ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2194
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วาทะธรรม (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)

[คัดลอกลิงก์]


“คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนสาด”



มนุษย์เกิดมาไม่ใช่จะมีแต่คนรักกัน คนชังกัน คนหาข้อที่ทำลายชีวิตของเราก็มีอยู่ แต่เราไม่รู้ คนเกลียดคนชังก็มี คนรักนั้นมีน้อย คนชังนั้นมีมาก คนโบราณจึงแต่งคำสอนใจไว้ว่า

คนที่มีความรักนั้นมีเท่าผืนหนัง เหมือนหนังวัวหนังควายมันมีจำกัด แต่ว่าคนชังนั้นมีเท่าผืนเสื่อ คนชังมันมีได้เต็มโลก มันมากกว่าคนรัก ฉะนั้น อย่าไปหลงคนรัก อย่าไปหลงอารมณ์กิเลส คนชังคนคอยเบียนเบียนมาก แต่เขาไม่บอกให้รู้

เพราะบอกให้รู้มันก็ไม่พอใจของคน แต่ว่าคนที่ชอบคอพอใจกันทั้งนั้น คนหนึ่งสองคนก็รู้มาบอกว่า ข้าพเจ้าเคารพ นับถือท่าน แต่คนชังเขาไม่บอก

โน่นล่ะ ถึงฆ่ากันตายกลางถนนหนทางเป็นศพไปแล้ว แก้ไม่ได้ อันนี้เค้าจึงแต่งคำกลอนว่า คนรักมีเท่าผืนหนัง คือน้อยนิดเดียวนะ คนชังเท่าผืนเสื่อสาด คนชังมันเห็นได้เต็มโลก คนทั้งโลกมาก คนรักคนชอบพอใจมันน้อย คนชังมันมาก คือเป็นการเตือนใจทุกคนนั้นเอง

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 22:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-11-13 22:48

“ภาวนาไม่เลือกสถานที่”


ในวันหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง เราไม่ควรประมาท นั่งที่ไหนก็ตั้งใจภาวนาในที่นั้น ยืนอยู่ที่ไหนก็ตั้งใจภาวนาในที่ยืน เดินไปไหนก็ให้ตั้งใจภาวนาในที่เดินไปนั้น แม้กระทั้งเรานอนแล้วแต่ยังไม่หลับ ก็ให้น้อมเอาดวงใจ เอาใจของเราให้หยุด ให้อยู่ ให้สงบ ระงับได้นั้น

แหละเป็นการดี จึงให้ชื่อว่าการภาวนาในทางพุทธศาสนา เราต้องตั้งใจประกอบกระทำให้เกิดให้มีขึ้น คนอื่นที่จะมาช่วยได้จริงๆ นั้น มันก็ห่างไกลอยู่ ตัวเรานี่แหละพึ่งตัวเราเอง

พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอนไว้ว่า อตตาหิ อตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน จะคิดพึ่งคนอื่นมาภาวนาให้ไม่ได้ เราต้องภาวนาเอง แก้ไขจิตใจเราเอง
                                                                                       

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 22:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“ลมปาก”


ลมปากมนุษย์ มันพอใจมันก็ว่าให้ดี ที่ลมปากมนุษย์มันไม่พอใจ มันก็ด่าให้ว่าให้ อย่าไปเป็นทุกข์เป็นร้อน ทำใจของเราให้วางเฉย พุทโธ อยู่ในดวงใจให้จิตใจเย็นสบาย เป็นเครื่องอยู่เครื่องอาศัยภายในใจของเรานี่เอง

บางคนเมื่อถูกความคิดติเตียนนินทา เหมือนเอาน้ำร้อนมาลวกเข้าไป เต้นเหย็งๆ คือว่าไม่ภาวนา ว่าลมแรงยังไม่แรงเท่าลมปาก เขาว่าอย่างนั้น ลมแรงนั้นนานๆ จึงจะพัดมาทีหนึ่ง แต่ลมปากมนุษย์มันพัดอยู่ทุกวันเวลา ใครไม่ภาวนาก็เป็นทุกข์เป็นร้อน

ถ้าเขาสรรเสริญเรา ก็ไม่ควรดีใจ ถ้าเขานินทาว่าร้ายป้ายสี ก็ไม่ควรเสียใจ เพราะความสรรเสริญนินทานี้ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ความเที่ยงแท้แน่นอนมันอยู่ในจิตใจทุกคน ตั้งจิตตั้งใจให้มั่นคง
                                                                                       

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 22:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“หมาไล่เนื้อ”


ท่านว่าคนเราเกิดมาบนโลกนี้ ความแก่ความชรามันก็ไล่ติดตามอยู่เสมอ ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไล่ติดตามอยู่เสมอ มรณภัยคือความตายขยับใกล้เข้ามาทุกวันคืน ท่านเปรียบอุปมาเหมือนหมาไล่เนื้อในป่า สมัยโบราณเขาเอาหมาไปไล่เนื้อ ไล่สัตว์ป่ามากินเป็นอาหาร เมื่อสุนัขมันเห็นสัตว์ป่ามันก็ไล่ไป เมื่อสุนัขไล่ไปไล่อยู่ไม่หยุด ไม่หย่อนก็ย่อมมีเวลาทัน ทันเนื้อสัตว์ป่านั้น เมื่อทันที่ไหนมันก็กัดเอาจนเนื้อตัวนั้นตายไป

ที่เราเกิดมาแล้วนี้มันได้ชื่อว่า เหมือนหมาไล่เนื้อมาโดยลำดับ มันใกล้เข้ามาเป็นลำดับๆ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงเตือนว่า ให้ภาวนามรณกรรมฐานไว้ มรณํ เม ภวิสสติ ให้พากันภาวนา ให้นึกถึงว่าความตายมันใกล้เข้ามา ไล่เข้ามาโดยลำดับ

อีกไม่นานความตายนั้นก็จะเข้ามาถึงตัวเราทุกคน แต่ทุกวันนี้มันก็ใกล้เข้ามา เดี๋ยวก็ได้ข่าวว่าคนนั้น คนนี้ตาย พระเณร พระท่านผู้เฒ่าผู้แก่ตายไป นี่คือว่ามันเหมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อมาทันเวลาใด หมามันไม่ได้ยกเว้น มันกัดเอาจนเนื้อตัวนั้นตายไป ชราความแก่ พยาธิความเจ็บไข้ มรณภัยคือความตาย อันมันไล่ติดตามตัวเรา อันมันไล่ติดตามเราท่านทั้งหลายอยู่นี้ ถ้าเราไม่รีบเร่งภาวนา ไม่ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติให้ดีแล้ว เมื่อมรณภัยคือความตายมาถึงเข้า บุคคลผู้นั้นย่อมมีความพลั้งเผลอ ลุ่มหลง เพราะไม่ได้ประกอบกระทำในภาวนาไว้ให้เพียงพอ ยิ่งเมื่อความแก่ชรา แก่ตัวมาเท่าไร พยาธิ โรคา มันก็มากขึ้น สติสตัง ก็ต้องตั้งขึ้นมา ให้มีสติ ความระลึกได้ จิตใจจึงจะตั้งมั่นในสมาธิภาวนาได้ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจิตใจก็จะฟุ้งไปซ่านมา แส่ส่ายหาอารมณ์ต่างๆ ไม่มีที่จบที่สิ้น

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 22:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“อภัยทาน”


ฝึกหัดจิตใจในการให้ทาน ทานนี้ ทานวัตถุข้าวของใคร ก็พอมองเห็นได้ แต่ว่าอภัยทาน การให้อภัยแก่คนอื่น สัตว์อื่นนี้ คนเรามองไม่เห็น แล้วการปฏิบัติก็ไม่ได้

ก็เป็นการฝึกจิตอย่างหนึ่ง ถ้าว่าอย่างหนึ่งก็เรียกว่าฝึกจิตอย่างสูง คือทุกสิ่งทุกอย่างมันจำเป็นต้องเสียสละให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย แก่คนและสัตว์ทั้งหลายที่เขายังไม่รู้ไม่เข้าใจ เมื่อเราฝึกหัดจิตนั้นเอง ให้จิตมันเกิดความรู้ความฉลาดขึ้นมาว่า สิ่งใดควรยึด สิ่งใดไม่ควรยึด สิ่งใดควรให้อภัย

ในทางผู้ต้องโทษในประเทศไทย เมื่อเอาไปกักกันอยู่ในเรือนจำแล้วนานๆ ท่านก็มีให้อภัยโทษที่ตัดสินว่าให้อยู่เท่านั้นปี เท่านี้ปี เท่านั้นสิบปีก็มี ท่านก็ให้อภัยได้ อภัยทานจึงเป็นทานอันสูงสุด ตามธรรมดาก็ต้องติดคุกไปจนหมดโทษ แต่ให้อภัยคือว่าให้ลดโทษนั้นไปจนพ้นโทษ

อันการหัดฝึกจิตฝึกใจของเราแต่ละบุคคล อภัยทาน ให้อภัยแก่กัน คนอื่นผู้อื่นเขาไม่รู้ แม้เราจะไปแนะนำสั่งสอนอย่างไร ว่าอย่างไรก็ตามแต่ มันก็ไม่รู้ไม่เข้าใจอยู่นั้นแหละ
                                                                                       

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 22:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“ใจดวงเก่า”


ใจของเรามันมีอยู่คนละดวงๆ ภายในตัวเราทุกๆ คน ใจดวงนี้ไม่ได้ไปไหน ตั้งแต่มาปฏิสนธิในท้องแม่จนคลอดออกมา เกิดมาแล้วก็จิตใจดวงเก่านี้เอง จิตใจดวงนี้มาแต่ภพก่อนหนหลังนับไม่ถ้วนแล้ว มาเกิดมาแก่มาเจ็บมาตาย อยู่ในภพน้อยภพใหญ่ในโลกจนนับไม่ถ้วนแล้ว ถึงกระนั้นก็ยังมีความรู้ความฉลาดยังไม่เพียงพอ ความโง่เขลาเบาปัญญายังมีอยู่เยอะ

เพราะเราไม่ฝึกต่อกันมา เมื่อเรารู้ตัวอย่างนี้เราต้องฝึกฝนอบรมหลายอย่างหลายประการ นับตั้งแต่นั่งขัดสมาธิเพชร ไม่ได้ไม่ยอม เราต้องนั่งให้ได้ เราไม่ฝึกเราไม่สอนเราเอง ใครจะมาสอนล่ะ ไม่มีใครสอน ยืนภาวนาก็ให้ได้ เดินภาวนาก็ให้ได้ ไปรถไปรายิ่งภาวนาให้มันมาก
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 22:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“กบเฝ้ากอบัว”


ในข้อความบางอย่างท่านเปรียบเทียบไว้ว่า มีหนองบัวอยู่ มีบึงมีหนองอยู่ มีเจ้ากบนั้นก็นั่งเฝ้ากอบัวอยู่ แต่ไม่รู้ว่าบนหัวของตัวมันมีดอกไม้ ดอกบัวมีน้ำหวานอยู่ในนั้น แมลงผึ้งก็มาเอาเกสรดอกไม้ เอาน้ำหวานของดอกบัว แต่ไอ้เจ้ากบก็นั่งเฝ้ากอบัวไม่รู้ ไม่รู้อะไรเป็นอะไรล่ะ ถ้าร้อนขึ้นมาก็โดดน้ำ เย็นแล้วก็ขึ้นมานั่งเฝ้ากอบัว ท่านเปรียบให้เห็นว่า แมลงภู่แมลงผึ้งมันยังรู้จัก

เจ้ากบนั่งเฝ้ากอบัว ดอกบัวอยู่บนหัว กลิ่นบ่ต้อง (ไม่ได้กลิ่นบัว) ภุมรินบินมาข้างบนเอาเกสรดอกไม้ไป โบราณเขาก็แต่งโคลงให้ว่า กบไม่รู้อะไร ผู้ไม่ภาวนา แม้คุณพระพุทธเจ้าก็ไม่รู้ คุณพระธรรมก็ไม่รู้ คุณพระสงฆ์ก็ไม่รู้ แล้วก็นั่งเฝ้ากอบัวคือนั่งเฝ้าธาตุทั้งสี่ ขันธ์ห้า นั่งเฝ้าตู้พระธรรมก็ว่าได้ ตัวเรานี้แหละเป็นตู้พระไตรปิฏก กาย วาจา จิต พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ กบก็คือจิต เราไม่ภาวนา ไม่สงบจิตสงบใจมานั่งเฝ้ากอบัวอยู่ นั่งเฝ้าดอกไม้ของหอมอยู่ แต่ไม่รู้ เกิดมาแล้วก็มีตาก็ดูไป มีหูก็ฟังไป มีจมูกก็ดมกลิ่นไป มีลิ้นก็ลิ้มรสกินอาหารไป มีร่างกายก็กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็งไป เมื่ออารมณ์ทั้งห้าผ่านมาแล้ว ก็เป็นอารมณ์อยู่ในจิต สิ่งใดชอบใจก็หลงไป สิ่งใดไม่ชอบใจก็โกรธขัดเคืองในจิตในใจ ไม่ให้อภัยแก่ใครทั้งนั้น คือว่าไอ้กบนั่งเฝ้ากอบัวคือเราทุกคนนี่แหละ

...แต่ไอ้เจ้าผึ้งก็โง่อีก เมื่อเห็นแสงสว่างไฟฟ้า มันไม่รู้จักว่าไฟฟ้าแหละ ไม่รู้จักของร้อน เมื่อตัวบินมาแล้ว มาเห็นแสงสว่างเห็นแสงไฟ ก็คิดเข้าใจว่าของวิเศษ แก้วมณีโชติอยากได้ ไอ้ตัวความอยากตัณหาอันนั้นแหละ มันอยากได้ ลืมเสียว่าตัวบินมานั้น บินไปหาอะไร มาหาแก้วมณีโชติไฟไหม้นี่หรือ หรือบินไปหาเกสรดอกไม้ น้ำหวานของดอกไม้ แล้วลืมเสีย ลืมของหวานที่จะเอาไปให้ลูกเต้ากิน เอาไปเลี้ยงพวกเพื่อนของตัวเอง ลืมหมด พอมาเห็นแสงสว่างของไฟนี่มันยังดีไฟไม่ไหม้ตัวมัน ถ้าเกิดเป็นไฟป่าบินเข้ามา อย่างนี้ก็ตาย ตายลูกเดียว นั่นคือแมลงผึ้งมันไม่รู้ แต่มันก็มีวิชาความรู้โดยธรรมชาติ ว่าเกิดมาแล้วมันรู้เองว่า ต้องไปหาน้ำหวานเกสรดอกไม้ แต่ว่าความรู้ว่าไฟร้อน ไม่ได้เรียนไม่ได้รู้ ปู่ย่าตาทวดของผึ้งก็ไม่ได้สอน เพราะโง่มาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวดของผึ้ง สอนแต่ให้หาเกสรดอกไม้และน้ำเย็น มันก็กินอย่างนี้ กินน้ำเย็นเยอะและก็กินน้ำผึ้งน้ำดอกไม้...
                                                                                       
..........................................................................

วาทะธรรม จากหนังสือพุทธาจารานุสรณ์
โดย พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40343

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้