ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5202
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ออกแขก

[คัดลอกลิงก์]
ออกแขก ออกโรง ออกโขน ออกยักษ์ ออกงิ้ว

คำว่า...ออก  มีตั้งมากมายในคำไทย  วันนี้ได้ยินมาเมื่อเช้านี้เอง

  
คำว่า.....ออกแขก  หมายถึง  การเริ่มแสดงลิเก  ที่จะต้องร้องเพลง  ที่เป็นเอกลักษณ์บอกให้ผู้ชมรู้เลยว่า.....จะเริ่มเล่นลิเกแล้ว  เขาเรียกว่า.....ออกแขก  ผู้ร้องออกแขกจะแต่งตัวเป็นหนุ่มแขก  โพกผ้า  หรือสวมหมวกหนีบแบบแขก  และร้องเพลง  ลงท้ายว่า...

อันเลวังกา  เร่เข้ามา  มาดูลิเก  เฮเฮเฮเฮ้  เห่เฮ เห่เฮ  เห่เฮ  เห เฮ...


ร้องไม่เป็นล่ะค่ะ  


แต่รู้ว่า...ร้องแบบนี้ เรียกว่า....ออกแขก


ออกโรง...มีความหมาย  ว่า...ออกมาช่วยเหลือ  เป็นผู้เก่งกล้า  มาขัดตาทัพ  มาช่วยเหลือให้รอดปลอดภัย   เขาเรียกว่า...ออกโรงมาแล้วววว....

ออกยักษ์  ออกโขน  หมายถึง  อากัปกิริยา  ที่เสียงดังแบบเล่นโขนตอนที่ยักษ์  ในโขนเรื่องรามเกียรติ์จะออกมาแสดง  เสียงจะดังมาก  เพราะยักษ์  มีอิทธิฤทธิ์   ใช้เปรียบเทียบ  เวลาที่คน  มีอารมณ์โกรธ  ก็จะแสดง  ออกยักษ์ออกโขน  เสียงดังออกมาให้คนอื่นได้รู้ว่า....โกรธมากนั่นเอง

ส่วนคำสุดท้ายวันนี้  ก็คือ  ออกงิ้ว  งิ้ว  เป็นศิลปะการแสดงของชาวจีน  เสียงจะดังมาก  น่าหนวกหู  ใชเปรียบเทียบเวลาที่คนมีปากเสียงกัน  เสียงดังมาก  ไม่รู้เรื่อง  ไม่มีใครฟังใคร  แบบงิ้ว  โฉ่งฉ่าง....

ออกโรง...ไม่ค่อยจะดี  เวลาใครมาพูดว่า...แหม  ออกโรงมาช่วยเหลือเชียวนะ   มีความหมาย  และให้ความรู้สึกว่า....มาปกป้องพวกพ้องให้พ้นภัย...แต่ก็ยังดี  ที่ยังน้ำใจ  มาช่วยเหลือ

  
ออกยักษ์ออกโขน  ....มีความหมายค่อนข้างติดลบ  ที่ทำอะไรวางอำนาจเหมือนพวกยักษ์  ที่คิดแต่จะข่มเหงมนุษย์

  
ออกงิ้ว.....นึกภาพเอาเองค่ะ  เหนือคำบรรยาย


ขอบคุณ.http://www.gotoknow.org/posts/162747.


ครูอ้อย แซ่เฮ สิริพร กุ่ยกระโทก






2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-5 06:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลังจากจบชุดแขกแดงถ้าต้องการแสดงเรื่องอื่นๆต่อไปก็ได้ตามความต้องการเสร็จแล้วจึงส่งครูก่อนเลิกการแสดง
ภาษาที่ใช้ ตัวแขกแดงจะพูดภาษาไทยท้องถิ่นดัดเสียงให้รัวเหมือนแขก ตัวเสนา จะพูดภาษาท้องถิ่น เจ้าเมืองจะพูดภาษากลาง ยาหยีพูดสำเนียงท้องถิ่น

เนื้อเรื่อง ชุดแขกแดงมีว่า " มีแขกมาจากเมืองกะตา (กัลกัตตา ?) บ้างก็ว่ามาจากเมืองโอปุระ สุไหงปุระมาค้าขายทางฝั่งทะเลตะวันตกของไทย มาได้ภรรยา (ยายี / ยาหยี) เป็นสาวไทย อยู่มาวันหนึ่งแขกมีความคิดถึงบ้าน ก็ขึ้นไปร่ำลาเจ้าเมืองเพื่อเดินทางไปเยี่ยมบ้านเจ้าเมืองให้เสนาไปด้วยคนหนึ่ง แขกกับเสนาร่ำลาเจ้าเมืองไปหายาหยี ครั้งแรกยาหยีไม่ยอมเดินทางไปด้วยเพราะเป็นห่วงพ่อแม่ แขกทั้งปลอบทั้งขู่จนกระทั่งยาหยียอมไป ทั้งหมดลงเรือไปในทะเล ชมนก ชมปลา ไปเรื่อยจนกระทั่งถึงเมืองลักกะตา "

https://sites.google.com/site/enunewzazab/like-pa
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-5 06:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ออกแขก

เป็นการคำนับครู อวยพรผู้ชม ขอบคุณเจ้าภาพ แนะนำเรื่อง อวดผู้แสดง ฝีมือการร้องรำ และความหรูหราของเครื่องแต่งกาย เพื่อให้ผู้ชมสนใจ และเตรียมพร้อมที่จะชมต่อไป ออกแขกเป็นการเบิกโรงลิเก โดยเฉพาะการออกแขกมี ๔ ประเภทคือ ออกแขกรดน้ำมนต์ ออกแขกหลังโรง ออกแขกรำเบิกโรง และออกแขกอวดตัว
   
ออกแขกรดน้ำมนต์

โต้โผ คือ หัวหน้าคณะ หรือผู้แสดงอาวุโสชาย แต่งกายแบบแขกมลายูบ้าง ฮินดูบ้าง มีผู้ช่วยเป็นตัวตลกถือขันน้ำตามออกมา แขกร้องเพลงออกแขกชื่อว่า เพลงซัมเซ เลียนเสียงภาษามลายู จบแล้วกล่าวสวัสดี และทักทายกันเอง ออกมุขตลกต่างๆ เล่าเรื่องที่จะแสดงให้ผู้ชมทราบ จบลงด้วยแขกประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การแสดง และเป็นการอวยพรผู้ชม การออกแขกรดน้ำมนต์ไม่ค่อยมีแสดงในปัจจุบัน

ออกแขกหลังโรง

โต้โผ หรือผู้แสดงชาย ที่แต่งตัวเสร็จแล้ว ช่วยกันร้องเพลงซัมเซอยู่หลังฉาก หรือหลังโรง แล้วจึงต่อด้วยเพลงประจำคณะ ที่มีเนื้อเพลงอวดอ้างคุณสมบัติต่างๆ ของคณะ จากนั้นเป็นการประกาศชื่อ และอวดความสามารถของศิลปินที่มาร่วมแสดง ประกาศชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องย่อที่จะแสดง แล้วลงท้ายด้วยเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม

ออกแขกรำเบิกโรง

คล้ายออกแขกหลังโรง โดยมีการรำเบิกโรงแทรก ๑ ชุด ก่อนลงท้ายด้วยเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม รำเบิกโรงนี้มักแสดงโดยลูกหลานของผู้แสดง ที่มีอายุน้อยๆ เป็นการฝึกเด็กๆให้เจนเวที เป็นการรำชุดสั้นๆ สำหรับรำเดี่ยว เช่น พม่ารำขวาน พลายชุมพล มโนห์ราบูชายัญ หรือชุดที่คิดขึ้นเอง เช่น ชุดแขกอินเดีย ในกรณีที่เป็นการแสดง เพื่อแก้บน รำเบิกโรงจะเป็นรำเพลงช้า เพลงเร็ว โดยผู้แสดงชาย - หญิง ๒ คู่ ตามธรรมเนียมของการรำแก้บนละคร ซึ่งเรียกว่า รำถวายมือ เมื่อจบรำเบิกโรงแล้ว ข้างหลังโรงจะร้องเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม

ออกแขกอวดตัว

คล้ายออกแขกรำเบิกโรง แต่เปลี่ยนจากรำเดี่ยว หรือรำถวายมือ มาเป็นการอวดตัวแสดงทั้งโรง ผู้แสดงทุกคนจะแต่งเครื่องลิเก นำโดยโต้โผ หรือพระเอกอาวุโส ร้องเพลงประจำคณะ ต่อด้วยการแนะนำผู้แสดงเป็นรายตัว จากนั้นผู้แสดงออกมารำเดี่ยว หรือรำหมู่ หรือรำพร้อมกันทั้งหมด คนที่ไม่ได้รำก็ยืนรอ เมื่อรำเสร็จแล้วก็ร้องเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม แล้วทยอยกันกลับเข้าไป

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-5 06:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เยี่ยม

โอ้โฮ้...แจ่มจริง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้