ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>>> พระศรีราม <<<

[คัดลอกลิงก์]
361#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-30 14:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

จองแล้วคร้าบ
362#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-30 14:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
majoy ตอบกลับเมื่อ 2016-1-30 09:13
รองบอีกซักนิส

ตามนั้นครับ
363#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-3 05:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สร้าง รวมกันไม่ถึง 500 องค์
สงครามระหว่างอารยันกับดราวิเดียน (จุดกำเนิดรามายณะและรามเกียรติ์)

นนทุกคงเป็นหัวหน้าคนพื้นเมือง(ดราวิเดียน) รุ่นแรกๆที่ถูกจับมาเป็นทาสรับใช้อารยัน แล้วโดนกดขี่ข่มเหง จนต้องลุกฮือขึ้นมาแข็งข้ออารยัน แต่สุดท้ายก็ถูกปราบ
ส่วนทศกัณฐ์นั้นคงเป็นหัวหน้าขนพื้นเมืองรุ่นหลังๆ

เทคโนโลยีทางการทหารของดราวิเดียนสู้อารยันไม่ได้   โดยเฉพาะในสาขาโลหะวิทยา   รบกันแบบสงครามประจันหน้าคงแพ้ยับเยิน   ฉะนั้นคงไม่มีฉากสงครามอลังการแบบแต่งทัพกษัตริย์ออกมาเผชิญกันซึ่งหน้า

ฝ่ายดราวิเดียนน่าจะใช้กลยุทธสารพัดที่ช่วยให้ไม่ต้องรบกันซึ่งหน้าอย่างที่บรรยายไว้ในช่วงต้นของรามเกียรติ์

ส่วนที่สงครามยืดเยื้อตั้งสิบกว่าปีซึ่งขัดกับหลักทางเศรษฐศาสตร์โดยสิ้นเชิงนั้น   เป็นเพราะอาระยันอพยพเข้ามาหลายระลอก   ไม่ได้รุกเข้ามาเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ในครั้งเดียว   และคงสนธิกำลังกันรุกคืบช่วงชิงดินแดนเข้ามาเรื่อย

เพราะว่าในสมัยพุทธกาลอินเดียที่เรารู้ๆกันยังมีเพียงแค่อินเดียตอนเหนือเท่านั้น ในสมัยพระเจ้าอโศก อินเดียตอนใต้ก็ยังอยู่ในการปกครองของเผ่ามิลักขะอยู่ เพราะพระเจ้าอโศกยังส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศานาอยู่

ผมว่ามันค่อนข้างขัดกันอยู่อย่างคือ พระพรหมเป็นเทพมาตั้งแต่ก่อนพุทธการ พอถึงยุคฮฺนดูถึงมีเทพเพิ่มขึ้นคือ พระศิวะและพระนารายณ์ พระศิวะเป็นตัวแทนของอารยัน ผิวขาวและทรงโค ประทับอยู่เขาไกรลาศซึ่งเป็นเหมือนเทพสายกรีกอารยันเช่นกันและยังมีกายเหมือนมนุษย์เท่าไปย่อมแสดงถึงแนวคิดมนุษยนิยมเช่นเดียวกับกรีก แต่พระนารายณ์จะผิวคล้ำมี4กรพระทับบนนาคซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงถึงสัญลักษณ์ของมิลักขะ

ซึ่งหากจะบอกว่าพระรามเป็นผู้นำชาวอารยัน สู้รบกับมิลักขะว่าเป็นอวตารของพระนารายณ์ที่เป็นเทพตัวแทนของมิลักขะ ดูจะประหลาดไปหน่อย

เรื่องนี้เป็นนิยายปรำปรา สืบค้นแบบประวัติศาสตร์ไม่เจอจารึกที่สอดคล้องกัน
ท้องเรื่องเก่าเกินพุทธกาลอาจเป็นไปได้ แต่มีบางเหตุการณ์ เหมือนกัน เช่น
ยิงธนูเลือกคู่ ยกคันธนู หนักเท่าแรงพันคนยก


เรื่องราวน่าจะมีส่วนจริง  ...





ถนนที่ชาวลิง(ชาวต่างเผ่า)จองไว้ ก็มีอยู่จริง

เป็นแนวหินเชื่อม เรียกว่า สะพานพระราม



พระรามจองถนน
ฝ่ายพระรามคิดจะปราบเหล่ายักษ์ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ชามพูวราช ได้ทูลว่า การที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน นิลพัทนั้นแค้นหนุมานมาแต่เดิมแล้ว ได้โอกาสล้างแค้นจึงแสดงฤทธิ์ เอาเท้าคีบเขาหิมวันต์ สองมือชูเขาคิรินทร เหาะมาแล้วบอกให้หนุมานคอยรับ นิลพัทจึงทิ้งภูเขาลงมาทั้งสองลูกหวังให้ถูกหนุมาน แต่หนุมานรับไว้ได้ จึงคิดแก้ลำบ้าง โดยไปหักยอดเขา และนำหินก้อนมหึมาผูกตามขน แล้วให้นิลพัทรับบ้าง นิลพัทเห็นจึงขอให้หนุมานโยนมาทีละก้อน หนุมานว่า ทีนิลพัทแกล้งทิ้งมาพร้อมกันหวังให้ตาย แล้วทิ้งหินทั้งหมดลง นิลพัทใช้มือและเท้ารับไว้ได้ หนุมานหาว่านิลพัทสบประมาทตน และได้ท้าวความถึงท้าวชมพูที่มีฤทธิ์มาก ตนยังจับมาได้ นับประสาอะไรกับนิลพัท

นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าเหล่าลิงรบกับยักษ์ ให้พระลักษมณ์ไปดู แล้วจึงพาสุครีพ หนุมาน และนิลพัท เฝ้าพระราม พระรามโกรธ สุครีพจึงทูลแก่พระรามว่า ควรจะแยกทั้งคู่ให้ห่างกัน โดยให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต





ในรูปภาพรามายณะตอนจองถนนข้ามไปลงกา  เท่าที่เคยเห็นมาจะเขียนหรือวาดเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ  หินที่บรรดากองทัพวานรของพระรามขนมาทิ้งถมมหาสมุทรทุกก้อนจะเขียนหรือจารึกชื่อ ราม ไว้   ซึ่งความหมายตรงกับคำว่า "จอง" ในภาษาไทย  (เขียนบอกว่าหินที่เอามาถมนี้ของพระรามนะจ๊ะ  ใครห้ามแตะ)  แต่แปลกใจตรงที่ ไทยเราเรียกรามเกียรติ์ตอนนี้ว่า  พระรามจองถนน  แต่หาได้บอกว่ามีการเขียนชื่อพระรามบนก้อนหินด้วยไม่  อาจจะเป็นไปได้ว่า  รายละเอียดตรงนี้คงจะหายไปเมื่อเรื่องพระรามถูกถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน  รายละเอียดเล็กๆ จึงอาจตกหายระหว่างเวลาไป  กระนั้นก็โชคดีที่ยังคงเหลือชื่อตอนไว้ให้สืบกลับไปหาต้นตอรามายณะได้อยู่
คำว่า จอง มาจากภาษาเขมรแปลว่า ผูก

ที่จริงคำว่า จองถนน ทั้งคำก็มาจากภาษาเขมรเช่นกัน เขียนแบบเขมรได้ว่า จงถฺนล่ (อ่านว่า จอง-ถนน) แปลตรง ๆ ได้ว่า ผูกถนน ซึ่งหมายความว่า สร้างถนน

คำว่า ผูกถนน คงเรียกตามลักษณะการสร้างถนนในสมัยโบราณ เช่นเดียวกับในปัจจุบันใช้ว่า ตัดถนน อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ว่าการสร้างถนนใช้คำกริยาว่า ตัด เช่น ตัดถนน ตัดทาง ตัดทางรถไฟ เข้าใจว่า เพราะในการสร้างทางนั้นต้องตัดต้นไม้ ถางป่าเพื่อเปิดช่องให้เป็นทางตามที่ต้องการ การสร้างถนนและทางคมนาคมจึงใช้คำว่า ตัด ถนนยิ่งตัดก็ยิ่งยาวเพราะไม่ใช่การตัดตัวถนนออก หากเป็นการตัดต้นไม้เพื่อสร้างถนนต่อไปและเรียกว่า ตัดถนน

คำว่า จอง ในความหมายว่า ผูก มีอยู่ในคำไทยโบราณอีกคำหนึ่งคือ โจงกระเบน ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรเช่นกัน เขียนแบบเขมรได้ว่า จงกฺบิน (อ่านว่า จอง-เกฺบิน) จง  แปลว่าผูก ส่วน กฺบิน เป็นคำเรียกชายของผ้านุ่งที่ม้วนขึ้นไปเหน็บไว้ข้างหลัง



บัดนั้น..........................................เสนาโยธากระบี่ศรี
ฟังราชบรรหารพระจักรี.......................ยินดีดั่งได้โสฬส

ต่างตนต่างทูลอาสา.............โดยกำลังฤทธาด้วยกันหมด
บ้างจะโน้มพระเมรุบรรพต................ลงเป็นทางบทจรไป

บ้างจะวิดวักตักสมุทร...........ให้แห้งหยุดเป็นหนทางใหญ่
บ้างจะเอารี้พลสกลไกร.................ใส่ในหัตถาแล้วพาจร

บ้างจะนิมิตเป็นสำเภา.................ใหญ่เท่าอัสกรรณสิงขร
บ้างจะเอาหางพาดสาคร...................ให้วานรไต่ข้ามชลธี




ฝ่ายชามพูวราชกล่าวว่า จะให้ลิงที่มีฤทธิ์ทำยังงั้น
ก็ดูจะง่ายไปไม่สมเกียรติของพระราม จึงได้เสนอว่า
ควรแจ้งไปยังกรมโยธา ของบพิเศษ ให้สำนักงานรพช.มาตัดถนนให้...

เอ้ย...ไม่ใช่...ควรให้ไพร่ราบพลลิงไปขนหินมาทิ้งทะเลเป็นถนน
ให้พวกพลเดินข้ามไปเมืองลงกาดูจะยิ่งใหญ่ไฮโซและเป็นเกียรติเป็นศรีกว่า

พระรามเห็นด้วยกับข้อเสนอจึงได้สั่งให้สุครีพไปจัดการ
คุมไพร่ลาบ น้ำตก ส้มตำ ....ม่ายช่าย......
คุมไพร่ราบพลลิง ไปทำการขนหินมาถมมหาสมุทร ทำถนน...
โอ้ว...ช่างคิดการใหญ่....





รับรับสั่งมาแล้ว สุครีพก็จัดการแบ่งสรรค์ปันงาน
ให้นิลพัทคุมพลลิงฝ่ายเมืองชมพูและให้หนุมานคุมพลลิงฝ่ายขีดขิน
ผลัดกันรับส่งหินไปทิ้งลงมหาสมุทร เพื่อทำเป็นถนนข้ามไปยังเกาะลงกา


ที่มา..http://www.bloggang.com/mainblog ... roup=5&gblog=20
เริ่มอยากกลับมาแขวนบ้างละ คิดถึง หุหุหุ
อาตมันอาตมันของคนเป็นส่วนหนึ่งที่อิสระจากร่างกาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณอันยิ่งใหญ่,

อัตตา หรือดวงวิญญาณ ซึ่งศาสนาและปรัชญาฮินดูถือว่าเที่ยงแท้ถาวร, (สันสกฤต)

http://dict.longdo.com/search/*%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99*
อาตมันน. อัตตาหรือดวงวิญญาณ ซึ่งศาสนาและปรัชญาฮินดูถือว่า เที่ยงแท้ถาวร. (ส.).
ปรมาตมัน[ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
เวทานต์, เวทานตะน. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้น อยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทมนต์ คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).
โศลก[สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
อุปนิษัท[อุปะ, อุบปะ] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์ อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).
เจตภูต[เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า 'อัตตา' ก็มี 'ชีโว' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้