จแล้ว ยิ้มแสยะกัดกรามตามด้วยท่า " หนุมานควานสมุทร " ก้าวย่างยักเยื้องซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นท่าที่ได้รับการฝึกสอนเป็นพิเศษ จากบรมครูเสด็จในกรม ฯ แทนท่านิยมปกติของ
" เมืองมวย " ทั้งนี้นัยว่าเพื่อป้องกันและ " ชิงคม " (ซ้อนกล) ปฏิปักษ์เพราะเล่าลือกันนักว่ามวยจีนสามารถเลี้ยะพะ (กุมตี) ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ เป็นที่ครั่นคร้ามกันทั้งเกาะฮ่องกง นายยังจึงต้องศึกษาท่า " หนุมานควานสมุทร " อันมีลักษณะ ย่อเตี้ย ตีนห่าง ไขว้แขนแกว่งสลับป้องกันการกระโจนจับ รอบ ๆ ตัวตลอดเวลา หากจี๊ฉ่างเลือกโอกาสใดก็ตาม พุ่งเข้าเลี้ยะพะด้วยหมัดหัวนกอินทรีอันลือชื่อ ย่อมจะต้องเจอหมัดเหวี่ยงควาย (Full swing) หรือถูกฟันฟาดด้วยท่า " ฝานลูกบวบ " ไม่ว่าจะเข้ามาจากเหลี่ยมใดและต่อจากไม้เดี่ยวนั้นอาจโดนไม้คละ " พันลำ " แบบนกกระจอกเทศเข้าบ่วงบาศ หรือไม้ลับอื่น ๆ ก็ได้ใครจะรู้ ? คนดูต่างตะโกนหนุน ยัง ! ยัง ! ยัง ! ….
--จี๊ฉ่างไหว้ครู--
จี๊ ฉ่างยืนสำรวจท่าทางร่ายรำของนักมวยไทยด้วยความพิศวงงงงวยเพราะไม่เคยพบเคย เห็นที่ส่วนใดของโลกมาก่อน แต่ด้วยความสำนึกในเกียรติภูมิของคนจีนซึ่งนับถือกันมาแต่โบราณว่าล้วนเป็น ดาวจุติ จะครั่นคร้ามอะไรกับฝีมือพวกอนารยชน (ฮวนนั้ง)
ทันใดมังกร ไฟจากฮ่องกงก็แผดเสียง " ว้าก … ! " กระโดดทีเดียวออกมากลางเวที สำแดงเดช " มังกรดั้นเมฆ " ยืนกางขาย่อเข่าเลิกคิ้ว นัยน์ตาหรี่ระริกห้อยแขนซ้ายปล่อยกำปั้นหัวนกอินทรีไว้ที่โคนขา กำปั้นขวาเหยียดตรงขึ้นฟ้า ตามองตามอัดใจสูบผสมกระแสชีวิต รวบรวมกำลังภายในมาบรรจุไว้ที่ยอดอกตามตำรา " เซาลิ้น " ของท่านอิ๊ดโจ๊วเซียนซือ แห่งศวรรษที่ ๖ (ประมาณ พ.ศ. ๑๐๑๖)
ขณะ นี้ร่างกาย จี๊ (โฮ้วจงกุ๋น) ฉ่าง สั่นเทิ้มส่ายไปมาประดุจว่มังกรสัตว์ร้ายกายสิทธิ์ในนิยายจีนกำลังพ่นพิษ ชาวจีนโห่ร้อง ชาวไทยเงียบเพราะรู้สึกเป็นห่วงแทนนายยัง หาญทะเล เพื่อนร่วมชาติที่ต้องล่าถอยหนีจีนเรื่อยมาประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่ท่านเกจิอาจารย์บางคนไม่หวาดหวั่น นั่งภาวนามนต์คาถาบท " ตวาดนิพพาน " เป็นการช่วยเหลือนายยังด้วยจิตใจ
--มวยประวัติศาสตร์--
ทั้ง สองฝ่ายพร้อมแล้วไม่ใครก็ใครคงต้องได้เห็นฤทธิ์กันในครั้งนี้ ปี่กลองเร่งจังหวะ ประจัญบานถี่ขึ้น คู่ต่อสู้ไทย - จีน ต่างพยายามหยั่งเชิงซึ่งกันและกัน
นายยังคุมท่า " ปลากัดไทย " แกล้งชำเลืองกระหยดย่างเพื่อล่อจี๊ฉ่างเข้าท่ากล แกว่งแขนทั้งสองข้างส่ายสลับเหมือนตะเกียบปลากัด พวกจีนโห่เยาะเย้ยไม่หยุด แต่พวกดูมวยไทยไม่ออก รู้ทีว่านายยัง กำลังพยายามหาช่องปล่อยไม้เด็ดมิได้ตั้งใจหนีเพราะกลัว พวกจีนคงโห่เยาะเย้ยต่อไปไม่ขาดเสียงคนไทยทนไม่ไหวร้องหนุนให้สู้ ทั้ง ๆ ที่นายยังกำลังสู้ด้วยเชิงมวย นายยังจึงไม่ฟังเสียงยิ้มแหย ๆ พยายามตีกรรเชียงพลิกเหลี่ยมไปมามิได้วิ่งออกนอกสังเวียนหรือวิ่งไม่เหลียว หลัง พวกจีนชักกำแหงยิ่งขึ้น ร้อง " ฮ้อดฉอย ! ฮ้อดฉอย ! ฮ้อดฉอย ! " คล้ายจะให้ไล่ขยี้ให้แหลก
ครั้นแล้วโดยที่ไม่มีใครทันรู้ตัว จี๊ฉ่างกระโดดเงื้อกำปั้นหัวนกอินทรีขึ้นสูงราว ๆ ๒ เมตร แล้วกดเควี้ยวลงเล็งหัวนายยังเป็นเป้าหมาย นายยังซึ่งระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ฉากออกมาทางซ้าย ปล่อยให้กำปั้นหัวนกอินทรีพลาดเป้าไปปะทะเชือกสังเวียนจนสั่นสะเทือน พวกไทยโห่ร้องบ้างทั้ง ๆ ที่ไม่สู้วางใจ นายยัง หาญทะเลเหยียดตัวตรงจากหลบต่ำเตี้ยและเคี้ยวหมาก
จี๊ฉ่างบึ้ง เม้มปากส่ายลูกตาน่ากลัว คนดูที่เป็นไทยส่วนมากพากันวิตกการต่อสู้ของนายยัง แบบถอยหนีวาจะหนีได้ไม่นาน หรือหนีได้ก็เห็นจะไปไม่รอด (นอกจากได้มีดโกนหรือขวดแตกที่ยังมีคอถือเหมาะมือ) จี๊ฉ่างคงบุกไล่เลี้ยะพะนายยังเหมือนเด็กไล่จับกระต่ายในกรง ประชาชนที่เป็นไทยต่างลุกขึ้นยืนบ้างนั่งบ้าง ตัวเอียงไปมาเพราะไม่มีความสบายใจ
นายยัง หาญทะเล ทั้งกระทบทั้งฉากหลบหลีกกำปั้นหัวนกอินทรีอันแข็งปั๋งราวกับหินเป็นพัลวัน เกือบตลอดเวลา มีครั้งหนึ่งหรือสองครั้งที่นายยัง " ฉากฉะ " คือหลีกและตีตอบด้วยหมัดเหวี่ยงควายถูกสีข้างจี๊ฉ่างเพียงแดง ๆ และเตะตาม แต่ปลายตีนโดนเพียงเนื้อตะโพก ได้ยินเสียงพัวะอันเป็นธรรมดาของการต่อสู้แบบ " เขาแรงเราอ่อน "
จี๊ ฉ่างยิ้มแสยะทำทีลูบตะโพกแสดงว่าไม่ระคายผิวหนัง หรือรู้สึกเพียงคัน ๆ ยังไม่เท่ากับถูกยุงกรุงเทพ ฯ กัด จึงคงบุกไล่หมายขยี้มวยไทยฝีมือดีของไทยให้ขี้แตก (อาการกลัวและเจ็บสุดขีดของหมา)
แต่นายยัง หาญทะเล มิใช่คนขี้ขลาดเหมือนหมาแม้จะมีการตะโกนประนามว่ากลัวจี๊ฉ่างจนหางจุกตูดนาย ยังก็คงเอาแต่ถอยเรื่อยไป ท่ามกลางเสียงเยาะเย้ยของฝ่ายตรงข้ามรวมทั้งเพื่อนร่วมชาติบางคน เสด็จในกรม ฯ บรมอาจารย์ประทับสำราณพระอารมณ์อยู่ตลอดเวลา บางคราวมีผู้ช่างสังเกตลองชำเลืองเห็นพระองค์ท่านทรงขยับเขยื้อนพระหัตถ์และ พระบาทโดยไม่ตั้งพระทัย
มันไม่เป็นการฉลาดเลยสำหรับการต่อสู้ใน สังเวียน (ตัวต่อตัว) ที่จะเสี่ยงถูกชกถูกเตะโดยไม่จำเป็นเพราะ " มวย " เป็นวิชาต่อสู้ตามแต่ครูจะสอน นักมวยย่อมวิ่งหนีได้แต่ไม่ให้ซ่อน ส่วนนักมวยที่บุกเข้าแลกหมัดแลกศอก ฯลฯ กับปฏิปักษ์เพื่อหวังพิชิตด้วยพละกำลังอย่างเดียวจนเข้าอยู่ในความหมายของ ศัพท์แผลงว่า " เดินชน " หรือตามแบบที่ครูอาจารย์ไม่ได้สอน " ลูกศิษย์ " (รักเหมือนลูกนั้น)
ตามตำราฉุปศาสตร์(ตำราพิชัยสงคราม) ไม่เรียกว่า " มวย "
นายยัง หาญทะเลแห่งเมืองมวย หรือนครราชสีมา และ จี๊ฉ่างแห่งเกาะฮ่องกงซึ่งอาจหาญข้ามดินแดนและทะเลมารุกรานถึงบ้านไทย มิใช่นักมวยประเภทเป็นเองที่เดินชนอย่างบุตรท้าวกาสรผู้เป็นเอตะทัคคะในการ ทำลายคันนา
จี๊ฉ่างบุกไล่เลี้ยะพะนายยัง หาญทะเล หมุนไปมารอบ ๆ สังเวียนอย่างย่ำใจเพราะได้ฟังเสียงโห่สนับสนุนจนลืมคติพจน์ " ลมร้ายไม่เคยพัดให้ใครดี " ลืมนึกว่าคนไทยคือ " ผู้เป็นใหญ่ " เมื่อบรรพบุรุษทั้งสองฝ่ายแรกพบกันในแคว้นไทเมือง ส่วนคนไทยทั่วไปก็พากันหลงลืมศิลปะของชาติอันเป็นมรดกมีค่าอนรรฆ (ไม่อาจคำนวณได้) และไม่พอใจ ด้วยไม่รู้เท่าที่เห็นนายยังกำลังใช้ศิลปะประจำชาติต่อสู้กับผู้รุกราน
โดย เฉพาะเสด็จในกรม ฯ ไม่ทรงมีปฏิกิริยา ทั้ง ๆ ที่นายยังได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์และอยู่ในอุปการะของพระองค์เพราะทรงซึมซาบ พระทัยดีว่านายยัง " หนีเอาชัย " (Run a Victory) ผิดแผกกับ บรรพบุรุษไทยส่วนหนึ่งซึ่งขืนสู้ลู่หลี่ (ไม่คิดชีวิต) ไม่ยอมถอยจากแคว้นเดิม เพียงชั่วระยะ ๙๐๐ ปี ก็สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เคราะห์ยังดีที่มีพวกไทยบางส่วนยอมล่าถอยและไม่ยอมหัวเสีย และได้ประจักษ์แก่ใจว่าตลอดเวลาการต่อสู้แบบหนีหรืออ่อนตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามวิธีที่นายยังกระทำอยู่ ไม่มีการเจ็บตัว จึงเพียงส่งเสียงเอาใจ " สู้บ้าง ! สู้บ้าง ! ซิ …." และดังทวีขึ้นทุกขณะ
--เข่า โทนของนายยัง--
นายยัง หาญทะเลคงใช้สมองและเชิงมวยของตนที่ได้รับการสั่งสอนอบรมมาอย่างจัดเจน กระหยด และ ฉาก ออกซ้ายขวา สลับหลอก จนจี๊ฉ่างจับทางไม่ถูก ไล่ตุ๊ยผิดตุ๊ยพลาดจนซี่โครงกระเพื่อมเหนื่อยหอบและหลวมตัว
ใน วินาทีทองนั้น ไม่มีใครทันคาดคิดแต่มีคนเห็นเฉพาะบางคน นายยัง หาญทะเลย่อตัวต่ำขนาดนั่งยอง ๆ เบนหลบกำปั้นหัวนกอินทรีที่โฉบลงมาหมาย ลานหัว (กระหม่อม) แล้วนายยังกลับกระโจนขึ้นอัดเข่าโทน (เข่าตรง) เข้าแผ่นอกจี๊ฉ่างจนผละหงายหลังก้นกระแทกพื้น
โชคดีที่โดนเหนือ " อกรวบ " มิฉะนั้นมังกรไฟคงม้วนหางล่องเรือกลับฮ่องกงตอนนั้นเอง ประชาชนตะลึงพรึงเพริดแล้วโห่ดีใจเป็นครั้งแรก เสียงยุ " อย่าเลี้ยง ! ….ยัง! …. ยัง !…..เอาให้อยู่ " ก้องสนาม ผู้ตัดสินก้าวเข้าขวางนายยังซึ่งดูเหมือนกับตั้งใจง้างตีนมาแต่โคราช แล้วเริ่มนับ หนึ่ง..สอง สาม…
พอดีกลอง " ตุ๊ง " บอกสัญญาณหมดยก คนจีนต่างลุกขึ้นยืนและโล่งอกที่เห็นจี๊ฉ่างรีบลุกขึ้นยืนยิ้มและเดินได้
ติดตามต่อในตอนที่ 2
|
|