นองได้เคยเล่าให้ท่านฟังว่า.... “ในระยะแรกที่พระอาจารย์นองได้เข้ามาอยู่ที่วัดทรายขาว วัดทรายขาวเป็นวัดที่ทรุดโทรมมากๆ อาสนะ เครื่องใช้ในภารกิจของสงฆ์ ไม่ค่อยมี ช่วงนั้นพระอาจารย์ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่กุฏิหลังเก่าทางด้านทิศใต้ของวิหารจัตุรมุขหินอ่อนในทุกวันนี้ คืนหนึ่งท่านนิมิตว่ามีนางไม้ตนหนึ่ง แต่งกายแบบคนโบราณ ห่มผ้าสไบเฉียงสีแดงมาปรากฏร่างให้ท่านเห็นบริเวณเสากุฏิ ในนิมิตนั้นนางไม้ตนนั้นได้บอกท่านถึงวิธีการทำตะกรุดโทน การเขียนอักขระและคาถาในการปลุกเสกตะกรุดนารายณ์แปลงรูปให้ท่านและบอกว่า... นางชื่อ ……“แม่นางจันทร์” แม่นางจันทร์ เป็นเทพยดาอยู่ที่"ยอดเขาสันกาลาคีรี" และเป็นโยมอุปัฏฐากของ “หลวงพ่อสิทธิชัย” อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว แม่นางจันทร์ได้มีความประสงค์จะขอร่วมสร้างบุญกุศล โดยจะช่วยพระอาจารย์นองสร้างกุฏิให้สำเร็จ พร้อมกับขออาราธนาให้พระอาจารย์นอง ได้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดทรายขาวแห่งนี้ตลอดไป ครั้นเมื่อพระอาจารย์นองท่านตื่นขึ้นมา ท่านรู้สึกเหมือนว่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นคล้ายๆกับเหมือนได้พูดคุยกับคนจริงๆ เหตุการณ์ในนิมิตพระอาจารย์นองสามารถจดจำได้ทั้งหมด ท่านจึงเชื่อมั่นว่า แม่นางจันทร์เป็นเทพยดาจริงและวิชาทั้งหมดนั้นก็เป็นจริง ซึ่งเมื่อท่านนึกถึงเรื่องนี้คราวใด แม่นางจันทร์ก็จะมาปรากฏในนิมิตของท่านทุกครั้งไป....” ก็อย่างที่ผมบอกในตอนต้นครับ ว่าโลกที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ต้องอาศัยการพิสูจน์ด้วยการสัมผัส เรื่องราวของพระอาจารย์นอง กับแม่นางจันทร์ เทพยดาที่ประจำอยู่บนยอดเขาสันกาลาคีรี จึงปรากฏเป็นรูปธรรมตาม “ภาพวาดสีน้ำมันรูปแม่นางจันทร์” ซึ่งเคยปรากฏอยู่ที่วัดทรายขาว และสิ่งที่มา “ตอกย้ำความเชื่อ” อีกประการหนึ่งก็คือ “ผลลัพธ์ของประสบการณ์”ที่เกิดกับผู้ที่มีตะกรุดนารายณ์แปลงรูปสูตรแม่นางจันทร์ติดตัว พูดถึงตอนนี้หลายท่านอาจจะว่างมงาย แต่นั่นก็คือความคิดของท่าน ไม่ใช่ของผู้ที่ได้ประสบกับตนเอง เปิดใจให้กว้างและมองหลายมุมหน่อยครับ ชีวิตจะได้มีสีสันสวยงามเหมือนดัง”เทือกเขาสันกาลาคีรี” สำหรับตะกรุดนารายณ์แปลงรูปแบบที่เป็นปลอกลูกปืน พระอาจารย์นองท่านจะบรรจุของศักดิ์สิทธิ์ลงไปในตะกรุด ซึ่งของศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้เรียกกันว่า “ไม้หลวงปู่ทวด” กล่าวคือไม้หลวงปู่ทวดเป็นไม้ที่พระอาจารย์นองท่านได้มาจากภูเขาสันกาลาคีรี ตามคำบอกเล่าของแม่นางจันทร์ แต่ถ้าเพื่อนๆ จะถามว่าหน้าตาของไม้หลวงปู่ทวดเป็นอย่างไร ผมคงตอบไม่ได้ครับ เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ที่มีตะกรุดนารายณ์แปลงรูปของพระอาจารย์นอง ต่างก็ไม่เคยเห็น เพราะท่านได้ปกาศิตไว้ว่า... “ห้ามดึงตะกรุดออกจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นตะกรุดจะเสื่อมทันที” อธิบายความชัดๆ อีกที ก็คือตะกรุดของท่านหากเป็นในลักษณะ”แบบตะกรุดทั่วไปก็ห้ามคลาย” หากเป็น “แบบปลอกลูกปืนก็ห้ามแกะ” ครับ และหากเพื่อนๆท่านใดที่มีความรู้ด้านวิชาอาคม คิดว่าแกะดูแล้วค่อยม้วนใหม่ตามคัมภีร์ ก็คงต้องบอกว่าเลิกคิดเถอะครับ เพราะวิชานารายณ์แปลงรูปที่พระอาจารย์นองท่านใช้ทำตะกรุดนั้น เป็นวิชาเฉพาะที่แม่นางจันทร์ได้ประสิทธิ์ให้กับพระอาจารย์นอง “เป็นเรื่องเฉพาะตัว” ไม่สามารถสอนให้คนอื่นได้ ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์นองไม่ทำ ก็ไม่มีใครทำได้ และยิ่งปัจจุบันท่านได้มรณภาพไปแล้ว ก็ต้องถือว่าวิชาดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยปริยาย ...นี่คือข้อที่ควรระวังครับ ใช่แล้วครับ"กติกาวางไว้ว่าในการเล่นเกมส์ต้องมีฉากจบเสมอ..." ในขณะที่ทุกคนมุ่งมั่นในการแสวงหาตะกรุดนารายณ์แปลงรูปของพระอาจารย์นอง อาจทำให้ทุกคนลืมไปว่าตะกรุดสำคัญชิ้นนี้ พระอาจารย์นองท่านก็ได้นำไปฝั่งไว้ในหลวงปู่ทวด เนื้อว่านของท่านเกือบจะทุกรุ่น ผมคิดว่าเรื่องนี้มันเป็น “ความอัจฉริยะ” ของพระอาจารย์นอง ที่ท่านได้ออกแบบฉากจบไว้ล่วงหน้า หากแต่เพื่อนๆท่านใดคิดว่าพระเนื้อว่าน ค่อนข้างขาดความเสถียรในการเก็บ ก็คงต้องมองหาในแบบเนื้อโลหะครับ เพราะจะให้ความมั่นใจในการเก็บรักษามากกว่า จะว่าไปแล้วความคิดและวิถีชีวิตแบบเด็กๆอย่างพวกผม มันก็เหมือนน้ำผลไม้ปั่นนั่นแหละครับ และถ้าหากเอาผลไม้ นม โยเกิร์ดมาปั่นๆรวมกันก็จะได้น้ำสูตรใหม่ให้พวกเราต้องวิ่งหากันเสมอๆ แต่ถ้ากับเรื่องของวัตถุมงคลที่เป็นในรูปแบบหลวงปู่ทวดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสูตรสำเร็จรูปแบบไหน มันก็หนีไม่พ้นลักษณะแบบเดิมที่พวกเราไม่ต้องคอยวิ่งตามเทรนด์ใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะถ้าคิดกันแบบอนุบาล พระหลวงปู่ทวดที่สร้างกันอยู่ในทุกวันนี้จะสร้างออกมาโดยใช้เนื้อหาจากว่านและเนื้อโลหะเท่านั้น เพียงแต่ว่าส่วนควบที่นำมาเสริมครับที่ช่วยขับเคลื่อนให้พระหลวงปู่ทวดมีความโดดเด่นขึ้นมาอีก ที่พูดอย่างนี้มีตัวอย่างครับ เพราะพระอาจารย์นองท่านได้เมตตาสร้างสรรค์หลวงปู่ทวดขึ้นมารุ่นหนึ่ง ลักษณะเป็นแบบรูปหล่อลอยองค์ที่สร้างจากเนื้อโลหะ ส่วนควบคือ “เม็ดกริ่ง” ที่อยู่ภายในองค์พระ ความน่าสนใจอยู่ตรง “เม็ดกริ่ง” ที่อยู่ภายในองค์พระครับ เพราะเม็ดกริ่งชุดนี้ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจาก “แผ่นยันต์นารายณ์แปลงรูป” จำนวนมหาศาล ถ้าจะเรียกกันให้เท่ๆก็ต้องเรียกว่า “เม็ดกริ่งนารายณ์แปลงรูป” ครับ พระหลวงปู่ทวด รุ่นที่ว่านี้ชื่อว่ารุ่น “สร้างวิหาร วัดทรายขาว” พิธีมหาพุทธาภิเษกเมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๗ มีบันทึกเรื่องราวการสร้างไว้ดังนี้ครับ... พระหลวงปู่ทวด รุ่นสร้างวิหาร ชุดนี้ พระอาจารย์นอง ได้ตระเตรียมงานมาเป็นเวลานาน โดยมีคุณนพวงศ์ เปรมสุนทร เป็นแม่งานร่วมกับคณะศิษย์หลายฝ่าย ช่วยกันอย่างสุดกำลัง “พระอาจารย์นองได้อธิษฐานขอบารมีหลวงปู่ทวด ทุกพระองค์ บอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างพระรุ่นนี้” หลังจากนั้นพระอาจารย์นองได้มีความวิริยะ อุตสาหะ ความตั้งใจจริง ลงอักขระเลขยันต์ ตามพิธีกรรมที่สืบทอดการสร้างพระหลวงปู่ทวด ที่สำคัญคือ..... “พระอาจารย์นองท่านได้นำ ‘วิชานารายณ์แปลงรูป’ ลงจารบนแผ่นทองคำ ๒,๐๐๙ แผ่น ลงจารบนแผ่นนาก ๕,๐๐๐ แผ่น ลงจารบนแผ่นเงิน ๑๐,๑๐๙ แผ่น นอกนั้นเป็นแผ่นทองแดงและทองเหลืองอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อนับรวมแล้วได้โลหะสำเร็จ ๕ ชนิด จึงเรียกว่า ‘เบญจโลหะ’ รวมได้ ๓๖,๐๐๐ แผ่น....” แผ่นจารทั้งหมดนี้พระอาจารย์นองท่านได้ใช้เวลาในการลงจารด้วยตัวท่านเอง ตามฤกษ์ผานาทีของท่านเป็นระยะเวลา ๒ ปีเศษ นับจากปี ๒๕๓๔ เป็นต้นมา โดยแผ่นจารทั้งหมดได้นำมาหล่อหลอมเป็น “เม็ดกริ่ง” อุดใต้ฐานพระรุ่นสร้างวิหารโดยเฉพาะ เราจึงอาจกล่าวได้ว่า พระหลวงปู่ทวดชุดนี้เป็น “รุ่นแรก” ที่มี “เม็ดกริ่งซึ่งสร้างจากวิชานารายณ์แปลงรูป” บรรจุอยู่ภายใน พระหลวงปู่ทวดชุดนี้ได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดช้างไห้ โดยพระคณาจารย์สายเขาอ้อ ๙ รูป เช่นพระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา และพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญเวทย์อีกหลายองค์ เช่น พ่อท่านแดง วัดศรีมหาโพธิ์ ท่านพ่อทอง วัดสำเภาเชย ท่านพ่อดำ ตากใบ นราธิวาส ฯลฯ ร่วมไปถึงพระอาจารย์นอง ซึ่งได้ร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย ซึ่งกำหนดวันมหาพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระอาจารย์นองท่านได้รับมาจากการเข้าสมาธิติดต่อกับหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้กำหนดวันให้ จึงถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันมหามงคลฤกษ์ที่ได้รับจากหลวงปู่ทวดโดยตรง.. หลังจากเสร็จพิธีที่วัดช้างไห้แล้ว พระอาจารย์นองท่านได้บอกกับคณะศิษย์ว่า... “ฉันจะทำพิธีขึ้นอีกครั้งที่วัดทรายขาว เพราะที่วัดทรายขาวมีหลวงปู่ทวดสิทธิชัย หลวงปู่ทวดหมานและมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ เจ้าของตำรานารายณ์แปลงรูป ฉันต้องทำพิธีบอกกล่าวและปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งหนึ่งวัดทรายขาว” “วัดทรายขาวเคยจัดพิธีใหญ๋มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๕๑๔ และได้เว้นว่างมานาน จนมาถึงพ.ศ. ๒๕๓๗ นี้ก็นับได้ ๒๓ ปีเต็มๆ ที่จะได้จัดพิธีอีกครั้งหนึ่ง จึงถือได้ว่าครั้งนี้เป็นพิธีใหญ่ ที่มี่ความตั้งใจทำและไม่รู้ว่าจะมีโอกาสเช่นนี้อีกครั้งหรือไม่ เพราะขณะนี้อายุมากแล้ว งานใหญ่ๆทำให้เหนื่อยกายเหนื่อยใจและสูญเสียพลังทั้งภายในและภายนอกเป็นอย่างมาก..” “ตั้งแต่คิดทำพระรุ่นนี้ขึ้น ดูอะไรๆมันดีไปหมด ราบรื่นทุกอย่าง วิหารวัดทรายขาวคงสำเร็จสมบูรณ์ในคราวนี้ เพราะบารมีหลวงปู่ทวดท่านศักดิ์สิทธิ์มาก จึงขออนุโมทนาในกุศลจิตมายังท่านผู้ที่มีส่วนร่วมสร้างวิหารหลวงปู่ทวดไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย...” อ่านแล้วรู้สึกดีจังเลยครับ พระชุดนี้ผ่านทั้งวัดช้างไห้ ปฐมกำเนิดพระหลวงปู่ทวด และผ่านวัดทรายขาว ต้นกำเนิดของวิชานารายณ์แปลงรูป.... ครับในยุคสมัยที่พระอาจารย์ทิมมีชื่อเสียงในการสร้างพระหลวงปู่ทวด แต่พระอาจารย์นองท่านยังคงเก็บตัวเงียบและมุ่งมั่นอยู่กับการพัฒนาวัด พระอาจารย์ทิมท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญทางด้านเวทย์มนต์คาถาและมีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์ ซึ่งในปัจจุบันผมก็ไม่ทราบว่ายังมีคนสืบสานการสักยันต์ต่อจากท่านหรือเปล่า จนเมื่อพระอาจารย์ทิมได้มรณภาพลง ชื่อเสียงของพระอาจารย์นองก็เริ่มส่งประกายออกมาจนสุกใสในที่สุด ถึงพระอาจารย์นองท่านจะไม่ได้มีชื่อเสียงทางด้านการสักยันต์ แต่ท่านก็มีชื่อเสียงจากการสร้างตะกรุดนารายณ์แปลงรูป ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยไปกว่ารอยสักของพระอาจารย์ทิมนัก หากแต่การมรณภาพของพระอาจารย์นอง ก็คือ "การสิ้นสุดของตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" ถึงทั้งสององค์จะเหมือนกันในบางจุดและแตกต่างกันในบางเรื่อง แต่ความแตกต่างนั้นก็คือความงามของโลกมิใช่หรือ... ผมเคยไปกราบพระอาจารย์นองครั้งแรกก็ตอนยังนุ่งกางเกงขาสั้นชั้นมัธยม จำได้ว่าติดรถไปกับขบวนผ้าป่ามหากุศล จากนั้นก็ดิ้นรนขวนขวายไปกราบท่านโดยพยายามทำตัวให้ว่างและช่วยหิ้วกระเป๋าให้พวกพี่ๆใจดีในวงการพระเครื่อง การที่ได้นั่งเสนอหน้าเฝ้ามองดูท่าน ทำให้ผมรู้สึกประทับใจในปฏิปทาของท่าน "ความมักน้อย ถ่อมตน สมถะและรักสันโดษ"ของท่าน เป็นที่น่าเคารพศรัทธาเลื่อมใสของผู้ที่ได้เข้าไปกราบไหว้ เล่ากันว่า...ครั้งหนึ่งมีผู้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างมาถวายท่าน...ท่านปฏิเสธที่จะรับ โดยให้เหตุผลว่า... |